เพาะปลาดุกรายได้งาม ฝีมือชายพิการหัวใจไม่แพ้
เพาะพันธุ์ปลาดุกถือเป็นอีกอาชีพน่าสนใจ เพราะราคาค่อนข้างดี ตลาดต้องการสูง โดยหัวใจแห่งความสำเร็จต้องมีความรู้ในการเพาะเลี้ยงลึกซึ้งไม่เพียงแค่ตามตำราเท่านั้น จำเป็นต้องอาศัยประสบการณ์ปรับวิธีการให้เหมาะต่อปัจจัยแวดล้อมที่ต่างกันไป ผู้ที่จะทำอาชีพนี้สำเร็จย่อมไม่ใช่เรื่องง่าย
“แสงชัย ทินโน” ชาวบ้านเนินน้ำคำ ต.โคกหินแฮ่ อ.เรณูนคร จ.นครพนม เป็นหนึ่งในตัวอย่างดีเยี่ยมนำความรู้บวกกับประสบการณ์ยึดอาชีพนี้มากว่า 15 ปี และที่น่าทึ่งยิ่งกว่า ชายผู้นี้สามารถเอาชนะขีดจำกัดของร่างกายที่ขาพิการทั้งสองข้าง อาศัยความมุ่งมั่น ตั้งใจจริงจนสำเร็จในอาชีพ สร้างรายได้เลี้ยงดูตัวเองและครอบครัวได้มั่นคง เขาเล่าว่า เริ่มอาชีพนี้ประมาณ พ.ศ. 2539 เพราะชอบเลี้ยงปลา และเห็นว่า “ปลาดุกพันธุ์รัสเซีย” ราคาดี ตลาดต้องการสูง เบื้องต้นลงทุนกว่า 3 หมื่นบาทซื้อปลาดุกพันธุ์รัสเซียมาเลี้ยงกว่า 6 หมื่นตัว
อย่างไรก็ตาม ในช่วงแรกแทบถอดใจเพราะขาดประสบการณ์ ปลาเกิดติดโรคตายเกือบหมดบ่อ ทุนหายกำไรหด ทว่าพยายามฮึดสู้ หมั่นหาความรู้มาพัฒนา ประกอบกับลองผิดลองถูกเอง กระทั่งสามารถเพาะปลาดุกได้ผลสำเร็จเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ “ตอนแรกๆ ต่อรอบผมเพาะปลาดุกได้แค่หลักร้อยกว่าตัว ช่วงทำ 2-3 ปีแรกขาดทุนตลอด ผมก็พยายามหาความรู้เอง ไปดูงานตามที่ต่างๆ รวมถึงมีเจ้าหน้าที่รัฐมาสอน ซึ่งในความเป็นจริงเราไม่สามารถทำตามทฤษฎีได้ทั้งหมดเพราะปัจจัยการเลี้ยง แต่ละแห่งจะต่างกันไป เราก็ต้องนำมาปรับ จนถึงปี 44 ผมเพาะลูกปลาดุกได้ครั้งละเป็นหมื่นๆ ตัว” แสงชัยเล่าเสริม
สำหรับกระบวนการเลี้ยงปลาดุกรัสเซีย นั้น แสงชัยอธิบายว่า เริ่มจากเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์อย่างดี จนอายุประมาณ 8 เดือน คัดเฉพาะพ่อแม่พันธุ์ตัวที่สมบูรณ์ใส่ลงในบ่อเพาะให้เกิดการผสมพันธุ์ จากนั้นแม่พันธุ์จะเริ่มวางไข่ โดยหนึ่งตัวจะวางไข่ถึง 1-2 หมื่นฟอง ต่อมาแยกไข่ไปไว้อีกบ่อ ในเวลา 48 ชั่วโมงไข่จะเริ่มฟัก เมื่อเป็นตัวแล้วแยกลูกปลาไปไว้อีกบ่อหนึ่ง แล้วเริ่มให้อาหารทันที จากนั้นอีก 3 วันนำไปปล่อยลงบ่ออนุบาล ซึ่งเป็นบ่อดินธรรมชาติขนาดใหญ่ เลี้ยงให้อาหารเช้าเย็นอีก 18 วันก่อนนำขึ้นมาคัดแยกขนาดเพื่อขาย โดยลูกปลาที่ยาวประมาณ 1.5 นิ้วขายที่ตัวละ 20 สตางค์ ไล่ไปจนถึงตัวความยาวประมาณ 3 นิ้วขายตัวละ 1 บาทเขาระบุว่า ปัจจุบัน อัตราเพาะลูกปลาดุกให้อยู่รอดสูงถึง 80% มากกว่าค่าเฉลี่ยทั่วไปเสียอีก เคล็ดลับสำคัญอยู่ที่การเลี้ยงดูในบ่ออนุบาลจำเป็นต้องใช้สูตรอาหารเหมาะสมควบคู่การดูแลอย่างใกล้ชิด ซึ่งมีรายละเอียดปลีกย่อยมาก
ด้านการตลาด จะมีผู้มารับซื้อลูกปลาดุกถึงโรงเพาะทุกวัน โดยซื้อไปเลี้ยงต่อจนได้ขนาดใหญ่เพื่อกินเองหรือไปขายต่อ เฉลี่ยยอดขายลูกปลาดุกนับหมื่นตัวต่อวัน สร้างรายได้ยังไม่หักค่าใช้จ่ายต่างๆ ประมาณ 3,000 บาทต่อวัน อย่างไรก็ตาม อาชีพนี้สามารถทำได้เฉพาะฤดูวางไข่ของปลาดุกเท่านั้น คือระหว่างเดือนมีนาคมถึงพฤศจิกายนของแต่ละปี ส่วนช่วงเวลาที่เหลือจะใช้ปรับปรุงบ่อเลี้ยงและโรงเพาะ รวมถึงเลี้ยงบำรุงพ่อแม่พันธุ์ปลาดุก
ทั้งนี้ หากเห็นการทำงานของแสงชัย จะพบว่าขาพิการทั้งสองข้างแทบจะไม่สร้างปัญหาให้เลย เขาสามารถเคลื่อนที่ ปีนขึ้นลงบ่อปลาได้คล่องแคล่วว่องไว ตลอดจนบ่อเลี้ยงกับโรงเพาะก็เป็นฝีมือของเขา และลูกๆ ช่วยกันสร้างขึ้นจากความสามารถดังกล่าว บ่อเพาะปลาแห่งนี้ได้รับคัดเลือกให้เป็นหนึ่งในศูนย์สาธิตอาชีพประจำบ้าน เนินน้ำคำ ต.โคกหินแฮ่ อ.เรณูนคร จ.นครพนม ที่ถูกยกย่องเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ จากการผลักดันของนายดำตรี นวลตา ผู้ใหญ่บ้านยอดเยี่ยมประจำปี 2556 จากกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ทำให้มีหน่วยงานรัฐ เอกชน และต่างชาติเข้ามาดูงานสม่ำเสมอ และแน่นอนว่าแสงชัยรับบทวิทยากรถ่ายทอดความรู้ได้อย่างลึกซึ้ง
“ผมพิการจากโรคโปลิโอตั้งแต่เด็ก ผมก็เตือนตัวเองตลอดว่าเราต้องไม่เป็นภาระของพ่อแม่พี่น้องหรือสังคม ผมจึงพยายามหาความรู้ต่างๆ เคยเป็นช่างอิเล็กทรอนิกส์ ช่างพลอย ช่างซ่อมรถ จนมาทำบ่อปลา ความพิการมันย่อมเป็นอุปสรรคบ้าง คนอื่นทำแค่ 1 ผมอาจต้องทำ 2 แต่ถ้าเราตั้งใจจะทำจริงๆ มันก็ทำได้เหมือนกัน” หนุ่มหัวใจแกร่งทิ้งท้าย
ขอบคุณ... http://manager.co.th/iBizchannel/ViewNews.aspx?NewsID=9560000090389 (ขนาดไฟล์: 172)
ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 30 ก.ค.56
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
บ่อเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปลาดุกรัสเซีย เพาะพันธุ์ปลาดุกถือเป็นอีกอาชีพน่าสนใจ เพราะราคาค่อนข้างดี ตลาดต้องการสูง โดยหัวใจแห่งความสำเร็จต้องมีความรู้ในการเพาะเลี้ยงลึกซึ้งไม่เพียงแค่ตามตำราเท่านั้น จำเป็นต้องอาศัยประสบการณ์ปรับวิธีการให้เหมาะต่อปัจจัยแวดล้อมที่ต่างกันไป ผู้ที่จะทำอาชีพนี้สำเร็จย่อมไม่ใช่เรื่องง่าย “แสงชัย ทินโน” ชาวบ้านเนินน้ำคำ ต.โคกหินแฮ่ อ.เรณูนคร จ.นครพนม เป็นหนึ่งในตัวอย่างดีเยี่ยมนำความรู้บวกกับประสบการณ์ยึดอาชีพนี้มากว่า 15 ปี และที่น่าทึ่งยิ่งกว่า ชายผู้นี้สามารถเอาชนะขีดจำกัดของร่างกายที่ขาพิการทั้งสองข้าง อาศัยความมุ่งมั่น ตั้งใจจริงจนสำเร็จในอาชีพ สร้างรายได้เลี้ยงดูตัวเองและครอบครัวได้มั่นคง เขาเล่าว่า เริ่มอาชีพนี้ประมาณ พ.ศ. 2539 เพราะชอบเลี้ยงปลา และเห็นว่า “ปลาดุกพันธุ์รัสเซีย” ราคาดี ตลาดต้องการสูง เบื้องต้นลงทุนกว่า 3 หมื่นบาทซื้อปลาดุกพันธุ์รัสเซียมาเลี้ยงกว่า 6 หมื่นตัว แสงชัย ทินโน อย่างไรก็ตาม ในช่วงแรกแทบถอดใจเพราะขาดประสบการณ์ ปลาเกิดติดโรคตายเกือบหมดบ่อ ทุนหายกำไรหด ทว่าพยายามฮึดสู้ หมั่นหาความรู้มาพัฒนา ประกอบกับลองผิดลองถูกเอง กระทั่งสามารถเพาะปลาดุกได้ผลสำเร็จเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ “ตอนแรกๆ ต่อรอบผมเพาะปลาดุกได้แค่หลักร้อยกว่าตัว ช่วงทำ 2-3 ปีแรกขาดทุนตลอด ผมก็พยายามหาความรู้เอง ไปดูงานตามที่ต่างๆ รวมถึงมีเจ้าหน้าที่รัฐมาสอน ซึ่งในความเป็นจริงเราไม่สามารถทำตามทฤษฎีได้ทั้งหมดเพราะปัจจัยการเลี้ยง แต่ละแห่งจะต่างกันไป เราก็ต้องนำมาปรับ จนถึงปี 44 ผมเพาะลูกปลาดุกได้ครั้งละเป็นหมื่นๆ ตัว” แสงชัยเล่าเสริม โรงเพาะเลี้ยง ได้รับคัดเลือกเป็นหนึ่งในศูนย์สาธิตอาชีพ ประจำบ้านเนินน้ำคำ ต.โคกหินแฮ่ อ.เรณูนคร จ.นครพนมสำหรับกระบวนการเลี้ยงปลาดุกรัสเซีย นั้น แสงชัยอธิบายว่า เริ่มจากเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์อย่างดี จนอายุประมาณ 8 เดือน คัดเฉพาะพ่อแม่พันธุ์ตัวที่สมบูรณ์ใส่ลงในบ่อเพาะให้เกิดการผสมพันธุ์ จากนั้นแม่พันธุ์จะเริ่มวางไข่ โดยหนึ่งตัวจะวางไข่ถึง 1-2 หมื่นฟอง ต่อมาแยกไข่ไปไว้อีกบ่อ ในเวลา 48 ชั่วโมงไข่จะเริ่มฟัก เมื่อเป็นตัวแล้วแยกลูกปลาไปไว้อีกบ่อหนึ่ง แล้วเริ่มให้อาหารทันที จากนั้นอีก 3 วันนำไปปล่อยลงบ่ออนุบาล ซึ่งเป็นบ่อดินธรรมชาติขนาดใหญ่ เลี้ยงให้อาหารเช้าเย็นอีก 18 วันก่อนนำขึ้นมาคัดแยกขนาดเพื่อขาย โดยลูกปลาที่ยาวประมาณ 1.5 นิ้วขายที่ตัวละ 20 สตางค์ ไล่ไปจนถึงตัวความยาวประมาณ 3 นิ้วขายตัวละ 1 บาทเขาระบุว่า ปัจจุบัน อัตราเพาะลูกปลาดุกให้อยู่รอดสูงถึง 80% มากกว่าค่าเฉลี่ยทั่วไปเสียอีก เคล็ดลับสำคัญอยู่ที่การเลี้ยงดูในบ่ออนุบาลจำเป็นต้องใช้สูตรอาหารเหมาะสมควบคู่การดูแลอย่างใกล้ชิด ซึ่งมีรายละเอียดปลีกย่อยมาก ด้านการตลาด จะมีผู้มารับซื้อลูกปลาดุกถึงโรงเพาะทุกวัน โดยซื้อไปเลี้ยงต่อจนได้ขนาดใหญ่เพื่อกินเองหรือไปขายต่อ เฉลี่ยยอดขายลูกปลาดุกนับหมื่นตัวต่อวัน สร้างรายได้ยังไม่หักค่าใช้จ่ายต่างๆ ประมาณ 3,000 บาทต่อวัน อย่างไรก็ตาม อาชีพนี้สามารถทำได้เฉพาะฤดูวางไข่ของปลาดุกเท่านั้น คือระหว่างเดือนมีนาคมถึงพฤศจิกายนของแต่ละปี ส่วนช่วงเวลาที่เหลือจะใช้ปรับปรุงบ่อเลี้ยงและโรงเพาะ รวมถึงเลี้ยงบำรุงพ่อแม่พันธุ์ปลาดุก แสงชัย โชว์ไข่ปลาดุกที่ถูกวางบนตาข่ายทั้งนี้ หากเห็นการทำงานของแสงชัย จะพบว่าขาพิการทั้งสองข้างแทบจะไม่สร้างปัญหาให้เลย เขาสามารถเคลื่อนที่ ปีนขึ้นลงบ่อปลาได้คล่องแคล่วว่องไว ตลอดจนบ่อเลี้ยงกับโรงเพาะก็เป็นฝีมือของเขา และลูกๆ ช่วยกันสร้างขึ้นจากความสามารถดังกล่าว บ่อเพาะปลาแห่งนี้ได้รับคัดเลือกให้เป็นหนึ่งในศูนย์สาธิตอาชีพประจำบ้าน เนินน้ำคำ ต.โคกหินแฮ่ อ.เรณูนคร จ.นครพนม ที่ถูกยกย่องเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ จากการผลักดันของนายดำตรี นวลตา ผู้ใหญ่บ้านยอดเยี่ยมประจำปี 2556 จากกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ทำให้มีหน่วยงานรัฐ เอกชน และต่างชาติเข้ามาดูงานสม่ำเสมอ และแน่นอนว่าแสงชัยรับบทวิทยากรถ่ายทอดความรู้ได้อย่างลึกซึ้ง “ผมพิการจากโรคโปลิโอตั้งแต่เด็ก ผมก็เตือนตัวเองตลอดว่าเราต้องไม่เป็นภาระของพ่อแม่พี่น้องหรือสังคม ผมจึงพยายามหาความรู้ต่างๆ เคยเป็นช่างอิเล็กทรอนิกส์ ช่างพลอย ช่างซ่อมรถ จนมาทำบ่อปลา ความพิการมันย่อมเป็นอุปสรรคบ้าง คนอื่นทำแค่ 1 ผมอาจต้องทำ 2 แต่ถ้าเราตั้งใจจะทำจริงๆ มันก็ทำได้เหมือนกัน” หนุ่มหัวใจแกร่งทิ้งท้าย ขอบคุณ... http://manager.co.th/iBizchannel/ViewNews.aspx?NewsID=9560000090389 ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 30 ก.ค.56
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)