รวมกลุ่มเรียนเบเกอรี่ เพิ่มอาชีพ เพิ่มรายได้
“การได้รับความรู้จากอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต เปิดเผยทุกเคล็ดลับ ในการทำเบเกอรี่ ช่วยให้ชาวชุมชนได้มีสินค้าใหม่ๆ มาขายมากขึ้น จากเดิมที่ขายของพวกไก่ย่าง ลูกชิ้น ของชำ ทำขนมส่งร้านกาแฟ ร้านอาหารต่างๆ ทำให้มีรายได้มากขึ้น ชีวิตก็ดีขึ้น เรียกว่าได้รับโอกาสดีๆ จากการมีความรู้" สุภาภรณ์ หมัดหนัก อายุ 45 ปี ชาวชุมชนต้นสน 2 ต.ท่าทราย อ.เมือง จ.นนทบุรี เล่าถึงการรวมตัวของสมาชิกในชุมชน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นมุสลิม และเป็นแม่บ้าน เลี้ยงลูกอยู่บ้าน หรือค้าขายเล็กๆ น้อยๆ แล้วขอเข้ารับการส่งเสริมการประกอบอาชีพ การทำเบเกอรี่จากสำนักงานจัดหางานจังหวัดนนทบุรี เมื่อปลายปีที่ผ่านมา
สุภาภรณ์ กล่าวว่า หลังจากได้รับการส่งเสริมการทำเบเกอรี่แล้ว เธอและสมาชิกในชุมชนก็ช่วยกันฝึกทำอีกสองครั้ง เพื่อให้แน่ใจว่าขั้นตอนและรสชาติเป็นไปตามที่อาจารย์สอน จากนั้นก็เริ่มทำขาย โดยเน้นไปที่การขายส่ง โดยแต่ละคนก็มีตลาด หรือมีลูกค้าเป็นของตัวเอง ไม่แย่งลูกค้ากัน แต่ถ้าใครได้รับออเดอร์ใหญ่ๆ มาจำนวนมาก เช่น งานประชุมสัมมนาของ อบต.ก็จะระดมสมาชิกในกลุ่มมาช่วยกันทำ ทุกวันนี้สมาชิกชุมชนที่ได้รับการส่งเสริมการประกอบอาชีพด้วยกัน 20 คน ต่างก็มีงานมีรายได้เพิ่มจากการทำเบเกอรี่ขาย เกือบทุกคน มีเพียงไม่กี่คนนั้นที่ยังทำงานอื่นเป็นหลัก แต่ถ้ามีงานใหญ่มาก็จะเข้ามาช่วยงานกลุ่ม
"การได้รับความรู้เรื่องเบเกอรี่จากอาจารย์มหาวิทยาลัย ราชภัฏสวนดุสิตนั้น ช่วยให้มีฝีมือและมีความมั่นใจมากขึ้น เพราะอาจารย์ถ่ายทอดความรู้ให้แบบทุกขั้นตอน ทุกเคล็ดลับ หากไปเรียนทำเบเกอรี่ตามสถาบันต่างๆ ที่เปิดสอนก็ต้องใช้เงินจำนวนมาก ซึ่งคนมีรายได้น้อยที่อยากจะพัฒนาตนเองให้มีทักษะฝีมือคงจะไม่มีโอกาส เช่นอบรมขนมแบบนี้ จะมีค่าใช้จ่ายประมาณ 2,500-3,500 บาทต่อคอร์ส ซึ่งใช้เวลาอบรมเพียง 3 ชั่วโมงเท่านั้น แต่การอบรมที่สำนักงานจัดหางานจังหวัดนนทบุรีจัดให้มีถึง 3 วันเต็ม ชาวบ้านไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น แถมมีอาหารกลางวันเลี้ยงด้วย เป็นโครงการที่ดี มีประโยชน์ ถ้าเป็นไปได้อยากให้มีการจัดอบรมต่อยอดอีก" สุภาภรณ์ กล่าว
ทุกวันนี้ สุภาภรณ์ และพี่ๆ น้องๆ ในครอบครัวช่วยกันทำขนมส่งขาย เช่น บัตเตอร์เค้ก เอแคลร์ แยมโรล บราวนี่ ที่ขายดีที่สุดคือปั้นขลิบไส้ปลา ซึ่งส่งขายตามร้านกาแฟ น้องสาว สามารถสร้างรายได้เพิ่ม ช่วยสามีที่เลี้ยงแพะและขายนมแพะ เลี้ยงลูก 4 คน ต่อไปในอนาคตอาจจะสามารถประกอบอาชีพนี้เป็นอาชีพหลักได้
"แม่บ้านเลี้ยงลูกอยู่กับบ้านสามารถหารายได้ โดยไม่ต้องออกไปทำงานนอกบ้าน เพียงแต่ต้องคิดว่าเราสามารถทำอะไรได้บ้าง แล้วก็ขวนขวายหาความรู้ หาช่องทาง ก็จะช่วยหาเงินเข้าบ้านได้ เป้าหมายต่อไปคือ อยากยึดอาชีพนี้เป็นอาชีพหลักที่มีความมั่นคงให้ตัวเอง ต้องหมั่นหาความรู้ ฝึกฝน และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ" สุภาภรณ์กล่าว
ประวิทย์ เคียงผล อธิบดีกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน กล่าวว่า กรมการจัดหางาน โดยกองส่งเสริมการมีงานทำ มีโครงการเพิ่มอาชีพ เพิ่มรายได้ ได้เปิดให้คนหางานซึ่งมีทั้งประชาชนทั่วไป ผู้ถูกเลิกจ้าง ได้มีโอกาสในการประกอบอาชีพอิสระ โดยให้รวมกลุ่มกันมาขอรับการส่งเสริมการประกอบอาชีพฝึกอบรมตามความสนใจ โดยสำนักงานจัดหางานจังหวัดในพื้นที่ที่ประชาชนรวมกลุ่มกันมาขอรับการส่งเสริมการประกอบอาชีพอบรมนั้น จะเป็นผู้ดำเนินการให้ ตั้งแต่จัดหาวิทยากร ผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้นๆ มาถ่ายทอดความรู้
สาขาที่ขอรับการอบรมมากที่สุดคือ การทำเบเกอรี่ การจักสานกระเป๋าด้วยเส้นพลาสติก การนวดแผนไทย และการเพาะเห็ด ปีงบประมาณ 2557 ยังคงมีโครงการเพิ่มอาชีพเพิ่มรายได้ให้ผู้ว่างงาน ผู้ถูกเลิกจ้าง แรงงานรอฤดูกาล ประชาชนทั่วไป และแรงงานที่ได้รับผลกระทบจากการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ให้มีความรู้และทักษะในประกอบอาชีพใหม่หรืออาชีพเสริมอย่างต่อเนื่อง...โดย...หทัยรัตน์ ดีประเสริฐ)
ขอบคุณ ... http://goo.gl/k1zJgQ (ขนาดไฟล์: 0 )
คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 25 ก.ย.56
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
แม่บ้านรวมกลุ่ม เรียนเบเกอรี่ เพิ่มอาชีพ เพิ่มรายได้ “การได้รับความรู้จากอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต เปิดเผยทุกเคล็ดลับ ในการทำเบเกอรี่ ช่วยให้ชาวชุมชนได้มีสินค้าใหม่ๆ มาขายมากขึ้น จากเดิมที่ขายของพวกไก่ย่าง ลูกชิ้น ของชำ ทำขนมส่งร้านกาแฟ ร้านอาหารต่างๆ ทำให้มีรายได้มากขึ้น ชีวิตก็ดีขึ้น เรียกว่าได้รับโอกาสดีๆ จากการมีความรู้" สุภาภรณ์ หมัดหนัก อายุ 45 ปี ชาวชุมชนต้นสน 2 ต.ท่าทราย อ.เมือง จ.นนทบุรี เล่าถึงการรวมตัวของสมาชิกในชุมชน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นมุสลิม และเป็นแม่บ้าน เลี้ยงลูกอยู่บ้าน หรือค้าขายเล็กๆ น้อยๆ แล้วขอเข้ารับการส่งเสริมการประกอบอาชีพ การทำเบเกอรี่จากสำนักงานจัดหางานจังหวัดนนทบุรี เมื่อปลายปีที่ผ่านมา สุภาภรณ์ กล่าวว่า หลังจากได้รับการส่งเสริมการทำเบเกอรี่แล้ว เธอและสมาชิกในชุมชนก็ช่วยกันฝึกทำอีกสองครั้ง เพื่อให้แน่ใจว่าขั้นตอนและรสชาติเป็นไปตามที่อาจารย์สอน จากนั้นก็เริ่มทำขาย โดยเน้นไปที่การขายส่ง โดยแต่ละคนก็มีตลาด หรือมีลูกค้าเป็นของตัวเอง ไม่แย่งลูกค้ากัน แต่ถ้าใครได้รับออเดอร์ใหญ่ๆ มาจำนวนมาก เช่น งานประชุมสัมมนาของ อบต.ก็จะระดมสมาชิกในกลุ่มมาช่วยกันทำ ทุกวันนี้สมาชิกชุมชนที่ได้รับการส่งเสริมการประกอบอาชีพด้วยกัน 20 คน ต่างก็มีงานมีรายได้เพิ่มจากการทำเบเกอรี่ขาย เกือบทุกคน มีเพียงไม่กี่คนนั้นที่ยังทำงานอื่นเป็นหลัก แต่ถ้ามีงานใหญ่มาก็จะเข้ามาช่วยงานกลุ่ม "การได้รับความรู้เรื่องเบเกอรี่จากอาจารย์มหาวิทยาลัย ราชภัฏสวนดุสิตนั้น ช่วยให้มีฝีมือและมีความมั่นใจมากขึ้น เพราะอาจารย์ถ่ายทอดความรู้ให้แบบทุกขั้นตอน ทุกเคล็ดลับ หากไปเรียนทำเบเกอรี่ตามสถาบันต่างๆ ที่เปิดสอนก็ต้องใช้เงินจำนวนมาก ซึ่งคนมีรายได้น้อยที่อยากจะพัฒนาตนเองให้มีทักษะฝีมือคงจะไม่มีโอกาส เช่นอบรมขนมแบบนี้ จะมีค่าใช้จ่ายประมาณ 2,500-3,500 บาทต่อคอร์ส ซึ่งใช้เวลาอบรมเพียง 3 ชั่วโมงเท่านั้น แต่การอบรมที่สำนักงานจัดหางานจังหวัดนนทบุรีจัดให้มีถึง 3 วันเต็ม ชาวบ้านไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น แถมมีอาหารกลางวันเลี้ยงด้วย เป็นโครงการที่ดี มีประโยชน์ ถ้าเป็นไปได้อยากให้มีการจัดอบรมต่อยอดอีก" สุภาภรณ์ กล่าว ทุกวันนี้ สุภาภรณ์ และพี่ๆ น้องๆ ในครอบครัวช่วยกันทำขนมส่งขาย เช่น บัตเตอร์เค้ก เอแคลร์ แยมโรล บราวนี่ ที่ขายดีที่สุดคือปั้นขลิบไส้ปลา ซึ่งส่งขายตามร้านกาแฟ น้องสาว สามารถสร้างรายได้เพิ่ม ช่วยสามีที่เลี้ยงแพะและขายนมแพะ เลี้ยงลูก 4 คน ต่อไปในอนาคตอาจจะสามารถประกอบอาชีพนี้เป็นอาชีพหลักได้ "แม่บ้านเลี้ยงลูกอยู่กับบ้านสามารถหารายได้ โดยไม่ต้องออกไปทำงานนอกบ้าน เพียงแต่ต้องคิดว่าเราสามารถทำอะไรได้บ้าง แล้วก็ขวนขวายหาความรู้ หาช่องทาง ก็จะช่วยหาเงินเข้าบ้านได้ เป้าหมายต่อไปคือ อยากยึดอาชีพนี้เป็นอาชีพหลักที่มีความมั่นคงให้ตัวเอง ต้องหมั่นหาความรู้ ฝึกฝน และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ" สุภาภรณ์กล่าว ประวิทย์ เคียงผล อธิบดีกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน กล่าวว่า กรมการจัดหางาน โดยกองส่งเสริมการมีงานทำ มีโครงการเพิ่มอาชีพ เพิ่มรายได้ ได้เปิดให้คนหางานซึ่งมีทั้งประชาชนทั่วไป ผู้ถูกเลิกจ้าง ได้มีโอกาสในการประกอบอาชีพอิสระ โดยให้รวมกลุ่มกันมาขอรับการส่งเสริมการประกอบอาชีพฝึกอบรมตามความสนใจ โดยสำนักงานจัดหางานจังหวัดในพื้นที่ที่ประชาชนรวมกลุ่มกันมาขอรับการส่งเสริมการประกอบอาชีพอบรมนั้น จะเป็นผู้ดำเนินการให้ ตั้งแต่จัดหาวิทยากร ผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้นๆ มาถ่ายทอดความรู้ สาขาที่ขอรับการอบรมมากที่สุดคือ การทำเบเกอรี่ การจักสานกระเป๋าด้วยเส้นพลาสติก การนวดแผนไทย และการเพาะเห็ด ปีงบประมาณ 2557 ยังคงมีโครงการเพิ่มอาชีพเพิ่มรายได้ให้ผู้ว่างงาน ผู้ถูกเลิกจ้าง แรงงานรอฤดูกาล ประชาชนทั่วไป และแรงงานที่ได้รับผลกระทบจากการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ให้มีความรู้และทักษะในประกอบอาชีพใหม่หรืออาชีพเสริมอย่างต่อเนื่อง...โดย...หทัยรัตน์ ดีประเสริฐ) ขอบคุณ ... http://goo.gl/k1zJgQ คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 25 ก.ย.56
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)