ฝึก “อาชีพเสริม” เติม “ทักษะชีวิต” ที่ รร.นครราชสีมาปัญญานุกูล

แสดงความคิดเห็น

นำภูมิปัญญาท้องถิ่นสร้างพื้นฐานอาชีพแก่ “เด็กบกพร่องการได้ยิน” กว่าร้อยละ70ของเด็กนักเรียนที่บกพร่องทางการได้ยินของ “โรงเรียนนครราชสีมาปัญญานุกูล” ส่วนใหญ่เมื่อจบการศึกษา ก็จะออกไปใช้ชีวิตหรือประกอบอาชีพร่วมกับครอบครัว มีเพียงส่วนน้อยที่เรียนต่อไปในระดับอุดมศึกษา ดังนั้นการพัฒนา “ทักษะอาชีพ” เพื่อเพิ่มพูน “ทักษะชีวิต” จึงเป็นสิ่งสำคัญไม่น้อยไปกว่าทักษะในด้านวิชาการต่างๆ และเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายด้านการศึกษาที่มุ่งเน้นไปสู่การมี อาชีพ

“นางสายสมร เพชรอยู่” ครูผู้ได้รับรางวัล “ทุนครูสอนดี” จึงได้ต่อยอดวิชาการงานอาชีพ พื้นฐานที่มีอยู่ ด้วยการนำ“ภูมิปัญญาอาหารท้องถิ่น”ของเมืองย่าโม และอาชีพใหม่ๆ ที่น่าสนใจในปัจจุบัน มาใช้ฝึกทักษะอาชีพเสริมให้กับเด็กๆ ผ่านโครงการ“พัฒนาทักษะอาชีพของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน”ภาย ใต้“โครงการสังคมไทยร่วมกันคืนครูดีให้ศิษย์ เชิดชู ยกย่อง ครูสอนดี” ที่ขับเคลื่อนโดยสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพ เยาวชนหรือสสค.เพื่อให้เด็กที่บกพร่องทางการยินตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่1ถึง6ได้มีความรู้ความสามารถในการประกอบอาชีพต่างๆ และสามารถขยายผลไปสู่การสร้างงานสร้างรายได้ให้กับตนเองอย่างยั่งยืนเมื่อจบ การศึกษาออกไป

ทั้งนี้เนื่องจากเด็กที่บกพร่องทางการได้ยิน สามารถอยู่ร่วมในสังคมและสื่อสารกับคนปกติได้ด้วยการใช้ภาษาเขียนและภาษามือ แต่ปัจจัยสำคัญในการที่จะให้เด็กกลุ่มนี้สามารถใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุขก็คือ ทักษะและความสามารถในการที่จะพึ่งพาตัวเองในด้านต่างๆ ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ“ทักษะอาชีพ”ที่จะช่วยให้เขาสามารถประกอบอาชีพเลี้ยง ดูตัวเองเมื่อออกไปสู่สังคมภายนอกได้

“เพื่อที่จะให้เขาสามารถอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข และสามารถนำอาชีพที่ฝึกสอนไปประกอบอาชีพได้ จึงได้นำ 4 อาชีพที่น่าสนใจ ประกอบไปด้วย อาชีพการประดิษฐ์ตกแต่งดอกไม้สวยด้วยมือหนู อาชีพเพ้นท์เล็บ อาชีพหมี่โคราชแบบครบวงจร และอาชีพเบเกอรี่ มาฝึกสอนให้กับเด็กๆ เพราะแต่ละอาชีพสามารถนำไปประกอบอาชีพได้จริง มีตลาดรองรับ ลงทุนไม่มากนัก และมีความเหมาะสมและสอดคล้องกับรูปแบบการดำเนินชีวิตของเด็กกลุ่มนี้มากที่ สุด”ครูสายสมรกล่าว

ในแต่ละอาชีพอย่าง“เพ้นท์เล็บ”หรือ“ประดิษฐ์ดอกไม้”ก็จะมีการประสาน ความร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญมาช่วยฝึกสอนให้กับทั้งตัวครูและเด็กนักเรียนจนเกิดความชำนาญ นอกจากนี้ในเรื่อง“เบเกอรี่”คณะครูก็ต้องลงทุนไปเรียนด้วยตัวเอง ก่อนที่จะนำความรู้กลับมาสอนให้กับเด็กๆ รวมไปถึงใช้กระบวนการ“พี่สอนน้อง”ช่วยถ่ายถอดความรู้จากครูและรุ่นพี่ไป สู่น้องๆ

โดยเฉพาะในเรื่องของ“หมี่โคราช”ได้มีการพาเด็กๆ ไปเรียนรู้และฝึกงานกับโรงงานผลิต เพื่อให้พวกเขาได้เรียนรู้ในทุกขั้นตอนอย่างครบวงจร ตั้งแต่กรรมวิธีการผลิตเส้น การทำเส้นสำเร็จรูป การทำน้ำปรุงรสสำเร็จรูป จนสามารถผลิตเป็นเส้นหมี่สำเร็จรูปพร้อมปรุง “หมี่โคราชเด้อค่ะ” ภายใต้แบรนด์ของโรงเรียน นอกจากนี้คณะครูยังช่วยกันคิดค้นพัฒนาสูตรและพลิกแพลงให้หมี่โคราชนั้นออกมา เป็นเมนูใหม่ๆ อีกเป็นจำนวนมาก อาทิ เส้นหมี่สปาเก็ตตี้, เส้นหมี่ยำ, หมี่ผัดผักกระเฉดฯลฯเพื่อเพิ่มความน่าสนใจให้กับผู้บริโภค และยังเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์อีกด้วย

ด.ญ.ขวัญฤดี อ้นสุขหรือ“น้องขวัญ”อายุ15ปี นักเรียนชั้น ม.1บอกเล่าผ่านภาษามือและแววตาที่มีความสุขว่า ชื่นชอบการทำเบเกอรี่มาเป็นพิเศษ เพราะได้ทดลองทำขนมหลากหลายชนิด แต่ละครั้งก็ต้องมาลุ้นว่าขนมที่ออกจากเต้าหน้าตาจะเป็นเหมือนที่คิดไว้หรือ เปล่า

“เรียนครั้งแรกก็ยากหน่อย เพราะขนมแต่ละชนิดมีสูตรและส่วนผสมที่แตกต่างกัน ต้องจำสูตรให้ได้ทั้งหมดและมีอุปกรณ์เยอะ แต่พอทำๆ ไปก็รู้สึกสนุกจนมีความคิดที่อยากจะเรียนต่อด้านคหกรรม หรือวิทยาศาสตร์การอาหาร เพราะในอนาคตก็อยากจะเปิดร้านเบเกอรี่เป็นของตัวเอง”น้องขวัญกล่าว

ด้านรุ่นพี่ชั้น ม.6ที่มีหัวทางศิลปะน.ส.วรรณิสา ท่าแก่นหรือ“น้องสอง”อายุ20ปี เล่าผ่านล่ามภาษามือว่า โดยส่วนตัวเป็นคนที่ชอบงานศิลปะอยู่แล้ว จึงมีความสนใจเรื่องของอาชีพเพ้นท์เล็บมากเป็นพิเศษ เพราะสนุก ทำได้ง่าย สามารถออกแบบสีสันลวดลายให้สวยงามได้ด้วยตัวเอง

“เพ้นท์เล็บเป็นงานที่ไม่ยาก หากทำได้แล้วก็สามารถนำไปประกอบอาชีพได้ทันที ลงทุนไม่มาก ทำที่บ้านหรือตามตลาดนัดก็ได้ ทุกวันนี้เวลาหลังเลิกเรียนก็จะมีเพื่อนๆ มาช่วยให้เพ้นท์เล็บให้ถึงบนหอพักทำให้คิดว่าน่าจะเป็นไปได้ที่จะเปิดร้าน เป็นของตัวเองเมื่อเรียนจบ แต่ตอนนี้ความตั้งใจคืออยากจะเรียนต่อปริญญาตรีเอกการศึกษาพิเศษ เพื่อจะได้มาเป็นครูช่วยดูแลน้องๆ”น้องสองกล่าว

และเพื่อเป็นการต่อยอดขยายผลให้เกิดความยั่งยืน “ครูสายสมร” กล่าวว่า ผู้บริหาร รร.นครราชสีมาปัญญานุกูล ยังมีแนวคิดที่จะเปิดร้านจำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์ที่ได้จากโครงการบริเวณ ด้านหน้าโรงเรียน รวมไปถึงประสานกับหน่วยงานราชการและภาคเอกชนในพื้นที่ในการช่วยสนับสนุน ผลิตภัณฑ์ฝีมือของเด็กๆ โดยปัจจุบันผลิตภัณฑ์เบเกอรี่อย่าง คุ้กกี้ เค้ก และขนมต่างๆ ก็มียอดสั่งซื้อเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งนอกจากจะสร้างรายได้เสริมในยามเรียนให้กับเด็กๆ แล้ว ยังเป็นการสร้างความเชื่อมั่น และกำลังใจการที่จะออกไปใช้ชีวิตในโลกภายนอกได้อีกด้วย

“เด็กที่พิการทางการได้ยิน ถึงหูเขาไม่ได้ยิน แต่ก็ไม่ได้เป็นขีดจำกัดในด้านความคิดสร้างสรรค์ อย่างงานดอกไม้สวยด้วยมือหนู เพ้นท์เล็บ ผัดหมี่ หรือ เบเกอรี่ เขาก็สามารถทำได้โดยไม่มีขีดจำกัดเหมือนคนปกติ และบางครั้งก็ทำได้ดีกว่าคนปกติด้วยซ้ำไป”ครูสายสมรระบุ

ซึ่งการดำเนินโครงการนี้“ครูสายสมร”วาดหวังเพียงอยากให้ลูกศิษย์ทั้ง กลุ่มนี้และกลุ่มต่อๆ ไป ได้มาเรียนรู้และฝึกฝนทักษะอาชีพอย่างต่อเนื่อง เพื่อที่จะได้นำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในการประกอบอาชีพ สร้างรายได้ให้กับตนเอง ช่วยเหลือครอบครัวได้ และไม่เป็นภาระต่อสังคม

“เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ถ้าเขาได้รับการสนับสนุนจากคนปกติ ไม่ว่าจะไปอยู่ที่ไหน ถ้าเรารู้จักและเข้าใจเขาแล้ว เขาก็จะไม่เป็นภาระให้กับเราเลย อีกอย่างหนึ่งคนพิการเขาไม่ได้ต้องการเป็นฝ่ายรับจากคนปกติเพียงอย่างเดียว เขามีการให้กับคนอื่นๆ ด้วยเหมือนกัน อย่างสิ่งต่างๆ ที่เขาเรียนรู้ตรงนี้เขาก็มีโอกาสที่จะไปถ่ายทอดความรู้ให้คนอื่น หรือโรงเรียนอื่นๆ ที่มาศึกษาดูงาน เราก็ยังได้นำเด็กกลุ่มนี้มาเป็นวิทยากร ซึ่งเขาก็สามารถช่วยเราได้เหมือนกับคนปกติ”ครูสายสมรกล่าวสรุป

ขอบคุณ... http://www.naewna.com/local/74558

แนวหน้าออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 28 ต.ค.56

ที่มา: แนวหน้าออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 28 ต.ค.56
วันที่โพสต์: 29/10/2556 เวลา 04:40:17

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

นำภูมิปัญญาท้องถิ่นสร้างพื้นฐานอาชีพแก่ “เด็กบกพร่องการได้ยิน” กว่าร้อยละ70ของเด็กนักเรียนที่บกพร่องทางการได้ยินของ “โรงเรียนนครราชสีมาปัญญานุกูล” ส่วนใหญ่เมื่อจบการศึกษา ก็จะออกไปใช้ชีวิตหรือประกอบอาชีพร่วมกับครอบครัว มีเพียงส่วนน้อยที่เรียนต่อไปในระดับอุดมศึกษา ดังนั้นการพัฒนา “ทักษะอาชีพ” เพื่อเพิ่มพูน “ทักษะชีวิต” จึงเป็นสิ่งสำคัญไม่น้อยไปกว่าทักษะในด้านวิชาการต่างๆ และเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายด้านการศึกษาที่มุ่งเน้นไปสู่การมี อาชีพ “นางสายสมร เพชรอยู่” ครูผู้ได้รับรางวัล “ทุนครูสอนดี” จึงได้ต่อยอดวิชาการงานอาชีพ พื้นฐานที่มีอยู่ ด้วยการนำ“ภูมิปัญญาอาหารท้องถิ่น”ของเมืองย่าโม และอาชีพใหม่ๆ ที่น่าสนใจในปัจจุบัน มาใช้ฝึกทักษะอาชีพเสริมให้กับเด็กๆ ผ่านโครงการ“พัฒนาทักษะอาชีพของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน”ภาย ใต้“โครงการสังคมไทยร่วมกันคืนครูดีให้ศิษย์ เชิดชู ยกย่อง ครูสอนดี” ที่ขับเคลื่อนโดยสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพ เยาวชนหรือสสค.เพื่อให้เด็กที่บกพร่องทางการยินตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่1ถึง6ได้มีความรู้ความสามารถในการประกอบอาชีพต่างๆ และสามารถขยายผลไปสู่การสร้างงานสร้างรายได้ให้กับตนเองอย่างยั่งยืนเมื่อจบ การศึกษาออกไป ทั้งนี้เนื่องจากเด็กที่บกพร่องทางการได้ยิน สามารถอยู่ร่วมในสังคมและสื่อสารกับคนปกติได้ด้วยการใช้ภาษาเขียนและภาษามือ แต่ปัจจัยสำคัญในการที่จะให้เด็กกลุ่มนี้สามารถใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุขก็คือ ทักษะและความสามารถในการที่จะพึ่งพาตัวเองในด้านต่างๆ ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ“ทักษะอาชีพ”ที่จะช่วยให้เขาสามารถประกอบอาชีพเลี้ยง ดูตัวเองเมื่อออกไปสู่สังคมภายนอกได้ “เพื่อที่จะให้เขาสามารถอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข และสามารถนำอาชีพที่ฝึกสอนไปประกอบอาชีพได้ จึงได้นำ 4 อาชีพที่น่าสนใจ ประกอบไปด้วย อาชีพการประดิษฐ์ตกแต่งดอกไม้สวยด้วยมือหนู อาชีพเพ้นท์เล็บ อาชีพหมี่โคราชแบบครบวงจร และอาชีพเบเกอรี่ มาฝึกสอนให้กับเด็กๆ เพราะแต่ละอาชีพสามารถนำไปประกอบอาชีพได้จริง มีตลาดรองรับ ลงทุนไม่มากนัก และมีความเหมาะสมและสอดคล้องกับรูปแบบการดำเนินชีวิตของเด็กกลุ่มนี้มากที่ สุด”ครูสายสมรกล่าว ในแต่ละอาชีพอย่าง“เพ้นท์เล็บ”หรือ“ประดิษฐ์ดอกไม้”ก็จะมีการประสาน ความร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญมาช่วยฝึกสอนให้กับทั้งตัวครูและเด็กนักเรียนจนเกิดความชำนาญ นอกจากนี้ในเรื่อง“เบเกอรี่”คณะครูก็ต้องลงทุนไปเรียนด้วยตัวเอง ก่อนที่จะนำความรู้กลับมาสอนให้กับเด็กๆ รวมไปถึงใช้กระบวนการ“พี่สอนน้อง”ช่วยถ่ายถอดความรู้จากครูและรุ่นพี่ไป สู่น้องๆ โดยเฉพาะในเรื่องของ“หมี่โคราช”ได้มีการพาเด็กๆ ไปเรียนรู้และฝึกงานกับโรงงานผลิต เพื่อให้พวกเขาได้เรียนรู้ในทุกขั้นตอนอย่างครบวงจร ตั้งแต่กรรมวิธีการผลิตเส้น การทำเส้นสำเร็จรูป การทำน้ำปรุงรสสำเร็จรูป จนสามารถผลิตเป็นเส้นหมี่สำเร็จรูปพร้อมปรุง “หมี่โคราชเด้อค่ะ” ภายใต้แบรนด์ของโรงเรียน นอกจากนี้คณะครูยังช่วยกันคิดค้นพัฒนาสูตรและพลิกแพลงให้หมี่โคราชนั้นออกมา เป็นเมนูใหม่ๆ อีกเป็นจำนวนมาก อาทิ เส้นหมี่สปาเก็ตตี้, เส้นหมี่ยำ, หมี่ผัดผักกระเฉดฯลฯเพื่อเพิ่มความน่าสนใจให้กับผู้บริโภค และยังเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์อีกด้วย ด.ญ.ขวัญฤดี อ้นสุขหรือ“น้องขวัญ”อายุ15ปี นักเรียนชั้น ม.1บอกเล่าผ่านภาษามือและแววตาที่มีความสุขว่า ชื่นชอบการทำเบเกอรี่มาเป็นพิเศษ เพราะได้ทดลองทำขนมหลากหลายชนิด แต่ละครั้งก็ต้องมาลุ้นว่าขนมที่ออกจากเต้าหน้าตาจะเป็นเหมือนที่คิดไว้หรือ เปล่า “เรียนครั้งแรกก็ยากหน่อย เพราะขนมแต่ละชนิดมีสูตรและส่วนผสมที่แตกต่างกัน ต้องจำสูตรให้ได้ทั้งหมดและมีอุปกรณ์เยอะ แต่พอทำๆ ไปก็รู้สึกสนุกจนมีความคิดที่อยากจะเรียนต่อด้านคหกรรม หรือวิทยาศาสตร์การอาหาร เพราะในอนาคตก็อยากจะเปิดร้านเบเกอรี่เป็นของตัวเอง”น้องขวัญกล่าว ด้านรุ่นพี่ชั้น ม.6ที่มีหัวทางศิลปะน.ส.วรรณิสา ท่าแก่นหรือ“น้องสอง”อายุ20ปี เล่าผ่านล่ามภาษามือว่า โดยส่วนตัวเป็นคนที่ชอบงานศิลปะอยู่แล้ว จึงมีความสนใจเรื่องของอาชีพเพ้นท์เล็บมากเป็นพิเศษ เพราะสนุก ทำได้ง่าย สามารถออกแบบสีสันลวดลายให้สวยงามได้ด้วยตัวเอง “เพ้นท์เล็บเป็นงานที่ไม่ยาก หากทำได้แล้วก็สามารถนำไปประกอบอาชีพได้ทันที ลงทุนไม่มาก ทำที่บ้านหรือตามตลาดนัดก็ได้ ทุกวันนี้เวลาหลังเลิกเรียนก็จะมีเพื่อนๆ มาช่วยให้เพ้นท์เล็บให้ถึงบนหอพักทำให้คิดว่าน่าจะเป็นไปได้ที่จะเปิดร้าน เป็นของตัวเองเมื่อเรียนจบ แต่ตอนนี้ความตั้งใจคืออยากจะเรียนต่อปริญญาตรีเอกการศึกษาพิเศษ เพื่อจะได้มาเป็นครูช่วยดูแลน้องๆ”น้องสองกล่าว และเพื่อเป็นการต่อยอดขยายผลให้เกิดความยั่งยืน “ครูสายสมร” กล่าวว่า ผู้บริหาร รร.นครราชสีมาปัญญานุกูล ยังมีแนวคิดที่จะเปิดร้านจำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์ที่ได้จากโครงการบริเวณ ด้านหน้าโรงเรียน รวมไปถึงประสานกับหน่วยงานราชการและภาคเอกชนในพื้นที่ในการช่วยสนับสนุน ผลิตภัณฑ์ฝีมือของเด็กๆ โดยปัจจุบันผลิตภัณฑ์เบเกอรี่อย่าง คุ้กกี้ เค้ก และขนมต่างๆ ก็มียอดสั่งซื้อเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งนอกจากจะสร้างรายได้เสริมในยามเรียนให้กับเด็กๆ แล้ว ยังเป็นการสร้างความเชื่อมั่น และกำลังใจการที่จะออกไปใช้ชีวิตในโลกภายนอกได้อีกด้วย “เด็กที่พิการทางการได้ยิน ถึงหูเขาไม่ได้ยิน แต่ก็ไม่ได้เป็นขีดจำกัดในด้านความคิดสร้างสรรค์ อย่างงานดอกไม้สวยด้วยมือหนู เพ้นท์เล็บ ผัดหมี่ หรือ เบเกอรี่ เขาก็สามารถทำได้โดยไม่มีขีดจำกัดเหมือนคนปกติ และบางครั้งก็ทำได้ดีกว่าคนปกติด้วยซ้ำไป”ครูสายสมรระบุ ซึ่งการดำเนินโครงการนี้“ครูสายสมร”วาดหวังเพียงอยากให้ลูกศิษย์ทั้ง กลุ่มนี้และกลุ่มต่อๆ ไป ได้มาเรียนรู้และฝึกฝนทักษะอาชีพอย่างต่อเนื่อง เพื่อที่จะได้นำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในการประกอบอาชีพ สร้างรายได้ให้กับตนเอง ช่วยเหลือครอบครัวได้ และไม่เป็นภาระต่อสังคม “เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ถ้าเขาได้รับการสนับสนุนจากคนปกติ ไม่ว่าจะไปอยู่ที่ไหน ถ้าเรารู้จักและเข้าใจเขาแล้ว เขาก็จะไม่เป็นภาระให้กับเราเลย อีกอย่างหนึ่งคนพิการเขาไม่ได้ต้องการเป็นฝ่ายรับจากคนปกติเพียงอย่างเดียว เขามีการให้กับคนอื่นๆ ด้วยเหมือนกัน อย่างสิ่งต่างๆ ที่เขาเรียนรู้ตรงนี้เขาก็มีโอกาสที่จะไปถ่ายทอดความรู้ให้คนอื่น หรือโรงเรียนอื่นๆ ที่มาศึกษาดูงาน เราก็ยังได้นำเด็กกลุ่มนี้มาเป็นวิทยากร ซึ่งเขาก็สามารถช่วยเราได้เหมือนกับคนปกติ”ครูสายสมรกล่าวสรุป ขอบคุณ... http://www.naewna.com/local/74558 แนวหน้าออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 28 ต.ค.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...