นศ.พิเศษ มรภ.สงขลา ทำ “ถั่วงอกพอเพียง” ค้นแรงบันดาลใจ เพิ่มรายได้ระหว่างเรียน
นิยามของคำว่า “เด็กพิเศษ” ในมุมมองของมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) คือ กลุ่มคนที่พยายามที่จะยืนหยัดอยู่ในสังคมร่วมกับคนปกติ ด้วยกำลังใจที่เข้มแข็ง และความสามารถที่มีในตัวเอง ดังเช่นที่ปรากฏในกลุ่มนักศึกษาผู้มีความบกพร่องทางการได้ยิน กับผลงานที่มีชื่อว่า “ถั่วงอกพอเพียง”
ในการเรียนวิชาเรียนรู้คุณธรรมนำชีวิตพอเพียงของ มรภ.สงขลา มีการจัดโครงการจิตอาสา ประกอบวิชาเรียน เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้คิด และทำกิจกรรมที่ตนเองสนใจ ซึ่งนักศึกษาชั้นปีที่ 2 โปรแกรมทัศนศิลป์ ที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ได้เลือกทำ “ถั่วงอกพอเพียง” โดยพวกเขามองว่า นอกจากจะก่อให้เกิดรายได้ระหว่างเรียน สามารถนำมารับประทานในครอบครัว และแบ่งปันให้แก่คนรอบข้างได้แล้ว ยังเป็นบทพิสูจน์ถึงการได้ทำในสิ่งเดียวกับที่คนปกติทำได้ก่อให้เกิดแรงบันดาลใจที่จะทำสิ่งอื่นๆต่อไป
นางหทัยรัตน์ ศรีชัยชนะ ล่ามภาษามือประจำสถาบันพัฒนาการศึกษาพิเศษ มรภ.สงขลา ถ่ายทอดคำกล่าวของตัวแทนผู้มีความบกพร่องทางการได้ยิน ว่า เหตุผลที่เลือกทำถั่วงอกพอเพียง เพราะมองในเรื่องคำสอนของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในเรื่องของเศรษฐกิจพอเพียง ที่สามารถเริ่มต้นที่ตัวเองได้ ประกอบกับกรรมวิธีในการทำถั่วงอกการทำก็ไม่ยาก พวกตนใช้วิธีการรดน้ำสม่ำเสมอ และหมั่นไม่ให้โดนแดด เพียง3วันก็ได้ถั่วงอกต้นอวบน่ารับประทานสามารถนำมาจำหน่ายหรือประกอบอาหารได้
ประการสำคัญ ทางกลุ่มได้นำถั่วงอกที่เพาะขึ้นมานี้ไปมอบให้แก่น้องๆ ที่อยู่ในสถาบันพัฒนาการศึกษาพิเศษ มรภ.สงขลา สำหรับทำเป็นอาหารกลางวัน พร้อมทั้งเล่าให้น้องๆ ฟังเกี่ยวกับการเพาะถั่วงอกว่าเป็นพืชที่สามารถเพาะเลี้ยงได้ง่าย อีกทั้งยังลดค่าใช้จ่ายอาหารกลางวันได้ด้วย ซึ่งเพื่อนสมาชิกในกลุ่มก็ได้นำถั่วงอกพอเพียงไปทำอาหารประเภทผัด ก็ได้รสชาติที่อร่อย และมีคุณค่าทางโภชนาการ ทุกคนจึงเห็นพ้องกันที่จะเพาะถั่วงอกพอเพียงแจกจ่ายให้แก่คนรอบข้างต่อไป ไม่เพียงเท่านั้น ทางกลุ่มยังคิดต่อไปว่าจะนำถั่วงอกพอเพียงไปมอบให้แก่โรงเรียนสงขลาพัฒนา ปัญญา เพื่อให้คนอื่นๆ ได้เห็นถึงการดำเนินรอยตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้งความสามารถที่จะช่วยให้เราเลี้ยงตัวเองได้ เพราะเมื่อเพื่อนสมาชิกเข้าในกระบวนการและขั้นตอนการทำถั่วงอกพอเพียงแล้วคาดว่าอาจจะนำไปใช้ในการประกอบอาชีพในอนาคตได้อีกด้วย
ด้านนายวิวัฒน์ ศัลยกำธร กรรมการสภา มรภ.สงขลา ในฐานะที่ปรึกษาวิชาเรียนรู้คุณธรรมนำชีวิตพอเพียง กล่าวว่า ตนได้บรรยายเกี่ยวกับแนวทางที่จะพัฒนาให้คนพึ่งตนเองได้ และได้เชิญชวนให้นักศึกษาได้คิดร่วมกันว่าจะพึ่งตนเองด้านอะไรบ้าง ด้านการกิน การใช้ ที่อยู่อาศัย และสภาพแวดล้อม เรื่องการกินก็สำคัญ แต่เราต้องสามารถปลูกเองได้ด้วย ซึ่งต้นไม้ที่ปลูกแล้วโตเร็วที่สุด ก็คือ ถั่วงอก ปรากฏว่าคนตาดี หูดี เฉย แต่มีคนหูไม่ปกติฟังไม่รู้เรื่อง สื่อสารออกมาว่าเขาจะทำให้ดู เพาะถั่วงอกมาแจกให้เรากิน และได้ลงมือทำอย่างจริงจัง ซึ่งก็น่ายินดีที่นักศึกษาเหล่านี้พึ่งตนเองได้ สามารถผลิตถั่วงอกไว้กินเอง รวมทั้งนำมาแจกให้แก่คณะกรรมการสภามรภ.สงขลาได้ประจักษ์ถึงศักยภาพของพวกเขา
นอกจากนั้น ตนได้ให้นักศึกษาหาความรู้ทางวิชาการด้วยว่า ถ้ากินถั่วงอกในตลาดจะพบกับสารอะไร ก่อโรคอะไร แล้วก็เริ่มทำกินเอง เมื่อพอเขาทำเป็น มีทักษะ ก็ให้เขาสรุปสาระที่ได้ออกมาในรูปวิชาการ เพราะการศึกษาก็ไม่มีอะไร มีแค่ทักษะกับสาระ ในส่วนของสาระก็พัฒนาให้เป็นวิชาการ ครูบาอาจารย์ก็นำความรู้ทางวิชาการไปเสริมให้แก่เด็ก เด็กก็จะมีความรู้ทางวิชาการ เริ่มตั้งแต่ทำไมถึงเพาะถั่วงอก เพราะไปลดการกินสารพิษตั้งแต่กระบวนการผลิต การขนส่ง การเก็บถั่วงอก จนถึงแปรรูป ทำให้คนป่วยเป็นโรคอะไรบ้าง เรื่องพวกนี้ถ้าเด็กทำทุกเดือน เดือนหนึ่งๆ ทำเรื่องใหม่มาเรื่อยๆ การศึกษาในมหาวิทยาลัยก็จะเด่นมาก และควรมีการวิเคราะห์ให้ลึกขึ้นไปเรื่อยๆ ซึ่งถั่วงอกพอเพียงคือตัวอย่างหนึ่งซึ่งนักศึกษาผู้มีความบกพร่องทางการได้ ยินทำสำเร็จแล้ว
นายโสภณ สุภาพงษ์ อดีตนายกสภา มรภ.สงขลา กล่าวว่า การปลูกถั่วงอกสามารถพัฒนาความคิดไปสู่สิ่งที่หลากหลาย ซึ่งในกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ถือว่าน่าสนใจมาก เพราะการศึกษาคือการเข้าถึงธรรมชาติ ซึ่งการได้สังเกตกระบวนการเพาะถั่วงอก จะทำให้เข้าใจธรรมชาติมากขึ้น ทำให้เรามีชีวิตที่พึ่งพาตัวเอง และมีความสุขได้ กระบวนการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นนี้เป็นจุดเริ่มต้นสำคัญที่ทำให้เรารู้จัก ธรรมชาติ และอยู่อย่างสอดคล้องกับธรรมชาติ พอเพียงก็คือการพอเหมาะ พอดี พอควร สมดุลกับธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นธรรมชาติทางกายภาพ หรือว่าธรรมชาติทางจิตใจ ธรรมชาติทางกรรม นี่คือจุดเริ่มต้นที่เป็นรูปธรรม สุดท้ายก็จะพบความสุข เพราะสิ่งที่ทำนั้นสอดคล้องกับธรรมชาติ และการศึกษา ไม่อยากให้นักศึกษาหยุดเพียงแค่นี้ ลองเข้าใจแล้วอธิบายให้เพื่อนฟัง ว่าหนูมีความสุขมากเพียงใดในการปลูกถั่วงอก ไม่ต้องเสียสตางค์ไปเดินห้าง ยิ่งทำเท่าไรก็ยิ่งเหลือมากขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งให้ก็ยิ่งมีฐานะดีขึ้นเรื่อยๆ ที่สำคัญ ผู้ใหญ่อย่างเราๆ ควรให้การส่งเสริมและสนับสนุนอย่างเต็มที่เพื่อที่พวกเขาจะได้มีแรงบันดาลใจที่จะสร้างสรรค์สิ่งดีๆต่อไป
เพราะไม่ว่าจะนักศึกษาปกติ หรือนักศึกษาพิเศษ ขอเพียงแค่สังคมให้โอกาสและเปิดใจยอมรับ พวกเขาก็พร้อมที่จะคิด และทำสิ่งดีๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อตนเอง และสังคมอย่างสุดกำลังความสามารถ
ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/South/ViewNews.aspx?NewsID=9560000135980 (ขนาดไฟล์: 166)
ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 31 ต.ค.56
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
นศ.ผู้เพาะถั่วงอก และล่ามแปลภาษามือ นิยามของคำว่า “เด็กพิเศษ” ในมุมมองของมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) คือ กลุ่มคนที่พยายามที่จะยืนหยัดอยู่ในสังคมร่วมกับคนปกติ ด้วยกำลังใจที่เข้มแข็ง และความสามารถที่มีในตัวเอง ดังเช่นที่ปรากฏในกลุ่มนักศึกษาผู้มีความบกพร่องทางการได้ยิน กับผลงานที่มีชื่อว่า “ถั่วงอกพอเพียง” ในการเรียนวิชาเรียนรู้คุณธรรมนำชีวิตพอเพียงของ มรภ.สงขลา มีการจัดโครงการจิตอาสา ประกอบวิชาเรียน เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้คิด และทำกิจกรรมที่ตนเองสนใจ ซึ่งนักศึกษาชั้นปีที่ 2 โปรแกรมทัศนศิลป์ ที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ได้เลือกทำ “ถั่วงอกพอเพียง” โดยพวกเขามองว่า นอกจากจะก่อให้เกิดรายได้ระหว่างเรียน สามารถนำมารับประทานในครอบครัว และแบ่งปันให้แก่คนรอบข้างได้แล้ว ยังเป็นบทพิสูจน์ถึงการได้ทำในสิ่งเดียวกับที่คนปกติทำได้ก่อให้เกิดแรงบันดาลใจที่จะทำสิ่งอื่นๆต่อไป นศ.ผู้เพาะถั่วงอก พร้อมผลงานถั่วงอกในบรรจุภัณฑ์ นางหทัยรัตน์ ศรีชัยชนะ ล่ามภาษามือประจำสถาบันพัฒนาการศึกษาพิเศษ มรภ.สงขลา ถ่ายทอดคำกล่าวของตัวแทนผู้มีความบกพร่องทางการได้ยิน ว่า เหตุผลที่เลือกทำถั่วงอกพอเพียง เพราะมองในเรื่องคำสอนของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในเรื่องของเศรษฐกิจพอเพียง ที่สามารถเริ่มต้นที่ตัวเองได้ ประกอบกับกรรมวิธีในการทำถั่วงอกการทำก็ไม่ยาก พวกตนใช้วิธีการรดน้ำสม่ำเสมอ และหมั่นไม่ให้โดนแดด เพียง3วันก็ได้ถั่วงอกต้นอวบน่ารับประทานสามารถนำมาจำหน่ายหรือประกอบอาหารได้ ประการสำคัญ ทางกลุ่มได้นำถั่วงอกที่เพาะขึ้นมานี้ไปมอบให้แก่น้องๆ ที่อยู่ในสถาบันพัฒนาการศึกษาพิเศษ มรภ.สงขลา สำหรับทำเป็นอาหารกลางวัน พร้อมทั้งเล่าให้น้องๆ ฟังเกี่ยวกับการเพาะถั่วงอกว่าเป็นพืชที่สามารถเพาะเลี้ยงได้ง่าย อีกทั้งยังลดค่าใช้จ่ายอาหารกลางวันได้ด้วย ซึ่งเพื่อนสมาชิกในกลุ่มก็ได้นำถั่วงอกพอเพียงไปทำอาหารประเภทผัด ก็ได้รสชาติที่อร่อย และมีคุณค่าทางโภชนาการ ทุกคนจึงเห็นพ้องกันที่จะเพาะถั่วงอกพอเพียงแจกจ่ายให้แก่คนรอบข้างต่อไป ไม่เพียงเท่านั้น ทางกลุ่มยังคิดต่อไปว่าจะนำถั่วงอกพอเพียงไปมอบให้แก่โรงเรียนสงขลาพัฒนา ปัญญา เพื่อให้คนอื่นๆ ได้เห็นถึงการดำเนินรอยตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้งความสามารถที่จะช่วยให้เราเลี้ยงตัวเองได้ เพราะเมื่อเพื่อนสมาชิกเข้าในกระบวนการและขั้นตอนการทำถั่วงอกพอเพียงแล้วคาดว่าอาจจะนำไปใช้ในการประกอบอาชีพในอนาคตได้อีกด้วย ล่ามแปลภาษามือกำลังแปลให้นศ.พิการทางหู ด้านนายวิวัฒน์ ศัลยกำธร กรรมการสภา มรภ.สงขลา ในฐานะที่ปรึกษาวิชาเรียนรู้คุณธรรมนำชีวิตพอเพียง กล่าวว่า ตนได้บรรยายเกี่ยวกับแนวทางที่จะพัฒนาให้คนพึ่งตนเองได้ และได้เชิญชวนให้นักศึกษาได้คิดร่วมกันว่าจะพึ่งตนเองด้านอะไรบ้าง ด้านการกิน การใช้ ที่อยู่อาศัย และสภาพแวดล้อม เรื่องการกินก็สำคัญ แต่เราต้องสามารถปลูกเองได้ด้วย ซึ่งต้นไม้ที่ปลูกแล้วโตเร็วที่สุด ก็คือ ถั่วงอก ปรากฏว่าคนตาดี หูดี เฉย แต่มีคนหูไม่ปกติฟังไม่รู้เรื่อง สื่อสารออกมาว่าเขาจะทำให้ดู เพาะถั่วงอกมาแจกให้เรากิน และได้ลงมือทำอย่างจริงจัง ซึ่งก็น่ายินดีที่นักศึกษาเหล่านี้พึ่งตนเองได้ สามารถผลิตถั่วงอกไว้กินเอง รวมทั้งนำมาแจกให้แก่คณะกรรมการสภามรภ.สงขลาได้ประจักษ์ถึงศักยภาพของพวกเขา นอกจากนั้น ตนได้ให้นักศึกษาหาความรู้ทางวิชาการด้วยว่า ถ้ากินถั่วงอกในตลาดจะพบกับสารอะไร ก่อโรคอะไร แล้วก็เริ่มทำกินเอง เมื่อพอเขาทำเป็น มีทักษะ ก็ให้เขาสรุปสาระที่ได้ออกมาในรูปวิชาการ เพราะการศึกษาก็ไม่มีอะไร มีแค่ทักษะกับสาระ ในส่วนของสาระก็พัฒนาให้เป็นวิชาการ ครูบาอาจารย์ก็นำความรู้ทางวิชาการไปเสริมให้แก่เด็ก เด็กก็จะมีความรู้ทางวิชาการ เริ่มตั้งแต่ทำไมถึงเพาะถั่วงอก เพราะไปลดการกินสารพิษตั้งแต่กระบวนการผลิต การขนส่ง การเก็บถั่วงอก จนถึงแปรรูป ทำให้คนป่วยเป็นโรคอะไรบ้าง เรื่องพวกนี้ถ้าเด็กทำทุกเดือน เดือนหนึ่งๆ ทำเรื่องใหม่มาเรื่อยๆ การศึกษาในมหาวิทยาลัยก็จะเด่นมาก และควรมีการวิเคราะห์ให้ลึกขึ้นไปเรื่อยๆ ซึ่งถั่วงอกพอเพียงคือตัวอย่างหนึ่งซึ่งนักศึกษาผู้มีความบกพร่องทางการได้ ยินทำสำเร็จแล้ว นายโสภณ สุภาพงษ์ อดีตนายกสภา มรภ.สงขลา กล่าวว่า การปลูกถั่วงอกสามารถพัฒนาความคิดไปสู่สิ่งที่หลากหลาย ซึ่งในกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ถือว่าน่าสนใจมาก เพราะการศึกษาคือการเข้าถึงธรรมชาติ ซึ่งการได้สังเกตกระบวนการเพาะถั่วงอก จะทำให้เข้าใจธรรมชาติมากขึ้น ทำให้เรามีชีวิตที่พึ่งพาตัวเอง และมีความสุขได้ กระบวนการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นนี้เป็นจุดเริ่มต้นสำคัญที่ทำให้เรารู้จัก ธรรมชาติ และอยู่อย่างสอดคล้องกับธรรมชาติ พอเพียงก็คือการพอเหมาะ พอดี พอควร สมดุลกับธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นธรรมชาติทางกายภาพ หรือว่าธรรมชาติทางจิตใจ ธรรมชาติทางกรรม นี่คือจุดเริ่มต้นที่เป็นรูปธรรม สุดท้ายก็จะพบความสุข เพราะสิ่งที่ทำนั้นสอดคล้องกับธรรมชาติ และการศึกษา ไม่อยากให้นักศึกษาหยุดเพียงแค่นี้ ลองเข้าใจแล้วอธิบายให้เพื่อนฟัง ว่าหนูมีความสุขมากเพียงใดในการปลูกถั่วงอก ไม่ต้องเสียสตางค์ไปเดินห้าง ยิ่งทำเท่าไรก็ยิ่งเหลือมากขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งให้ก็ยิ่งมีฐานะดีขึ้นเรื่อยๆ ที่สำคัญ ผู้ใหญ่อย่างเราๆ ควรให้การส่งเสริมและสนับสนุนอย่างเต็มที่เพื่อที่พวกเขาจะได้มีแรงบันดาลใจที่จะสร้างสรรค์สิ่งดีๆต่อไป เพราะไม่ว่าจะนักศึกษาปกติ หรือนักศึกษาพิเศษ ขอเพียงแค่สังคมให้โอกาสและเปิดใจยอมรับ พวกเขาก็พร้อมที่จะคิด และทำสิ่งดีๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อตนเอง และสังคมอย่างสุดกำลังความสามารถ ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/South/ViewNews.aspx?NewsID=9560000135980 ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 31 ต.ค.56
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)