พัฒนาศักยภาพเยาวชนภาคตะวันออก เสริมทักษะชีวิตฝึกอาชีพ
เด็กและเยาวชนคือผู้ที่อยู่ในวัยหัวเลี้ยวหัวต่อและกำลังย่างก้าวเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงในหลายๆ ด้าน ในขณะที่หลายคนมีชีวิตที่เติบโตขึ้นอย่างราบรื่นสวยงาม แต่อาจจะมีอีกหลายคนที่กำลังเผชิญกับความท้าทายและอุปสรรคต่างๆ ดังนั้น เพื่อเป็นการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและติดอาวุธทางปัญญาให้กับเยาวชนอย่าง ยั่งยืนนั้น บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด จึงได้ร่วมมือกับ องค์การแพ็คประเทศไทย เข้าไปพัฒนาศักยภาพ ฝึกทักษะชีวิตและอาชีพ เสริมสร้างความรู้ให้กับเยาวชน และเสริมทักษะความเป็นผู้นำให้กับเยาวชนในจังหวัดชลบุรีและระยอง ในโครงการ “ชมรมวัยใส หัวใจคิดบวก” ที่อยู่ภายใต้โครงการ “The Power of Human Energy รวมพลังคน สร้างพลังใจ” โดยโครงการได้ทำงานร่วมกับหน่วยงานสังกัดกระทรวงศึกษาธิการและองค์กรภาคี หลายหน่วยงานในจังหวัด เพื่อเข้าถึงเยาวชนจากสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม อัธยาศัยหรือ กศน.ระยอง และ กศน. ชลบุรี โรงเรียนโสตศึกษา ให้ได้รับการอบรมด้านทักษะวิชาชีพ ทักษะชีวิต มีงานทำ มีรายได้เพิ่มขึ้น และสามารถพึ่งตัวเองได้มากขึ้น โดยมี หทัยรัตน์ อติชาติ ผู้จัดการฝ่ายนโยบายด้านรัฐกิจและกิจการสัมพันธ์ บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด และ คิป เอฟฟิงเกอร์ ผู้อำนวยการองค์การแพ็ค ประเทศไทย เข้าร่วมกิจกรรม
สุวัจนี ไชยฤกษ์ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนโสตศึกษา จังหวัดชลบุรี ผู้มีความบกพร่องทางการได้ยิน ที่ได้เข้าร่วมโครงการ และได้รับการฝึกทักษะอาชีพการนวด บอกว่า ตนมีความบกพร่องทางการได้ยิน เรียกว่าเรียนจบไปก็ไม่รู้จะไปประกอบอาชีพอะไร อาชีพที่ฝันไว้ก็คงจะไม่มีทางเป็นไปได้ แต่เมื่อได้รับการฝึกอบรมจากการเข้าร่วมโครงการ ก็สามารถทำให้มีทักษะด้านอาชีพเพิ่มมากขึ้น คือการนวดแผนไทย นวดฝ่าเท้า สามารถนำไปประกอบอาชีพเสริมในเวลาว่างระหว่างเรียนได้ โดยล่าสุดไปออกบูธ นวดฝ่าเท้ากับเพื่อนๆ ที่อิมแพ็ค เมืองทองธานี ก็สามารถหาเงินได้ 6,000 กว่าบาท ถือเป็นความภูมิใจและดีใจมากที่สามารถหาเงินได้จำนวนมาก ขอบคุณทางโครงการที่นำวิทยากรเข้ามาช่วยสอนเทคนิคการนวด ทำให้มีทักษะสามารถทำได้อย่างคนปกติทั่วไป เรียกว่าฝีมือการนวดก็ไม่ได้ต่างไปจากคนหูดีเลย
ปรเมศวร์ สีหม่น นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนโสตศึกษา จังหวัดชลบุรี เผยความรู้สึกว่า เคยน้อยเนื้อต่ำใจที่เกิดมาพิการ หูไม่ได้ยิน รู้สึกว่าไม่เท่าเทียมเด็กคนอื่นๆ ทำอะไรก็ลำบาก แต่พอได้เข้าร่วมโครงการ และได้รับการฝึกทักษะด้านต่างๆ ทั้งทักษะชีวิตและทักษะอาชีพ ก็ทำให้มีความคิดที่เปลี่ยนไป มองว่าเราไม่ได้ด้อยไปกว่าเด็กคนอื่นๆ อย่างตนได้รับการฝึกอาชีพการสานตะกร้าและกระเป๋าด้วยพลาสติก ตอนนี้สามารถทำได้อย่างชำนาญและสร้างรายได้ให้กับตัวเองได้ ทำให้มองว่ามีความสามารถทัดเทียมกับคนปกติทั่วไป เด็กวัยรุ่นปกติทั่วไปหลายคนยังไม่สามารถทำได้เหมือนตน ตรงนี้จึงเกิดความภาคภูมิใจว่าแม้จะบกพร่องทางการได้ยินแต่ก็สามารถทำอะไรได้หลายอย่าง มีศักยภาพเหมือนเด็กทั่วๆ ไป
นอกจากนี้ยังมีน้องๆ จาก กศน.อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง ที่ได้รับการติดอาวุธทางอาชีพจากโครงการชมรมวัยใสหัวใจคิดบวก คือการฝึกทักษะอาชีพการทำอาหารประเภทต่างๆ เช่น ขนมต้มขาว ก๋วยเตี๋ยวลุยสวน ขนมถั่วแปบ กระเพาะปลา และขนมตะโก้สาคู นอกจากนี้ยังมีการฝึกทำงานประดิษฐ์ คือ พวงกุญแจลูกปัด เข็มกลัดดอกไม้ และการถักกระเป๋าไหมพรม เป็นต้น
บุษบา สมวงษ์ นักเรียน กศน.อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง เล่าว่า ตัดสินใจเข้าร่วมโครงการเนื่องจากมองว่า การได้รับการฝึกอาชีพทั้งการทำอาหาร การประดิษฐ์ ที่ทางแพ็คและเชฟรอนได้เข้ามาสอนนั้น ถือเป็นการเพิ่มโอกาสให้กับตัวเอง เพราะนอกจากความรู้ทางวิชาการที่ได้รับจากการเรียน กศน.นั้นคิดว่าคงไม่เพียงพอ และเมื่อมีโอกาสก็เลยคว้าไว้ ซึ่งก็ได้รับความรู้และสามารถนำไปใช้ในชีวิตจริงได้ เช่น การทำอาหารอย่าง ก๋วยเตี๋ยวลุยสวน กระเพาะปลา ขนมถั่วแปบ หรือขนมตะโก้สาคู ซึ่งหากทำได้อร่อย รสชาติดี ก็สามารถทำขาย เปิดร้าน สร้างเป็นอาชีพ สร้างเงินได้
บางคนไม่ถนัดเรื่องการทำอาหาร ก็สามารถเอาดีในทางงานฝีมือ งานประดิษฐ์ได้ อย่าง สุรชัย มาโยธา นักเรียน กศน.อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง ที่บอกว่า สามารถทำพวงกุญแจลูกปัดได้ ทำให้สวยงาม สามารถนำไปขายหาเงินได้ เพราะสามารถนำไปต่อยอดผลิตภัณฑ์ได้ รู้สึกดีใจที่เข้าร่วมโครงการ ซึ่งโครงการสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับชีวิตของตนได้ นอกจากนี้ยังทำให้ตนเองมีมุมมองที่กว้างขึ้น เพราะสิ่งที่ได้รับนอกจากทักษะทางอาชีพแล้ว ทักษะการดำเนินชีวิตประจำวันที่ได้รับก็ช่วยทำให้ตนสามารถปรับตัวและอยู่ใน สังคมได้อย่างมีความสุข
จากคำบอกเล่าของน้องๆ ชวนให้คิดถึงคำกล่าวที่ว่า การให้เครื่องมือและสอนให้หาปลา ยั่งยืนกว่าการหาปลามาให้เขากิน ทั้งกรณีของน้องโรงเรียนโสตศึกษา และน้องๆ นักเรียนจาก กศน.จังหวัดระยอง ที่ได้รับโอกาสจาก “The Power of Human Energy รวมพลังคน สร้างพลังใจ” ในการฝึกอาชีพจนสามารถมีรายได้ และมีความภาคภูมิใจในตนเอง น่าจะช่วยยืนยัน ความหมายของคำกล่าวนี้เป็นอย่างดี
(บ้านเมืองออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 24 มี.ค.57)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
เด็กและเยาวชนคือผู้ที่อยู่ในวัยหัวเลี้ยวหัวต่อและกำลังย่างก้าวเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงในหลายๆ ด้าน ในขณะที่หลายคนมีชีวิตที่เติบโตขึ้นอย่างราบรื่นสวยงาม แต่อาจจะมีอีกหลายคนที่กำลังเผชิญกับความท้าทายและอุปสรรคต่างๆ ดังนั้น เพื่อเป็นการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและติดอาวุธทางปัญญาให้กับเยาวชนอย่าง ยั่งยืนนั้น บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด จึงได้ร่วมมือกับ องค์การแพ็คประเทศไทย เข้าไปพัฒนาศักยภาพ ฝึกทักษะชีวิตและอาชีพ เสริมสร้างความรู้ให้กับเยาวชน และเสริมทักษะความเป็นผู้นำให้กับเยาวชนในจังหวัดชลบุรีและระยอง ในโครงการ “ชมรมวัยใส หัวใจคิดบวก” ที่อยู่ภายใต้โครงการ “The Power of Human Energy รวมพลังคน สร้างพลังใจ” โดยโครงการได้ทำงานร่วมกับหน่วยงานสังกัดกระทรวงศึกษาธิการและองค์กรภาคี หลายหน่วยงานในจังหวัด เพื่อเข้าถึงเยาวชนจากสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม อัธยาศัยหรือ กศน.ระยอง และ กศน. ชลบุรี โรงเรียนโสตศึกษา ให้ได้รับการอบรมด้านทักษะวิชาชีพ ทักษะชีวิต มีงานทำ มีรายได้เพิ่มขึ้น และสามารถพึ่งตัวเองได้มากขึ้น โดยมี หทัยรัตน์ อติชาติ ผู้จัดการฝ่ายนโยบายด้านรัฐกิจและกิจการสัมพันธ์ บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด และ คิป เอฟฟิงเกอร์ ผู้อำนวยการองค์การแพ็ค ประเทศไทย เข้าร่วมกิจกรรม สุวัจนี ไชยฤกษ์ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนโสตศึกษา จังหวัดชลบุรี ผู้มีความบกพร่องทางการได้ยิน ที่ได้เข้าร่วมโครงการ และได้รับการฝึกทักษะอาชีพการนวด สุวัจนี ไชยฤกษ์ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนโสตศึกษา จังหวัดชลบุรี ผู้มีความบกพร่องทางการได้ยิน ที่ได้เข้าร่วมโครงการ และได้รับการฝึกทักษะอาชีพการนวด บอกว่า ตนมีความบกพร่องทางการได้ยิน เรียกว่าเรียนจบไปก็ไม่รู้จะไปประกอบอาชีพอะไร อาชีพที่ฝันไว้ก็คงจะไม่มีทางเป็นไปได้ แต่เมื่อได้รับการฝึกอบรมจากการเข้าร่วมโครงการ ก็สามารถทำให้มีทักษะด้านอาชีพเพิ่มมากขึ้น คือการนวดแผนไทย นวดฝ่าเท้า สามารถนำไปประกอบอาชีพเสริมในเวลาว่างระหว่างเรียนได้ โดยล่าสุดไปออกบูธ นวดฝ่าเท้ากับเพื่อนๆ ที่อิมแพ็ค เมืองทองธานี ก็สามารถหาเงินได้ 6,000 กว่าบาท ถือเป็นความภูมิใจและดีใจมากที่สามารถหาเงินได้จำนวนมาก ขอบคุณทางโครงการที่นำวิทยากรเข้ามาช่วยสอนเทคนิคการนวด ทำให้มีทักษะสามารถทำได้อย่างคนปกติทั่วไป เรียกว่าฝีมือการนวดก็ไม่ได้ต่างไปจากคนหูดีเลย ปรเมศวร์ สีหม่น นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนโสตศึกษา จังหวัดชลบุรี เผยความรู้สึกว่า เคยน้อยเนื้อต่ำใจที่เกิดมาพิการ หูไม่ได้ยิน รู้สึกว่าไม่เท่าเทียมเด็กคนอื่นๆ ทำอะไรก็ลำบาก แต่พอได้เข้าร่วมโครงการ และได้รับการฝึกทักษะด้านต่างๆ ทั้งทักษะชีวิตและทักษะอาชีพ ก็ทำให้มีความคิดที่เปลี่ยนไป มองว่าเราไม่ได้ด้อยไปกว่าเด็กคนอื่นๆ อย่างตนได้รับการฝึกอาชีพการสานตะกร้าและกระเป๋าด้วยพลาสติก ตอนนี้สามารถทำได้อย่างชำนาญและสร้างรายได้ให้กับตัวเองได้ ทำให้มองว่ามีความสามารถทัดเทียมกับคนปกติทั่วไป เด็กวัยรุ่นปกติทั่วไปหลายคนยังไม่สามารถทำได้เหมือนตน ตรงนี้จึงเกิดความภาคภูมิใจว่าแม้จะบกพร่องทางการได้ยินแต่ก็สามารถทำอะไรได้หลายอย่าง มีศักยภาพเหมือนเด็กทั่วๆ ไป นอกจากนี้ยังมีน้องๆ จาก กศน.อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง ที่ได้รับการติดอาวุธทางอาชีพจากโครงการชมรมวัยใสหัวใจคิดบวก คือการฝึกทักษะอาชีพการทำอาหารประเภทต่างๆ เช่น ขนมต้มขาว ก๋วยเตี๋ยวลุยสวน ขนมถั่วแปบ กระเพาะปลา และขนมตะโก้สาคู นอกจากนี้ยังมีการฝึกทำงานประดิษฐ์ คือ พวงกุญแจลูกปัด เข็มกลัดดอกไม้ และการถักกระเป๋าไหมพรม เป็นต้น บุษบา สมวงษ์ นักเรียน กศน.อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง เล่าว่า ตัดสินใจเข้าร่วมโครงการเนื่องจากมองว่า การได้รับการฝึกอาชีพทั้งการทำอาหาร การประดิษฐ์ ที่ทางแพ็คและเชฟรอนได้เข้ามาสอนนั้น ถือเป็นการเพิ่มโอกาสให้กับตัวเอง เพราะนอกจากความรู้ทางวิชาการที่ได้รับจากการเรียน กศน.นั้นคิดว่าคงไม่เพียงพอ และเมื่อมีโอกาสก็เลยคว้าไว้ ซึ่งก็ได้รับความรู้และสามารถนำไปใช้ในชีวิตจริงได้ เช่น การทำอาหารอย่าง ก๋วยเตี๋ยวลุยสวน กระเพาะปลา ขนมถั่วแปบ หรือขนมตะโก้สาคู ซึ่งหากทำได้อร่อย รสชาติดี ก็สามารถทำขาย เปิดร้าน สร้างเป็นอาชีพ สร้างเงินได้ บางคนไม่ถนัดเรื่องการทำอาหาร ก็สามารถเอาดีในทางงานฝีมือ งานประดิษฐ์ได้ อย่าง สุรชัย มาโยธา นักเรียน กศน.อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง ที่บอกว่า สามารถทำพวงกุญแจลูกปัดได้ ทำให้สวยงาม สามารถนำไปขายหาเงินได้ เพราะสามารถนำไปต่อยอดผลิตภัณฑ์ได้ รู้สึกดีใจที่เข้าร่วมโครงการ ซึ่งโครงการสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับชีวิตของตนได้ นอกจากนี้ยังทำให้ตนเองมีมุมมองที่กว้างขึ้น เพราะสิ่งที่ได้รับนอกจากทักษะทางอาชีพแล้ว ทักษะการดำเนินชีวิตประจำวันที่ได้รับก็ช่วยทำให้ตนสามารถปรับตัวและอยู่ใน สังคมได้อย่างมีความสุข ดอกไม้ประดิษฐ์จากถุงน่องจากคำบอกเล่าของน้องๆ ชวนให้คิดถึงคำกล่าวที่ว่า การให้เครื่องมือและสอนให้หาปลา ยั่งยืนกว่าการหาปลามาให้เขากิน ทั้งกรณีของน้องโรงเรียนโสตศึกษา และน้องๆ นักเรียนจาก กศน.จังหวัดระยอง ที่ได้รับโอกาสจาก “The Power of Human Energy รวมพลังคน สร้างพลังใจ” ในการฝึกอาชีพจนสามารถมีรายได้ และมีความภาคภูมิใจในตนเอง น่าจะช่วยยืนยัน ความหมายของคำกล่าวนี้เป็นอย่างดี ขอบคุณ... http://www.banmuang.co.th/2014/03/พัฒนาศักยภาพเยาวชน/] (บ้านเมืองออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 24 มี.ค.57)
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)