เปิดเวทีคนพิการ สะท้อนปัญหา ความต้องการ และโอกาสมีงานทำในอนาคต

แสดงความคิดเห็น

บรรยากาศผู้เข้าร่วมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง ฝึกการเป็นผู้นำเพื่อการมีงานทำในอนาคต เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2556 ตัวแทนคนพิการ จากจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และจังหวัดแพร่ กว่า 100 คน ร่วมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง ฝึกการเป็นผู้นำเพื่อการมีงานทำในอนาคต ที่สมาคมพัฒนาอาชีพคนตาบอดในประเทศไทย (ส.พ.บ.) สมาคมรวมใจคนพิการและมูลนิธิพัฒนาอาชีพคนตาบอดและผู้ด้อยโอกาสจัดขึ้นที่ โรงแรมลำปางเวียงทอง อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง เพื่อสร้างความมั่นใจในตนเองให้กับผู้พิการ ระดมความคิดเห็น แลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคการมีงานทำของผู้พิการ โดยมีนายสุวรรณ กล่าวสุนทร รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง เป็นประธานเปิดงาน

นายสุพร ชัยสุพรรณกุล นายกสมาคมพัฒนาอาชีพคนตาบอดในประเทศไทย กล่าวว่า สภาพทางสังคมปัจจุบัน ยังมีผู้พิการจำนวนมากไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่จากครอบครัวและสังคม จึงทำให้ขาดความมั่นใจในตัวเอง ไม่ออกสู่สังคม กลายเป็นภาระของครอบครัวและสังคม แม้จะมีกฎหมายมากมายให้สิทธิแก่คนพิการ ทั้งเรื่องการศึกษา การประกอบอาชีพ และการบริการจากรัฐ แต่ผู้พิการจำนวนมากก็ยังเข้าไม่ถึงประโยชน์ที่จะได้รับตามสิทธิของตนเอง

นายสุพร กล่าวว่า พระราชบัญญัติส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2556 กำหนดให้สถานประกอบการต้องรับคนพิการเข้าทำงานในสัดส่วน คนพิการ 1 คน ต่อลูกจ้าง 100 คน หรือถ้าไม่จ้างพิการเข้าทำงาน สถานประกอบการต้องส่งเงินเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนพิการ ร้อยละ 50 ของเงินค่าจ้างขั้นต่ำทั้งปี เพื่อระดมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการให้โอกาส ทางสังคมแก่คนพิการ แต่ในทางปฏิบัติผู้ประกอบการเลือกจะจ่ายเงินเข้ากองทุนมากกว่าต้องรับภาระดูแลผู้พิการ

นายกสมาคมพัฒนาอาชีพคนตาบอดในประเทศไทย กล่าวอีกว่า ปัญหาไม่ได้มีแค่โอกาสในการจ้างงานเท่านั้น แต่ยังมีปัจจัยอื่นๆ อีก เช่น การจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกในที่สาธารณะ การศึกษาอาชีพ ทัศนคติของคนในสังคม หรือแม้แต่ทัศนคติของผู้พิการเองที่รู้สึกว่าเป็นผู้ด้อยโอกาสและถูกเลือก ปฏิบัติ ยังเป็นปัญหาที่ต้องการแก้ไข โดยจะรวบรวมข้อมูลความต้องการการประกอบอาชีพตลอดจนปัญหาอุปสรรคในการประกอบ อาชีพของผู้พิการ นำเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อนำไปสู่แนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างถูกวิธี… ข่าวโดย : อธิชัย ต้นกันยา

ขอบคุณ... http://lampang.prdnorth.in.th/ct/news/viewnews.php?ID=130620141306

ที่มา: ส.ปชส.ลำปางออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 20 มิ.ย.56
วันที่โพสต์: 21/06/2556 เวลา 02:38:29 ดูภาพสไลด์โชว์ เปิดเวทีคนพิการ สะท้อนปัญหา ความต้องการ และโอกาสมีงานทำในอนาคต

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

บรรยากาศผู้เข้าร่วมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง ฝึกการเป็นผู้นำเพื่อการมีงานทำในอนาคต เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2556 ตัวแทนคนพิการ จากจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และจังหวัดแพร่ กว่า 100 คน ร่วมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง ฝึกการเป็นผู้นำเพื่อการมีงานทำในอนาคต ที่สมาคมพัฒนาอาชีพคนตาบอดในประเทศไทย (ส.พ.บ.) สมาคมรวมใจคนพิการและมูลนิธิพัฒนาอาชีพคนตาบอดและผู้ด้อยโอกาสจัดขึ้นที่ โรงแรมลำปางเวียงทอง อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง เพื่อสร้างความมั่นใจในตนเองให้กับผู้พิการ ระดมความคิดเห็น แลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคการมีงานทำของผู้พิการ โดยมีนายสุวรรณ กล่าวสุนทร รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง เป็นประธานเปิดงาน นายสุพร ชัยสุพรรณกุล นายกสมาคมพัฒนาอาชีพคนตาบอดในประเทศไทย กล่าวว่า สภาพทางสังคมปัจจุบัน ยังมีผู้พิการจำนวนมากไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่จากครอบครัวและสังคม จึงทำให้ขาดความมั่นใจในตัวเอง ไม่ออกสู่สังคม กลายเป็นภาระของครอบครัวและสังคม แม้จะมีกฎหมายมากมายให้สิทธิแก่คนพิการ ทั้งเรื่องการศึกษา การประกอบอาชีพ และการบริการจากรัฐ แต่ผู้พิการจำนวนมากก็ยังเข้าไม่ถึงประโยชน์ที่จะได้รับตามสิทธิของตนเอง นายสุพร กล่าวว่า พระราชบัญญัติส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2556 กำหนดให้สถานประกอบการต้องรับคนพิการเข้าทำงานในสัดส่วน คนพิการ 1 คน ต่อลูกจ้าง 100 คน หรือถ้าไม่จ้างพิการเข้าทำงาน สถานประกอบการต้องส่งเงินเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนพิการ ร้อยละ 50 ของเงินค่าจ้างขั้นต่ำทั้งปี เพื่อระดมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการให้โอกาส ทางสังคมแก่คนพิการ แต่ในทางปฏิบัติผู้ประกอบการเลือกจะจ่ายเงินเข้ากองทุนมากกว่าต้องรับภาระดูแลผู้พิการ นายกสมาคมพัฒนาอาชีพคนตาบอดในประเทศไทย กล่าวอีกว่า ปัญหาไม่ได้มีแค่โอกาสในการจ้างงานเท่านั้น แต่ยังมีปัจจัยอื่นๆ อีก เช่น การจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกในที่สาธารณะ การศึกษาอาชีพ ทัศนคติของคนในสังคม หรือแม้แต่ทัศนคติของผู้พิการเองที่รู้สึกว่าเป็นผู้ด้อยโอกาสและถูกเลือก ปฏิบัติ ยังเป็นปัญหาที่ต้องการแก้ไข โดยจะรวบรวมข้อมูลความต้องการการประกอบอาชีพตลอดจนปัญหาอุปสรรคในการประกอบ อาชีพของผู้พิการ นำเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อนำไปสู่แนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างถูกวิธี… ข่าวโดย : อธิชัย ต้นกันยา ขอบคุณ... http://lampang.prdnorth.in.th/ct/news/viewnews.php?ID=130620141306

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...