ไทยมีคนพิการทางจิตใจกว่า 1 แสนคน เร่งจัดคอร์สสร้างอาชีพ กู้คืนศักดิ์ศรี วอนสังคมให้โอกาส

แสดงความคิดเห็น

ผู้ป่วยจิตเวช

ผอ.รพ.ศรีธัญญา ย้ำคนพิการไม่ได้มีแต่ร่างกาย รวมผู้ป่วยจิตเวชที่พิการทางจิตใจ คนบกพร่องทางสติปัญญา การเรียนรู้ และออทิสติกด้วย เผยไทยมีคนพิการทางจิตใจกว่า 1 แสนคน ชี้ฟื้นฟูสมรรถภาพด้วยการจัดคอร์สสร้างอาชีพเป็นเรื่องสำคัญช่วยกู้คืนศักดิ์ศรีวอนสังคมให้โอกาส

วันที่ (3 ธ.ค.) นพ.ศิริศักดิ์ ธิติดิลกรัตน์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศรีธัญญา กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวเปิดงานมหกรรมวันคนพิการสากลปี 2558 “สร้างโอกาสและความหวัง เสริมพลังคนพิการ” ว่า วันที่ 3 ธ.ค.ของทุกปีเป็นวันคนพิการสากล ซึ่งความพิการไม่ใช่แค่ร่างกาย แต่รวมถึงพฤติกรรมและจิตใจด้วย โดยประเทศไทยมีคนพิการจำนวน 1,675,753 คน เป็นเพศชาย 899,974 คน เพศหญิง 775,779 คน เกือบครึ่งหนึ่งเป็นพิการทางร่างกาย หรือประมาณ 819,809 คน คิดเป็นร้อยละ 48.92 ส่วนคนพิการทางจิตใจหรือพฤติกรรมมี 114,788 คน หรือร้อยละ 6.84 คนพิการทางสติปัญญา 114,237 คน หรือร้อยละ 6.81 คนพิการทางการเรียนรู้ 6,531 คน หรือร้อยละ 0.38 และออทิสติก 7,538 คน หรือร้อยละ 0.44 โดยโรงพยาบาลสังกัดกรมสุขภาพจิต รวมทั้ง รพ.ศรีธัญญาดูแลคนพิการทางจิตใจและพฤติกรรมทางสติปัญญาทางการเรียนรู้และออทิสติก

"การดูแลนอกจากจะบำบัดรักษา ฟื้นฟูด้วยยาแล้ว ยังเน้นกิจกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพให้อยู่ได้ในสังคม นอกจากนี้ ยังมีการจัดตั้งคลินิก Psychosocial ในโรงพยาบาลชุมชนเพื่อให้บริการด้วย โดยสิ่งสำคัญในการดูแลคือจะต้องทำให้พวกเขารู้สึกมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ด้วยการสร้างงานสร้างอาชีพ เพื่อให้พวกเขาอยู่ในสังคมไม่แตกต่างจากบุคคลทั่วไป และเพื่อยืนยันว่าคนพิการก็มีศักยภาพไม่แพ้คนทั่วไป เห็นได้จากการแข่งขันนานาประเทศคนพิการไทยแข่งขันจนชนะได้"นพ.ศิริศักดิ์กล่าว

ด้าน พญ.สมรัก ชูวานิชวงศ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ กรมสุขภาพจิต กล่าวว่า การสร้างงานสร้างอาชีพเป็นสิ่งสำคัญ โดยปี 2556-2558 มีคนพิการที่เข้าร่วมโครงการฟื้นฟูสมรรถภาพและฝึกทักษะอาชีพจำนวน 169 คน โดยมี 43 คนได้รับโอกาสในการทำงานกับบริษัท ห้างร้านต่างๆ โดยขั้นตอนนั้นจะมีการคัดเลือกคนพิการที่มีอาการดีขึ้น สามารถอยู่ในสังคมได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าต้องหยุดยา เพราะคนพิการทางจิตใจ หรือผู้ป่วยจิตเวชต้องกินยาอย่างต่อเนื่อง โดยเริ่มแรกจะต้องผ่านการประเมินก่อนจะเข้าร่วมโครงการ หลังจากนั้นจึงจะเข้าสู่การฟื้นฟูสมรรถภาพ ซึ่งแต่ละคนก็จะมีความเหมาะสมในการประกอบอาชีพที่แตกต่างกันไป จากนั้นจึงประสานกับสังคมสงเคราะห์เพื่อหางานให้ อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญคือ ต้องมีผู้ให้โอกาสให้พวกเขาได้ทำงาน ที่ผ่านมาส่วนใหญ่เจ้าของกิจการจะติดต่อมาที่ รพ.เอง เพื่อขอจ้างงานกลุ่มคนกลุ่มนี้ ซึ่งถือว่าเปิดใจและให้โอกาสมาก เพราะบางกรณีพวกเขาไม่สามารถทำงานได้ตลอด 5 วัน อาจทำได้ 3 วันต่อสัปดาห์ ซึ่งเจ้าของกิจการก็เข้าใจ และให้โอกาส แต่บางคนอาจหวั่นวิตกถึงอาการ ซึ่งเราได้มีการประเมินแล้วว่าอาการดีขึ้น แม้ยังต้องทานยาตลอด แต่พวกเขาก็สามารถปรับตัวและทำงานได้ จึงอยากให้สังคมให้โอกาส

ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9580000133768 (ขนาดไฟล์: 164)

ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 03 ธ.ค.58
วันที่โพสต์: 4/12/2558 เวลา 10:55:43 ดูภาพสไลด์โชว์ ไทยมีคนพิการทางจิตใจกว่า 1 แสนคน เร่งจัดคอร์สสร้างอาชีพ กู้คืนศักดิ์ศรี วอนสังคมให้โอกาส

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ผู้ป่วยจิตเวช ผอ.รพ.ศรีธัญญา ย้ำคนพิการไม่ได้มีแต่ร่างกาย รวมผู้ป่วยจิตเวชที่พิการทางจิตใจ คนบกพร่องทางสติปัญญา การเรียนรู้ และออทิสติกด้วย เผยไทยมีคนพิการทางจิตใจกว่า 1 แสนคน ชี้ฟื้นฟูสมรรถภาพด้วยการจัดคอร์สสร้างอาชีพเป็นเรื่องสำคัญช่วยกู้คืนศักดิ์ศรีวอนสังคมให้โอกาส วันที่ (3 ธ.ค.) นพ.ศิริศักดิ์ ธิติดิลกรัตน์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศรีธัญญา กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวเปิดงานมหกรรมวันคนพิการสากลปี 2558 “สร้างโอกาสและความหวัง เสริมพลังคนพิการ” ว่า วันที่ 3 ธ.ค.ของทุกปีเป็นวันคนพิการสากล ซึ่งความพิการไม่ใช่แค่ร่างกาย แต่รวมถึงพฤติกรรมและจิตใจด้วย โดยประเทศไทยมีคนพิการจำนวน 1,675,753 คน เป็นเพศชาย 899,974 คน เพศหญิง 775,779 คน เกือบครึ่งหนึ่งเป็นพิการทางร่างกาย หรือประมาณ 819,809 คน คิดเป็นร้อยละ 48.92 ส่วนคนพิการทางจิตใจหรือพฤติกรรมมี 114,788 คน หรือร้อยละ 6.84 คนพิการทางสติปัญญา 114,237 คน หรือร้อยละ 6.81 คนพิการทางการเรียนรู้ 6,531 คน หรือร้อยละ 0.38 และออทิสติก 7,538 คน หรือร้อยละ 0.44 โดยโรงพยาบาลสังกัดกรมสุขภาพจิต รวมทั้ง รพ.ศรีธัญญาดูแลคนพิการทางจิตใจและพฤติกรรมทางสติปัญญาทางการเรียนรู้และออทิสติก "การดูแลนอกจากจะบำบัดรักษา ฟื้นฟูด้วยยาแล้ว ยังเน้นกิจกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพให้อยู่ได้ในสังคม นอกจากนี้ ยังมีการจัดตั้งคลินิก Psychosocial ในโรงพยาบาลชุมชนเพื่อให้บริการด้วย โดยสิ่งสำคัญในการดูแลคือจะต้องทำให้พวกเขารู้สึกมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ด้วยการสร้างงานสร้างอาชีพ เพื่อให้พวกเขาอยู่ในสังคมไม่แตกต่างจากบุคคลทั่วไป และเพื่อยืนยันว่าคนพิการก็มีศักยภาพไม่แพ้คนทั่วไป เห็นได้จากการแข่งขันนานาประเทศคนพิการไทยแข่งขันจนชนะได้"นพ.ศิริศักดิ์กล่าว ด้าน พญ.สมรัก ชูวานิชวงศ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ กรมสุขภาพจิต กล่าวว่า การสร้างงานสร้างอาชีพเป็นสิ่งสำคัญ โดยปี 2556-2558 มีคนพิการที่เข้าร่วมโครงการฟื้นฟูสมรรถภาพและฝึกทักษะอาชีพจำนวน 169 คน โดยมี 43 คนได้รับโอกาสในการทำงานกับบริษัท ห้างร้านต่างๆ โดยขั้นตอนนั้นจะมีการคัดเลือกคนพิการที่มีอาการดีขึ้น สามารถอยู่ในสังคมได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าต้องหยุดยา เพราะคนพิการทางจิตใจ หรือผู้ป่วยจิตเวชต้องกินยาอย่างต่อเนื่อง โดยเริ่มแรกจะต้องผ่านการประเมินก่อนจะเข้าร่วมโครงการ หลังจากนั้นจึงจะเข้าสู่การฟื้นฟูสมรรถภาพ ซึ่งแต่ละคนก็จะมีความเหมาะสมในการประกอบอาชีพที่แตกต่างกันไป จากนั้นจึงประสานกับสังคมสงเคราะห์เพื่อหางานให้ อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญคือ ต้องมีผู้ให้โอกาสให้พวกเขาได้ทำงาน ที่ผ่านมาส่วนใหญ่เจ้าของกิจการจะติดต่อมาที่ รพ.เอง เพื่อขอจ้างงานกลุ่มคนกลุ่มนี้ ซึ่งถือว่าเปิดใจและให้โอกาสมาก เพราะบางกรณีพวกเขาไม่สามารถทำงานได้ตลอด 5 วัน อาจทำได้ 3 วันต่อสัปดาห์ ซึ่งเจ้าของกิจการก็เข้าใจ และให้โอกาส แต่บางคนอาจหวั่นวิตกถึงอาการ ซึ่งเราได้มีการประเมินแล้วว่าอาการดีขึ้น แม้ยังต้องทานยาตลอด แต่พวกเขาก็สามารถปรับตัวและทำงานได้ จึงอยากให้สังคมให้โอกาส ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9580000133768

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...