“คนลำสนธิ” เดินเครื่องรองรับสังคมผู้สูงอายุและคนพิการ

แสดงความคิดเห็น

“เมื่อเร็ว ๆ นี้ มีชาวญี่ปุ่นคณะหนึ่งได้เดินทางมาศึกษาดูงานในโครงการ “คนลำสนธิไม่ทอดทิ้งกัน” ต่อมาได้รับคำชมจากคณะที่มาดูงานว่า “เยี่ยมมาก” ที่ดึงครอบครัว ชุมชน สังคม และทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วม ยื่นมือมาช่วยให้คนแก่ คนป่วยคนพิการ มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น”นพ.สันติ ลาภเบญจกุล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลลำสนธิจังหวัดลพบุรีเล่าด้วยน้ำเสียงภาคภูมิใจ

เจ้าหน้าที่จากโครงการ “คนลำสนธิไม่ทอดทิ้งกัน” ลงพื้นที่ดูแลชาวบ้าน ผู้ป่วย ผู้ชรา และคนพิการ

นพ.สันติ กล่าวว่า พื้นที่ อ.ลำสนธิ มี 49 หมู่บ้าน ส่วนใหญ่ทำการเกษตร เพราะฉะนั้นในแต่ละวันคนวัยหนุ่มสาวมักจะออกไปทำงานนอกบ้านตั้งแต่เช้า เย็นค่ำถึงจะกลับบ้าน บางคนก็ออกไปขายแรงงานต่างถิ่น ด้วยเหตุนี้บ้านจะมีผู้สูงอายุเลี้ยงลูกหลานอยู่ที่บ้านเมื่อผู้สูงอายุบางคนเจ็บป่วยจึงขาดผู้ดูแล

ทั้งนี้ จากการสำรวจประชากร “ลำสนธิ” พบว่า มีชาวบ้านเจ็บป่วยเรื้อรัง ต้องการคนดูแลช่วยเหลือกว่า 300 คน ในจำนวนนี้กว่าครึ่งหนึ่ง เป็นผู้สูงอายุ ฐานะทางครอบครัวยากจน เวลาจะเดินทางไปหาหมอแต่ละครั้งค่อนข้างลำบากเพราะบ้านพักอาศัยอยู่ไกลจากโรงพยาบาลซึ่งการเดินทางแต่ละครั้งจะต้องใช้เงินจำนวนมาก

ครั้นได้สัมผัสถึงความทุกข์ยากเหล่านี้ นี่คือ จุดเริ่มต้นโครงการ “คนลำสนธิไม่ทอดทิ้งกัน” เมื่อปี 2549 โดยระดมการมีส่วนร่วมจากองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น 6 ตำบล หรือ 6 อบต. เปิดบ้านเป็นศูนย์กลางดูแล ขณะเดียวกัน ก็สร้างทีมงานเข้าไปดูแลสุขภาพถึงประตูบ้าน ทีมงานจะมีแพทย์ พยาบาล นักกายภาพบำบัด นักจิตวิทยา เภสัชกร อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) โดยได้รับความร่วมมือจากท้องถิ่น และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สนับสนุนงบประมาณในการผลิตนักบริบาลชุมชน ผ่านกองทุนสุขภาพระดับท้องถิ่น เพื่อให้นักบริบาลชุมชนผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเข้าดูแลผู้ป่วยติดเตียงที่บ้าน ผู้พิการ ซึ่งครอบคลุมทั้งเรื่องสุขภาพ ดูแลแผลกดทับ อาหาร ตลอดจนการดำรงชีวิตประจำวัน นอกจากนี้ หน่วยงานดังกล่าวยังได้สนับสนุนงบในการปรับปรุงสภาพบ้านเรือน อำนวยความสะดวกผู้ป่วยให้อยู่บ้านได้อย่างปลอดภัยและเหมาะสม โดยโรงพยาบาลจะมีคลังเครื่องมืออุปกรณ์การแพทย์เตียงออกซิเจนเพื่อจัดส่งไปใช้กับผู้ป่วยที่บ้านอีกด้วย

“จากการติดจรวดความรู้ด้านการดูแลผู้สูงอายุให้กับนักบริบาลประมาณ 30 คน เพื่อช่วยดูแลเยียวยาผู้ป่วยติดเตียง ไม่ให้ผู้ป่วยเกิดเป็นแผลกดทับ อาบน้ำ ป้อนข้าวป้อนน้ำ รวมถึงฟื้นฟูร่างกายผู้ป่วยพบว่าผู้ป่วยหลายรายกลับมาช่วยเหลือตัวเองได้”

นพ.สันติ บอกว่า เกือบ 10 ปี นับแต่ริเริ่มโครงการ ปรากฏว่าไม่มีผู้ป่วยรายใดอาการแย่ลง ตรงกันข้ามพบว่า ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นมาก บางรายที่เคยป่วยเป็นอัมพฤกษ์สามารถลุกเดินได้เอง พูดง่าย ๆ ผู้ป่วยคุณภาพชีวิตดีขึ้นแล้วคนวัยหนุ่มสาวสามารถออกไปทำงานนอกบ้านโดยไม่ต้องกังวล

เจ้าหน้าที่จากโครงการ “คนลำสนธิไม่ทอดทิ้งกัน” ลงพื้นที่ดูแลชาวบ้าน ผู้ป่วย ผู้ชรา และคนพิการ

นพ.สันติ กล่าวว่า ปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุข โดย ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน อดีต รมว.สาธารณสุข มีนโนบายทีมหมอครอบครัว ทำหน้าที่ดูแลผู้สูงอายุที่ป่วยติดบ้านติดเตียง ผู้พิการ และผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่อยู่บ้าน ซึ่งคล้ายๆ กันกับของเรา ผมว่าเป็นสิ่งที่ดี ถ้าหากผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น ไม่ต้องเดินทางเข้าออกโรงพยาบาลช่วยลดงบประมาณของรัฐด้วย

นพ.สันติ กล่าวว่า อีกไม่กี่ปีข้างหน้า สังคมไทยจะก้าวเขาสู่สังคมผู้สูงอายุ จะต้องมีแผนรับมือ ซึ่งทีมหมอครอบครัว และ คนลำสนธิไม่ทอดทิ้งกัน ถือว่าเดินมาถูกทาง อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เรายังขาดก็คือ นักบริบาล อยากให้มีผู้สนับสนุนงบประมาณตรงนี้ ซึ่งใช้เงินไม่มากแต่ผลที่คืนกลับสู่สังคม ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ไม่ต้องเป็นภาระกลับลูกหลานช่วยเหลือตนเองได้ผลถือว่าคุ้มค่ากับการลงทุน

จากนั้น นพ.สันติ เล่าให้ฟังว่า ในปี 2559 โครงการคนลำสนธิไม่ทอดทิ้งกัน ได้มีแผนรองรับสังคมผู้สูงอายุที่กำลังจะเกิดขึ้นด้วย โดยผลักดันให้คนวัยกลางคน คนแก่ หมั่นออกกำลังกาย ฝึกการทรงตัว เพื่อมีสุขภาพแข็งแรงรวมทั้งหากิจกรรมต่างๆให้ผู้สูงอายุเพื่อป้องกันสมองเสื่อมด้วย...คนลำสนธิไม่ทอดทิ้งกัน ได้แจกเบอร์โทรศัพท์เพื่อใช้ในการติดต่อปรึกษาอาการเจ็บป่วย หรือใครเจ็บป่วยฉุกเฉินก็ติดต่อคณะทำงาน หรือส่งผู้ป่วยมารักษาตัวกับทางโรงพยาบาลลำสนธิ

ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9580000099988 (ขนาดไฟล์: 164)

ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 4 ก.ย.58
วันที่โพสต์: 4/09/2558 เวลา 10:57:55 ดูภาพสไลด์โชว์ “คนลำสนธิ” เดินเครื่องรองรับสังคมผู้สูงอายุและคนพิการ

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

“เมื่อเร็ว ๆ นี้ มีชาวญี่ปุ่นคณะหนึ่งได้เดินทางมาศึกษาดูงานในโครงการ “คนลำสนธิไม่ทอดทิ้งกัน” ต่อมาได้รับคำชมจากคณะที่มาดูงานว่า “เยี่ยมมาก” ที่ดึงครอบครัว ชุมชน สังคม และทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วม ยื่นมือมาช่วยให้คนแก่ คนป่วยคนพิการ มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น”นพ.สันติ ลาภเบญจกุล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลลำสนธิจังหวัดลพบุรีเล่าด้วยน้ำเสียงภาคภูมิใจ เจ้าหน้าที่จากโครงการ “คนลำสนธิไม่ทอดทิ้งกัน” ลงพื้นที่ดูแลชาวบ้าน ผู้ป่วย ผู้ชรา และคนพิการ นพ.สันติ กล่าวว่า พื้นที่ อ.ลำสนธิ มี 49 หมู่บ้าน ส่วนใหญ่ทำการเกษตร เพราะฉะนั้นในแต่ละวันคนวัยหนุ่มสาวมักจะออกไปทำงานนอกบ้านตั้งแต่เช้า เย็นค่ำถึงจะกลับบ้าน บางคนก็ออกไปขายแรงงานต่างถิ่น ด้วยเหตุนี้บ้านจะมีผู้สูงอายุเลี้ยงลูกหลานอยู่ที่บ้านเมื่อผู้สูงอายุบางคนเจ็บป่วยจึงขาดผู้ดูแล ทั้งนี้ จากการสำรวจประชากร “ลำสนธิ” พบว่า มีชาวบ้านเจ็บป่วยเรื้อรัง ต้องการคนดูแลช่วยเหลือกว่า 300 คน ในจำนวนนี้กว่าครึ่งหนึ่ง เป็นผู้สูงอายุ ฐานะทางครอบครัวยากจน เวลาจะเดินทางไปหาหมอแต่ละครั้งค่อนข้างลำบากเพราะบ้านพักอาศัยอยู่ไกลจากโรงพยาบาลซึ่งการเดินทางแต่ละครั้งจะต้องใช้เงินจำนวนมาก ครั้นได้สัมผัสถึงความทุกข์ยากเหล่านี้ นี่คือ จุดเริ่มต้นโครงการ “คนลำสนธิไม่ทอดทิ้งกัน” เมื่อปี 2549 โดยระดมการมีส่วนร่วมจากองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น 6 ตำบล หรือ 6 อบต. เปิดบ้านเป็นศูนย์กลางดูแล ขณะเดียวกัน ก็สร้างทีมงานเข้าไปดูแลสุขภาพถึงประตูบ้าน ทีมงานจะมีแพทย์ พยาบาล นักกายภาพบำบัด นักจิตวิทยา เภสัชกร อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) โดยได้รับความร่วมมือจากท้องถิ่น และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สนับสนุนงบประมาณในการผลิตนักบริบาลชุมชน ผ่านกองทุนสุขภาพระดับท้องถิ่น เพื่อให้นักบริบาลชุมชนผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเข้าดูแลผู้ป่วยติดเตียงที่บ้าน ผู้พิการ ซึ่งครอบคลุมทั้งเรื่องสุขภาพ ดูแลแผลกดทับ อาหาร ตลอดจนการดำรงชีวิตประจำวัน นอกจากนี้ หน่วยงานดังกล่าวยังได้สนับสนุนงบในการปรับปรุงสภาพบ้านเรือน อำนวยความสะดวกผู้ป่วยให้อยู่บ้านได้อย่างปลอดภัยและเหมาะสม โดยโรงพยาบาลจะมีคลังเครื่องมืออุปกรณ์การแพทย์เตียงออกซิเจนเพื่อจัดส่งไปใช้กับผู้ป่วยที่บ้านอีกด้วย “จากการติดจรวดความรู้ด้านการดูแลผู้สูงอายุให้กับนักบริบาลประมาณ 30 คน เพื่อช่วยดูแลเยียวยาผู้ป่วยติดเตียง ไม่ให้ผู้ป่วยเกิดเป็นแผลกดทับ อาบน้ำ ป้อนข้าวป้อนน้ำ รวมถึงฟื้นฟูร่างกายผู้ป่วยพบว่าผู้ป่วยหลายรายกลับมาช่วยเหลือตัวเองได้” นพ.สันติ บอกว่า เกือบ 10 ปี นับแต่ริเริ่มโครงการ ปรากฏว่าไม่มีผู้ป่วยรายใดอาการแย่ลง ตรงกันข้ามพบว่า ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นมาก บางรายที่เคยป่วยเป็นอัมพฤกษ์สามารถลุกเดินได้เอง พูดง่าย ๆ ผู้ป่วยคุณภาพชีวิตดีขึ้นแล้วคนวัยหนุ่มสาวสามารถออกไปทำงานนอกบ้านโดยไม่ต้องกังวล เจ้าหน้าที่จากโครงการ “คนลำสนธิไม่ทอดทิ้งกัน” ลงพื้นที่ดูแลชาวบ้าน ผู้ป่วย ผู้ชรา และคนพิการ นพ.สันติ กล่าวว่า ปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุข โดย ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน อดีต รมว.สาธารณสุข มีนโนบายทีมหมอครอบครัว ทำหน้าที่ดูแลผู้สูงอายุที่ป่วยติดบ้านติดเตียง ผู้พิการ และผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่อยู่บ้าน ซึ่งคล้ายๆ กันกับของเรา ผมว่าเป็นสิ่งที่ดี ถ้าหากผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น ไม่ต้องเดินทางเข้าออกโรงพยาบาลช่วยลดงบประมาณของรัฐด้วย นพ.สันติ กล่าวว่า อีกไม่กี่ปีข้างหน้า สังคมไทยจะก้าวเขาสู่สังคมผู้สูงอายุ จะต้องมีแผนรับมือ ซึ่งทีมหมอครอบครัว และ คนลำสนธิไม่ทอดทิ้งกัน ถือว่าเดินมาถูกทาง อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เรายังขาดก็คือ นักบริบาล อยากให้มีผู้สนับสนุนงบประมาณตรงนี้ ซึ่งใช้เงินไม่มากแต่ผลที่คืนกลับสู่สังคม ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ไม่ต้องเป็นภาระกลับลูกหลานช่วยเหลือตนเองได้ผลถือว่าคุ้มค่ากับการลงทุน จากนั้น นพ.สันติ เล่าให้ฟังว่า ในปี 2559 โครงการคนลำสนธิไม่ทอดทิ้งกัน ได้มีแผนรองรับสังคมผู้สูงอายุที่กำลังจะเกิดขึ้นด้วย โดยผลักดันให้คนวัยกลางคน คนแก่ หมั่นออกกำลังกาย ฝึกการทรงตัว เพื่อมีสุขภาพแข็งแรงรวมทั้งหากิจกรรมต่างๆให้ผู้สูงอายุเพื่อป้องกันสมองเสื่อมด้วย...คนลำสนธิไม่ทอดทิ้งกัน ได้แจกเบอร์โทรศัพท์เพื่อใช้ในการติดต่อปรึกษาอาการเจ็บป่วย หรือใครเจ็บป่วยฉุกเฉินก็ติดต่อคณะทำงาน หรือส่งผู้ป่วยมารักษาตัวกับทางโรงพยาบาลลำสนธิ ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9580000099988

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...