ปฏิรูป! การเมืองไทย เปลี่ยนผ่านสาธารณสุข

แสดงความคิดเห็น

นายแพทย์ณรงค์ สหเมธาพัฒน์

ที่ผ่านมา...คนไทยขัดแย้งกันมามาก เพราะความเห็นที่แตกต่างกันในเรื่องการให้ความสำคัญต่อ “ประชาธิปไตย” ... ซึ่งเน้นการปกครองด้วยเสียงข้างมากผ่านการเลือกตั้ง กับ “นิติรัฐ”... ซึ่งเน้นการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ

ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานทีดีอาร์ไอ บอกว่า อันที่จริงเราไม่น่าจะต้องถูกบังคับให้เลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่งระหว่าง ประชาธิปไตยกับนิติรัฐ เพราะทั้งสองอย่างต่างสนับสนุนซึ่งกันและกัน

“ผม ไม่เชื่อว่าเราจะสามารถสร้างประชาธิปไตยได้โดยไม่มีนิติรัฐ เช่นเดียวกับที่เราจะไม่สามารถสร้างนิติรัฐโดยไม่มีประชาธิปไตย แต่การจะตกลงกันในรูปธรรมว่า ควรมีกลไกในระบอบประชาธิปไตยอย่างไร ที่สามารถสร้างการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐในบริบทของประเทศ ไทย...น่าจะไม่ใช่เรื่องง่าย ที่เราจะสามารถหาคำตอบได้ในไม่กี่วัน แต่ต้องอาศัยการเรียนรู้ของทุกฝ่ายในสังคมอีกพอสมควร การกำหนดเป้าหมายว่าจะต้องแพ้ชนะกันในไม่กี่วัน จึงไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงและเป็นอันตรายมาก”

สุดท้าย...สังคม ไทยควรช่วยกันป้องกันไม่ให้ความขัดแย้งทางการเมืองพัฒนาไปสู่การนองเลือด หรือสงครามกลางเมือง ซึ่งจะสร้างบาดแผลให้ประเทศไทยมากกว่า และฟื้นฟูประเทศกลับมาได้ยากกว่าวิกฤติเศรษฐกิจที่เคยเกิดขึ้น

ในรอบปีที่ผ่านมา...ความสนใจด้าน “การเมือง” และ “เศรษฐกิจ” มีมากจนคนลืมงานด้านสังคม นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข สะท้อนว่า กระทรวงสาธารณสุขมีผลงานมากมายที่เกิดการเปลี่ยนแปลง ชวนให้ติดตามว่าในอนาคตจะสานต่อไปในทิศทางใด

พัฒนาระบบประกันสุขภาพ - ปัจจุบันประชาชนไทยมีหลักประกันสุขภาพ จำนวน 64.8099 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 99.90 ของประชากรผู้มีสิทธิทั้งประเทศ 64.8759 ล้านคน รัฐบาล ได้ บูรณาการสิทธิประโยชน์ของระบบหลักประกันสุขภาพทั้งสามระบบ ผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินถึงแก่ชีวิตได้รับการรักษาทุกโรงพยาบาลโดยไม่ต้องถาม สิทธิ เริ่มมาตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2555...เพิ่มคุณภาพของระบบบริการในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า โดยบูรณาการ สิทธิ ลดความเหลื่อมล้ำ 3 กองทุน ภายใต้โครงการ “เจ็บป่วยฉุกเฉินถึงชีวิต ไม่ถามสิทธิ ใกล้ที่ไหน ไปที่นั่น”

นพ.ณรงค์ บอกว่า งานพัฒนาสุขภาพตามกลุ่มวัย เป็นอีกสิ่งสำคัญในการทำงานคู่ขนานไปกับการรักษาอาการเจ็บป่วยเฉพาะหน้า อาทิ กลุ่มวัยทำงาน การป้องกันโรคมะเร็งที่สำคัญของสตรี ได้แก่การคัดกรองมะเร็งปากมดลูก 76 จังหวัด ตรวจคัดกรองสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30-60ปี

การดูแลและเฝ้าระวังสตรีไทยจากมะเร็งเต้านม โดยส่งเสริมให้ตรวจเต้านมด้วยตนเอง...พบความผิดปกติของก้อนในระยะเริ่มแรก ซึ่งรักษาให้หายได้ ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาใน 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ นครราชสีมา พระนครศรีอยุธยา และสุราษฎร์ธานี จำนวน 2,400 คน พบว่า สตรีอายุ 30-70 ปี ตรวจเต้านมด้วยตนเองร้อยละ 74.4และ มีการตรวจเป็นประจำเดือนละ 1 ครั้ง ร้อยละ 52 แต่ก็พบว่ามีเพียงร้อยละ 21 ที่ตรวจเต้านมด้วยตนเองได้อย่างถูกต้อง

ถัดมา... กลุ่มเด็กและสตรี เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการเหมาะสมตามวัยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นร้อยละ 67.7 ส่วนการเจริญเติบโตของเด็กพบเด็กอ้วน ร้อยละ 6.9 เด็กเตี้ย ร้อยละ 9.1

พยาบาลภายในโรงพยาบาล “คลินิก วัยรุ่น : Psychosocial Clinic” มีการจัดตั้งใน โรงพยาบาลชุมชน (รพช.) 632 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 86.584 โดยใช้บริการให้คำปรึกษาที่มีอยู่ เชื่อมโยงกับบริการ คลินิก OSCC To Be NumberOne คลินิกยาเสพติด...เอดส์ คลินิกอดบุหรี่ และบริการแผนกต่างๆ

สุดท้ายกลุ่ม... ผู้สูงอายุ - พัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านสุขภาพจิตและจิตเวชในพื้นที่เครือข่ายบริการการดูแล ผู้สูงอายุ การป้องกันและช่วย เหลือผู้มีภาวะซึมเศร้าในโรงพยาบาลชุมชน ผลการดำเนินงาน... ผู้ป่วยซึมเศร้าทั้งประเทศที่เข้าถึงบริการดูแลรักษา ร้อยละ 31.57 มากกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ร้อยละ 31

“เราพัฒนาระบบผู้สูงอายุระยะยาวด้วยการจัดตั้งศูนย์ดูแลกลางวันในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบล ซึ่งขณะนี้มีตำบลส่งเสริม สุขภาพต้นแบบผ่านเกณฑ์การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาวแล้ว 91 แห่ง”

นอกจากนี้ยังมี การพัฒนาคุณภาพหน่วยบริการและเครือข่าย ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้ให้ความสำคัญในการพัฒนาคุณภาพของสถานพยาบาลในการ ดูแลผู้ป่วยที่ป่วยด้วยโรคสำคัญ เพื่อลดอัตราการเสียชีวิต ลดภาวะแทรกซ้อน และเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ใน10 สาขา

อาทิ การพัฒนาการดูแลในโรคมะเร็ง ซึ่งเป็นสาเหตุการตายอันดับ 1 ของประชากรไทย ปัจจุบันนี้สามารถดำเนินการให้มีการจัดบริการผ่าตัดมะเร็ง บริการให้ยาเคมีบำบัดในโรงพยาบาลจำนวน 79 แห่ง ครอบคลุม 12 เขตสุขภาพ และบริการรังสีรักษาจำนวน 9 แห่ง 8 เขตสุขภาพ

การบริการระบบฉุกเฉิน และอุบัติเหตุ - พัฒนาระบบส่งต่อและการแพทย์ฉุกเฉิน สามารถช่วยชีวิตหรือยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย...การพัฒนาบริการ ในโรงพยาบาลชุมชนขนาดใหญ่และกลาง ให้สามารถผ่าตัดโรคไส้ติ่ง และผ่าตัดคลอดได้โดยผู้ป่วยไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปยังโรงพยาบาลในจังหวัด

การบริการในโรคตา ได้กำหนดให้มีศูนย์โรคตา ระดับ 1 ให้ครบทั้ง 12 เขตสุขภาพ เพิ่มอัตราการคัดกรองการวัดสายตาในผู้ป่วยอายุ60ปีขึ้นไป, การบริการผู้ป่วยโรคไต ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการบำบัดทดแทนไตในสิทธิ สปสช.

นพ.ณรงค์ บอกอีกว่า เกี่ยวกับการ ดูแลทารกแรกเกิด ประเทศไทยมีทารกคลอดมีชีพเฉลี่ยปีละ 800,000 ราย พบทารกที่มีน้ำหนักตัวน้อยกว่า 2,500 กรัม ถึงร้อยละ 10.60 โดยสาเหตุการเสียชีวิตคือเกิดก่อนกำหนดและน้ำหนักแรกเกิดน้อย มีภาวะพร่องออกซิเจน หรือโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด จึงได้พัฒนาการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน รวมถึงโรคหัวใจทุกชนิดที่เป็นสาเหตุการตายอันดับ 3 ของคนไทย

ตึกกระทรวงสาธารณสุข นับรวมไปถึง...การแก้ไขและป้องกันปัญหายาเสพติดเป็น “วาระแห่งชาติ”, โครงการมหกรรม “10,000 ดวงใจ ปลอดภัย ด้วยพระบารมี” ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันแบบรุนแรง

โครงการ ฟันเทียมพระราชทานและการส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ, โครงการสายใยรักแห่งครอบครัวในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระบรม โอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร และ...จิ๊กซอว์ชิ้นเล็กๆ ที่ส่งเสริมนโยบายในภาพใหญ่ การผลิตบุคลากรด้านสาธารณสุขให้มีความพอเพียงและกระจายไปในชนบท พัฒนาขีดความสามารถของอาสาสมัครสาธารณสุข, การสร้างสุขภาพลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง...บูรณาการสร้างสุขภาพดีวิถีชีวิตไทย สร้างมาตรฐานความปลอดภัยด้านอาหาร...ตรวจเฝ้าระวังคุณภาพและความปลอดภัยของอาหาร ทั้งที่ผลิต...นำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งทั้งหมดเหล่านี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วในระบบสาธารณสุขไทยเพื่อประชาชน คนไทย

นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวทิ้งท้าย “การเมืองไทย” กำลังเข้าสู่ยุคปฏิรูป เปลี่ยนผ่าน...ขณะที่ประเทศ ไทยจะต้องเดินหน้าพัฒนาต่อไป ไม่ให้ถอยหลังเข้าคลอง สิทธิ-ประโยชน์ในการรักษาพยาบาล ดูแลสุขภาพคนไทย...เป็นแค่จิ๊กซอว์เดียวในอีกหลายๆ ชิ้น ที่จะต้องเดินหน้าต่อไปไม่ให้ถดถอย

ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/column/pol/page1scoop/392997

( ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 1 ม.ค.57 )

ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 1 ม.ค.57
วันที่โพสต์: 2/01/2557 เวลา 03:37:35 ดูภาพสไลด์โชว์ ปฏิรูป! การเมืองไทย เปลี่ยนผ่านสาธารณสุข

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

นายแพทย์ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ที่ผ่านมา...คนไทยขัดแย้งกันมามาก เพราะความเห็นที่แตกต่างกันในเรื่องการให้ความสำคัญต่อ “ประชาธิปไตย” ... ซึ่งเน้นการปกครองด้วยเสียงข้างมากผ่านการเลือกตั้ง กับ “นิติรัฐ”... ซึ่งเน้นการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานทีดีอาร์ไอ บอกว่า อันที่จริงเราไม่น่าจะต้องถูกบังคับให้เลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่งระหว่าง ประชาธิปไตยกับนิติรัฐ เพราะทั้งสองอย่างต่างสนับสนุนซึ่งกันและกัน “ผม ไม่เชื่อว่าเราจะสามารถสร้างประชาธิปไตยได้โดยไม่มีนิติรัฐ เช่นเดียวกับที่เราจะไม่สามารถสร้างนิติรัฐโดยไม่มีประชาธิปไตย แต่การจะตกลงกันในรูปธรรมว่า ควรมีกลไกในระบอบประชาธิปไตยอย่างไร ที่สามารถสร้างการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐในบริบทของประเทศ ไทย...น่าจะไม่ใช่เรื่องง่าย ที่เราจะสามารถหาคำตอบได้ในไม่กี่วัน แต่ต้องอาศัยการเรียนรู้ของทุกฝ่ายในสังคมอีกพอสมควร การกำหนดเป้าหมายว่าจะต้องแพ้ชนะกันในไม่กี่วัน จึงไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงและเป็นอันตรายมาก” สุดท้าย...สังคม ไทยควรช่วยกันป้องกันไม่ให้ความขัดแย้งทางการเมืองพัฒนาไปสู่การนองเลือด หรือสงครามกลางเมือง ซึ่งจะสร้างบาดแผลให้ประเทศไทยมากกว่า และฟื้นฟูประเทศกลับมาได้ยากกว่าวิกฤติเศรษฐกิจที่เคยเกิดขึ้น ในรอบปีที่ผ่านมา...ความสนใจด้าน “การเมือง” และ “เศรษฐกิจ” มีมากจนคนลืมงานด้านสังคม นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข สะท้อนว่า กระทรวงสาธารณสุขมีผลงานมากมายที่เกิดการเปลี่ยนแปลง ชวนให้ติดตามว่าในอนาคตจะสานต่อไปในทิศทางใด พัฒนาระบบประกันสุขภาพ - ปัจจุบันประชาชนไทยมีหลักประกันสุขภาพ จำนวน 64.8099 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 99.90 ของประชากรผู้มีสิทธิทั้งประเทศ 64.8759 ล้านคน รัฐบาล ได้ บูรณาการสิทธิประโยชน์ของระบบหลักประกันสุขภาพทั้งสามระบบ ผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินถึงแก่ชีวิตได้รับการรักษาทุกโรงพยาบาลโดยไม่ต้องถาม สิทธิ เริ่มมาตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2555...เพิ่มคุณภาพของระบบบริการในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า โดยบูรณาการ สิทธิ ลดความเหลื่อมล้ำ 3 กองทุน ภายใต้โครงการ “เจ็บป่วยฉุกเฉินถึงชีวิต ไม่ถามสิทธิ ใกล้ที่ไหน ไปที่นั่น” นพ.ณรงค์ บอกว่า งานพัฒนาสุขภาพตามกลุ่มวัย เป็นอีกสิ่งสำคัญในการทำงานคู่ขนานไปกับการรักษาอาการเจ็บป่วยเฉพาะหน้า อาทิ กลุ่มวัยทำงาน การป้องกันโรคมะเร็งที่สำคัญของสตรี ได้แก่การคัดกรองมะเร็งปากมดลูก 76 จังหวัด ตรวจคัดกรองสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30-60ปี การดูแลและเฝ้าระวังสตรีไทยจากมะเร็งเต้านม โดยส่งเสริมให้ตรวจเต้านมด้วยตนเอง...พบความผิดปกติของก้อนในระยะเริ่มแรก ซึ่งรักษาให้หายได้ ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาใน 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ นครราชสีมา พระนครศรีอยุธยา และสุราษฎร์ธานี จำนวน 2,400 คน พบว่า สตรีอายุ 30-70 ปี ตรวจเต้านมด้วยตนเองร้อยละ 74.4และ มีการตรวจเป็นประจำเดือนละ 1 ครั้ง ร้อยละ 52 แต่ก็พบว่ามีเพียงร้อยละ 21 ที่ตรวจเต้านมด้วยตนเองได้อย่างถูกต้อง ถัดมา... กลุ่มเด็กและสตรี เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการเหมาะสมตามวัยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นร้อยละ 67.7 ส่วนการเจริญเติบโตของเด็กพบเด็กอ้วน ร้อยละ 6.9 เด็กเตี้ย ร้อยละ 9.1 พยาบาลภายในโรงพยาบาล “คลินิก วัยรุ่น : Psychosocial Clinic” มีการจัดตั้งใน โรงพยาบาลชุมชน (รพช.) 632 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 86.584 โดยใช้บริการให้คำปรึกษาที่มีอยู่ เชื่อมโยงกับบริการ คลินิก OSCC To Be NumberOne คลินิกยาเสพติด...เอดส์ คลินิกอดบุหรี่ และบริการแผนกต่างๆ สุดท้ายกลุ่ม... ผู้สูงอายุ - พัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านสุขภาพจิตและจิตเวชในพื้นที่เครือข่ายบริการการดูแล ผู้สูงอายุ การป้องกันและช่วย เหลือผู้มีภาวะซึมเศร้าในโรงพยาบาลชุมชน ผลการดำเนินงาน... ผู้ป่วยซึมเศร้าทั้งประเทศที่เข้าถึงบริการดูแลรักษา ร้อยละ 31.57 มากกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ร้อยละ 31 “เราพัฒนาระบบผู้สูงอายุระยะยาวด้วยการจัดตั้งศูนย์ดูแลกลางวันในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบล ซึ่งขณะนี้มีตำบลส่งเสริม สุขภาพต้นแบบผ่านเกณฑ์การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาวแล้ว 91 แห่ง” นอกจากนี้ยังมี การพัฒนาคุณภาพหน่วยบริการและเครือข่าย ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้ให้ความสำคัญในการพัฒนาคุณภาพของสถานพยาบาลในการ ดูแลผู้ป่วยที่ป่วยด้วยโรคสำคัญ เพื่อลดอัตราการเสียชีวิต ลดภาวะแทรกซ้อน และเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ใน10 สาขา อาทิ การพัฒนาการดูแลในโรคมะเร็ง ซึ่งเป็นสาเหตุการตายอันดับ 1 ของประชากรไทย ปัจจุบันนี้สามารถดำเนินการให้มีการจัดบริการผ่าตัดมะเร็ง บริการให้ยาเคมีบำบัดในโรงพยาบาลจำนวน 79 แห่ง ครอบคลุม 12 เขตสุขภาพ และบริการรังสีรักษาจำนวน 9 แห่ง 8 เขตสุขภาพ การบริการระบบฉุกเฉิน และอุบัติเหตุ - พัฒนาระบบส่งต่อและการแพทย์ฉุกเฉิน สามารถช่วยชีวิตหรือยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย...การพัฒนาบริการ ในโรงพยาบาลชุมชนขนาดใหญ่และกลาง ให้สามารถผ่าตัดโรคไส้ติ่ง และผ่าตัดคลอดได้โดยผู้ป่วยไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปยังโรงพยาบาลในจังหวัด การบริการในโรคตา ได้กำหนดให้มีศูนย์โรคตา ระดับ 1 ให้ครบทั้ง 12 เขตสุขภาพ เพิ่มอัตราการคัดกรองการวัดสายตาในผู้ป่วยอายุ60ปีขึ้นไป, การบริการผู้ป่วยโรคไต ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการบำบัดทดแทนไตในสิทธิ สปสช. นพ.ณรงค์ บอกอีกว่า เกี่ยวกับการ ดูแลทารกแรกเกิด ประเทศไทยมีทารกคลอดมีชีพเฉลี่ยปีละ 800,000 ราย พบทารกที่มีน้ำหนักตัวน้อยกว่า 2,500 กรัม ถึงร้อยละ 10.60 โดยสาเหตุการเสียชีวิตคือเกิดก่อนกำหนดและน้ำหนักแรกเกิดน้อย มีภาวะพร่องออกซิเจน หรือโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด จึงได้พัฒนาการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน รวมถึงโรคหัวใจทุกชนิดที่เป็นสาเหตุการตายอันดับ 3 ของคนไทย ตึกกระทรวงสาธารณสุข นับรวมไปถึง...การแก้ไขและป้องกันปัญหายาเสพติดเป็น “วาระแห่งชาติ”, โครงการมหกรรม “10,000 ดวงใจ ปลอดภัย ด้วยพระบารมี” ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันแบบรุนแรง โครงการ ฟันเทียมพระราชทานและการส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ, โครงการสายใยรักแห่งครอบครัวในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระบรม โอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร และ...จิ๊กซอว์ชิ้นเล็กๆ ที่ส่งเสริมนโยบายในภาพใหญ่ การผลิตบุคลากรด้านสาธารณสุขให้มีความพอเพียงและกระจายไปในชนบท พัฒนาขีดความสามารถของอาสาสมัครสาธารณสุข, การสร้างสุขภาพลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง...บูรณาการสร้างสุขภาพดีวิถีชีวิตไทย สร้างมาตรฐานความปลอดภัยด้านอาหาร...ตรวจเฝ้าระวังคุณภาพและความปลอดภัยของอาหาร ทั้งที่ผลิต...นำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งทั้งหมดเหล่านี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วในระบบสาธารณสุขไทยเพื่อประชาชน คนไทย นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวทิ้งท้าย “การเมืองไทย” กำลังเข้าสู่ยุคปฏิรูป เปลี่ยนผ่าน...ขณะที่ประเทศ ไทยจะต้องเดินหน้าพัฒนาต่อไป ไม่ให้ถอยหลังเข้าคลอง สิทธิ-ประโยชน์ในการรักษาพยาบาล ดูแลสุขภาพคนไทย...เป็นแค่จิ๊กซอว์เดียวในอีกหลายๆ ชิ้น ที่จะต้องเดินหน้าต่อไปไม่ให้ถดถอย ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/column/pol/page1scoop/392997 ( ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 1 ม.ค.57 )

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...