ทางออกในรัฐธรรมนูญ

แสดงความคิดเห็น

ม็อบประท้วงรัฐบาลที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถึงแม้นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. จะประกาศ “ชัยชนะ”บางส่วน ไปแล้ว หลังจากฝ่ายรัฐบาลเปิดประตูรับกลุ่มผู้ชุมนุมต่อต้านให้เข้าไปในกองบัญชาการ ตำรวจนครบาลและทำเนียบรัฐบาล โดยไม่มีการต่อต้าน แต่เป็นเพียงชัยชนะ “เชิงสัญลักษณ์” ยังห่างไกลจากข้อเรียกร้องขอตั้งสภาประชาชน และตั้งรัฐบาลบริหารประเทศชั่วคราว

ถึงแม้นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร ประกาศจะยอมรับทางออกที่คนส่วนใหญ่ยอมรับ ไม่ว่าจะเป็นการลาออกหรือการยุบสภา จะไม่ติดยึดและเป็นปัญหาเสียเอง แต่ก็ปฏิเสธข้อเสนอเรื่องสภาประชาชนและการคืนอำนาจให้ประชาชน โดยอ้างว่าไม่มีบทกฎหมายหรือรัฐธรรมนูญรองรับ จึงมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีหารือกับนักวิชาการและกลุ่มอื่นๆ

ไม่น่าเชื่อว่าพรรคเพื่อไทยซึ่งสืบทอดคำขวัญ “คิดใหม่ทำใหม่” มาจากพรรคไทยรักไทย จะขัดสนจนปัญญาคิดไม่ออกว่าจะออกจากวิกฤติการเมืองได้อย่างไร ทั้งๆที่เคยแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 เพื่อยกเลิกรัฐธรรมนูญปัจจุบัน และยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ และต้องถือว่าเป็นการคิดใหม่ทำใหม่ เพราะมาตรา 291 ไม่มีบทบัญญัติให้แก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ

ม็อบประท้วงรัฐบาลที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย แม้แต่การออกกฎหมายนิรโทษกรรม ระดับผู้นำของรัฐบาลก็เคยคิดนอกกรอบหลังจากที่ผลักดันผ่านรัฐสภาไม่สำเร็จ จึงคิดจะออกเป็น “พระราชกำหนด” หรือ พ.ร.ก. แทนที่จะผ่านคณะรัฐมนตรี ตามปกติ แต่ให้ผ่านสภากลาโหม ขอความเห็นชอบจากบรรดาผู้นำเหล่าทัพ เพื่อไม่ให้ถูกต่อต้านทั้งในและนอกสภา แต่เคราะห์ดีที่ความแตกเสียก่อนจึงถูกระงับไป

การผ่าทางตันวิกฤติการเมือง ถ้าไม่อาจกระทำได้ตรงๆ ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ อาจจะต้องใช้วิธีคิดใหม่ทำใหม่ หรือคิดนอกกรอบ แต่อิงบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ เช่น เลขาธิการ กปปส.เชื่อว่าอาจตั้งสภาประชาชน และรัฐบาลชั่วคราวได้ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 3 และ 7 โดยปฏิบัติตามประเพณีประชาธิปไตย ถ้าไม่มีบทบัญญัติชัดแจ้งในรัฐธรรมนูญ

เช่นเดียวกับที่ประชุม อธิการบดีมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ เสนอให้นายกรัฐมนตรียุบสภาและลาออก เพื่อเปิดทางให้จัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติ บริหารประเทศเป็นการชั่วคราว จนกว่าจะมีการเลือกตั้งใหม่และ ศ.ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อดีตอธิการบดีสถาบันนิด้า เสนอให้ใช้มาตรา 3 เพื่อจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติ ทั้งหมดนี้ล้วนแต่เชื่อว่าถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ รัฐบาลจะต้องไม่อ้างรัฐธรรมนูญให้เป็นปัญหาหรืออุปสรรคในการแก้วิกฤติประเทศชาติ จะต้องไม่มองในมิติทางกฎหมายเพียงอย่างเดียว แต่ต้องมองมิติทางการเมืองหรือรัฐศาสตร์ด้วย และรัฐบาลจะต้องมีจุดยืนที่มั่นคง ไม่กลับไปกลับมา เหมือนกับที่รองนายกรัฐมนตรี ผอ.ศอ.รส.คนใหม่ อ้างว่ายังไม่มีเหตุต้องยุบสภา สวนทางกับคำกล่าวของนายกรัฐมนตรี

ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/column/pol/editor/387344

(ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 11 ธ.ค.56)

ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 11 ธ.ค.56
วันที่โพสต์: 12/12/2556 เวลา 17:12:07 ดูภาพสไลด์โชว์ ทางออกในรัฐธรรมนูญ

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ม็อบประท้วงรัฐบาลที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยถึงแม้นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. จะประกาศ “ชัยชนะ”บางส่วน ไปแล้ว หลังจากฝ่ายรัฐบาลเปิดประตูรับกลุ่มผู้ชุมนุมต่อต้านให้เข้าไปในกองบัญชาการ ตำรวจนครบาลและทำเนียบรัฐบาล โดยไม่มีการต่อต้าน แต่เป็นเพียงชัยชนะ “เชิงสัญลักษณ์” ยังห่างไกลจากข้อเรียกร้องขอตั้งสภาประชาชน และตั้งรัฐบาลบริหารประเทศชั่วคราว ถึงแม้นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร ประกาศจะยอมรับทางออกที่คนส่วนใหญ่ยอมรับ ไม่ว่าจะเป็นการลาออกหรือการยุบสภา จะไม่ติดยึดและเป็นปัญหาเสียเอง แต่ก็ปฏิเสธข้อเสนอเรื่องสภาประชาชนและการคืนอำนาจให้ประชาชน โดยอ้างว่าไม่มีบทกฎหมายหรือรัฐธรรมนูญรองรับ จึงมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีหารือกับนักวิชาการและกลุ่มอื่นๆ ไม่น่าเชื่อว่าพรรคเพื่อไทยซึ่งสืบทอดคำขวัญ “คิดใหม่ทำใหม่” มาจากพรรคไทยรักไทย จะขัดสนจนปัญญาคิดไม่ออกว่าจะออกจากวิกฤติการเมืองได้อย่างไร ทั้งๆที่เคยแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 เพื่อยกเลิกรัฐธรรมนูญปัจจุบัน และยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ และต้องถือว่าเป็นการคิดใหม่ทำใหม่ เพราะมาตรา 291 ไม่มีบทบัญญัติให้แก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ม็อบประท้วงรัฐบาลที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย แม้แต่การออกกฎหมายนิรโทษกรรม ระดับผู้นำของรัฐบาลก็เคยคิดนอกกรอบหลังจากที่ผลักดันผ่านรัฐสภาไม่สำเร็จ จึงคิดจะออกเป็น “พระราชกำหนด” หรือ พ.ร.ก. แทนที่จะผ่านคณะรัฐมนตรี ตามปกติ แต่ให้ผ่านสภากลาโหม ขอความเห็นชอบจากบรรดาผู้นำเหล่าทัพ เพื่อไม่ให้ถูกต่อต้านทั้งในและนอกสภา แต่เคราะห์ดีที่ความแตกเสียก่อนจึงถูกระงับไป การผ่าทางตันวิกฤติการเมือง ถ้าไม่อาจกระทำได้ตรงๆ ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ อาจจะต้องใช้วิธีคิดใหม่ทำใหม่ หรือคิดนอกกรอบ แต่อิงบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ เช่น เลขาธิการ กปปส.เชื่อว่าอาจตั้งสภาประชาชน และรัฐบาลชั่วคราวได้ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 3 และ 7 โดยปฏิบัติตามประเพณีประชาธิปไตย ถ้าไม่มีบทบัญญัติชัดแจ้งในรัฐธรรมนูญ เช่นเดียวกับที่ประชุม อธิการบดีมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ เสนอให้นายกรัฐมนตรียุบสภาและลาออก เพื่อเปิดทางให้จัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติ บริหารประเทศเป็นการชั่วคราว จนกว่าจะมีการเลือกตั้งใหม่และ ศ.ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อดีตอธิการบดีสถาบันนิด้า เสนอให้ใช้มาตรา 3 เพื่อจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติ ทั้งหมดนี้ล้วนแต่เชื่อว่าถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ รัฐบาลจะต้องไม่อ้างรัฐธรรมนูญให้เป็นปัญหาหรืออุปสรรคในการแก้วิกฤติประเทศชาติ จะต้องไม่มองในมิติทางกฎหมายเพียงอย่างเดียว แต่ต้องมองมิติทางการเมืองหรือรัฐศาสตร์ด้วย และรัฐบาลจะต้องมีจุดยืนที่มั่นคง ไม่กลับไปกลับมา เหมือนกับที่รองนายกรัฐมนตรี ผอ.ศอ.รส.คนใหม่ อ้างว่ายังไม่มีเหตุต้องยุบสภา สวนทางกับคำกล่าวของนายกรัฐมนตรี ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/column/pol/editor/387344 (ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 11 ธ.ค.56)

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...