รัฐบาลชักธงรบ! 'ปึ้ง'ขู่จับทีมบลูสกาย-ผู้ว่าฯกทม./ซื้อแก๊สน้ำตาเพิ่ม

แสดงความคิดเห็น

กลุ่มประชาชนต่อต้านรัฐบาลบริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

หลัง 5 ธันวา. "สุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล" ประกาศชักธงรบแล้ว! อ้าง อำนาจในฐานะผู้อำนวยการ ศอ.รส. ประกาศจับเรียบผู้สนับสนุน "เทพเทือก" บลูสกายโดนก่อนใคร ส่วนผู้ร่วมชุมนุมสั่งดีเอสไอ-ผบ.ตร.ทยอยออกหมายจับ ขู่ผู้ว่าฯ กทม.โดนด้วยฐานส่งรถส้วมให้ม็อบ ลั่นไม่เจรจา เจอกบฏสุเทพที่ไหนจับทันที ขณะที่ตำรวจสั่งซื้อแก๊สน้ำตาเพิ่ม-ระดมพลเข้ากรุงเทพฯ แล้ว ด้านนายกฯ ตามมาตรา 7 หลายฝ่ายยังถกเถียงสามารถนำมาใช้ได้หรือไม่

เมื่อวันที่ 5 ธ.ค. นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในฐานะผู้กำกับดูแลศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.) ได้นัดประชุมคณะกรรมการชุดใหญ่ หลังจาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกฯ มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาความไม่สงบเรียบร้อย โดยตั้งคณะกรรมการขึ้นมา 4 ชุด ประกอบด้วย 1.คณะกรรมการกำหนดยุทธศาสตร์จัดทำแผนและประสานงาน มีนายสุรพงษ์เป็นประธาน และมี พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รองนายกฯ และนายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รมว.มหาดไทย เป็นรองประธาน 2.คณะกรรมการด้าน กฎหมาย มีนายชัยเกษม นิติสิริ รมว. ยุติธรรม เป็นประธาน 3.คณะกรรมการ ดูแลประชาชน มีนายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รมว.มหาดไทย เป็นประธาน และ 4.คณะกรรมการด้านข้อมูลข่าวสารและสารสนเทศ มี น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.ไอซีที เป็นประธาน

กลุ่มประชาชนต่อต้านรัฐบาล นายสุรพงษ์แถลงภายหลังการประชุมมีข้อสรุปหลายประเด็น คือ การดำเนินการของคณะทำงานที่ปฏิบัติงานตั้งแต่นี้ไป ต้องยึดกฎหมายเป็นหลัก อย่างกรณีนายสุเทพเป็นผู้ต้องหากบฏ ดังนั้นผู้สนับสนุนนายสุเทพจะถือว่าเป็นผู้ที่สนับสนุนผู้ที่เป็นกบฏ ต้องมีความผิดแน่นอนตาม ม.114 ต้องมีการใช้ข้อกฎหมายให้ชัดเจน ซึ่งได้กำชับ ผบ.ตร.ออกหมายจับผู้ให้การสนับสนุน ซึ่งทางดีเอสไอและ ผบ.ตร.คงทยอยออกหมายจับ

ผู้สื่อข่าวถามว่า จะมีการออกหมายจับเพิ่มเติมผู้สนับสนุนรายใดบ้าง นายสุรพงษ์กล่าวว่า จากการหารือ รายแรกคือสถานีบลูสกาย แต่ไม่ใช่เป็นการปิดสถานี เพียงแต่ผู้บริหารบลูสกายนั้นชัดเจนว่าให้ความสนับสนุนนายสุเทพ ดังนั้น บลูสกายจะต้องเจอหมายศาลอย่างแน่นอน ส่วนจะมีรายอื่นเข้ามาด้วยหรือไม่ คงต้องรอ จะมีการออกหมายจับเป็นระยะๆ โดยจะเน้นที่แกนนำก่อน

"สำหรับผู้ชุมนุม จะยังไม่พิจารณาว่าผิดหรือไม่ผิด แต่จะเริ่มทยอยออกหมายจับ และเมื่อเราออกหมายศาลแล้วมามอบตัวก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าไม่มามอบตัว เมื่อทุกอย่างจบก็คงต้องติดคุกหัวโต ซึ่งมีโทษจำคุก 3-15 ปี ต่างกรรมต่างวาระกันไป" นายสุรพงษ์กล่าว

เมื่อถามต่อว่า นอกจากบลูสกาย ยังมีหน่วยงานอื่นที่จะออกหมายจับอีกหรือไม่ นายสุรพงษ์กล่าวว่า มีแน่นอน เพราะได้กำชับดีเอสไอไปแล้ว ซึ่งเป็นเลขาฯ ของทีมกฎหมายรับไปดำเนินการ จะมีการออกหมายจับทั้งบริษัทและห้างร้านที่ให้การสนับ สนุน เพียงแต่วันนี้เน้นบลูสกายเพราะชัด เจน และไม่คิดว่าจะเติมเชื้อไฟให้เกิดความรุนแรง เพราะรัฐไม่ได้สั่งให้ปิดสถานี เพียงแต่เป็นการแจ้งความและมีหมายศาลไว้ ก่อน เมื่อทุกอย่างจบสิ้น เป็นไปตามกฎ หมาย ก็จะติดคุกหัวโตเท่านั้น

กลุ่มประชาชนต่อต้านรัฐบาล ผู้อำนวยการ ศอ.รส. กล่าวว่า นอกจากนี้ในส่วนของ กทม.ที่ให้การสนับสนุนกบฏ ก็ถือว่าผิด ม.114 เช่นกัน อย่างเช่นนำส้วมไปให้ใช้ หรือรถน้ำไปให้ก็มีความผิด กทม.ผิดก็ต้องว่าไปตามผิด ไม่มีใครอยู่เหนือกฎหมาย วันนี้ได้กำชับกระทรวงมหาดไทยแล้ว ให้ดำเนินการแจ้งเตือนไปก่อน เพราะหลักการที่มีอยู่ชัดเจนว่าให้ความช่วยเหลือกบฏ ต้องถูกจับกุมทั้งหมด ซึ่งไม่คิดว่าจะเพิ่มความรุนแรงให้เกิดขึ้น เพราะเราว่ากันตามกฎหมาย แม้แต่ตัวผู้ว่าฯ กทม.ถ้ามีความผิดชัดเจนว่ากระทำผิด ก็ต้องถูกดำ เนินการเช่นกัน เราจะต้องปฏิบัติตามกฎ หมายอย่างเคร่งครัด ไม่เช่นนั้นกฎหมายคงไม่มีความหมาย

ศอ.รส.ขู่จับผู้ว่าฯ กทม.

ถามย้ำว่า แสดงว่าจะออกหมายศาล เพื่อจับกุมผู้ว่าฯ หากมีหลักฐานชัดเจนอย่างนั้นหรือ นายสุรพงษ์ กล่าวว่า แน่นอน เพราะเรารู้ว่ามีการสนับสนุนก็ต้องโดนแน่ๆใครทำผิดก็ต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย ซึ่ง รัฐบาลจะทำในทุกๆ แนวทาง โดยเราจะไม่ปล่อยคนทำผิดกฎหมาย รมว.ยุติธรรมจะเป็นผู้รับผิดชอบทั้งหมด

ผู้อำนวยการ ศอ.รส.กล่าวถึงกรณีหากมีการเจรจาระหว่างนายกฯ กับนายสุเทพอีกครั้งว่า คงไม่มีการหารืออีกแล้ว เพราะหากนายกฯ ไปหารือ ก็จะกลายเป็นว่ามีความผิดไปสมรู้ร่วมคิดกับกบฏ ดังนั้นนายสุเทพต้องมอบตัวในข้อหากบฏ แม้แต่ตนหรือใครก็ไปเจรจาด้วยไม่ได้ เพราะจะมีความผิดทั้งหมด ส่วนการเจรจาของนายกฯ และนายสุเทพครั้งแรกนั้น ไม่ถือว่าผิด เพราะยังไม่ถูกข้อหากบฏ

ต่อข้อถามว่า นายสุเทพที่โดนข้อหากบฏ หากมีโอกาสจริงจะจับตัวเลยหรือไม่ นายสุรพงษ์กล่าวว่า "จับครับ เมื่อกี๊ได้พูดคุยกันแล้ว ถ้าคุณสุเทพอยู่ที่ไหนที่เราสามารถจับตัวได้จะจับกุมตัวอย่างแน่นอน เพราะถือว่าเขาเป็นคนที่โดนหมายศาลในข้อหากบฏ เมื่อมีโอกาสต้องจับกุม"

กลุ่มประชาชนต่อต้านรัฐบาล เขากล่าวด้วยว่า รัฐบาลอยากเรียกร้องผู้ชุมนุมน่าจะยุติได้แล้ว เพราะสังคมส่วนหนึ่งไม่อยากเห็นความวุ่นวาย และหลังจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสว่า ประเทศไทยเราอยู่กันอย่างเป็นปึกแผ่นมาช้านาน ความสงบสุขของประชาชน เป็นสิ่งที่พระองค์ท่านอยากเห็น ผมคิดว่าวันนี้เราต้องทำทุกอย่างให้บ้านเมืองสงบ เพื่อถวายแด่พระองค์ท่าน สิ่งใดที่ทำให้พระองค์ท่านสบายใจ นั่นก็คือความสงบสุขของประชาชน

นายสุรพงษ์ประเมินความเคลื่อนไหวของผู้ชุมนุมที่จะกลับมาเคลื่อนไหวอีกครั้งว่า ผู้ชุมนุมจะเริ่มทยอยเอาคนเข้ามาอีก ซึ่งการข่าวของรัฐบาลพอจะทราบว่าจะมีการระดมคนเข้ามา ซึ่งรูปแบบการเคลื่อนไหว คิดว่าผู้ชุมนุมจะทำให้รุนแรงมากขึ้น เพื่อที่จะปรักปรำและผลักความรับผิดชอบมาที่รัฐบาล เป็นวิธีการเดียวที่คิด และเชื่อว่าจะสำเร็จ แต่ตนอยากจะบอกว่า อย่าทำให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินหรือสถานที่ราชการ โดยเฉพาะอย่าไปปิดกั้นให้ข้าราชการเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ เพราะเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง สังคมโลกก็ไม่ยอมรับ

ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้ออกประกาศเรื่องประกวดราคาซื้อแก๊สน้ำตาชนิดเหลว ใช้ในการควบคุมฝูงชน จำนวน 2,400 ลิตร ด้วยวิธีทางอิเล็กทรอนิกส์ วันที่ 4 ธ.ค.56 ลงนามโดย พล.ต.ต.รณกร ศุภสมุทร ผู้บังคับการกองสรรพาวุธ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยกำหนดยื่นเอกสารประกวดราคาฯ วันที่ 25 ธ.ค.56 ระหว่างเวลา 09.00-10.00 น. ณ ห้องประกวดราคาของกองสรรพาวุธ สำนักงานส่งกำลังบำรุง และประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์ได้รับการคัด เลือก 6 มกราคม 2557 สำหรับวงเงินงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรกว่า 10,800,000 ล้านบาท ด้วยราคาลิตรละ 4,500 บาท

เป็นที่น่าสังเกตว่า ก่อนหน้านี้ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. เคยปราศรัยที่ศูนย์ราชการฯ ว่าสาเหตุตำรวจหยุดยิงแก๊สน้ำตาปะทะมวลชนที่พยายามบุกฝ่าแนวแท่งแบริเออร์ เข้ามายัง บช.น.นั้น เพราะตำรวจยิงแก๊สน้ำตาจนหมดแล้ว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในโลกออนไลน์ได้มีการแชร์เอกสารคำสั่งทางวิทยุของ ศอ.รส.ถึงผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 2 และ รองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 2 ลงวันที่ 4 ธ.ค.56 มีเนื้อหาเกี่ยวกับการระดมกำลัง ตำรวจเข้ามา กทม.เพื่อรักษาสถานที่ราชการ

สั่งระดม ตร.เข้ากรุง - สำหรับเนื้อหาในเอกสารมีดังนี้ เพื่อทราบและดำเนินการตามวิทยุ ศอ.รส. ด่วนที่สุด ลงวันที่ 3 ธ.ค.56 ให้ ภ.จว.ตราด ฉะเชิงเทรา จันทบุรี ระยอง สระแก้ว ปราจีนบุรี และชลบุรี จัดเตรียมกำลังกองร้อย คฝ.ภ.จว.ละ 1 กองร้อย เตรียมพร้อม ณ ที่ตั้งของหน่วย พร้อมเดินทางเข้าจุดรวมพลของ ภ.จว.ภายใน 3 ชั่วโมง เพื่อออกเดินทางตามที่ ศอ.รส.สั่งการ ลงนามโดย พล.ต.ต.สัญชัย ไชยอำพร รอง ผบช.ปรท.ผบช.ภ.2 ลงวันที่ 4 ธ.ค.56

ทั้งยังมีเอกสารด่วนที่สุด ที่ ผบก.ภ. จว.ระยอง และ รอง ผบก.ภ.จว.ระยอง ทำถึง ผกก.สวญ.สว.ทุกแห่งในสังกัด มีเนื้อหาเพื่อทราบและดำเนินการตามหนังสือด่วนที่สุดดังกล่าว ให้ทุกหน่วยแจ้งร้อย คฝ.ร้อย 1 เตรียมพร้อม ณ ที่ตั้งของหน่วย พร้อมเดินทางเข้าสู่จุดรวมพลของ ภ.จว.ระยอง ภายใน 2 ชั่วโมง เพื่อเดินทางไปปฏิบัติตามที่ ศอ.รส.สั่งการ ลงนามโดย พ.ต.อ.สมไทย คำวัฒน์ รอง ผบก.ปรท.ผบก.ภ.จว.ระยอง ลงวันที่ 4 ธ.ค.56

ขณะที่นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และหัวหน้าพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า รัฐบาลโดยเฉพาะตัวนายกฯ พยายามที่จะมีการพูดคุยนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. แต่ต้องไม่ใช่อ่อนแอถึงขั้นอะไรต้องยอมไปทุกอย่าง และถ้าจะยอมต้องเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ ถ้าตกลงตามกรอบกติกากฎหมายมันได้ แต่ข้อเสนอของนายสุเทพ ไม่รู้จะยอมยังไง โดยเฉพาะมาตรา 3 ที่นายสุเทพอ้าง เพื่อให้ได้มาซึ่งนายกฯ ตามมาตรา 7 จะตีความยังไงก็ยาก ทั้งนี้ รัฐบาลไม่ต้องการฉีกรัฐธรรมนูญ เพราะต้องการให้รัฐสภาแก้

นายเจษฎ์ โทณะวณิก คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม ให้สัมภาษณ์ทาง "สำนักข่าวอิศรา" ถึงการขอพระราชทานนายกฯ ตามมาตรา 7 ว่า ข้อเสนอดังกล่าว ตนเห็นว่าอาจจะเป็นการระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาท เพราะการแต่งตั้งนายกฯ ตามมาตรา 7 ที่เสนอกันในขณะนี้ หากพูดอย่างตรงๆ ก็คือการขอนายกฯ พระราชทาน ซึ่งตามประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตั้งแต่ปี 2475 ก็ไม่เคยมีการแต่งตั้งนายกฯ พระราชทานมาก่อน เพราะขนาดนายสัญญา ธรรมศักดิ์ ที่ได้รับแต่งตั้งเมื่อปี 2516 ก็ทรงเคยมีพระราชดำรัสว่าไม่ใช่นายกฯ พระราชทาน เพราะมีผู้ทูลเกล้าฯ เสนอ และมีผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ซึ่งเป็นไปตามกลไกปกติ

นายเจษฎ์กล่าวว่า ในรัฐธรรมนูญไทยเขียนไว้ว่านายกฯ ต้องมาจากการเลือกตั้ง หากต้องการให้มีนายกฯ พระราชทาน จะต้องไปแก้ไขรัฐธรรมนูญในส่วนของบทเฉพาะกาลว่านายกฯ ไม่จำเป็นต้องมาจากการเลือกตั้ง จากนั้นจึงมีการนำเสนอชื่อผู้ที่เหมาะสมขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย

"อยู่ดีๆ จะให้มีนายกฯ พระราชทานเลยคงเป็นไปได้ยาก แต่ในประเพณีการปกครองของไทยยังมีช่องเรื่องนี้อยู่ เพราะหากคนในสังคมมาพูดคุยหารือกัน มีข้อตกลงที่ยอมรับร่วมกันได้ทุกฝ่าย หลังจากนั้นก็สามารถไปแก้ไขบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญ แล้วนำรายชื่อผู้เหมาะสมทูลเกล้าฯ ถวายแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีได้" นายเจษฎ์กล่าว

ขณะที่นายกิตติศักดิ์ ปรกติ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่าการแต่งตั้งนายกฯ มาตรา 7 จะเป็นไปได้ต่อเมื่อกระบวนการหรือกลไกตามรัฐธรรมนูญเป็นไปไม่ได้แล้ว และในหลวงก็ทรงเคยมีพระบรมราโชวาทแล้วว่า อย่าทำอะไรมั่ว หลักสำคัญก็คือต้องทำตามกฎ หมาย ในหลวงตรัสแล้ว ท่านคืนคำไม่ได้

ม.7 ทำได้กรณีวิกฤติ - "แต่ไม่ได้หมายความว่าไม่มีช่องทาง นั่นคือในขณะที่บ้านเมืองเกิดวิกฤติ แล้วมันเดินต่อไม่ได้ แต่หลักของการเสนอนายกฯ มาตรา 7 คือถ้ารัฐธรรมนูญไม่เปิดช่อง บ้านเมืองเกิดวิกฤติ มันก็เป็นไปได้ เช่น หากยกตัวอย่าง นายกฯ กับรัฐมนตรีถูกระเบิด เสียชีวิตทั้งหมด แล้วรัฐธรรมนูญกำหนดว่านายกฯ ต้องเป็น ส.ส. แล้ว ส.ส.ตายหมด คราวนี้จะทำอย่างไร นี่แค่ตัวอย่างนะครับ แต่เราก็ไม่มีใครอยากให้เกิดเหตุการณ์เช่นนั้น"

นายกิตติศักดิ์กล่าวต่อว่า การเสนอนายกฯ ตามมาตรา 7 โดยหวังว่าจะให้เกิดช่องว่างของกลไกรัฐธรรมนูญนั้น ไม่ถูกต้อง เพราะกระบวนการและหลักการสำคัญคือต้องปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญเสียก่อน ส่วนการชุมนุมเคลื่อนไหวครั้งนี้ และมีข้อเสนอจากบางฝ่ายว่าให้มีการแก้รัฐธรรมนูญนั้น ตนเห็นว่าควรตั้งคำถามถึงเหตุของปัญหามากกว่าว่าเกิดจากรัฐ ธรรมนูญฉบับนี้ หรือเกิดจากใครกันแน่ แต่ไม่ว่าอย่างไร ทุกฝ่ายต้องเคารพกติกา

"เหตุของปัญหาตอนนี้ อยู่ตรงไหน ถ้ามันเกิดจากรัฐธรรมนูญ ก็แก้รัฐธรรมนูญ แต่ถ้ามันเกิดจากผู้ดำรงตำแหน่งทาง การเมือง จะทำอย่างไร ดังนั้น ใครเสนอทางออกใดก็เสนอได้ แต่ข้อเสนอของคุณ ต้องตั้งอยู่บนหลักสมุทัย คือหาสาเหตุของปัญหาให้เจอ แล้วจะมองเห็นว่าอะไรคือนิโรธ อะไรคือมรรค" นายกิตติศักดิ์กล่าว

นายกิตติศักดิ์ให้สัมภาษณ์เพิ่มเติมถึงการตั้งสภาประชาชนตามข้อเรียกร้อง ของนายสุเทพว่า สภาประชาชนสามารถมีได้ตามการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อย่างที่มีอยู่ในขณะนี้ เช่น สภาราชดำเนิน สภาแจ้งวัฒนะ เป็นต้น ซึ่งเป็นภาคประชา ชน ที่ไม่เห็นด้วยกับการทำงานของรัฐบาลและรัฐสภา แต่ตอนนี้ที่ไม่ได้ผล เพราะรัฐบาลและรัฐสภาไม่รับฟัง ส่วนการใช้ช่องทางตามมาตรา 7 ที่มีการพูดถึงกันนั้น ในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 เคยเกิดขึ้นมาแล้ว โดยยึดหลักประเพณีในระบอบประชาธิปไตย โดยครั้งนั้นนายกฯ และรองนายกฯ ลาออก คนที่เหลืออย่างประธานวุฒิสภาจึงต้องจัดแจงนำบุคคลที่มีความเหมาะสมทูล เกล้าฯ ถวายเพื่อทำหน้าที่

"แต่เวลานี้ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เลย เพราะรัฐบาลและรัฐสภาไม่ให้ความร่วมมือตามที่ประชาชนออกมาเรียกร้อง จึงไม่สามารถทำอะไรได้ จริงๆ กรณีนี้ไม่ต้องถกเถียงกันเรื่องมาตรา 7 เพียงแค่รัฐบาลให้ความร่วมมือก็สามารถปฏิรูปได้ โดยนายกฯ ต้องออกจากอำนาจ แล้วให้ผู้ที่ได้รับการยอมรับจากทุกฝ่ายเข้ามาทำหน้าที่ปฏิรูป โดยจะต้องพูดกันให้ชัดว่าจะปฏิรูปเรื่องอะไรบ้าง" นายกิตติศักดิ์ระบุ

นายโคทม อารียา ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาสันติวิธีและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ยังไม่ทราบเรื่องที่นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี ระบุว่าจะเสนอชื่อตนเป็นตัวกลางในการดำเนินการเปิดเวทีทางวิชาการ เพื่อพูดคุยทุกภาคส่วนในการหาทาง ออกให้กับประเทศ ซึ่งส่วนตัวหากสามารถช่วยอะไรที่จะทำให้ความขัดแย้งคลี่คลายได้โดยแนวทาง สันติวิธีก็พร้อมที่จะช่วย แต่ขณะนี้เห็นว่ายังไม่ได้เริ่ม ซึ่งการจัดเวทีต้องเป็นเวทีที่เปิดกว้าง รับทุกความคิดเห็นเข้ามา เป็นเวทีที่ใครคับข้องใจสามารถมาพูดกันได้เพื่อให้สังคมได้รับรู้

ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศการ ชุมนุมของกลุ่มประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) ที่เวทีอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถนนราชดำเนิน บรรยากาศทั่วไปเป็นไปด้วยความเรียบร้อย และนอกจากนี้ มีการทยอยขนอุปกรณ์เพื่อจัดตั้งเป็นจอภาพยนตร์ เพื่อฉายเป็นหนังกลางแปลงกับประ ชาชนที่ราชดำเนินในคืนนี้ด้วย นอกจากนี้ ยังมีผู้ตั้งสินค้าขายของที่เกี่ยวกับงานเฉลิมพระชนมพรรษา เช่น เสื้อสีเหลือง สีชมพู ที่คาดผม ที่เขียนคำว่า ทรงพระเจริญ พระบรมฉายาลักษณ์ในฉลองพระองค์ชุดต่างๆ เป็นต้น ส่วนที่กระทรวงการคลัง กลุ่ม กปปส. ที่ปักหลักค้างคืนมาหลายวัน ได้ทำภารกิจส่วนตัวเสร็จสิ้น และมวลชนได้รวมตัวบริเวณลานหน้าเวทีและข้างเวที ได้ลงนามถวายพระพรแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยการเขียนลงกระดาษใบโพธิ์ทอง ที่แยกนางเลิ้ง บรรยากาศการชุมนุมของเครือข่ายนักศึกษาและประชาชนปฏิรูปประเทศไทย (คปท.) ตั้งแต่ช่วงเช้าเป็นไปอย่างสงบและผ่อนคลายกว่าทุกวัน ผู้ชุมนุมส่วนใหญ่ต่างพร้อมใจกันใส่เสื้อสีเหลือง โดยผู้ชุมนุมได้ช่วยกันทำความสะอาดพื้นที่ชุมนุม พร้อมจัดกิจกรรมเทิดพระเกียรติ 5 ธันวามหาราช ซึ่งได้มีการปรับฉากเวทีใหม่เพื่อร่วมถวายพระพรแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมทั้งมีการประดับธงชาติและธงตราสัญลักษณ์เต็มพื้นที่ ถ.พิษณุโลก และ ถ.นครสวรรค์ โดยมีการร่วมจุดเทียนชัยถวายพระพรพร้อมกันกับเวทีการชุมนุมในเครือข่าย กปปส.ทั้ง 6 เวที ในเวลา 18.30

ขอบคุณ... http://www.ryt9.com/s/tpd/1792347

(ไทยโพสต์ ประชาชาติธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 6 ธ.ค.56)

ที่มา: ไทยโพสต์ ประชาชาติธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 6 ธ.ค.56
วันที่โพสต์: 6/12/2556 เวลา 02:54:13 ดูภาพสไลด์โชว์ รัฐบาลชักธงรบ! 'ปึ้ง'ขู่จับทีมบลูสกาย-ผู้ว่าฯกทม./ซื้อแก๊สน้ำตาเพิ่ม

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

กลุ่มประชาชนต่อต้านรัฐบาลบริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย หลัง 5 ธันวา. "สุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล" ประกาศชักธงรบแล้ว! อ้าง อำนาจในฐานะผู้อำนวยการ ศอ.รส. ประกาศจับเรียบผู้สนับสนุน "เทพเทือก" บลูสกายโดนก่อนใคร ส่วนผู้ร่วมชุมนุมสั่งดีเอสไอ-ผบ.ตร.ทยอยออกหมายจับ ขู่ผู้ว่าฯ กทม.โดนด้วยฐานส่งรถส้วมให้ม็อบ ลั่นไม่เจรจา เจอกบฏสุเทพที่ไหนจับทันที ขณะที่ตำรวจสั่งซื้อแก๊สน้ำตาเพิ่ม-ระดมพลเข้ากรุงเทพฯ แล้ว ด้านนายกฯ ตามมาตรา 7 หลายฝ่ายยังถกเถียงสามารถนำมาใช้ได้หรือไม่ เมื่อวันที่ 5 ธ.ค. นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในฐานะผู้กำกับดูแลศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.) ได้นัดประชุมคณะกรรมการชุดใหญ่ หลังจาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกฯ มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาความไม่สงบเรียบร้อย โดยตั้งคณะกรรมการขึ้นมา 4 ชุด ประกอบด้วย 1.คณะกรรมการกำหนดยุทธศาสตร์จัดทำแผนและประสานงาน มีนายสุรพงษ์เป็นประธาน และมี พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รองนายกฯ และนายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รมว.มหาดไทย เป็นรองประธาน 2.คณะกรรมการด้าน กฎหมาย มีนายชัยเกษม นิติสิริ รมว. ยุติธรรม เป็นประธาน 3.คณะกรรมการ ดูแลประชาชน มีนายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รมว.มหาดไทย เป็นประธาน และ 4.คณะกรรมการด้านข้อมูลข่าวสารและสารสนเทศ มี น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.ไอซีที เป็นประธาน กลุ่มประชาชนต่อต้านรัฐบาล นายสุรพงษ์แถลงภายหลังการประชุมมีข้อสรุปหลายประเด็น คือ การดำเนินการของคณะทำงานที่ปฏิบัติงานตั้งแต่นี้ไป ต้องยึดกฎหมายเป็นหลัก อย่างกรณีนายสุเทพเป็นผู้ต้องหากบฏ ดังนั้นผู้สนับสนุนนายสุเทพจะถือว่าเป็นผู้ที่สนับสนุนผู้ที่เป็นกบฏ ต้องมีความผิดแน่นอนตาม ม.114 ต้องมีการใช้ข้อกฎหมายให้ชัดเจน ซึ่งได้กำชับ ผบ.ตร.ออกหมายจับผู้ให้การสนับสนุน ซึ่งทางดีเอสไอและ ผบ.ตร.คงทยอยออกหมายจับ ผู้สื่อข่าวถามว่า จะมีการออกหมายจับเพิ่มเติมผู้สนับสนุนรายใดบ้าง นายสุรพงษ์กล่าวว่า จากการหารือ รายแรกคือสถานีบลูสกาย แต่ไม่ใช่เป็นการปิดสถานี เพียงแต่ผู้บริหารบลูสกายนั้นชัดเจนว่าให้ความสนับสนุนนายสุเทพ ดังนั้น บลูสกายจะต้องเจอหมายศาลอย่างแน่นอน ส่วนจะมีรายอื่นเข้ามาด้วยหรือไม่ คงต้องรอ จะมีการออกหมายจับเป็นระยะๆ โดยจะเน้นที่แกนนำก่อน "สำหรับผู้ชุมนุม จะยังไม่พิจารณาว่าผิดหรือไม่ผิด แต่จะเริ่มทยอยออกหมายจับ และเมื่อเราออกหมายศาลแล้วมามอบตัวก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าไม่มามอบตัว เมื่อทุกอย่างจบก็คงต้องติดคุกหัวโต ซึ่งมีโทษจำคุก 3-15 ปี ต่างกรรมต่างวาระกันไป" นายสุรพงษ์กล่าว เมื่อถามต่อว่า นอกจากบลูสกาย ยังมีหน่วยงานอื่นที่จะออกหมายจับอีกหรือไม่ นายสุรพงษ์กล่าวว่า มีแน่นอน เพราะได้กำชับดีเอสไอไปแล้ว ซึ่งเป็นเลขาฯ ของทีมกฎหมายรับไปดำเนินการ จะมีการออกหมายจับทั้งบริษัทและห้างร้านที่ให้การสนับ สนุน เพียงแต่วันนี้เน้นบลูสกายเพราะชัด เจน และไม่คิดว่าจะเติมเชื้อไฟให้เกิดความรุนแรง เพราะรัฐไม่ได้สั่งให้ปิดสถานี เพียงแต่เป็นการแจ้งความและมีหมายศาลไว้ ก่อน เมื่อทุกอย่างจบสิ้น เป็นไปตามกฎ หมาย ก็จะติดคุกหัวโตเท่านั้น กลุ่มประชาชนต่อต้านรัฐบาล ผู้อำนวยการ ศอ.รส. กล่าวว่า นอกจากนี้ในส่วนของ กทม.ที่ให้การสนับสนุนกบฏ ก็ถือว่าผิด ม.114 เช่นกัน อย่างเช่นนำส้วมไปให้ใช้ หรือรถน้ำไปให้ก็มีความผิด กทม.ผิดก็ต้องว่าไปตามผิด ไม่มีใครอยู่เหนือกฎหมาย วันนี้ได้กำชับกระทรวงมหาดไทยแล้ว ให้ดำเนินการแจ้งเตือนไปก่อน เพราะหลักการที่มีอยู่ชัดเจนว่าให้ความช่วยเหลือกบฏ ต้องถูกจับกุมทั้งหมด ซึ่งไม่คิดว่าจะเพิ่มความรุนแรงให้เกิดขึ้น เพราะเราว่ากันตามกฎหมาย แม้แต่ตัวผู้ว่าฯ กทม.ถ้ามีความผิดชัดเจนว่ากระทำผิด ก็ต้องถูกดำ เนินการเช่นกัน เราจะต้องปฏิบัติตามกฎ หมายอย่างเคร่งครัด ไม่เช่นนั้นกฎหมายคงไม่มีความหมาย ศอ.รส.ขู่จับผู้ว่าฯ กทม. ถามย้ำว่า แสดงว่าจะออกหมายศาล เพื่อจับกุมผู้ว่าฯ หากมีหลักฐานชัดเจนอย่างนั้นหรือ นายสุรพงษ์ กล่าวว่า แน่นอน เพราะเรารู้ว่ามีการสนับสนุนก็ต้องโดนแน่ๆใครทำผิดก็ต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย ซึ่ง รัฐบาลจะทำในทุกๆ แนวทาง โดยเราจะไม่ปล่อยคนทำผิดกฎหมาย รมว.ยุติธรรมจะเป็นผู้รับผิดชอบทั้งหมด ผู้อำนวยการ ศอ.รส.กล่าวถึงกรณีหากมีการเจรจาระหว่างนายกฯ กับนายสุเทพอีกครั้งว่า คงไม่มีการหารืออีกแล้ว เพราะหากนายกฯ ไปหารือ ก็จะกลายเป็นว่ามีความผิดไปสมรู้ร่วมคิดกับกบฏ ดังนั้นนายสุเทพต้องมอบตัวในข้อหากบฏ แม้แต่ตนหรือใครก็ไปเจรจาด้วยไม่ได้ เพราะจะมีความผิดทั้งหมด ส่วนการเจรจาของนายกฯ และนายสุเทพครั้งแรกนั้น ไม่ถือว่าผิด เพราะยังไม่ถูกข้อหากบฏ ต่อข้อถามว่า นายสุเทพที่โดนข้อหากบฏ หากมีโอกาสจริงจะจับตัวเลยหรือไม่ นายสุรพงษ์กล่าวว่า "จับครับ เมื่อกี๊ได้พูดคุยกันแล้ว ถ้าคุณสุเทพอยู่ที่ไหนที่เราสามารถจับตัวได้จะจับกุมตัวอย่างแน่นอน เพราะถือว่าเขาเป็นคนที่โดนหมายศาลในข้อหากบฏ เมื่อมีโอกาสต้องจับกุม" กลุ่มประชาชนต่อต้านรัฐบาล เขากล่าวด้วยว่า รัฐบาลอยากเรียกร้องผู้ชุมนุมน่าจะยุติได้แล้ว เพราะสังคมส่วนหนึ่งไม่อยากเห็นความวุ่นวาย และหลังจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสว่า ประเทศไทยเราอยู่กันอย่างเป็นปึกแผ่นมาช้านาน ความสงบสุขของประชาชน เป็นสิ่งที่พระองค์ท่านอยากเห็น ผมคิดว่าวันนี้เราต้องทำทุกอย่างให้บ้านเมืองสงบ เพื่อถวายแด่พระองค์ท่าน สิ่งใดที่ทำให้พระองค์ท่านสบายใจ นั่นก็คือความสงบสุขของประชาชน นายสุรพงษ์ประเมินความเคลื่อนไหวของผู้ชุมนุมที่จะกลับมาเคลื่อนไหวอีกครั้งว่า ผู้ชุมนุมจะเริ่มทยอยเอาคนเข้ามาอีก ซึ่งการข่าวของรัฐบาลพอจะทราบว่าจะมีการระดมคนเข้ามา ซึ่งรูปแบบการเคลื่อนไหว คิดว่าผู้ชุมนุมจะทำให้รุนแรงมากขึ้น เพื่อที่จะปรักปรำและผลักความรับผิดชอบมาที่รัฐบาล เป็นวิธีการเดียวที่คิด และเชื่อว่าจะสำเร็จ แต่ตนอยากจะบอกว่า อย่าทำให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินหรือสถานที่ราชการ โดยเฉพาะอย่าไปปิดกั้นให้ข้าราชการเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ เพราะเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง สังคมโลกก็ไม่ยอมรับ ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้ออกประกาศเรื่องประกวดราคาซื้อแก๊สน้ำตาชนิดเหลว ใช้ในการควบคุมฝูงชน จำนวน 2,400 ลิตร ด้วยวิธีทางอิเล็กทรอนิกส์ วันที่ 4 ธ.ค.56 ลงนามโดย พล.ต.ต.รณกร ศุภสมุทร ผู้บังคับการกองสรรพาวุธ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยกำหนดยื่นเอกสารประกวดราคาฯ วันที่ 25 ธ.ค.56 ระหว่างเวลา 09.00-10.00 น. ณ ห้องประกวดราคาของกองสรรพาวุธ สำนักงานส่งกำลังบำรุง และประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์ได้รับการคัด เลือก 6 มกราคม 2557 สำหรับวงเงินงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรกว่า 10,800,000 ล้านบาท ด้วยราคาลิตรละ 4,500 บาท เป็นที่น่าสังเกตว่า ก่อนหน้านี้ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. เคยปราศรัยที่ศูนย์ราชการฯ ว่าสาเหตุตำรวจหยุดยิงแก๊สน้ำตาปะทะมวลชนที่พยายามบุกฝ่าแนวแท่งแบริเออร์ เข้ามายัง บช.น.นั้น เพราะตำรวจยิงแก๊สน้ำตาจนหมดแล้ว ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในโลกออนไลน์ได้มีการแชร์เอกสารคำสั่งทางวิทยุของ ศอ.รส.ถึงผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 2 และ รองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 2 ลงวันที่ 4 ธ.ค.56 มีเนื้อหาเกี่ยวกับการระดมกำลัง ตำรวจเข้ามา กทม.เพื่อรักษาสถานที่ราชการ สั่งระดม ตร.เข้ากรุง - สำหรับเนื้อหาในเอกสารมีดังนี้ เพื่อทราบและดำเนินการตามวิทยุ ศอ.รส. ด่วนที่สุด ลงวันที่ 3 ธ.ค.56 ให้ ภ.จว.ตราด ฉะเชิงเทรา จันทบุรี ระยอง สระแก้ว ปราจีนบุรี และชลบุรี จัดเตรียมกำลังกองร้อย คฝ.ภ.จว.ละ 1 กองร้อย เตรียมพร้อม ณ ที่ตั้งของหน่วย พร้อมเดินทางเข้าจุดรวมพลของ ภ.จว.ภายใน 3 ชั่วโมง เพื่อออกเดินทางตามที่ ศอ.รส.สั่งการ ลงนามโดย พล.ต.ต.สัญชัย ไชยอำพร รอง ผบช.ปรท.ผบช.ภ.2 ลงวันที่ 4 ธ.ค.56 ทั้งยังมีเอกสารด่วนที่สุด ที่ ผบก.ภ. จว.ระยอง และ รอง ผบก.ภ.จว.ระยอง ทำถึง ผกก.สวญ.สว.ทุกแห่งในสังกัด มีเนื้อหาเพื่อทราบและดำเนินการตามหนังสือด่วนที่สุดดังกล่าว ให้ทุกหน่วยแจ้งร้อย คฝ.ร้อย 1 เตรียมพร้อม ณ ที่ตั้งของหน่วย พร้อมเดินทางเข้าสู่จุดรวมพลของ ภ.จว.ระยอง ภายใน 2 ชั่วโมง เพื่อเดินทางไปปฏิบัติตามที่ ศอ.รส.สั่งการ ลงนามโดย พ.ต.อ.สมไทย คำวัฒน์ รอง ผบก.ปรท.ผบก.ภ.จว.ระยอง ลงวันที่ 4 ธ.ค.56 ขณะที่นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และหัวหน้าพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า รัฐบาลโดยเฉพาะตัวนายกฯ พยายามที่จะมีการพูดคุยนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. แต่ต้องไม่ใช่อ่อนแอถึงขั้นอะไรต้องยอมไปทุกอย่าง และถ้าจะยอมต้องเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...