ซีเอ็นเอ็นรวม 10 คำถามต้องรู้การเมืองไทย

แสดงความคิดเห็น

ม็อบเสื้อแดงที่สนามมังคลากีฬาสถาน

ซีเอ็นเอ็นเสนอรายงานพิเศษรวบรวม 10 คำถามต้องรู้ว่าอะไรอยู่เบื้องหลังการเมืองไทย เว็บไซต์สถานีโทรทัศน์ซีเอ็นเอ็นแห่งสหรัฐจัดทำรายงานพิเศษรวบรวม ประเด็นควรรู้เมื่อต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาการเมืองไทย โดยเฉพาะ การประท้วงที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาปัจจุบัน

ทั้งนี้ ซีเอ็นเอ็นรายงานว่า เพื่อให้เข้าใจความวุ่นวายที่เกิดขึ้นกับการเมืองไทยในขณะนี้ ผู้อ่านอาจจำเป็นต้องเริ่มต้นด้วยชื่อๆ หนึ่ง ซึ่งก็คือ ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีของไทยที่มีอิทธิพลต่อการเมืองของประเทศมายาวนาน มากกว่า 10 ปี ทั้งๆ ที่ อยู่ในระหว่างหนีภัยในต่างแดนนับตั้งแต่ถูกรัฐประหารโค่นลงจากอำนาจในปี 2549

ปัจจุบัน น้องสาวของทักษิณ ชินวัตรคือผู้นำประเทศไทยคนปัจจุบัน และพยายามที่จะผลักดันร่างกฎหมายนิรโทษกรรมเพื่อเปิดทางให้ทักษิณ ชินวัตร สามารถเดินทางกลับประเทศไทยโดยปราศจากความผิดและการดำเนินคดีความใดๆ ซึ่งความพยายามดังกล่าวล้มเหลว แต่ก็เป็นชนวนสำคัญในการประท้วงสั่นคลอนเสถียรภาพประเทศ

ซีเอ็นเอ็นสรุปว่า 10 คำถามต่อไปนี้คือข้อมูลโดยย่อที่จะช่วยให้เข้าใจปัญหาการเมืองไทยมาก ขึ้น

1) ใครคือทักษิณ? คนผู้นี้ถือเป็นบุคคลที่ทำให้เกิดการแบ่งแยกฝักฝ่ายในประเทศไทย โดยทักษิณ คือมหาเศรษฐีมั่งคั่งเจ้าของธุรกิจโทรคมนาคมที่สร้างอำนาจทางการเมืองด้วย นโยบายประชานิยมจนได้ใจชาวชนบทของประเทศ กระนั้นแนวทางดังกล่าวกลับสร้างความไม่พอใจให้กับกลุ่มคนระดับสูงในสังคม ขณะที่ นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ต่างวิจารณ์ว่าปกครองประเทศด้วยอำนาจเผด็จการ และมีการคอร์รัปชั่นกว้างขวาง ทั้งนี้ ทักษิณปกครองประเทศไทยระหว่างปี 2001-2006 ก่อนที่ทหารจะก่อการรัฐประหารที่ปราศจากการสูญเสียเลือดเนื้อเพื่อขับไล่ ทักษิณออกจากตำแหน่ง

2) เกิดอะไรขึ้นเมื่อปี 2010? การขับไล่ทักษิณออกจากตำแหน่งด้วยการรัฐประหารในปี 2006 นำไปสู่การชุมนุมประท้วงหลายครั้ง ก่อนขยายตัวเป็นวงกว้างกลายเป็นการประท้วงยึดพื้นที่บางส่วนของกรุงเทพฯ เมืองหลวงของประเทศครั้งใหญ่ในปี 2010 โดยความเคลื่อนไหวในคราวนี้ได้ขยายครอบคลุมหัวข้อประเด็นด้านอื่นๆ เช่น การแสดงความไม่พอใจที่มีทหารเข้ามาเกี่ยวข้อง และความขับข้องใจในความไม่เท่าเทียมทางเศรษฐกิจของสังคม ขณะที่การใช้กำลังทหารเข้าสลายการชุมนุมส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตประมาณ 90 คน เหตุการณ์ครั้งนี้ถือได้ว่าเป็นความรุนแรงที่เลวร้ายที่สุดที่เกิดขึ้นกับพลเรือนประเทศในประวัติศาสตร์ไทยโดยที่ไทยในขณะนี้ยังคงเหลือบาดแผลเจ็บปวดมากมายจากประสบการณ์ดังกล่าว

3) การประท้วงครั้งนี้จะนำไปสู่เหตุการณ์ในอดีตหรือไม่? สถานการณ์ในขณะนี้มีความแตกต่างออกไป กล่าวคือ ผู้ที่ออกมาชุมนุมในครั้งนี้คือผู้ที่ต่อต้านทักษิณ ดังนั้นจึงต่อต้านรัฐบาลนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร น้องสาวของทักษิณ โดยกระแสความไม่พอใจได้แผ่ขยายเป็นวงกว้างกระทั่งนำไปสู่การประท้วงก็คือความพยายามที่จะผลักดันร่างพระราชบัญญัตินิรโทษ กรรมให้กับทักษิณ และคนอื่นๆที่เกี่ยวข้องเมื่อไม่นานมานี้

ทั้งนี้ แม้ว่าความเคลื่อนไหวของมวลชนจะมีจุดเริ่มต้นมากจากความไม่พอใจต่อพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม แต่พอล คูอาเกลีย ผู้อำนวยการพีคิวเอ แอสโซซิเอต บริษัทประเมินความเสี่ยงประจำกรุงเทพพ กล่าวว่า สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ฝ่ายค้านได้พยายามขยายประเด็นพระราชบัญญัติ เพื่อโค่นล้มรัฐบาลยิ่งลักษณ์ "รัฐบาลไทยปัจจุบันอาจกำลังนับถอยหลังไปสู่การยุบสภาและจัดให้มีการ เลือกตั้งใหม่ กระนั้นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะนี้ไม่ได้ซ้ำรอยกับเหตุการณ์ในอดีตที่เราจะเห็นความรุนแรงนองเลือดตามท้องถนนและการขยายตัวยึดพื้นที่ศูนย์กลาง ของกรุงเทพฯ" คูอาเกลียกล่าว

4) แล้วทักษิณมีความผิดใด? ขณะนี้ ทักษิณ ชินวัตร หลบหนีอยู่ในต่างประเทศในที่ต่างๆ หลายแห่ง แต่ส่วนใหญ่คือดูไบ กระนั้นก็ยังคงมีอิทธิพลต่อการเมืองไทย

ทั้งนี้ ทักษิณมีโอกาสกลับมาเยือนไทยช่วงสั้นๆ ในปี 2008 โดยหลังจากนั้นไม่นาน ศาลไทยได้ตัดสินให้ทักษิณมีความผิดฐานทุจริตคอร์รัปชั่นเรื่องการซื้อขาย ที่ดินแถวรัชดา และลงโทษจำคุก 2 ปี รวมถึงยึดทรัพย์สินมูลค่าหลายพันล้านเหรียญสหรัฐทว่า หลายฝ่ายเชื่อว่าทักษิณยังคงมีเงินอีกมากซ่อนไว้

ช่วงที่ผ่านมา ทักษิณยังคงมีอำนาจและอิทธิพลต่อการเมืองไทยมาอย่างต่อเนื่อง โดยสื่อสารกับกลุ่มผู้สนับสนุนผ่านระบบเครือข่ายสังคมออนไลน์และคลิปวีดีโอ ขณะที่ การก้าวขึ้นมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ น้องสาวแท้ๆยิ่งทำให้ทักษิณมีอิทธิพลแข็งแกร่งมากขึ้น นักวิจารณ์กล่าวว่า ยิ่งลักษณ์คือหุ่นเชิดของทักษิณ แต่ยิ่งลักษณ์ย้ำชัดว่าตนเองมีอิสระไม่ได้ขึ้นอยู่กับใคร

5) เกิดอะไรขึ้นในช่วงสัปดาห์นี้? หลายสัปดาห์หลังออกมาเดินขบวนประท้วง กลุ่มผู้ชุมนุมเริ่มบุกยึดกระทรวงต่างๆ ของรัฐบาลตามสถานที่ต่างๆ ทั่วกรุงเทพฯจนรัฐบาลยิ่งลักษณ์ต้องขยายพื้นที่การใช้พระราชบัญญัติความมั่นคงภาย ในเพื่อให้อำนาจเจ้าหน้าที่ในการจัดการกับกลุ่มผู้ประท้วงได้อย่างเต็มที่ขณะที่ในรัฐสภาผู้นำของไทยยังเผชิญกับการอภิปรายลงมติไม่ไว้วางใจ และเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ออกหมายจับ สุเทพ เทือกสุบรรณ แกนนำการประท้วงครั้งนี้

6) อะไรคือภัยเสี่ยงสำหรับภูมิภาคแห่งนี้? การประท้วงได้สั่นคลอนเสถียรภาพของประเทศไทยหนึ่งในเสาหลักเศรษฐกิจ และจุดหมายปลายทางยอดนิยมของนักท่องเที่ยวทั่วโลกในภูมิภาคเอเชียตะวันออก เฉียงใต้อีกครั้งขณะที่การประท้วงครั้งนี้ เกิดขึ้นในกรุงเทพฯ เมืองหลวงประเทศซึ่งเป็นศูนย์กลางสำคัญในการเดินทางคมนาคมโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเดินทางทางอากาศ โดยขณะนี้การประท้วงพุ่งเป้าไปในพื้นที่บางส่วนของเมืองหลวงแห่งนี้กระนั้น ความวุ่นวายที่เกิดขึ้นก็ทำให้หลายประเทศออกประกาศเตือนพลเรือนประเทศให้ หลีกเลี่ยงการเดินทางมาไทย โดยเฉพาะการเข้าใกล้พื้นที่ชุมนุมประท้วง

7) อะไรคือสิ่งที่กลุ่มผู้ประท้วงต้องการ? สุเทพ เทือกสุบรรณ แกนนำการประท้วงและอดีตรองนายกรัฐมนตรีในช่วงที่พรรคประชาธิปัตย์ดำรง ตำแหน่งผู้นำประเทศ ระบุว่า การประท้วงครั้งนี้จะไม่หยุดจนกว่าจะสามารถล้มล้างระบอบทักษิณ ซึ่งนับเป็นเป้าหมายที่ต้องใช้ความพยายามสูง รัฐบาลยิ่งลักษณ์มาจากการเลือกตั้งตามแนวทางประชาธิปไตย

ขณะที่พรรคเพื่อไทยของยิ่งลักษณ์ก็ยังมีฐานเสียงสนับสนุนในพื้นที่ หลักอย่างเหนียวแน่น และการประท้วงในปัจจุบันคือเสียงสะท้อนของการประท้วงในปี 2008 ที่ผู้ชุมนุมออกมาต่อต้านรัฐบาลที่สนับสนุนทักษิณ และเข้ายึดสนามบินและสถานที่ทำงานของภาครัฐหลายแห่ง

8) แล้วกลุ่มผู้ชุมนุมได้รับเสียงสนับสนุนจากที่ใด? ฝ่ายต่อต้านอดีตผู้นำประเทศ และนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ส่วน ใหญ่อยู่ในหมู่ชนชั้นสูงและชนชั้นกลางในเมือง โดยเฉพาะ กรุงเทพฯ

"กรุงเทพฯคือจุดยุทธศาสตร์เป้าหมายในการเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาล ขณะที่ส่วนอื่นๆที่เหลือของประเทศ ยกเว้นทางภาคใต้ ค่อนข้างให้การสนับสนุนทักษิณ หรือวางตัวเป็นกลาง" คูอาเกลียกล่าว พร้อมสำทับว่าเหตุผลนี้ช่วยอธิบายได้ว่าทำไมการประท้วงจึงเกิดขึ้นตามท้อง ถนนในเมืองหลวงเป็นหลัก

9) เช่นนั้นกลุ่มผู้สนับสนุนรัฐบาลอยู่ไหน? กลุ่มผู้สนับสนุนทักษิณ ชินวัตร ส่วนใหญ่มาจากพื้นที่ชนบทในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย โดยการเคลื่อนไหวเพื่อผลักด้นรัฐบาลนายกยิ่งลักษณ์อาจสร้างความเจ็บปวดให้คนเหล่านี้ที่เข้าร่วมการประท้วงในปี 2010 จนกระเทือนต่อฐานเสียงแต่ไม่น่าจะร้ายแรงแต่อย่างใด

"แม้จะมีภาพผู้คนนับหมื่นออกมาชุมนุมตามท้องถนนเพื่อขับไล่ผู้นำ ประเทศ กระนั้น ก็ไม่ได้หมายความว่ารัฐบาลจำเป็นจะต้องไปจริงๆ หรือหากต้องลงจากตำแหน่งการประท้วงขับไล่ก็ไม่ใช่เครื่องหมายรับประกันว่าพรรคของยิ่งลักษณ์จะ แพ้การเลือกตั้งที่อาจเกิดขึ้นครั้งนี้" คูอาเกลียกล่าว

10) สุดท้ายแล้ว จะเกิดอะไรขึ้นต่อไป? หลายฝ่ายยังคงกังขาเรื่องความสามารถของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ที่จะรักษา ความเป็นระเบียบเรียบร้อยของเมืองหลวง รวมถึงบรรยากาศกดดันทางการเมืองในรัฐสภา โดยนักสังเกตการณ์หลายรายแสดงความวิตกกังวลว่า กลุ่มผู้ชุมนุมหลายหมื่นคนที่ออกมารวมตัวสนับสนุนรัฐบาลที่กรุงเทพฯ เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา อาจมีการปะทะกับฝ่ายต่อต้านรัฐบาล

นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ย้ำชัดเจนว่ารัฐบาลจะไม่ใช้ความรุนแรงใดๆ เพื่อเข้าสลายการชุมนุมโดยเด็ดขาด ขณะเดียวกัน แม้ว่ายิ่งลักษณ์ ชินวัตร ผู้นำประเทศไทยจะสามารถรอดพ้นการลงมติไม่ไว้วางในรัฐสภามาได้ แต่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่เห็นว่า สถานการณ์ความเคลื่อนไหวเพื่อต่อต้านรัฐบาลไม่น่าจะสงบได้ภายในเร็ว วันนี้ " เราจะยังคงเห็นการเมืองที่ไร้เสถียรภาพของไทยต่อไปอีกหลายระลอก" คูอาเกลียสรุป

ขอบคุณ... http://www.posttoday.com/รอบโลก/261382/ซีเอ็นเอ็นรวม-10-คำถามต้องรู้การเมืองไทย (ขนาดไฟล์: 167)

( โพสต์ทูเดย์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 27 พ.ย.56 )

ที่มา: โพสต์ทูเดย์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 27 พ.ย.56
วันที่โพสต์: 28/11/2556 เวลา 03:13:40 ดูภาพสไลด์โชว์ ซีเอ็นเอ็นรวม 10 คำถามต้องรู้การเมืองไทย

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ม็อบเสื้อแดงที่สนามมังคลากีฬาสถาน ซีเอ็นเอ็นเสนอรายงานพิเศษรวบรวม 10 คำถามต้องรู้ว่าอะไรอยู่เบื้องหลังการเมืองไทย เว็บไซต์สถานีโทรทัศน์ซีเอ็นเอ็นแห่งสหรัฐจัดทำรายงานพิเศษรวบรวม ประเด็นควรรู้เมื่อต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาการเมืองไทย โดยเฉพาะ การประท้วงที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาปัจจุบัน ทั้งนี้ ซีเอ็นเอ็นรายงานว่า เพื่อให้เข้าใจความวุ่นวายที่เกิดขึ้นกับการเมืองไทยในขณะนี้ ผู้อ่านอาจจำเป็นต้องเริ่มต้นด้วยชื่อๆ หนึ่ง ซึ่งก็คือ ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีของไทยที่มีอิทธิพลต่อการเมืองของประเทศมายาวนาน มากกว่า 10 ปี ทั้งๆ ที่ อยู่ในระหว่างหนีภัยในต่างแดนนับตั้งแต่ถูกรัฐประหารโค่นลงจากอำนาจในปี 2549 ปัจจุบัน น้องสาวของทักษิณ ชินวัตรคือผู้นำประเทศไทยคนปัจจุบัน และพยายามที่จะผลักดันร่างกฎหมายนิรโทษกรรมเพื่อเปิดทางให้ทักษิณ ชินวัตร สามารถเดินทางกลับประเทศไทยโดยปราศจากความผิดและการดำเนินคดีความใดๆ ซึ่งความพยายามดังกล่าวล้มเหลว แต่ก็เป็นชนวนสำคัญในการประท้วงสั่นคลอนเสถียรภาพประเทศ ซีเอ็นเอ็นสรุปว่า 10 คำถามต่อไปนี้คือข้อมูลโดยย่อที่จะช่วยให้เข้าใจปัญหาการเมืองไทยมาก ขึ้น 1) ใครคือทักษิณ? คนผู้นี้ถือเป็นบุคคลที่ทำให้เกิดการแบ่งแยกฝักฝ่ายในประเทศไทย โดยทักษิณ คือมหาเศรษฐีมั่งคั่งเจ้าของธุรกิจโทรคมนาคมที่สร้างอำนาจทางการเมืองด้วย นโยบายประชานิยมจนได้ใจชาวชนบทของประเทศ กระนั้นแนวทางดังกล่าวกลับสร้างความไม่พอใจให้กับกลุ่มคนระดับสูงในสังคม ขณะที่ นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ต่างวิจารณ์ว่าปกครองประเทศด้วยอำนาจเผด็จการ และมีการคอร์รัปชั่นกว้างขวาง ทั้งนี้ ทักษิณปกครองประเทศไทยระหว่างปี 2001-2006 ก่อนที่ทหารจะก่อการรัฐประหารที่ปราศจากการสูญเสียเลือดเนื้อเพื่อขับไล่ ทักษิณออกจากตำแหน่ง 2) เกิดอะไรขึ้นเมื่อปี 2010? การขับไล่ทักษิณออกจากตำแหน่งด้วยการรัฐประหารในปี 2006 นำไปสู่การชุมนุมประท้วงหลายครั้ง ก่อนขยายตัวเป็นวงกว้างกลายเป็นการประท้วงยึดพื้นที่บางส่วนของกรุงเทพฯ เมืองหลวงของประเทศครั้งใหญ่ในปี 2010 โดยความเคลื่อนไหวในคราวนี้ได้ขยายครอบคลุมหัวข้อประเด็นด้านอื่นๆ เช่น การแสดงความไม่พอใจที่มีทหารเข้ามาเกี่ยวข้อง และความขับข้องใจในความไม่เท่าเทียมทางเศรษฐกิจของสังคม ขณะที่การใช้กำลังทหารเข้าสลายการชุมนุมส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตประมาณ 90 คน เหตุการณ์ครั้งนี้ถือได้ว่าเป็นความรุนแรงที่เลวร้ายที่สุดที่เกิดขึ้นกับพลเรือนประเทศในประวัติศาสตร์ไทยโดยที่ไทยในขณะนี้ยังคงเหลือบาดแผลเจ็บปวดมากมายจากประสบการณ์ดังกล่าว 3) การประท้วงครั้งนี้จะนำไปสู่เหตุการณ์ในอดีตหรือไม่? สถานการณ์ในขณะนี้มีความแตกต่างออกไป กล่าวคือ ผู้ที่ออกมาชุมนุมในครั้งนี้คือผู้ที่ต่อต้านทักษิณ ดังนั้นจึงต่อต้านรัฐบาลนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร น้องสาวของทักษิณ โดยกระแสความไม่พอใจได้แผ่ขยายเป็นวงกว้างกระทั่งนำไปสู่การประท้วงก็คือความพยายามที่จะผลักดันร่างพระราชบัญญัตินิรโทษ กรรมให้กับทักษิณ และคนอื่นๆที่เกี่ยวข้องเมื่อไม่นานมานี้ ทั้งนี้ แม้ว่าความเคลื่อนไหวของมวลชนจะมีจุดเริ่มต้นมากจากความไม่พอใจต่อพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม แต่พอล คูอาเกลีย ผู้อำนวยการพีคิวเอ แอสโซซิเอต บริษัทประเมินความเสี่ยงประจำกรุงเทพพ กล่าวว่า สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ฝ่ายค้านได้พยายามขยายประเด็นพระราชบัญญัติ เพื่อโค่นล้มรัฐบาลยิ่งลักษณ์ "รัฐบาลไทยปัจจุบันอาจกำลังนับถอยหลังไปสู่การยุบสภาและจัดให้มีการ เลือกตั้งใหม่ กระนั้นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะนี้ไม่ได้ซ้ำรอยกับเหตุการณ์ในอดีตที่เราจะเห็นความรุนแรงนองเลือดตามท้องถนนและการขยายตัวยึดพื้นที่ศูนย์กลาง ของกรุงเทพฯ" คูอาเกลียกล่าว 4) แล้วทักษิณมีความผิดใด? ขณะนี้ ทักษิณ ชินวัตร หลบหนีอยู่ในต่างประเทศในที่ต่างๆ หลายแห่ง แต่ส่วนใหญ่คือดูไบ กระนั้นก็ยังคงมีอิทธิพลต่อการเมืองไทย ทั้งนี้ ทักษิณมีโอกาสกลับมาเยือนไทยช่วงสั้นๆ ในปี 2008 โดยหลังจากนั้นไม่นาน ศาลไทยได้ตัดสินให้ทักษิณมีความผิดฐานทุจริตคอร์รัปชั่นเรื่องการซื้อขาย ที่ดินแถวรัชดา และลงโทษจำคุก 2 ปี รวมถึงยึดทรัพย์สินมูลค่าหลายพันล้านเหรียญสหรัฐทว่า หลายฝ่ายเชื่อว่าทักษิณยังคงมีเงินอีกมากซ่อนไว้ ช่วงที่ผ่านมา ทักษิณยังคงมีอำนาจและอิทธิพลต่อการเมืองไทยมาอย่างต่อเนื่อง โดยสื่อสารกับกลุ่มผู้สนับสนุนผ่านระบบเครือข่ายสังคมออนไลน์และคลิปวีดีโอ ขณะที่ การก้าวขึ้นมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ น้องสาวแท้ๆยิ่งทำให้ทักษิณมีอิทธิพลแข็งแกร่งมากขึ้น นักวิจารณ์กล่าวว่า ยิ่งลักษณ์คือหุ่นเชิดของทักษิณ แต่ยิ่งลักษณ์ย้ำชัดว่าตนเองมีอิสระไม่ได้ขึ้นอยู่กับใคร 5) เกิดอะไรขึ้นในช่วงสัปดาห์นี้? หลายสัปดาห์หลังออกมาเดินขบวนประท้วง กลุ่มผู้ชุมนุมเริ่มบุกยึดกระทรวงต่างๆ ของรัฐบาลตามสถานที่ต่างๆ ทั่วกรุงเทพฯจนรัฐบาลยิ่งลักษณ์ต้องขยายพื้นที่การใช้พระราชบัญญัติความมั่นคงภาย ในเพื่อให้อำนาจเจ้าหน้าที่ในการจัดการกับกลุ่มผู้ประท้วงได้อย่างเต็มที่ขณะที่ในรัฐสภาผู้นำของไทยยังเผชิญกับการอภิปรายลงมติไม่ไว้วางใจ และเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ออกหมายจับ สุเทพ เทือกสุบรรณ แกนนำการประท้วงครั้งนี้ 6) อะไรคือภัยเสี่ยงสำหรับภูมิภาคแห่งนี้? การประท้วงได้สั่นคลอนเสถียรภาพของประเทศไทยหนึ่งในเสาหลักเศรษฐกิจ และจุดหมายปลายทางยอดนิยมของนักท่องเที่ยวทั่วโลกในภูมิภาคเอเชียตะวันออก เฉียงใต้อีกครั้งขณะที่การประท้วงครั้งนี้ เกิดขึ้นในกรุงเทพฯ เมืองหลวงประเทศซึ่งเป็นศูนย์กลางสำคัญในการเดินทางคมนาคมโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเดินทางทางอากาศ โดยขณะนี้การประท้วงพุ่งเป้าไปในพื้นที่บางส่วนของเมืองหลวงแห่งนี้กระนั้น ความวุ่นวายที่เกิดขึ้นก็ทำให้หลายประเทศออกประกาศเตือนพลเรือนประเทศให้ หลีกเลี่ยงการเดินทางมาไทย โดยเฉพาะการเข้าใกล้พื้นที่ชุมนุมประท้วง 7) อะไรคือสิ่งที่กลุ่มผู้ประท้วงต้องการ? สุเทพ เทือกสุบรรณ แกนนำการประท้วงและอดีตรองนายกรัฐมนตรีในช่วงที่พรรคประชาธิปัตย์ดำรง ตำแหน่งผู้นำประเทศ ระบุว่า การประท้วงครั้งนี้จะไม่หยุดจนกว่าจะสามารถล้มล้างระบอบทักษิณ ซึ่งนับเป็นเป้าหมายที่ต้องใช้ความพยายามสูง รัฐบาลยิ่งลักษณ์มาจากการเลือกตั้งตามแนวทางประชาธิปไตย ขณะที่พรรคเพื่อไทยของยิ่งลักษณ์ก็ยังมีฐานเสียงสนับสนุนในพื้นที่ หลักอย่างเหนียวแน่น และการประท้วงในปัจจุบันคือเสียงสะท้อนของการประท้วงในปี 2008 ที่ผู้ชุมนุมออกมาต่อต้านรัฐบาลที่สนับสนุนทักษิณ และเข้ายึดสนามบินและสถานที่ทำงานของภาครัฐหลายแห่ง 8) แล้วกลุ่มผู้ชุมนุมได้รับเสียงสนับสนุนจากที่ใด? ฝ่ายต่อต้านอดีตผู้นำประเทศ และนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ส่วน ใหญ่อยู่ในหมู่ชนชั้นสูงและชนชั้นกลางในเมือง โดยเฉพาะ กรุงเทพฯ "กรุงเทพฯคือจุดยุทธศาสตร์เป้าหมายในการเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาล ขณะที่ส่วนอื่นๆที่เหลือของประเทศ ยกเว้นทางภาคใต้ ค่อนข้างให้การสนับสนุนทักษิณ หรือวางตัวเป็นกลาง" คูอาเกลียกล่าว พร้อมสำทับว่าเหตุผลนี้ช่วยอธิบายได้ว่าทำไมการประท้วงจึงเกิดขึ้นตามท้อง ถนนในเมืองหลวงเป็นหลัก 9) เช่นนั้นกลุ่มผู้สนับสนุนรัฐบาลอยู่ไหน? กลุ่มผู้สนับสนุนทักษิณ ชินวัตร ส่วนใหญ่มาจากพื้นที่ชนบทในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย โดยการเคลื่อนไหวเพื่อผลักด้นรัฐบาลนายกยิ่งลักษณ์อาจสร้างความเจ็บปวดให้คนเหล่านี้ที่เข้าร่วมการประท้วงในปี 2010 จนกระเทือนต่อฐานเสียงแต่ไม่น่าจะร้ายแรงแต่อย่างใด "แม้จะมีภาพผู้คนนับหมื่นออกมาชุมนุมตามท้องถนนเพื่อขับไล่ผู้นำ ประเทศ กระนั้น ก็ไม่ได้หมายความว่ารัฐบาลจำเป็นจะต้องไปจริงๆ หรือหากต้องลงจากตำแหน่งการประท้วงขับไล่ก็ไม่ใช่เครื่องหมายรับประกันว่าพรรคของยิ่งลักษณ์จะ แพ้การเลือกตั้งที่อาจเกิดขึ้นครั้งนี้" คูอาเกลียกล่าว 10) สุดท้ายแล้ว จะเกิดอะไรขึ้นต่อไป? หลายฝ่ายยังคงกังขาเรื่องความสามารถของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ที่จะรักษา ความเป็นระเบียบเรียบร้อยของเมืองหลวง รวมถึงบรรยากาศกดดันทางการเมืองในรัฐสภา โดยนักสังเกตการณ์หลายรายแสดงความวิตกกังวลว่า กลุ่มผู้ชุมนุมหลายหมื่นคนที่ออกมารวมตัวสนับสนุนรัฐบาลที่กรุงเทพฯ เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา อาจมีการปะทะกับฝ่ายต่อต้านรัฐบาล นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ย้ำชัดเจนว่ารัฐบาลจะไม่ใช้ความรุนแรงใดๆ เพื่อเข้าสลายการชุมนุมโดยเด็ดขาด ขณะเดียวกัน แม้ว่ายิ่งลักษณ์ ชินวัตร

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...