เงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูบุตร'มิติใหม่เพื่ออนาคตเยาวชนไทย

แสดงความคิดเห็น

"เงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูบุตร" หมายถึงเงินที่จ่ายเป็นประจำให้กับพ่อแม่ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็กในช่วง ปฐมวัย (อายุ 0-6 ขวบ) ซึ่งเป็นครัวเรือนยากจน เพื่อให้มีเงินสำหรับจับจ่ายใช้สอยในสิ่งที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต หลายประเทศจัดให้มีเงินอุดหนุนดังกล่าวเพื่อเป็นเครื่องมือในการลดช่องว่าง รายได้ รวมทั้งสร้างความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจและสังคม อีกทั้งผลการศึกษายืนยันว่า การลงทุนในเด็กเล็กให้ผลตอบแทนต่อสังคมที่สูงกว่าช่วงวัยอื่น เพราะจะเป็นพื้นฐานสำหรับการเติบโตเป็นผู้ใหญ่ อีกทั้งการปล่อยปละละเลยในช่วงวัยเริ่มต้นของชีวิตจะส่งผลให้การแก้ไขความบกพร่องในระยะต่อไปทำได้ยากและต้องใช้งบประมาณที่สูงกว่า

องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย เสนอแนวคิดเรื่อง "เงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูบุตร" เนื่องจากพบว่า ที่ผ่านมาประเทศไทยมีการพัฒนา "การคุ้มครองทางสังคม" เพื่อให้ครอบคลุมสิทธิประโยชน์ในหลายด้านสำหรับคนกลุ่มต่างๆ เพิ่มขึ้นตามลำดับ อาทิ การประกันสุขภาพ สวัสดิการด้านแรงงาน และระบบบำนาญผู้สูงอายุ เป็นต้น แต่สำหรับเด็กและเยาวชน ภาครัฐยังคงเน้นให้การสนับสนุนแก่กลุ่มเด็กวัยเรียน ขณะที่กลุ่มเด็กปฐมวัยเป็นกลุ่มที่ยังไม่ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม

ขณะเดียวกันเด็กปฐมวัยจำนวนมากอยู่ในครอบครัวยากจน และเผชิญปัญหาด้านโภชนาการ อาทิ เด็กแรกเกิดร้อยละ 19 มีน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม ส่วนเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ ร้อยละ 27.6 มีปัญหาขาดสารอาหาร นอกจากนี้การได้รับอาหารและการดูแลที่ไม่เหมาะสมยังส่งผลให้เด็กมีภาวะแคระ แกร็น รวมทั้งมีเซลล์สมองและการเชื่อมโยงของสมองที่น้อยกว่าเด็กปกติ ซึ่งจะส่งผลระยะยาวต่อการเรียนรู้

อย่างไรก็ตาม "เงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูบุตร" ถือเป็นเรื่องใหม่สำหรับสังคมไทย คณะทำงานด้านเด็ก และคณะทำงานวาระทางสังคม สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงจัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง "การพัฒนาและดูแลเด็กปฐมวัย กับการคุ้มครองทางสังคมแก่เด็ก" ครั้งที่ 1 ขึ้น เพื่อระดมความคิดเห็นจากองค์การพัฒนาเอกชนที่ทำงานกับกลุ่มเด็กปฐมวัย

ความคิดเห็นต่อข้อเสนอที่ว่า "เงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูบุตรควรเป็นจำนวนเงิน 600 บาทต่อเดือน สำหรับเด็กที่อายุตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ขวบ" จะสามารถตอบสนองต่อการพัฒนาและดูแลเด็กปฐมวัยหรือไม่ อย่างไร และมีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด

เพ็ญวดี แสงจันทร์ หนึ่งในคณะทำงานด้านเด็ก เล่าถึงประสบการณ์การทำงานกับเด็กในชุมชนคลองเตย โดยตั้งข้อสังเกตว่า ปัญหาด้านโภชนาการและการเลี้ยงดูอย่างเหมาะสมตั้งแต่ช่วงวัยเด็กน่าจะมีผล ต่อพัฒนาการของเด็กในช่วงวัยต่อมา เนื่องจากมีเด็กในชุมชนจำนวนไม่น้อยที่เรียนอ่อนและกลายเป็นเด็กเกเร แต่เมื่อตรวจสอบแล้วพบว่าที่เด็กเรียนไม่รู้เรื่อง เนื่องจากมีปัญหาในด้านสติปัญญา

"มีเด็กจำนวนมากที่พ่อแม่ไปทำงานต่างจังหวัด แล้วทิ้งเด็กไว้กับปู่ย่าตายาย เงินไม่พอ ตายายต้องเอาน้ำข้าวผสมเกลือหรือน้ำตาลให้เด็กกิน บางครั้งชงนมข้นหวานกับน้ำร้อน" เจ้าหน้าที่มูลนิธิดวงประทีปยืนยันว่า แม้เด็กส่วนหนึ่งจะได้เงินจากพ่อแม่ แต่นำไปซื้อขนมและน้ำอัดลมที่ไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่ยังมีครอบครัวอีกเป็นจำนวนมากที่ไม่มีเงินเพียงพอในการซื้อหาอาหารให้แก่ บุตรหลาน

การคุ้มครองทางสังคมสำหรับเด็กปฐมวัยที่มีอยู่ในปัจจุบัน ได้แก่ ระบบประกันสังคม ซึ่งผู้ประกันตนจะได้รับเงินเลี้ยงดูบุตร จำนวน 400 บาทต่อเดือน โดยได้สิทธิ์ไม่เกิน 2 คน ซึ่งแรงงานในระบบประกันสังคมปัจจุบันมีจำนวนประมาณ 14.8 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 37.4 ขณะที่แรงงานนอกระบบมีจำนวนสูงถึง 24.8 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 62.6 และมีเด็กปฐมวัย จำนวนกว่า 800,000 คน ที่เป็นเด็กยากจน หรือคิดเป็นร้อยละ 16 ของเด็กทั่วประเทศ ยังไม่ได้รับการช่วยเหลือทางการเงินอย่างเป็นระบบ

พูนทรัพย์ สวนเมือง ตุลาพันธุ์ จากเครือข่ายแรงงานนอกระบบ จึงเห็นด้วยกับเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูบุตร เพราะคนงานนอกระบบ นอกจากไม่ได้รับเงินเลี้ยงดูบุตรอย่างกลุ่มผู้ประกันตนแล้ว เรื่องของเศรษฐกิจก็เป็นปัญหาใหญ่สำหรับแรงงานนอกระบบที่เพิ่มขึ้นอีกด้วย

"กลุ่มคนงานที่รับงานมาทำที่บ้านค่าแรงลดลงตลอดเวลา ค่าเย็บเสื้อ เมื่อก่อนได้ตัวละ 10 กว่าบาท ปัจจุบันเหลือตัวละ 3-5 บาท รองเท้าเมื่อก่อนได้คู่ละ 20 บาท ปัจจุบันเหลือคู่ละ 8-12 บาท หมายความว่าทุกคนต้องทำงานมากขึ้นเพื่อจะให้ได้เงินในจำนวนเท่าเดิม"

แอนดรูว์ เคลย์โพล หัวหน้าแผนกนโยบายสังคม องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย ให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูบุตร ที่หลายประเทศจัดให้มีขึ้นว่า เมื่อปี 2552 ธนาคารโลกได้สรุปบทเรียนจากเงินอุดหนุนดังกล่าวว่าส่งผลด้านบวกต่อเด็กใน ประเทศต่างๆ เช่น ที่ประเทศบราซิลและเม็กซิโก การมีเงินอุดหนุนเพื่อเด็กทำให้อัตราการเข้าเรียนของเด็กเพิ่มขึ้น รวมทั้งช่วยลดอัตราความยากจนในวัยเด็กได้ ส่วนในประเทศแอฟริกาใต้ เงินอุดหนุนสำหรับเด็กช่วยให้ภาวะโภชนาการ การศึกษา และสุขภาพของเด็กดีขึ้น นอกจากนี้ยังลดความเหลื่อมล้ำในสังคมได้อีกด้วย

อีกคำถามที่พบบ่อยในเรื่องเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูบุตร คือประเด็นที่ว่า เงินอุดหนุนดังกล่าวควรจัดให้เฉพาะสำหรับเด็กยากจน หรือสำหรับเด็ก "ทุกคน" หัวหน้าแผนกนโยบายสังคม องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย อธิบายว่า เนื่องจากการพิจารณารายได้ครัวเรือน การจัดทำตัวชี้วัด รวมทั้งการติดตามและประเมินผลในเรื่องดังกล่าวอย่างต่อเนื่องเป็นสิ่งที่ทำ ได้ยาก มีข้อถกเถียง และใช้ต้นทุนสูง ทำให้หลายประเทศเลือกที่จะจัดเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูบุตรเป็นการทั่วไป

"แต่บางประเทศเริ่มจากการจัดให้กับกลุ่มยากจนก่อน เมื่อประชาชนให้การยอมรับแนวคิดเพิ่มขึ้นจึงค่อยขยายสำหรับทุกคน ในลักษณะเดียวกันกับเงินผู้สูงอายุของไทย" เจ้าหน้าที่องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย ให้มุมมอง ผู้เข้าร่วมสัมมนายังมีการหยิบยกประเด็นที่เกี่ยวข้อง อาทิ ข้อดีของเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูบุตรที่จะกระตุ้นให้สังคมเห็นความสำคัญ ในการเลี้ยงดูบุตรหลานอย่างเหมาะสม การสนับสนุนพ่อแม่ผู้ปกครองให้เกิดความตระหนักและความรู้ความเข้าใจในเรื่อง การดูแลเด็กปฐมวัย การสร้างกลไกเพื่อให้ชุมชนมีความเข้มแข็งเพิ่มขึ้นเพื่อช่วยให้การเลี้ยงดู เด็กไม่ตกเป็นภาระของพ่อแม่แต่เพียงฝ่ายเดียว เป็นต้น

ภายหลังจากการจัดเวทีในครั้งนี้ คณะทำงานด้านเด็ก และคณะทำงานวาระทางสังคมคาดว่าจะใช้ระยะเวลาอีกราว 7-8 เดือน เพื่อจัดเวทีย่อยอย่างต่อเนื่องและรวบรวมข้อมูล เพื่อจัดทำข้อเสนอในเรื่องเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูบุตรให้เกิดความ ชัดเจนและเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น

ขอบคุณ... http://www.ryt9.com/s/tpd/1784252

( ไทยโพสต์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 26 พ.ย.56 )

ที่มา: ไทยโพสต์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 26 พ.ย.56
วันที่โพสต์: 27/11/2556 เวลา 02:00:18

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

"เงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูบุตร" หมายถึงเงินที่จ่ายเป็นประจำให้กับพ่อแม่ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็กในช่วง ปฐมวัย (อายุ 0-6 ขวบ) ซึ่งเป็นครัวเรือนยากจน เพื่อให้มีเงินสำหรับจับจ่ายใช้สอยในสิ่งที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต หลายประเทศจัดให้มีเงินอุดหนุนดังกล่าวเพื่อเป็นเครื่องมือในการลดช่องว่าง รายได้ รวมทั้งสร้างความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจและสังคม อีกทั้งผลการศึกษายืนยันว่า การลงทุนในเด็กเล็กให้ผลตอบแทนต่อสังคมที่สูงกว่าช่วงวัยอื่น เพราะจะเป็นพื้นฐานสำหรับการเติบโตเป็นผู้ใหญ่ อีกทั้งการปล่อยปละละเลยในช่วงวัยเริ่มต้นของชีวิตจะส่งผลให้การแก้ไขความบกพร่องในระยะต่อไปทำได้ยากและต้องใช้งบประมาณที่สูงกว่า องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย เสนอแนวคิดเรื่อง "เงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูบุตร" เนื่องจากพบว่า ที่ผ่านมาประเทศไทยมีการพัฒนา "การคุ้มครองทางสังคม" เพื่อให้ครอบคลุมสิทธิประโยชน์ในหลายด้านสำหรับคนกลุ่มต่างๆ เพิ่มขึ้นตามลำดับ อาทิ การประกันสุขภาพ สวัสดิการด้านแรงงาน และระบบบำนาญผู้สูงอายุ เป็นต้น แต่สำหรับเด็กและเยาวชน ภาครัฐยังคงเน้นให้การสนับสนุนแก่กลุ่มเด็กวัยเรียน ขณะที่กลุ่มเด็กปฐมวัยเป็นกลุ่มที่ยังไม่ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม ขณะเดียวกันเด็กปฐมวัยจำนวนมากอยู่ในครอบครัวยากจน และเผชิญปัญหาด้านโภชนาการ อาทิ เด็กแรกเกิดร้อยละ 19 มีน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม ส่วนเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ ร้อยละ 27.6 มีปัญหาขาดสารอาหาร นอกจากนี้การได้รับอาหารและการดูแลที่ไม่เหมาะสมยังส่งผลให้เด็กมีภาวะแคระ แกร็น รวมทั้งมีเซลล์สมองและการเชื่อมโยงของสมองที่น้อยกว่าเด็กปกติ ซึ่งจะส่งผลระยะยาวต่อการเรียนรู้ อย่างไรก็ตาม "เงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูบุตร" ถือเป็นเรื่องใหม่สำหรับสังคมไทย คณะทำงานด้านเด็ก และคณะทำงานวาระทางสังคม สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงจัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง "การพัฒนาและดูแลเด็กปฐมวัย กับการคุ้มครองทางสังคมแก่เด็ก" ครั้งที่ 1 ขึ้น เพื่อระดมความคิดเห็นจากองค์การพัฒนาเอกชนที่ทำงานกับกลุ่มเด็กปฐมวัย ความคิดเห็นต่อข้อเสนอที่ว่า "เงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูบุตรควรเป็นจำนวนเงิน 600 บาทต่อเดือน สำหรับเด็กที่อายุตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ขวบ" จะสามารถตอบสนองต่อการพัฒนาและดูแลเด็กปฐมวัยหรือไม่ อย่างไร และมีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด เพ็ญวดี แสงจันทร์ หนึ่งในคณะทำงานด้านเด็ก เล่าถึงประสบการณ์การทำงานกับเด็กในชุมชนคลองเตย โดยตั้งข้อสังเกตว่า ปัญหาด้านโภชนาการและการเลี้ยงดูอย่างเหมาะสมตั้งแต่ช่วงวัยเด็กน่าจะมีผล ต่อพัฒนาการของเด็กในช่วงวัยต่อมา เนื่องจากมีเด็กในชุมชนจำนวนไม่น้อยที่เรียนอ่อนและกลายเป็นเด็กเกเร แต่เมื่อตรวจสอบแล้วพบว่าที่เด็กเรียนไม่รู้เรื่อง เนื่องจากมีปัญหาในด้านสติปัญญา "มีเด็กจำนวนมากที่พ่อแม่ไปทำงานต่างจังหวัด แล้วทิ้งเด็กไว้กับปู่ย่าตายาย เงินไม่พอ ตายายต้องเอาน้ำข้าวผสมเกลือหรือน้ำตาลให้เด็กกิน บางครั้งชงนมข้นหวานกับน้ำร้อน" เจ้าหน้าที่มูลนิธิดวงประทีปยืนยันว่า แม้เด็กส่วนหนึ่งจะได้เงินจากพ่อแม่ แต่นำไปซื้อขนมและน้ำอัดลมที่ไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่ยังมีครอบครัวอีกเป็นจำนวนมากที่ไม่มีเงินเพียงพอในการซื้อหาอาหารให้แก่ บุตรหลาน การคุ้มครองทางสังคมสำหรับเด็กปฐมวัยที่มีอยู่ในปัจจุบัน ได้แก่ ระบบประกันสังคม ซึ่งผู้ประกันตนจะได้รับเงินเลี้ยงดูบุตร จำนวน 400 บาทต่อเดือน โดยได้สิทธิ์ไม่เกิน 2 คน ซึ่งแรงงานในระบบประกันสังคมปัจจุบันมีจำนวนประมาณ 14.8 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 37.4 ขณะที่แรงงานนอกระบบมีจำนวนสูงถึง 24.8 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 62.6 และมีเด็กปฐมวัย จำนวนกว่า 800,000 คน ที่เป็นเด็กยากจน หรือคิดเป็นร้อยละ 16 ของเด็กทั่วประเทศ ยังไม่ได้รับการช่วยเหลือทางการเงินอย่างเป็นระบบ พูนทรัพย์ สวนเมือง ตุลาพันธุ์ จากเครือข่ายแรงงานนอกระบบ จึงเห็นด้วยกับเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูบุตร เพราะคนงานนอกระบบ นอกจากไม่ได้รับเงินเลี้ยงดูบุตรอย่างกลุ่มผู้ประกันตนแล้ว เรื่องของเศรษฐกิจก็เป็นปัญหาใหญ่สำหรับแรงงานนอกระบบที่เพิ่มขึ้นอีกด้วย "กลุ่มคนงานที่รับงานมาทำที่บ้านค่าแรงลดลงตลอดเวลา ค่าเย็บเสื้อ เมื่อก่อนได้ตัวละ 10 กว่าบาท ปัจจุบันเหลือตัวละ 3-5 บาท รองเท้าเมื่อก่อนได้คู่ละ 20 บาท ปัจจุบันเหลือคู่ละ 8-12 บาท หมายความว่าทุกคนต้องทำงานมากขึ้นเพื่อจะให้ได้เงินในจำนวนเท่าเดิม" แอนดรูว์ เคลย์โพล หัวหน้าแผนกนโยบายสังคม องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย ให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูบุตร ที่หลายประเทศจัดให้มีขึ้นว่า เมื่อปี 2552 ธนาคารโลกได้สรุปบทเรียนจากเงินอุดหนุนดังกล่าวว่าส่งผลด้านบวกต่อเด็กใน ประเทศต่างๆ เช่น ที่ประเทศบราซิลและเม็กซิโก การมีเงินอุดหนุนเพื่อเด็กทำให้อัตราการเข้าเรียนของเด็กเพิ่มขึ้น รวมทั้งช่วยลดอัตราความยากจนในวัยเด็กได้ ส่วนในประเทศแอฟริกาใต้ เงินอุดหนุนสำหรับเด็กช่วยให้ภาวะโภชนาการ การศึกษา และสุขภาพของเด็กดีขึ้น นอกจากนี้ยังลดความเหลื่อมล้ำในสังคมได้อีกด้วย อีกคำถามที่พบบ่อยในเรื่องเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูบุตร คือประเด็นที่ว่า เงินอุดหนุนดังกล่าวควรจัดให้เฉพาะสำหรับเด็กยากจน หรือสำหรับเด็ก "ทุกคน" หัวหน้าแผนกนโยบายสังคม องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย อธิบายว่า เนื่องจากการพิจารณารายได้ครัวเรือน การจัดทำตัวชี้วัด รวมทั้งการติดตามและประเมินผลในเรื่องดังกล่าวอย่างต่อเนื่องเป็นสิ่งที่ทำ ได้ยาก มีข้อถกเถียง และใช้ต้นทุนสูง ทำให้หลายประเทศเลือกที่จะจัดเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูบุตรเป็นการทั่วไป "แต่บางประเทศเริ่มจากการจัดให้กับกลุ่มยากจนก่อน เมื่อประชาชนให้การยอมรับแนวคิดเพิ่มขึ้นจึงค่อยขยายสำหรับทุกคน ในลักษณะเดียวกันกับเงินผู้สูงอายุของไทย" เจ้าหน้าที่องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย ให้มุมมอง ผู้เข้าร่วมสัมมนายังมีการหยิบยกประเด็นที่เกี่ยวข้อง อาทิ ข้อดีของเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูบุตรที่จะกระตุ้นให้สังคมเห็นความสำคัญ ในการเลี้ยงดูบุตรหลานอย่างเหมาะสม การสนับสนุนพ่อแม่ผู้ปกครองให้เกิดความตระหนักและความรู้ความเข้าใจในเรื่อง การดูแลเด็กปฐมวัย การสร้างกลไกเพื่อให้ชุมชนมีความเข้มแข็งเพิ่มขึ้นเพื่อช่วยให้การเลี้ยงดู เด็กไม่ตกเป็นภาระของพ่อแม่แต่เพียงฝ่ายเดียว เป็นต้น ภายหลังจากการจัดเวทีในครั้งนี้ คณะทำงานด้านเด็ก และคณะทำงานวาระทางสังคมคาดว่าจะใช้ระยะเวลาอีกราว 7-8 เดือน เพื่อจัดเวทีย่อยอย่างต่อเนื่องและรวบรวมข้อมูล เพื่อจัดทำข้อเสนอในเรื่องเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูบุตรให้เกิดความ ชัดเจนและเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น ขอบคุณ... http://www.ryt9.com/s/tpd/1784252 ( ไทยโพสต์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 26 พ.ย.56 )

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...