อย่าลืมคนพิการ

แสดงความคิดเห็น

คมคิด ฅนเขียน

ต้องบอกกันตรง ๆ ว่า รัฐบาล “นายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” ล้มเหลวจาก “โครงการรถคันแรก” ไปเรียบร้อยแล้ว เนื่องจากข้อมูลที่บ่งชี้อย่างเป็นทางการระบุว่า โครงการดังกล่าว ทำให้เกิดปัญหาหนี้ภาคครัวเรือน สูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ สภาพการจราจรติดขัด ใบจองรถจำนวนไม่ใช่น้อยถูกทิ้งลงกลางคัน

หลายคนเลยรอลุ้นว่า โครงการจัดหารถเมล์เอ็นจีวี จำนวน 3,182 คัน เพื่อเข้ามาให้บริการทดแทนรถเมล์เก่า ที่ต้องทนใช้อยู่ในปัจจุบัน และผ่านความเห็นชอบจาก ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ไปเรียบร้อยแล้ว จะทำให้มีประสิทธิภาพและเกิดความโปร่งใสได้อย่างไร เพราะเป็นความต้องการเร่งด่วนของคนกรุงเทพฯ ยิ่งกว่ารถไฟความเร็วสูง ที่ นายชัชชาติ สิทธิพันธ์ รมว.คมนาคม พยายามเดินสายขายฝันอยู่ในเวลานี้ด้วยซ้ำ

อย่าลืมว่า งบประมาณ 2.2 ล้านล้านบาท แม้จะผ่านกระบวนรัฐสภา แต่ ส.ส. และ ส.ว.กลุ่มหนึ่ง คงยื่นเรื่องให้ ศาลรัฐธรรมนูญ ตรวจสอบ เพราะมีข้อสงสัยว่า จะขัดกับรัฐธรรมนูญมาตรา 169 ที่บัญญัติไว้ว่า การจ่ายเงินแผ่นดินจะกระทำได้เฉพาะที่ได้อนุญาตไว้ในกฎหมายว่าด้วยงบประมาณ และกฎหมายเกี่ยวกับการโอนงบประมาณหรือกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลังการกู้เงิน 2.2 ล้านล้านบาท ที่อยู่ในอำนาจของกระทรวงการคลังถือเป็นเงินของแผ่นดิน ดังนั้น จึงต้องใช้จ่ายตามที่รัฐธรรมนูญได้กำหนดไว้เท่านั้น

ขณะที่โครงการจัดหารถเมล์เอ็นจีวี ซึ่งถูกดองมาตั้งแต่รัฐบาลก่อน แถมวันดีคืนดียังต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบเงื่อนไขโครงการอยู่ตลอดเวลา ที่สำคัญ ถ้าไม่มีกลุ่มตัวแทนผู้พิการ มาร้องเรียนกับนายกรัฐมนตรีถึงทำเนียบรัฐบาล คงยังไม่มีใครทราบว่ารถเมล์ 3 พันกว่าคันนี้ ครึ่งหนึ่งเป็นรถปรับอากาศ หรือที่เราชอบเรียกว่า ปอ.

มีโอกาสพูดคุยกับผู้ติดตามโครงการนี้ เลยได้ทราบว่า มีการกำหนดสเปกให้มีอุปกรณ์พิเศษสำหรับผู้พิการ แต่ถังก๊าซเอ็นจีวีกลับถูกกำหนดให้อยู่ใต้ท้องรถ ทำให้ตัวรถยกสูงเกินไปจนอุปกรณ์สำหรับผู้พิการ ไม่สามารถใช้ได้ ยิ่งกว่านั้นหากเข้าไป ตรวจสอบรถเมล์ธรรมดา ตามเงื่อนไขการประมูล (ทีโออาร์) กลับไม่กำหนดเรื่องอุปกรณ์สำหรับคนพิการเอาไว้ ซึ่งหมายถึงว่า ผู้พิการจะไม่สามารถใช้บริการรถเมล์รุ่นใหม่นี้ได้เลย ไม่ว่าจะเป็นรถ ปอ. หรือรถธรรมดา

หากรัฐบาลชุดนี้ ยังเห็นว่า รถเมล์คือบริการสาธารณะพื้นฐานที่จำเป็น และรัฐยังต้องสนับสนุนเพื่อช่วยเหลือประชาชนทุกระดับอย่างเท่าเทียมกันแล้ว สมควรต้องทบทวนเรื่องนี้อย่างเร่งด่วน อย่าทำให้ถูกมองว่าโครงการทอดทิ้งคนที่สภาพร่างกายมีปัญหา

อันที่จริง ปัญหาที่ซุกซ่อนอยู่จากโครงการรถเมล์เอ็นจีวี ยังมีอีกมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องขนาดของเครื่องยนต์ที่ไม่เท่ากัน โดยรถเมล์ธรรมดา กำหนดให้ใช้เครื่องยนต์ขนาด 155 กิโลวัตต์ ขณะที่รถ ปอ. ให้ใช้เครื่องยนต์ขนาด 174 กิโลวัตต์ โดยให้เหตุผลว่า เพื่อรองรับระบบปรับอากาศ แต่ความจริงในกรณีนี้ รถโดยสารสมัยใหม่ จะนิยมใช้ระบบ 2 เครื่องยนต์มากกว่า คือเครื่องยนต์หลัก สำหรับขับเคลื่อนและเครื่องยนต์เล็กขนาด 35 กิโลวัตต์ สำหรับระบบปรับอากาศ ซึ่งจะทำให้มีประสิทธิภาพกว่า ไม่ต้องสำรองอะไหล่เครื่องยนต์หลักหลายขนาด ลดการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงขณะจอดรถผู้โดยสาร เพราะดับเครื่องยนต์แต่เปิดแอร์ได้

อย่าลืมว่า ขสมก. เป็นรัฐวิสาหกิจที่ประสบปัญหาขาดทุนมาก มาโดยตลอด รัฐต้องอุดหนุนงบประมาณมหาศาล แต่ก็จำเป็น เพราะถือเป็นบริการขนส่งสาธารณะ ซึ่งต้องมีราคาต่ำเพื่อช่วยเหลือประชาชน ขสมก. จึงต้องตระหนักถึงการใช้งบประมาณให้คุ้มค่าที่สุด และให้บริการประชาชนทุกกลุ่มให้มากที่สุด ไม่อย่างนั้นคงเป็นเรื่องน่าเสียดาย หากโครงการที่ใช้งบมหาศาลนี้ จะเอื้อประโยชน์ให้เพียงคนไม่กี่กลุ่ม จากการกำหนดทีโออาร์ที่ไม่เหมาะสมเช่นนี้

งานนี้ต้องวัดใจผู้เกี่ยวข้องว่า จะทำให้ โครงการรถเมล์เอ็นจีวี มีความสมบูรณ์ได้มากแค่ไหน เพราะกว่าจะทำคลอดให้เกิดขึ้นได้ ก็ยากเย็นแสนเข็ญ ถ้ายังทำให้มีปัญหาและเกิดข้อท้วงติงได้อีก งานนี้ต้องบอกว่าเป็นกรรมของคนไทยจริง ๆ.....โดย “เขื่อนขันธ์”

ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/5/240760 (ขนาดไฟล์: 167)

( เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 17 ต.ค.56 )

ที่มา: เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 17 ต.ค.56
วันที่โพสต์: 17/10/2556 เวลา 04:00:03 ดูภาพสไลด์โชว์ อย่าลืมคนพิการ

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

คมคิด ฅนเขียน ต้องบอกกันตรง ๆ ว่า รัฐบาล “นายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” ล้มเหลวจาก “โครงการรถคันแรก” ไปเรียบร้อยแล้ว เนื่องจากข้อมูลที่บ่งชี้อย่างเป็นทางการระบุว่า โครงการดังกล่าว ทำให้เกิดปัญหาหนี้ภาคครัวเรือน สูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ สภาพการจราจรติดขัด ใบจองรถจำนวนไม่ใช่น้อยถูกทิ้งลงกลางคัน หลายคนเลยรอลุ้นว่า โครงการจัดหารถเมล์เอ็นจีวี จำนวน 3,182 คัน เพื่อเข้ามาให้บริการทดแทนรถเมล์เก่า ที่ต้องทนใช้อยู่ในปัจจุบัน และผ่านความเห็นชอบจาก ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ไปเรียบร้อยแล้ว จะทำให้มีประสิทธิภาพและเกิดความโปร่งใสได้อย่างไร เพราะเป็นความต้องการเร่งด่วนของคนกรุงเทพฯ ยิ่งกว่ารถไฟความเร็วสูง ที่ นายชัชชาติ สิทธิพันธ์ รมว.คมนาคม พยายามเดินสายขายฝันอยู่ในเวลานี้ด้วยซ้ำ อย่าลืมว่า งบประมาณ 2.2 ล้านล้านบาท แม้จะผ่านกระบวนรัฐสภา แต่ ส.ส. และ ส.ว.กลุ่มหนึ่ง คงยื่นเรื่องให้ ศาลรัฐธรรมนูญ ตรวจสอบ เพราะมีข้อสงสัยว่า จะขัดกับรัฐธรรมนูญมาตรา 169 ที่บัญญัติไว้ว่า การจ่ายเงินแผ่นดินจะกระทำได้เฉพาะที่ได้อนุญาตไว้ในกฎหมายว่าด้วยงบประมาณ และกฎหมายเกี่ยวกับการโอนงบประมาณหรือกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลังการกู้เงิน 2.2 ล้านล้านบาท ที่อยู่ในอำนาจของกระทรวงการคลังถือเป็นเงินของแผ่นดิน ดังนั้น จึงต้องใช้จ่ายตามที่รัฐธรรมนูญได้กำหนดไว้เท่านั้น ขณะที่โครงการจัดหารถเมล์เอ็นจีวี ซึ่งถูกดองมาตั้งแต่รัฐบาลก่อน แถมวันดีคืนดียังต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบเงื่อนไขโครงการอยู่ตลอดเวลา ที่สำคัญ ถ้าไม่มีกลุ่มตัวแทนผู้พิการ มาร้องเรียนกับนายกรัฐมนตรีถึงทำเนียบรัฐบาล คงยังไม่มีใครทราบว่ารถเมล์ 3 พันกว่าคันนี้ ครึ่งหนึ่งเป็นรถปรับอากาศ หรือที่เราชอบเรียกว่า ปอ. มีโอกาสพูดคุยกับผู้ติดตามโครงการนี้ เลยได้ทราบว่า มีการกำหนดสเปกให้มีอุปกรณ์พิเศษสำหรับผู้พิการ แต่ถังก๊าซเอ็นจีวีกลับถูกกำหนดให้อยู่ใต้ท้องรถ ทำให้ตัวรถยกสูงเกินไปจนอุปกรณ์สำหรับผู้พิการ ไม่สามารถใช้ได้ ยิ่งกว่านั้นหากเข้าไป ตรวจสอบรถเมล์ธรรมดา ตามเงื่อนไขการประมูล (ทีโออาร์) กลับไม่กำหนดเรื่องอุปกรณ์สำหรับคนพิการเอาไว้ ซึ่งหมายถึงว่า ผู้พิการจะไม่สามารถใช้บริการรถเมล์รุ่นใหม่นี้ได้เลย ไม่ว่าจะเป็นรถ ปอ. หรือรถธรรมดา หากรัฐบาลชุดนี้ ยังเห็นว่า รถเมล์คือบริการสาธารณะพื้นฐานที่จำเป็น และรัฐยังต้องสนับสนุนเพื่อช่วยเหลือประชาชนทุกระดับอย่างเท่าเทียมกันแล้ว สมควรต้องทบทวนเรื่องนี้อย่างเร่งด่วน อย่าทำให้ถูกมองว่าโครงการทอดทิ้งคนที่สภาพร่างกายมีปัญหา อันที่จริง ปัญหาที่ซุกซ่อนอยู่จากโครงการรถเมล์เอ็นจีวี ยังมีอีกมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องขนาดของเครื่องยนต์ที่ไม่เท่ากัน โดยรถเมล์ธรรมดา กำหนดให้ใช้เครื่องยนต์ขนาด 155 กิโลวัตต์ ขณะที่รถ ปอ. ให้ใช้เครื่องยนต์ขนาด 174 กิโลวัตต์ โดยให้เหตุผลว่า เพื่อรองรับระบบปรับอากาศ แต่ความจริงในกรณีนี้ รถโดยสารสมัยใหม่ จะนิยมใช้ระบบ 2 เครื่องยนต์มากกว่า คือเครื่องยนต์หลัก สำหรับขับเคลื่อนและเครื่องยนต์เล็กขนาด 35 กิโลวัตต์ สำหรับระบบปรับอากาศ ซึ่งจะทำให้มีประสิทธิภาพกว่า ไม่ต้องสำรองอะไหล่เครื่องยนต์หลักหลายขนาด ลดการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงขณะจอดรถผู้โดยสาร เพราะดับเครื่องยนต์แต่เปิดแอร์ได้ อย่าลืมว่า ขสมก. เป็นรัฐวิสาหกิจที่ประสบปัญหาขาดทุนมาก มาโดยตลอด รัฐต้องอุดหนุนงบประมาณมหาศาล แต่ก็จำเป็น เพราะถือเป็นบริการขนส่งสาธารณะ ซึ่งต้องมีราคาต่ำเพื่อช่วยเหลือประชาชน ขสมก. จึงต้องตระหนักถึงการใช้งบประมาณให้คุ้มค่าที่สุด และให้บริการประชาชนทุกกลุ่มให้มากที่สุด ไม่อย่างนั้นคงเป็นเรื่องน่าเสียดาย หากโครงการที่ใช้งบมหาศาลนี้ จะเอื้อประโยชน์ให้เพียงคนไม่กี่กลุ่ม จากการกำหนดทีโออาร์ที่ไม่เหมาะสมเช่นนี้ งานนี้ต้องวัดใจผู้เกี่ยวข้องว่า จะทำให้ โครงการรถเมล์เอ็นจีวี มีความสมบูรณ์ได้มากแค่ไหน เพราะกว่าจะทำคลอดให้เกิดขึ้นได้ ก็ยากเย็นแสนเข็ญ ถ้ายังทำให้มีปัญหาและเกิดข้อท้วงติงได้อีก งานนี้ต้องบอกว่าเป็นกรรมของคนไทยจริง ๆ.....โดย “เขื่อนขันธ์” ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/5/240760 ( เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 17 ต.ค.56 )

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...