ปัญหารุมหนักกว่าชาย‘เพศหญิงสูงวัย’‘เท่าเทียม’ยิ่งด้อย?

แสดงความคิดเห็น

ภาพประกอบอินเตอร์เน็ต รูปชาย หญิงชรา

สกู๊ปหน้า 1 เดลินิวส์” ได้นำเสนอประเด็น ’ผู้หญิงไทย“ กับ ’เรื่องทางเพศ“ ไปแล้ว 2 ส่วน 2 วัย คือผู้หญิงวัยเด็ก กับปัญหาถูกล่วงละเมิดทางเพศ ซึ่งครั้งนี้นำเสนอโดยอ้างอิงข้อมูล “การประเมินการถูกล่วงละเมิดทางเพศในเด็กและวัยรุ่น : วิธีการประเมินตามหลักฐานเชิงประจักษ์” จากวารสารสภาการพยาบาล และผู้หญิงวัยสาว ทั้งสาวน้อย-สาวใหญ่ กับกรณีตัวตนและทัศนคติของสังคม ที่นำเสนอเสียงสะท้อนจากเวทีเสวนา “ตัวตนใหม่ของผู้หญิงไทย : การต่อรองมายาคติทางเพศในครอบครัว” ที่จัดโดยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว)

วันนี้มาดูอีกวัย...คือ ’ผู้หญิงไทยวัยสูงอายุ“ เพศหญิงที่สูงอายุ...ก็มีปัญหาน่าพิจารณา... ทั้งนี้ สถานการณ์ทางสังคมในประเทศไทยยุคนี้ และนับจากนี้ มีหลาย ๆ หน่วยงานระบุตรงกันว่าประเด็น “สังคมผู้สูงอายุ” กำลังเป็นประเด็นที่นับวันยิ่งจะต้องให้ความสำคัญ ซึ่งสำหรับ ผู้หญิงไทย ในกลุ่มผู้สูงวัยนั้นก็มีจำนวนมากกว่าผู้ชายและด้วยความที่เป็นเพศหญิงก็อาจจะมีปัญหามากกว่าเพศชาย!?!?!

ตามข้อมูลสถิติของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยเมื่อปี 2555 จากจำนวนประชากรผู้สูงอายุทั่วประเทศ มีประชากรผู้สูงอายุเพศชาย 3,625,513 คน ประชากรผู้สูงอายุเพศหญิงมีมากถึง 4,545,396 คน แนวโน้มสถานภาพการสมรสของผู้สูงอายุ ช่วงปี 2550–2554 ซึ่งสำรวจโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า...ปี 2550 ผู้สูงอายุที่ สถานภาพโสด เพศชายมีร้อยละ 1.5 เพศหญิงมีถึงร้อยละ 3.8, ผู้สูงอายุที่ สมรสแต่เป็นม่าย หย่า แยกกันอยู่ เพศชายมีแค่ร้อยละ 16.1 เพศหญิงมีถึงร้อยละ 49.9 พอถึงปี 2554 ผู้สูงอายุที่สถานภาพโสด เพศชายมีร้อยละ 2.1 แต่เพศหญิงมีถึงร้อยละ 5.3, ผู้สูงอายุที่สมรสแต่เป็นม่าย หย่า แยกกันอยู่ เพศชายมีแค่ร้อยละ 15.2 แต่เพศหญิงมีถึงร้อยละ 44.3 ขณะที่การสำรวจผู้สูงอายุที่ ต้องอยู่คนเดียวเพียงลำพัง ตั้งแต่ปี 2537 ถึง 2554 พบว่า ผู้สูงอายุที่ต้องอยู่คนเดียวมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ โดยในปี 2554 ลักษณะการอยู่อาศัยของผู้สูงอายุที่ต้องอยู่คนเดียว เพศชายมีแค่ร้อยละ 6.3 แต่เพศหญิงมีสูงถึงร้อยละ 10.4

เพศหญิงสูงอายุที่อยู่โดดเดี่ยวมีมากกว่าชาย และก็มีปัญหาทางร่างกายและจิตใจสูงกว่า!!! ยกตัวอย่างการสำรวจ โรค/กลุ่มโรคเรื้อรังที่ผู้สูงอายุเป็น ในปี 2554 หากไม่รวมโรคพิษสุราเรื้อรัง ติดสารเสพติด ที่ผู้สูงอายุเพศชายมีร้อยละ 0.06 เพศหญิงร้อยละ 0.04 ดูกันที่อีก 10 กว่าโรค โรคทั้งทางกาย-ใจ ผู้สูงอายุเพศหญิงเป็นมากกว่าเพศชาย กล่าวคือ... ความดันโลหิตสูง/ไขมันในเลือดสูง/คอเลสเตอรอลสูง เพศชายเป็นร้อยละ 12.77 เพศหญิงเป็นถึงร้อยละ 20.92, เบาหวาน เพศชายเป็นร้อยละ 5.34 เพศหญิงเป็นถึงร้อยละ 9.70, เกาต์ รูมาตอยด์ ปวดเข่า/หลัง/คอ แบบเรื้อรัง เพศชายเป็นร้อยละ 4.02 เพศหญิงร้อยละ 6.03, โรคหัวใจ เพศชายเป็นร้อยละ 1.89 เพศหญิงเป็นถึงร้อยละ 2.94, อัมพฤกษ์ อัมพาต เพศชายเป็นร้อยละ 0.86 เพศหญิงร้อยละ 0.87, โรคไต ไตวายเรื้อรัง นิ่วในไต เพศชายเป็นร้อยละ 0.72 เพศหญิงร้อยละ 0.95

สมองเสื่อม ความจำเลอะเลือน ลมชัก ลมบ้าหมู เพศชายเป็นร้อยละ 0.45 เพศหญิงร้อยละ 0.74, โรคติดเชื้ออื่น ๆ (เอดส์ โปลิโอ เรื้อน) เพศชายเป็นร้อยละ 0.45 เพศหญิงร้อยละ 0.58, ไทรอยด์ (คอพอก) เพศชายเป็นร้อยละ 0.31 เพศหญิงร้อยละ 0.47, มะเร็ง เพศชายเป็นร้อยละ 0.22 เพศหญิงเป็นร้อยละ 0.46, ตับแข็ง ไขมันแทรกในตับ นิ่วในถุงน้ำดี เพศชายเป็นร้อยละ 0.19 เพศหญิงร้อยละ 0.23, วัณโรค เพศชายเป็นร้อยละ 0.17 เพศหญิงร้อยละ 0.19, โรคเลือด เช่น ธาลัสซีเมีย โลหิตจาง เพศชายเป็นร้อยละ 0.09 เพศหญิงร้อยละ 0.16 และ ผิดปกติทางจิต ซึมเศร้า เพศชายเป็นร้อยละ 0.09 เพศหญิงก็เป็นมากกว่า คือร้อยละ 0.15

หรือถ้าใครจะบอกว่าที่ว่ามาไม่ใช่ ’เรื่องทางเพศ“ กับ ’ผู้หญิงสูงอายุ“ โดยตรง ก็ต้องกรณีนี้เลย...กรณี ’ภัยข่มขืน“ โดยยุคปัจจุบันเป็นเรื่องน่าตกใจที่มีคดี ’ข่มขืนหญิงสูงอายุ“ เกิดขึ้นเป็นระยะ!! ในทางจิตวิทยา ผู้ก่อเหตุอาจมีปัญหาทางจิต ในทางปัญหายาเสพติด ผู้ก่อเหตุทำไปเพราะฤทธิ์ยา ขณะที่ในทางสังคม นัยนา สุภาพึ่ง ผู้อำนวยการมูลนิธิ ธีรนารถ กาญจนอักษร เคยสะท้อนผ่าน “สกู๊ปหน้า 1 เดลินิวส์” ไว้ บางช่วงบางตอนว่า...ปัญหานี้ส่วนหนึ่งเกิดจากบรรทัดฐานเรื่องเพศ ระหว่างหญิง-ชาย ที่ยังไม่เท่าเทียมกันจริงผู้ชายยังสามารถแสดงออกทางเพศได้มากกว่ายังรู้สึกว่ามีอำนาจเหนือกว่าผู้หญิง

ทั้งนี้ ’ผู้หญิงไทย“ กับ ’เรื่องทางเพศ“ สำหรับกลุ่ม “ผู้หญิงสูงอายุ” จริง ๆ แล้วยังมีกรณีอื่น ๆ อีก ไม่ต่างจากผู้หญิงสาวใหญ่-สาวน้อย และรวมถึงผู้หญิงวัยเด็ก ซึ่งมิใช่เรื่อง “มายาคติทางเพศ” แต่ ’มีปัญหาจริง!!!“ ซึ่งผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องในทุกส่วน ทุกระดับ ควรจะต้องให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาจริงจังมากขึ้นอีก ยุคนี้เขาว่าเป็นยุค’พัฒนาบทบาทผู้หญิงไทย“ แต่หญิงในไทยทุกวัยที่มีปัญหารุมเร้ายังมีอื้อ โอกาสได้พัฒนาบทบาท...ดูเลือนราง?!?!?.

ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/223/228904 (ขนาดไฟล์: 167)

เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 28 ส.ค.56

ที่มา: เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 28 ส.ค.56
วันที่โพสต์: 29/08/2556 เวลา 03:25:35 ดูภาพสไลด์โชว์ ปัญหารุมหนักกว่าชาย‘เพศหญิงสูงวัย’‘เท่าเทียม’ยิ่งด้อย?

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ภาพประกอบอินเตอร์เน็ต รูปชาย หญิงชรา สกู๊ปหน้า 1 เดลินิวส์” ได้นำเสนอประเด็น ’ผู้หญิงไทย“ กับ ’เรื่องทางเพศ“ ไปแล้ว 2 ส่วน 2 วัย คือผู้หญิงวัยเด็ก กับปัญหาถูกล่วงละเมิดทางเพศ ซึ่งครั้งนี้นำเสนอโดยอ้างอิงข้อมูล “การประเมินการถูกล่วงละเมิดทางเพศในเด็กและวัยรุ่น : วิธีการประเมินตามหลักฐานเชิงประจักษ์” จากวารสารสภาการพยาบาล และผู้หญิงวัยสาว ทั้งสาวน้อย-สาวใหญ่ กับกรณีตัวตนและทัศนคติของสังคม ที่นำเสนอเสียงสะท้อนจากเวทีเสวนา “ตัวตนใหม่ของผู้หญิงไทย : การต่อรองมายาคติทางเพศในครอบครัว” ที่จัดโดยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) วันนี้มาดูอีกวัย...คือ ’ผู้หญิงไทยวัยสูงอายุ“ เพศหญิงที่สูงอายุ...ก็มีปัญหาน่าพิจารณา... ทั้งนี้ สถานการณ์ทางสังคมในประเทศไทยยุคนี้ และนับจากนี้ มีหลาย ๆ หน่วยงานระบุตรงกันว่าประเด็น “สังคมผู้สูงอายุ” กำลังเป็นประเด็นที่นับวันยิ่งจะต้องให้ความสำคัญ ซึ่งสำหรับ ผู้หญิงไทย ในกลุ่มผู้สูงวัยนั้นก็มีจำนวนมากกว่าผู้ชายและด้วยความที่เป็นเพศหญิงก็อาจจะมีปัญหามากกว่าเพศชาย!?!?! ตามข้อมูลสถิติของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยเมื่อปี 2555 จากจำนวนประชากรผู้สูงอายุทั่วประเทศ มีประชากรผู้สูงอายุเพศชาย 3,625,513 คน ประชากรผู้สูงอายุเพศหญิงมีมากถึง 4,545,396 คน แนวโน้มสถานภาพการสมรสของผู้สูงอายุ ช่วงปี 2550–2554 ซึ่งสำรวจโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า...ปี 2550 ผู้สูงอายุที่ สถานภาพโสด เพศชายมีร้อยละ 1.5 เพศหญิงมีถึงร้อยละ 3.8, ผู้สูงอายุที่ สมรสแต่เป็นม่าย หย่า แยกกันอยู่ เพศชายมีแค่ร้อยละ 16.1 เพศหญิงมีถึงร้อยละ 49.9 พอถึงปี 2554 ผู้สูงอายุที่สถานภาพโสด เพศชายมีร้อยละ 2.1 แต่เพศหญิงมีถึงร้อยละ 5.3, ผู้สูงอายุที่สมรสแต่เป็นม่าย หย่า แยกกันอยู่ เพศชายมีแค่ร้อยละ 15.2 แต่เพศหญิงมีถึงร้อยละ 44.3 ขณะที่การสำรวจผู้สูงอายุที่ ต้องอยู่คนเดียวเพียงลำพัง ตั้งแต่ปี 2537 ถึง 2554 พบว่า ผู้สูงอายุที่ต้องอยู่คนเดียวมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ โดยในปี 2554 ลักษณะการอยู่อาศัยของผู้สูงอายุที่ต้องอยู่คนเดียว เพศชายมีแค่ร้อยละ 6.3 แต่เพศหญิงมีสูงถึงร้อยละ 10.4 เพศหญิงสูงอายุที่อยู่โดดเดี่ยวมีมากกว่าชาย และก็มีปัญหาทางร่างกายและจิตใจสูงกว่า!!! ยกตัวอย่างการสำรวจ โรค/กลุ่มโรคเรื้อรังที่ผู้สูงอายุเป็น ในปี 2554 หากไม่รวมโรคพิษสุราเรื้อรัง ติดสารเสพติด ที่ผู้สูงอายุเพศชายมีร้อยละ 0.06 เพศหญิงร้อยละ 0.04 ดูกันที่อีก 10 กว่าโรค โรคทั้งทางกาย-ใจ ผู้สูงอายุเพศหญิงเป็นมากกว่าเพศชาย กล่าวคือ... ความดันโลหิตสูง/ไขมันในเลือดสูง/คอเลสเตอรอลสูง เพศชายเป็นร้อยละ 12.77 เพศหญิงเป็นถึงร้อยละ 20.92, เบาหวาน เพศชายเป็นร้อยละ 5.34 เพศหญิงเป็นถึงร้อยละ 9.70, เกาต์ รูมาตอยด์ ปวดเข่า/หลัง/คอ แบบเรื้อรัง เพศชายเป็นร้อยละ 4.02 เพศหญิงร้อยละ 6.03, โรคหัวใจ เพศชายเป็นร้อยละ 1.89 เพศหญิงเป็นถึงร้อยละ 2.94, อัมพฤกษ์ อัมพาต เพศชายเป็นร้อยละ 0.86 เพศหญิงร้อยละ 0.87, โรคไต ไตวายเรื้อรัง นิ่วในไต เพศชายเป็นร้อยละ 0.72 เพศหญิงร้อยละ 0.95 สมองเสื่อม ความจำเลอะเลือน ลมชัก ลมบ้าหมู เพศชายเป็นร้อยละ 0.45 เพศหญิงร้อยละ 0.74, โรคติดเชื้ออื่น ๆ (เอดส์ โปลิโอ เรื้อน) เพศชายเป็นร้อยละ 0.45 เพศหญิงร้อยละ 0.58, ไทรอยด์ (คอพอก) เพศชายเป็นร้อยละ 0.31 เพศหญิงร้อยละ 0.47, มะเร็ง เพศชายเป็นร้อยละ 0.22 เพศหญิงเป็นร้อยละ 0.46, ตับแข็ง ไขมันแทรกในตับ นิ่วในถุงน้ำดี เพศชายเป็นร้อยละ 0.19 เพศหญิงร้อยละ 0.23, วัณโรค เพศชายเป็นร้อยละ 0.17 เพศหญิงร้อยละ 0.19, โรคเลือด เช่น ธาลัสซีเมีย โลหิตจาง เพศชายเป็นร้อยละ 0.09 เพศหญิงร้อยละ 0.16 และ ผิดปกติทางจิต ซึมเศร้า เพศชายเป็นร้อยละ 0.09 เพศหญิงก็เป็นมากกว่า คือร้อยละ 0.15 หรือถ้าใครจะบอกว่าที่ว่ามาไม่ใช่ ’เรื่องทางเพศ“ กับ ’ผู้หญิงสูงอายุ“ โดยตรง ก็ต้องกรณีนี้เลย...กรณี ’ภัยข่มขืน“ โดยยุคปัจจุบันเป็นเรื่องน่าตกใจที่มีคดี ’ข่มขืนหญิงสูงอายุ“ เกิดขึ้นเป็นระยะ!! ในทางจิตวิทยา ผู้ก่อเหตุอาจมีปัญหาทางจิต ในทางปัญหายาเสพติด ผู้ก่อเหตุทำไปเพราะฤทธิ์ยา ขณะที่ในทางสังคม นัยนา สุภาพึ่ง ผู้อำนวยการมูลนิธิ ธีรนารถ กาญจนอักษร เคยสะท้อนผ่าน “สกู๊ปหน้า 1 เดลินิวส์” ไว้ บางช่วงบางตอนว่า...ปัญหานี้ส่วนหนึ่งเกิดจากบรรทัดฐานเรื่องเพศ ระหว่างหญิง-ชาย ที่ยังไม่เท่าเทียมกันจริงผู้ชายยังสามารถแสดงออกทางเพศได้มากกว่ายังรู้สึกว่ามีอำนาจเหนือกว่าผู้หญิง ทั้งนี้ ’ผู้หญิงไทย“ กับ ’เรื่องทางเพศ“ สำหรับกลุ่ม “ผู้หญิงสูงอายุ” จริง ๆ แล้วยังมีกรณีอื่น ๆ อีก ไม่ต่างจากผู้หญิงสาวใหญ่-สาวน้อย และรวมถึงผู้หญิงวัยเด็ก ซึ่งมิใช่เรื่อง “มายาคติทางเพศ” แต่ ’มีปัญหาจริง!!!“ ซึ่งผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องในทุกส่วน ทุกระดับ ควรจะต้องให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาจริงจังมากขึ้นอีก ยุคนี้เขาว่าเป็นยุค’พัฒนาบทบาทผู้หญิงไทย“ แต่หญิงในไทยทุกวัยที่มีปัญหารุมเร้ายังมีอื้อ โอกาสได้พัฒนาบทบาท...ดูเลือนราง?!?!?. ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/223/228904 เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 28 ส.ค.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...