ดัน'ประกันสุขภาพ'สามกองระบบเดียว

แสดงความคิดเห็น

นพ.ภูษิต ประคองสาย ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPP) เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม นพ.ภูษิต ประคองสาย ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPP) กล่าวเสวนาสาธารณะเรื่อง “คิดใหม่ระบบปลักประกันสุขภาพของไทย” ว่า มี 3 แนวทางหลัก คือ 1.ศึกษาความเป็นได้ในการแสวงหาแหล่งการคลังสุขภาพอื่นๆ เพื่อใช้ในระบบหลักประกันสุขภาพ อาทิ การเก็บภาษีจากอาหารที่ทำลายสุภาพ เช่น น้ำอัดลม ฟาสต์ฟู้ด ฯลฯ การเก็บภาษีจากการโดยสารเครื่องบิน หรือการบริโภคสินค้าฟุ่มเฟือย เช่น โทรศัพท์มือถือ ระบบโทรคมนาคม โดยเป็นการเก็บจากผู้ประกอบกิจการเท่านั้น 2.ภาระโรคของประเทศไทย และสภาพการเจ็บป่วยของประชาชนไทย ทิศทางเป็นการเจ็บป่วยจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและอุบัติเหตุเพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกันอัตราการเพิ่มขึ้นของประชากรผู้สูงอายุก็สูงขึ้น องค์กรประกันสุขภาพต่างๆ ควรลงทุนในด้านการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคทั้งโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง รวมทั้งการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้ประชาชนทุกกลุ่มมีคุณภาพชีวิตที่ดี และ 3.ต้องพัฒนานโยบายหลักประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าวมากขึ้น โดยตัวเลขเมื่อปี 2555 พบว่ากลุ่มคนดังกล่าวยังไม่มีหลักประกันสุขภาพกว่า 2 ล้านคน แต่โรงพยาบาลของรัฐต้องให้บริการในการรักษาพยาบาล ซึ่งก่อภาระทางการเงินให้กับโรงพยาบาลหลายแห่ง โดยเฉพาะโรงพยาบาลชายแดน และโรงพยาบาลในจังหวัดที่มีแรงงานต่างด้าวจำนวนมาก

นางเดือนเด่น นิคมบริรักษ์ ผู้อำนวยการวิจัยด้านการบริหารจัดการระบบเศรษฐกิจ ทีดีอาร์โอ กล่าวว่า ระบบหลักประกันสุขภาพของไทย ทั้งหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประกันสังคม และสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ ยังมีความเหลื่อมล้ำ ทั้งสิทธิประโยชน์ คุณภาพในการรักษาพยาบาล และค่าเบี้ยประกัน ซึ่งในการลดความเหลี่อมล้ำต้องมีระบบประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) บริหารจัดการแต่ไม่จำเป็นต้องรวม 3 กองทุน

ที่มา: มติชนรายวัน/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 2 ก.ค.56
วันที่โพสต์: 3/07/2556 เวลา 03:29:24 ดูภาพสไลด์โชว์ ดัน'ประกันสุขภาพ'สามกองระบบเดียว

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

นพ.ภูษิต ประคองสาย ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPP)เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม นพ.ภูษิต ประคองสาย ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPP) กล่าวเสวนาสาธารณะเรื่อง “คิดใหม่ระบบปลักประกันสุขภาพของไทย” ว่า มี 3 แนวทางหลัก คือ 1.ศึกษาความเป็นได้ในการแสวงหาแหล่งการคลังสุขภาพอื่นๆ เพื่อใช้ในระบบหลักประกันสุขภาพ อาทิ การเก็บภาษีจากอาหารที่ทำลายสุภาพ เช่น น้ำอัดลม ฟาสต์ฟู้ด ฯลฯ การเก็บภาษีจากการโดยสารเครื่องบิน หรือการบริโภคสินค้าฟุ่มเฟือย เช่น โทรศัพท์มือถือ ระบบโทรคมนาคม โดยเป็นการเก็บจากผู้ประกอบกิจการเท่านั้น 2.ภาระโรคของประเทศไทย และสภาพการเจ็บป่วยของประชาชนไทย ทิศทางเป็นการเจ็บป่วยจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและอุบัติเหตุเพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกันอัตราการเพิ่มขึ้นของประชากรผู้สูงอายุก็สูงขึ้น องค์กรประกันสุขภาพต่างๆ ควรลงทุนในด้านการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคทั้งโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง รวมทั้งการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้ประชาชนทุกกลุ่มมีคุณภาพชีวิตที่ดี และ 3.ต้องพัฒนานโยบายหลักประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าวมากขึ้น โดยตัวเลขเมื่อปี 2555 พบว่ากลุ่มคนดังกล่าวยังไม่มีหลักประกันสุขภาพกว่า 2 ล้านคน แต่โรงพยาบาลของรัฐต้องให้บริการในการรักษาพยาบาล ซึ่งก่อภาระทางการเงินให้กับโรงพยาบาลหลายแห่ง โดยเฉพาะโรงพยาบาลชายแดน และโรงพยาบาลในจังหวัดที่มีแรงงานต่างด้าวจำนวนมาก นางเดือนเด่น นิคมบริรักษ์ ผู้อำนวยการวิจัยด้านการบริหารจัดการระบบเศรษฐกิจ ทีดีอาร์โอ กล่าวว่า ระบบหลักประกันสุขภาพของไทย ทั้งหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประกันสังคม และสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ ยังมีความเหลื่อมล้ำ ทั้งสิทธิประโยชน์ คุณภาพในการรักษาพยาบาล และค่าเบี้ยประกัน ซึ่งในการลดความเหลี่อมล้ำต้องมีระบบประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) บริหารจัดการแต่ไม่จำเป็นต้องรวม 3 กองทุน

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...