แม่ฮ่องสอนร่วมใจบูรณการ ดูแลเด็กพิการด้อยโอกาสครบวงจร

แสดงความคิดเห็น

ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอนหนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อบจ.-อบต.-เทศบาล จับมือโรงพยาบาล สมาคมศึกษา ศูนย์การศึกษาพิเศษ พม.แม่ฮ่องสอน บูรณการส่งต่อข้อมูลเพื่อดูแลเด็กพิการด้อยโอกาสอย่างเป็นระบบ และครบวงจรครอบคลุมทั้งจังหวัด โดยการสนับสนุนงานวิจัยของ สสค.-ม.นเรศวร หวังเป็นแม่แบบการประกันโอกาสทางการศึกษาเด็กพิการด้อยโอกาสอย่างเต็มรูปแบบ พร้อมเปิด “ศูนย์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาเด็กพิการด้อยโอกาสแบบมีส่วนร่วม แม่ฮ่องสอนตอนเหนือ” ที่อำเภอปาย หลัง “ศูนย์นำร่องแม่สะเรียง” เดินหน้าได้ดี

นางนฤมล ปาลวัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน กล่าวว่า เดิมที จ.แม่ฮ่องสอน มีศูนย์การศึกษา พิเศษเฉพาะที่อำเภอเมือง แต่ไม่สามารถบริการให้ทั่วถึง แต่ในเดือนมิถุนายนปี 2555 สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) ให้การสนับสนุนเปิด “ศูนย์การเรียนรู้พิเศษพัฒนาเด็กด้อยโอกาสแม่ฮ่องสอนตอนใต้” ที่อ.แม่สะเรียง เพื่อช่วยเด็กพิการด้อยโอกาสในพื้นที่แม่ฮ่องสอนตอนใต้ ได้แก่ อ.แม่สะเรียง อ.สบเมย และอ.แม่ลาน้อย ช่วยให้เด็กพิเศษจำนวน 2 คนกลับไปเรยนร่วมกับเด็กปกติได้จากเด็กทั้งสิ้น 40 จึงเป็นที่มาของความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในอ.ปาย ทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อบจ. อบต. และเทศบาล ที่ลุกขึ้นมาขยายผลสร้าง “ศูนย์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาเด็กพิการด้อยโอกาสแบบมีส่วนร่วม แม่ฮ่องสอนตอนเหนือ” ที่อ.ปายขึ้น โดยได้รับความร่วมมือจากท้องถิ่นจังหวัด สมาคมการศึกษา โรงพยาบาลปายในการส่งต่อข้อมูลเด็กพิการตั้งแต่แรกเกิดร่วมกัน นอกจากนี้ได้เงินสนับสนุนในการก่อสร้างอาคารสถานที่ในโรงเรียนอนุบาล ปาย จากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรรุ่น 54 จำนวน 300,000 บาท

ความสำเร็จจาก “ศูนย์นำร่องแม่สะเรียง” สู่การขยายผล “แม่ฮ่องสอนโมเดล” จึงมิใช่เพียงการเปิด “ศูนย์ดูแลเด็กพิเศษ” ขึ้นที่ปายเท่านั้น แต่เป็นการสร้างความยั่งยืนของระบบส่งต่อข้อมูลของเด็กพิการด้อย โอกาสในปาย ร่วมกันทั้งในส่วนโรงพยาบาลปาย และชุมชนท้องถิ่น ผ่านอบต.ที่เป็นหน่วยงานที่ใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุด เพื่อให้มั่นใจว่า ต่อไปเด็กพิการด้อยโอกาสในอำเภอปายและพื้นที่อื่นๆในจังหวัด แม่ฮ่องสอนจะไม่ตกหล่นจากการดูแลร่วมกันของทุกภาคส่วน

“ในความเป็นแม่ ในความเป็นผู้หญิง ก็อยากจะช่วยให้คนแม่ฮ่องสอนมีความสุขมากขึ้น ซึ่งดิฉันเชื่อมั่นว่าความสำเร็จนั้นต้องเริ่มนับหนึ่งที่ท้องถิ่น ถ้าผู้นำท้องถิ่น และชาวแม่ฮ่องสอนเห็นตรงกันว่า ปัญหาเด็กพิการด้อยโอกาสเป็นวาระเร่งด่วน ทุกคนต้องช่วยกันแก้ไขเพื่อดูแลลูกหลานของเรา ไม่ใช่มองเป็นภาระหน้าที่คนใดคนหนึ่ง ที่ผ่านมามีต้นแบบให้เห็นอยู่แล้ว เช่น ที่อบต.บ้านกาศ อ.แม่สะเรียง แม้ว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แม่ฮ่องสอนค่อนข้างยากจน ภานใต้ความขาดแคลนนี้ อปท.สามารถตั้งงบประมาณอุดหนุนได้ ถ้ามีการแนะนำ เพราะการช่วยเหลือเด็กไม่ได้ใช้งบประมาณมาก ตั้งแต่ระดับนายอำเภอ ผู้บริหารท้องถิ่นทำให้เป็นตัวอย่าง เปิดใจรับรู้ก็จะประสอบความสำเร็จ เพราะเป้าหมายล้วนอยู่ที่ประชาชนทั้งสิ้น”

“แม่ฮ่องสอนโมเดล” จึงเป็นนโยบายเชิงรุกในการป้องกันและดูแลเด็กเยาวชนแม่ฮ่องสอน ทั้งจังหวัดและเป็นเครื่องยืนยันที่ชัดเจนว่า แม้พื้นที่ที่ทุรกันดารอย่างแม่ฮ่องสอนยังสามารถทำได้ จังหวัดอื่นๆซึ่งมีความพร้อมมากกว่าย่อมทำได้ โดยเฉพาะการใช้ “การศึกษา”เป็นเครื่องมือเปลี่ยน “ความขาดแคลน” ให้กลายเป็น “โอกาส”

นายสมศักดิ์ โพธิ์ศรีทอง นายอำเภอปาย กล่าวว่าคนทั่วไปรู้จักปายในฐานะเมืองท่องเที่ยว แต่ความจริงแล้วอำเภอปายเป็นพื้นที่มีชนเผ่าอยู่ 7 ชนเผ่า อาศัยอยู่รอบนอกในพื้นที่ป่าเขาที่มีกว่า 90% ยังห่างไกลความเจริญ การศึกษายังมีปัญหา การให้ความช่วยเหลือเด็กพิเศษแต่เดิมผู้ปกครองส่งลูกหลานเข้า เรียนตามโรงเรียนใกล้บ้าน แต่ไม่ได้รับความดูแลโดยตรง เพราะไม่มีบุคลากรที่เชี่ยวชาญโดยเฉพาะการมีศูนย์ดูแลเด็กพิการ ด้อยโอกาส ช่วยแก้ไขปัญหาได้ตามศักยภาพของเด็ก โดยมีครูที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้านให้การดูแล

“ผมเชื่อว่าท้องถิ่นทุกแห่งจะให้ความสำคัญ เพราะถ้านำเด็กมาเข้าศูนย์ฯก็จะทำให้เด็กีพัฒนาการ สามารถปรบตัวให้เข้ากับสภาพสังคมได้ ภาระทางครอบครวและสังคมจะลดลง ซึ่งผมยืนยันว่า จะช่วยประสานงานกับอบต.และเทศบาลทั้ง 8 แห่ง เพื่อหาแนวทางนำงบประมาณมาสนับสนุนเพื่อสร้างความยั่งยืนในพื้นที่ต่อ ไป” นายสมศักดิ์กล่าว

ดร.ไกรยส ภัทราวาท ผู้เชี่ยวชาญนโยบายด้านเศรษฐศาสตร์การศึกษา สสค. กล่าวถึงที่มาของโครงการพัฒนาระบบส่งต่อฐานข้อมูลเด็กและเยาวชนใน จังหวัดแม่ฮ่องสอนว่า จังหวัดแม่ฮ่องสอนเป็นจังหวัดที่ท้าทายเพราะมีปัญหาความยากจนห่างไกล โชคดีที่ประชาชนในจังหวัดพร้อมให้ความร่วมมือ สสค.จึงเป็นเพียงผู้จุดประกายประสานความร่วมมือ “พลังทางสังคม” ที่มีอยู่แล้ว 2 ส่วนหลักคือ 1.หน่วยงานในพื้นที่และผู้ปกครองที่รับผิดชอบ เช่น อปท. ซึ่งใกล้ชิดกับภาคประชาชนมากที่สุด และ 2.หน่วยงานรัฐ เช่น ท้องถิ่นจังหวัด โรงเรียน โรงพยาบาล เพื่อทำความเข้าใจด้วย “พลังความรู้และการวิจัย” เพื่อให้เข้าใจว่า การเข้าถึงบริการขั้นพื้นฐานทั้งเรื่องสุขภาพและการศึกษาเป็น เรื่องสำคัญ เพราะถ้าคนในชุมชนมีคุณภาพ รายได้จากการจัดเก็บภาษีก็จะมากขึ้น ทำให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ที่เข้มแข็ง

“เราเข้าไปทำงานในพื้นที่เงินไม่ถึง 500,000 บาท แต่ทุกท้องถิ่นเมื่อได้รับเสียงสนับสนุนจากคนในพื้นที่ ก็ไปผลักดันนายกอบต. นายกอบจ. ผู้ว่าฯก็เห็นด้วย มีการออกฎหมายท้องถิ่น โอนเงินมาสนับสนุนการแก้ไขปัญหา โดยกระทรวงศึกษาก็ไม่ต้องจัดสรรงบประมาณเพิ่ม อย่างที่อำเภอปาย นอกจาก 8 ท้องถิ่นจะสนับสนุนงบประมาณให้รวมกันประมาณ 500,000 บาทต่อปีแล้ว อบจ.ก็ยังเติมให้อีก 100,000 บาทต่อปี และองค์กรนอกพื้นที่อย่างวปอ.รุ่น 54 อีก 300,000 บาท เพราะเห็นว่าเรื่องนี้สำคัญ และต้องลงทำความเข้าใจกับพ่อแม่ถึงสิทธิขั้นพื้นฐานที่เด็กพิการ ด้อยโอกาสต้องได้รับจากรัฐ เพื่อหาแนวร่วมในระดับท้องถิ่น สร้างให้เกิดแรงขับเคลื่อนจากผู้รับการบริการโดยตรง ซึ่งผมเชื่อว่าหลังจากแม่ฮ่องสอนโมเดลออกมาแล้ว จะทำให้เกิดการขยายผลไปยังจังหวัดอื่นๆเพิ่มขึ้น และจะนำปสู่การเคลื่อนไหวเชิงนโยบายในระดับประเทศ เป็นรัฐสวัสดิการที่ดูแลเด็กได้ครบวงจร” ดร.ไกรยส กล่าว

สิ่งต่อไปที่ต้องทำคือ องค์กรภาพประชาสังคมที่ไม่ใช่หน่วยงานของรัฐเข้ามาดูแลเพื่อให้เกิด ความต่อเนื่องและยั่งยืน โดยที่จ.แม่ฮ่องสอน จะมีสมาคมพัฒนาการศึกษาแม่ฮ่องสอน ซึ่งเป็นองค์กรกึ่งมูลนิธิ คล้ายสภาการศึกษาจังหวัด ที่มีข้าราชการที่เกษียณอายุราชการแล้วแต่ยังห่วงใยระบบการศึกษา เป็นสมาชิก และมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน เข้ามาจัดสมัชชาจังหวัดเพื่อจัดทำธรรมนูญการศึกษาจังหวัด เพื่อให้ระบบเกิดความยั่งยืน

ขอบคุณ... http://www.ryt9.com/s/nnd/1669747

ที่มา: แนวหน้าออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 12 มิ.ย.56
วันที่โพสต์: 13/06/2556 เวลา 03:15:21

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอนหนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อบจ.-อบต.-เทศบาล จับมือโรงพยาบาล สมาคมศึกษา ศูนย์การศึกษาพิเศษ พม.แม่ฮ่องสอน บูรณการส่งต่อข้อมูลเพื่อดูแลเด็กพิการด้อยโอกาสอย่างเป็นระบบ และครบวงจรครอบคลุมทั้งจังหวัด โดยการสนับสนุนงานวิจัยของ สสค.-ม.นเรศวร หวังเป็นแม่แบบการประกันโอกาสทางการศึกษาเด็กพิการด้อยโอกาสอย่างเต็มรูปแบบ พร้อมเปิด “ศูนย์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาเด็กพิการด้อยโอกาสแบบมีส่วนร่วม แม่ฮ่องสอนตอนเหนือ” ที่อำเภอปาย หลัง “ศูนย์นำร่องแม่สะเรียง” เดินหน้าได้ดี นางนฤมล ปาลวัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน กล่าวว่า เดิมที จ.แม่ฮ่องสอน มีศูนย์การศึกษา พิเศษเฉพาะที่อำเภอเมือง แต่ไม่สามารถบริการให้ทั่วถึง แต่ในเดือนมิถุนายนปี 2555 สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) ให้การสนับสนุนเปิด “ศูนย์การเรียนรู้พิเศษพัฒนาเด็กด้อยโอกาสแม่ฮ่องสอนตอนใต้” ที่อ.แม่สะเรียง เพื่อช่วยเด็กพิการด้อยโอกาสในพื้นที่แม่ฮ่องสอนตอนใต้ ได้แก่ อ.แม่สะเรียง อ.สบเมย และอ.แม่ลาน้อย ช่วยให้เด็กพิเศษจำนวน 2 คนกลับไปเรยนร่วมกับเด็กปกติได้จากเด็กทั้งสิ้น 40 จึงเป็นที่มาของความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในอ.ปาย ทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อบจ. อบต. และเทศบาล ที่ลุกขึ้นมาขยายผลสร้าง “ศูนย์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาเด็กพิการด้อยโอกาสแบบมีส่วนร่วม แม่ฮ่องสอนตอนเหนือ” ที่อ.ปายขึ้น โดยได้รับความร่วมมือจากท้องถิ่นจังหวัด สมาคมการศึกษา โรงพยาบาลปายในการส่งต่อข้อมูลเด็กพิการตั้งแต่แรกเกิดร่วมกัน นอกจากนี้ได้เงินสนับสนุนในการก่อสร้างอาคารสถานที่ในโรงเรียนอนุบาล ปาย จากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรรุ่น 54 จำนวน 300,000 บาท ความสำเร็จจาก “ศูนย์นำร่องแม่สะเรียง” สู่การขยายผล “แม่ฮ่องสอนโมเดล” จึงมิใช่เพียงการเปิด “ศูนย์ดูแลเด็กพิเศษ” ขึ้นที่ปายเท่านั้น แต่เป็นการสร้างความยั่งยืนของระบบส่งต่อข้อมูลของเด็กพิการด้อย โอกาสในปาย ร่วมกันทั้งในส่วนโรงพยาบาลปาย และชุมชนท้องถิ่น ผ่านอบต.ที่เป็นหน่วยงานที่ใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุด เพื่อให้มั่นใจว่า ต่อไปเด็กพิการด้อยโอกาสในอำเภอปายและพื้นที่อื่นๆในจังหวัด แม่ฮ่องสอนจะไม่ตกหล่นจากการดูแลร่วมกันของทุกภาคส่วน “ในความเป็นแม่ ในความเป็นผู้หญิง ก็อยากจะช่วยให้คนแม่ฮ่องสอนมีความสุขมากขึ้น ซึ่งดิฉันเชื่อมั่นว่าความสำเร็จนั้นต้องเริ่มนับหนึ่งที่ท้องถิ่น ถ้าผู้นำท้องถิ่น และชาวแม่ฮ่องสอนเห็นตรงกันว่า ปัญหาเด็กพิการด้อยโอกาสเป็นวาระเร่งด่วน ทุกคนต้องช่วยกันแก้ไขเพื่อดูแลลูกหลานของเรา ไม่ใช่มองเป็นภาระหน้าที่คนใดคนหนึ่ง ที่ผ่านมามีต้นแบบให้เห็นอยู่แล้ว เช่น ที่อบต.บ้านกาศ อ.แม่สะเรียง แม้ว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แม่ฮ่องสอนค่อนข้างยากจน ภานใต้ความขาดแคลนนี้ อปท.สามารถตั้งงบประมาณอุดหนุนได้ ถ้ามีการแนะนำ เพราะการช่วยเหลือเด็กไม่ได้ใช้งบประมาณมาก ตั้งแต่ระดับนายอำเภอ ผู้บริหารท้องถิ่นทำให้เป็นตัวอย่าง เปิดใจรับรู้ก็จะประสอบความสำเร็จ เพราะเป้าหมายล้วนอยู่ที่ประชาชนทั้งสิ้น” “แม่ฮ่องสอนโมเดล” จึงเป็นนโยบายเชิงรุกในการป้องกันและดูแลเด็กเยาวชนแม่ฮ่องสอน ทั้งจังหวัดและเป็นเครื่องยืนยันที่ชัดเจนว่า แม้พื้นที่ที่ทุรกันดารอย่างแม่ฮ่องสอนยังสามารถทำได้ จังหวัดอื่นๆซึ่งมีความพร้อมมากกว่าย่อมทำได้ โดยเฉพาะการใช้ “การศึกษา”เป็นเครื่องมือเปลี่ยน “ความขาดแคลน” ให้กลายเป็น “โอกาส” นายสมศักดิ์ โพธิ์ศรีทอง นายอำเภอปาย กล่าวว่าคนทั่วไปรู้จักปายในฐานะเมืองท่องเที่ยว แต่ความจริงแล้วอำเภอปายเป็นพื้นที่มีชนเผ่าอยู่ 7 ชนเผ่า อาศัยอยู่รอบนอกในพื้นที่ป่าเขาที่มีกว่า 90% ยังห่างไกลความเจริญ การศึกษายังมีปัญหา การให้ความช่วยเหลือเด็กพิเศษแต่เดิมผู้ปกครองส่งลูกหลานเข้า เรียนตามโรงเรียนใกล้บ้าน แต่ไม่ได้รับความดูแลโดยตรง เพราะไม่มีบุคลากรที่เชี่ยวชาญโดยเฉพาะการมีศูนย์ดูแลเด็กพิการ ด้อยโอกาส ช่วยแก้ไขปัญหาได้ตามศักยภาพของเด็ก โดยมีครูที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้านให้การดูแล “ผมเชื่อว่าท้องถิ่นทุกแห่งจะให้ความสำคัญ เพราะถ้านำเด็กมาเข้าศูนย์ฯก็จะทำให้เด็กีพัฒนาการ สามารถปรบตัวให้เข้ากับสภาพสังคมได้ ภาระทางครอบครวและสังคมจะลดลง ซึ่งผมยืนยันว่า จะช่วยประสานงานกับอบต.และเทศบาลทั้ง 8 แห่ง เพื่อหาแนวทางนำงบประมาณมาสนับสนุนเพื่อสร้างความยั่งยืนในพื้นที่ต่อ ไป” นายสมศักดิ์กล่าว ดร.ไกรยส ภัทราวาท ผู้เชี่ยวชาญนโยบายด้านเศรษฐศาสตร์การศึกษา สสค. กล่าวถึงที่มาของโครงการพัฒนาระบบส่งต่อฐานข้อมูลเด็กและเยาวชนใน จังหวัดแม่ฮ่องสอนว่า จังหวัดแม่ฮ่องสอนเป็นจังหวัดที่ท้าทายเพราะมีปัญหาความยากจนห่างไกล โชคดีที่ประชาชนในจังหวัดพร้อมให้ความร่วมมือ สสค.จึงเป็นเพียงผู้จุดประกายประสานความร่วมมือ “พลังทางสังคม” ที่มีอยู่แล้ว 2 ส่วนหลักคือ 1.หน่วยงานในพื้นที่และผู้ปกครองที่รับผิดชอบ เช่น อปท. ซึ่งใกล้ชิดกับภาคประชาชนมากที่สุด และ 2.หน่วยงานรัฐ เช่น ท้องถิ่นจังหวัด โรงเรียน โรงพยาบาล เพื่อทำความเข้าใจด้วย “พลังความรู้และการวิจัย” เพื่อให้เข้าใจว่า การเข้าถึงบริการขั้นพื้นฐานทั้งเรื่องสุขภาพและการศึกษาเป็น เรื่องสำคัญ เพราะถ้าคนในชุมชนมีคุณภาพ รายได้จากการจัดเก็บภาษีก็จะมากขึ้น ทำให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ที่เข้มแข็ง “เราเข้าไปทำงานในพื้นที่เงินไม่ถึง 500,000 บาท แต่ทุกท้องถิ่นเมื่อได้รับเสียงสนับสนุนจากคนในพื้นที่ ก็ไปผลักดันนายกอบต. นายกอบจ. ผู้ว่าฯก็เห็นด้วย มีการออกฎหมายท้องถิ่น โอนเงินมาสนับสนุนการแก้ไขปัญหา โดยกระทรวงศึกษาก็ไม่ต้องจัดสรรงบประมาณเพิ่ม อย่างที่อำเภอปาย นอกจาก 8 ท้องถิ่นจะสนับสนุนงบประมาณให้รวมกันประมาณ 500,000 บาทต่อปีแล้ว อบจ.ก็ยังเติมให้อีก 100,000 บาทต่อปี และองค์กรนอกพื้นที่อย่างวปอ.รุ่น 54 อีก 300,000 บาท เพราะเห็นว่าเรื่องนี้สำคัญ และต้องลงทำความเข้าใจกับพ่อแม่ถึงสิทธิขั้นพื้นฐานที่เด็กพิการ ด้อยโอกาสต้องได้รับจากรัฐ เพื่อหาแนวร่วมในระดับท้องถิ่น สร้างให้เกิดแรงขับเคลื่อนจากผู้รับการบริการโดยตรง ซึ่งผมเชื่อว่าหลังจากแม่ฮ่องสอนโมเดลออกมาแล้ว จะทำให้เกิดการขยายผลไปยังจังหวัดอื่นๆเพิ่มขึ้น และจะนำปสู่การเคลื่อนไหวเชิงนโยบายในระดับประเทศ เป็นรัฐสวัสดิการที่ดูแลเด็กได้ครบวงจร” ดร.ไกรยส กล่าว สิ่งต่อไปที่ต้องทำคือ องค์กรภาพประชาสังคมที่ไม่ใช่หน่วยงานของรัฐเข้ามาดูแลเพื่อให้เกิด ความต่อเนื่องและยั่งยืน โดยที่จ.แม่ฮ่องสอน จะมีสมาคมพัฒนาการศึกษาแม่ฮ่องสอน ซึ่งเป็นองค์กรกึ่งมูลนิธิ คล้ายสภาการศึกษาจังหวัด ที่มีข้าราชการที่เกษียณอายุราชการแล้วแต่ยังห่วงใยระบบการศึกษา เป็นสมาชิก และมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน เข้ามาจัดสมัชชาจังหวัดเพื่อจัดทำธรรมนูญการศึกษาจังหวัด เพื่อให้ระบบเกิดความยั่งยืน ขอบคุณ... http://www.ryt9.com/s/nnd/1669747

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...