“เจ็บ-ตาย-พิการ”บนท้องถนน วินัยบนถนนเมืองไทย..ฝันที่ไม่เคยไปถึง?

แสดงความคิดเห็น

สถานที่เกิดเหตุอุบัติเหตุบนท้องถนน

ผ่านพ้นไปแล้วกับเทศกาลสงกรานต์ อันเป็นเทศกาลหยุดยาวที่สำคัญที่สุดของสังคมไทย ครอบครัวได้อยู่กันพร้อมหน้า ผู้คนได้ออกมาเล่นสาดน้ำ เฉลิมฉลองกันอย่างสนุกสนาน หลังจากที่เหน็ดเหนื่อยกับหน้าที่การงานมาทั้งปี ประชาชนส่วนใหญ่พบกับความสุข เว้นก็แต่บางคน บางครอบครัวเท่านั้น ที่วันสงกรานต์ของพวกเขาต้องเปลี่ยนจากงานรื่นเริง กลายเป็นความโศกเศร้าอันเนื่องมาจากต้องสูญเสียสมาชิกในครอบครัว อันเนื่องมาจากอุบัติเหตุบนท้องถนน

อย่างที่ทราบกันดีว่า..ทุกๆ เทศกาลหยุดยาวของคนไทย ไม่ว่าสงกรานต์หรือปีใหม่ หน่วยงานภาครัฐที่รับผิดชอบมักจะออกมารณรงค์กันอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นเมาไม่ขับ ง่วงไม่ขับ ขับไม่ซิ่ง ฯลฯ ทว่าสิ่งที่หลายคนตั้งข้อสังเกต คือเรามักจะรณรงค์กันเพียงแค่ช่วงเทศกาล หรือ “7 วันอันตราย” เท่านั้น แต่วันเวลาที่เหลือ แทบจะไม่มีการรณรงค์ รวมถึงการกวดขันจับกุมอย่างต่อเนื่อง ทั้งๆ ที่วันเวลาปกติ ก็มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นเช่นกัน หากแต่ไม่ค่อยเป็นข่าวเท่านั้น วันนี้สกู๊ปหน้า 5 จะพาไปรับฟังเสียงจากบุคคลที่ศึกษาด้านอุบัติเหตุทางถนน ว่าพวกเขาเห็นอะไรบ้าง ที่เป็นสาเหตุของการสูญเสียชีวิตและร่างกาย ในสังคมของเรา

“อุบัติเหตุ”ไม่ใช่เรื่อง“อาถรรพณ์” - เมื่อพูดถึงความเชื่อในเรื่องลี้ลับของสังคมไทย หลายคนคงนึกถึงเรื่องของ “โค้งร้อยศพ” อันเป็นเรื่องราวว่าด้วยถนนบางเส้นที่มีโค้งอันตราย รถที่ผ่านไปมาบริเวณนั้นมักจะเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง แต่เมื่อเกิดอุบัติเหตุถี่ขึ้น กลับกลายเป็นว่ามีผู้เอาผ้าสามสีไปผูก เอาศาลไปตั้ง แล้วก็ลือกันไปต่างๆ นานา ว่าเป็นเรื่องของเจ้าที่แรงบ้าง วิญญาณตัวตายตัวแทนบ้าง ฯลฯ โดยที่แทบไม่เคยมีการไปหาสาเหตุว่าโค้งดังกล่าวมีอะไรที่แตกต่างไปจากโค้ง อื่นๆ จนทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่ายกว่าปกติแต่อย่างใด

นพ.ธนะพงษ์ จินวงษ์ ผู้จัดการศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.) ในฐานะผู้หนึ่งที่ศึกษาและทำการรณรงค์เรื่องอุบัติเหตุบนท้องถนนมาโดยตลอด ให้ความเห็นไว้อย่างน่าสนใจ ว่าด้วยสื่อต่างๆ ที่ลงข่าวเกี่ยวกับอุบัติเหตุ มักจะนำเสนอไปในทางที่มองว่าผู้ประสบเหตุประสบเคราะห์กรรม ถึงวาระต้องเจ็บต้องตายตามดวงชะตาเท่านั้น โดยที่ไม่ได้มองไปถึงปัจจัยอื่นๆ ที่น่าจะควบคุมได้ แต่ถูกละเลยมาตลอด

“พอมีอาถรรพณ์ หลายคนก็เรียกร้องให้นายก อบต. ในพื้นที่ทำบุญ เพื่อไม่ให้วิญญาณต่อวิญญาณ ก็คือมองว่าตรงนี้จะเป็นโค้งกี่ศพ คือบ้านเราก็เป็นสังคมที่จะมีปรากฏการณ์โค้งอันตราย แล้วก็ค่อยๆ ยกระดับเป็นโค้งร้อยศพ แล้วต้องทำอะไรไหม? กับตัวระบบที่ทำให้โค้งนี้มันยังไม่ถูกแก้” นพ.ธนะพงษ์ ตั้งข้อสังเกต

นอกจากเรื่องของโค้งร้อยศพ ตัวแทนจากภาควิชาการรายนี้ ยังได้ยกตัวอย่างขึ้นมาอีก 2 กรณี กรณีแรก เรื่องของยางระเบิด ซึ่งหลายครั้งมักเกิดขึ้นกับรถตู้โดยสาร ทั้งนี้เมื่อเข้าไปตรวจสอบอย่างละเอียด พบว่ายางที่ใช้นั้นมักเป็นยางที่ผ่านการใช้งานมานาน จนหมดอายุแล้วก็มี หรือกรณีของการปล่อยให้เยาวชนอายุไม่ถึง 18 ปีขับรถยนต์ จนไปเกิดอุบัติเหตุชนผู้อื่นบาดเจ็บหรือเสียชีวิต ทั้งนี้หากเป็นในหลายๆ ประเทศ การปล่อยให้เยาวชนมาขับรถบนท้องถนน ( Young Driver ) ถือเป็นเรื่องใหญ่และรุนแรงมาก เพราะความที่อายุยังน้อย วุฒิภาวะก็มักจะมีไม่เพียงพอ จึงอาจเป็นอันตรายกับบุคคลอื่นๆ ได้

สังคมไทย:“ละเมิดกฏ”คือ“เจ๋ง”? - เมื่อพูดถึงนิสัยคนไทย เชื่อว่าคนไทยหลายคน รวมถึงชาวต่างชาติที่อยู่ในเมืองไทยเป็นเวลานานๆ จะทราบดีว่าคนไทยเป็นคนที่ทำอะไรตามใจตนเองเสมอ โดยไม่ต้องคำนึงถึงกฏ กติกา หรือมารยาทในสังคม ตามที่มีผู้กล่าวไว้นานแล้วว่า “ทำอะไรตามใจคือไทยแท้” นอกจากนี้ ยังมีผู้ตั้งข้อสังเกตอีกว่า..คนไทยนั้นมีความสามารถพิเศษในการ “บิด” กฏระเบียบต่างๆ เพื่อให้เข้ากับความสะดวกสบายของตนเอง หรือที่เรียกกันในสำนวนไทยว่า “ศรีธนญชัย” อันมีที่มาจากวรรณคดีเรื่องหนึ่ง ว่าด้วยชายผู้มีไหวพริบในการเอาตัวรอดเป็นเลิศ ชนิดที่ไหลไปได้ทุกทิศทาง แต่ที่เลวร้ายยิ่งกว่า คือกรณีการชี้ช่องทางการละเมิดกฏระเบียบ โดยเห็นว่าเป็นเรื่องโก้เก๋ ชนิดที่เรียกว่ามีการวางแผนกันเป็นขั้นตอน ซึ่งเรื่องนี้ ดร.ชัชวาล สิมะสกุล ผู้แทนจากสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาเคยพบถึงขนาดมีแผนที่ สำหรับเอาไว้หลบด่านตำรวจที่ตั้งเพื่อตรวจวัดแอลกอฮอล์ บนถนนบางสายถูกนำมาเผยแพร่กันเลยทีเดียว

“ผมอ่านหนังสือพิมพ์ เขาก็มีบอกว่า ที่ถนนหรือซอยแห่งนึง เขามีว่าเป็นเส้นทางเลี่ยงตรวจแอลกอฮอล์ เขาทำเป็นเส้นทางไว้รอเลย มันตกใจเลย คือว่าวัฒนธรรมของคน คือมันเป็นเรื่องผิดอยู่แล้วละ ก็ยังอุตส่าห์มาแชร์อีกนะ แล้วก็ให้คนที่เขาดื่มแล้วขับ วิ่งเส้นทางนี้เพราะตำรวจไม่ได้ตั้งด่าน ผมจะบอกว่าสุดๆ ของการคิดมันยังเป็นแบบนี้อยู่ คือมันเป็นเรื่องที่ไม่ดี” ผู้แทนจาก สนข. สะท้อนปัญหาระบบคิดของคนไทยบางกลุ่ม

สอดคล้องกับความเห็นของ นายอนุสรณ์ แก้วกังวาล รองอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ที่ตั้งข้อสังเกตว่า บนท้องถนนในเมืองไทยนั้น ผู้ที่ละเมิดกฏจราจร มักจะเป็นผู้ได้เปรียบในการใช้รถใช้ถนนอยู่เสมอ ซึ่งจริงๆ แล้ว ก็ไม่ใช่แค่เรื่องของการจราจรเท่านั้น แต่แทบจะเป็นไปในทุกๆ อิริยาบถของการใช้ชีวิตแบบไทยๆ ที่ไม่ค่อยจะใส่ใจความปลอดภัย เท่าที่ควรจะเป็น

“กฏระเบียบเรามีมากมายครับ แต่ปรากฏว่าเรายังบังคับใช้ไม่ได้เต็มที่นัก ประชาชนคนไทยยังพยายามที่จะหลีกเลี่ยง ไม่ยอมรับตามกฏกติกา ทั้งๆ ที่รู้ว่าสิ่งเหล่านั้นไม่ถูกต้อง มีหลายชาติเขาพูดว่า..คนไทยนี่แปลกนะ ทำไมกลัวลำบากแต่ไม่กลัวตาย เห็นไหมครับคนไทยใช้รถใช้ถนน ลำบากนิดลำบากหน่อย เสียเวลานิดเสียเวลาหน่อยนี่ไม่ได้เลย จะต้องฝ่าฝืนทุกเรื่อง เพื่อให้ไปได้เร็วกว่า จริงๆ แล้วมีครั้งนึง ผมเคยทดลองว่า ถ้าเราขับรถตามกฏกติกาบนถนนกันจริงๆ กับการที่พยายามฝ่าฝืนกติกา ไปพร้อมกัน แข่งกันไปเลยครับ คนนึงขับถูกต้อง อีกคนขับไปเต็มกำลังความสามารถที่จะซิ่งได้ ปาดซ้ายแซงขวา ไปยังจุดหมายเดียวกัน กรุงเทพ-พัทยา ปรากฏว่าคนที่พยายามทำทุกวิถีทางที่จะไปถึงให้เร็วที่สุด เร็วกว่าคนที่ขับตามกฏเพียง 15 นาที ดังนั้นใน 15 นาทีที่ท่านได้ไป กับความตายที่รออยู่มากมาย นี่คือสิ่งที่ทำให้เห็นว่า ทำไมวัฒนธรรมความปลอดภัยในบ้านเราถึงมีน้อยมาก” รองอธิบดี ปภ. กล่าว

แม้กระทั่งจะฝากความหวังกับเยาวชน ก็ยังเป็นไปได้ยาก เพราะผู้ใหญ่ในเมืองไทย แทบจะหาตัวอย่างที่ดีให้เด็กๆ ได้ดูได้เห็นกันได้น้อยมาก โดยคุณอนุสรณ์ ยกตัวอย่างกรณีในโรงเรียน ที่ครูสอนนักเรียนเสมอให้มีวินัย รักษากฏระเบียบ แต่พอเลิกเรียน ผู้ปกครองมารับกลับบ้าน แค่สะพานลอยหน้าโรงเรียนก็ยังไม่ข้าม กลับจูงลูกหลานเดินข้ามถนนไปหน้าตาเฉย ซึ่งเมื่อเด็กเห็นตัวอย่างเช่นนี้บ่อยๆ เข้า ก็จะเคยชินเป็นนิสัย ดังนั้นจึงไม่ต้องแปลกใจว่า เหตุใดการฝึกคนไทยให้มีระเบียบวินัย จึงประสบกับความล้มเหลวมาโดยตลอด และรุ่นที่ล้มเหลวนี้ ก็จะกลายเป็นแบบอย่างที่ไม่ดีแก่เด็กรุ่นใหม่ต่อไป วนกันแบบนี้ไม่จบไม่สิ้น

ต้องสร้างเงื่อนไข“ทำดีได้ดี” - มีคำกล่าวอีกประโยคหนึ่งที่ว่า “สังคมเลวเพราะคนดีท้อแท้” ซึ่งก็มิใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใดหากคนๆ หนึ่งจะท้อแท้กับการทำความดี เพราะคนส่วนใหญ่ก็ยังเป็นปุถุชน มีอารมณ์ความรู้สึกไหลไปตามกระแสต่างๆ ได้ง่าย ดังนั้นหากอยู่ในสังคมที่คนรอบข้างนิยมทำผิดกฏระเบียบเป็นนิสัย ก็จะเกิดความรู้สึกว่าผู้ที่ทำตามกฏระเบียบเป็นคนโง่ ไม่ทันคน ไม่ฉลาดเหมือนคนอื่นๆ แล้วก็จะเริ่มทำผิดบ้าง จนเป็นความเคยชินไปในที่สุด

นายพิทักษ์ สุภนันทการ ผู้แทนจากบริษัท บีเอสไอ กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัด ใน ฐานะตัวแทนจากภาคเอกชน มองว่าโครงสร้างระบบต่างๆ ในสังคมไทย ไม่ค่อยจะเอื้ออำนวยให้คนทำดีมีกำลังใจสักเท่าไร ดังนั้นน่าจะไปแก้เงื่อนไขทางกฏหมายบางอย่าง เพื่อให้ภาคเอกชน สถานประกอบการต่างๆ มีแรงจูงใจที่จะเป็นผู้นำในการรณรงค์ในการปฏิบัติตามกฏระเบียบต่างๆ อย่างน้อยๆ ก็กับคนในองค์กรได้มากขึ้น

“คนที่ทำดีในประเทศไทย มักจะต้องไปต่อคิวสุดท้าย เพราะทำดีต้นทุนก็สูง คนอื่นก็แทรกมา สุดท้ายมันก็ต้องจัดระบบให้มัน Fair (ยุติธรรม) ซะที ใครที่ทำดี เขาก็ควรได้รับสิ่งที่เขาควรจะได้ ดังนั้นง่ายมากเลยครับ ถ้าผมเป็นรองนายกฯ วันนี้ ถามว่าผมจะทำอะไร? ผมก็จะบอกว่า ประกาศเลยครับ ถ้าท่านทำแบบนี้ แล้วไล่ย้อนไปถึง Supplier (ผู้จัดหาวัตถุดิบ) ที่ใช้รถใช้ถนน ท่านใช้เงินไปเท่าไร ก็เอาเงินตรงนั้นมาเคลมภาษี แล้วตรงนี้คุ้มกว่าไปเพิ่มเตียงในโรงพยาบาล คุ้มกว่าไปเพิ่มอื่นๆ ค่อยๆ ทำในเชิงจูงใจ แล้วคนพวกนี้ต้องประกาศเกียรติคุณ เพราะอะไร? เพราะ MD , CEO ( หมายถึงบรรดาผู้บริหาร) เขาภูมิใจเสนอที่จะผลักดัน เขาทำความดีโดยไม่ต้องบังคับ ต้องส่งเสริม ส่วนคนที่อยู่ด้านล่างที่ไม่พร้อมจะทำความดี ก็ใช้มาตรการอื่นที่เรามีอยู่แทน” ตัวแทนจากภาคเอกชน กล่าวทิ้งท้าย

สงกรานต์ 2556 ที่เพิ่งผ่านมา สรุปยอด 7 วันอันตราย (ระหว่างวันที่ 11-17 เมษายน 56) มีผู้เสียชีวิต 321 ศพ บาดเจ็บ 3,040 คน และสาเหตุหลักยังมาจากการดื่มสุราแล้วขับขี่ยานพาหนะ แสดงให้เห็นว่า มาตรการที่ผ่านมายังมีจุดบกพร่องบางประการ ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารที่คลาดเคลื่อน เช่นหลายคนที่ออกสื่อยังติดคำว่า “เมาไม่ขับ” ทั้งที่เมื่อดื่มสุราแล้ว น้อยคนที่จะรู้ว่าตนเองเมาหรือไม่ จึงควรเปลี่ยนเป็นการรณรงค์คำว่า “ดื่มไม่ขับ” น่าจะเป็นการรณรงค์ที่ตรงจุดกว่า หรือในด้านการบังคับใช้กฏหมาย ที่พบว่ามักจะเป็นกระแสกันแค่ช่วงเทศกาลปีใหม่-สงกรานต์เท่านั้น แต่ไม่ค่อยมีการเข้มงวดในวันเวลาปกติ ทำให้ประชาชนไม่รู้สึกเคยชินที่ปฏิบัติตามกฏจราจร อนึ่ง..ที่ผ่านมาพบว่า หากมีการกวดขัน จับกุมผู้กระทำผิดอย่างจริงจัง ไม่นานผู้ขับขี่ยานพาหนะก็จะปฏิบัติตามกฏไปเอง เช่นการสวมหมวกกันน็อกและคาดเข็มขัดนิรภัย ซึ่งหากย้อนไปดูในยุคที่เริ่มรณรงค์กันใหม่ๆ ก็พบว่ามีผู้ใช้อุปกรณ์ดังกล่าวน้อยมาก เมื่อเทียบกับปัจจุบัน แต่ทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับว่า ผู้มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบ จะเอาจริงเอาจังแค่ไหนเท่านั้น?

ขอบคุณ http://www.naewna.com/scoop/50511

ที่มา: แนวหน้าออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 3 พ.ค.56
วันที่โพสต์: 7/05/2556 เวลา 02:51:58 ดูภาพสไลด์โชว์  “เจ็บ-ตาย-พิการ”บนท้องถนน วินัยบนถนนเมืองไทย..ฝันที่ไม่เคยไปถึง?

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

สถานที่เกิดเหตุอุบัติเหตุบนท้องถนน ผ่านพ้นไปแล้วกับเทศกาลสงกรานต์ อันเป็นเทศกาลหยุดยาวที่สำคัญที่สุดของสังคมไทย ครอบครัวได้อยู่กันพร้อมหน้า ผู้คนได้ออกมาเล่นสาดน้ำ เฉลิมฉลองกันอย่างสนุกสนาน หลังจากที่เหน็ดเหนื่อยกับหน้าที่การงานมาทั้งปี ประชาชนส่วนใหญ่พบกับความสุข เว้นก็แต่บางคน บางครอบครัวเท่านั้น ที่วันสงกรานต์ของพวกเขาต้องเปลี่ยนจากงานรื่นเริง กลายเป็นความโศกเศร้าอันเนื่องมาจากต้องสูญเสียสมาชิกในครอบครัว อันเนื่องมาจากอุบัติเหตุบนท้องถนน อย่างที่ทราบกันดีว่า..ทุกๆ เทศกาลหยุดยาวของคนไทย ไม่ว่าสงกรานต์หรือปีใหม่ หน่วยงานภาครัฐที่รับผิดชอบมักจะออกมารณรงค์กันอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นเมาไม่ขับ ง่วงไม่ขับ ขับไม่ซิ่ง ฯลฯ ทว่าสิ่งที่หลายคนตั้งข้อสังเกต คือเรามักจะรณรงค์กันเพียงแค่ช่วงเทศกาล หรือ “7 วันอันตราย” เท่านั้น แต่วันเวลาที่เหลือ แทบจะไม่มีการรณรงค์ รวมถึงการกวดขันจับกุมอย่างต่อเนื่อง ทั้งๆ ที่วันเวลาปกติ ก็มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นเช่นกัน หากแต่ไม่ค่อยเป็นข่าวเท่านั้น วันนี้สกู๊ปหน้า 5 จะพาไปรับฟังเสียงจากบุคคลที่ศึกษาด้านอุบัติเหตุทางถนน ว่าพวกเขาเห็นอะไรบ้าง ที่เป็นสาเหตุของการสูญเสียชีวิตและร่างกาย ในสังคมของเรา “อุบัติเหตุ”ไม่ใช่เรื่อง“อาถรรพณ์” - เมื่อพูดถึงความเชื่อในเรื่องลี้ลับของสังคมไทย หลายคนคงนึกถึงเรื่องของ “โค้งร้อยศพ” อันเป็นเรื่องราวว่าด้วยถนนบางเส้นที่มีโค้งอันตราย รถที่ผ่านไปมาบริเวณนั้นมักจะเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง แต่เมื่อเกิดอุบัติเหตุถี่ขึ้น กลับกลายเป็นว่ามีผู้เอาผ้าสามสีไปผูก เอาศาลไปตั้ง แล้วก็ลือกันไปต่างๆ นานา ว่าเป็นเรื่องของเจ้าที่แรงบ้าง วิญญาณตัวตายตัวแทนบ้าง ฯลฯ โดยที่แทบไม่เคยมีการไปหาสาเหตุว่าโค้งดังกล่าวมีอะไรที่แตกต่างไปจากโค้ง อื่นๆ จนทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่ายกว่าปกติแต่อย่างใด นพ.ธนะพงษ์ จินวงษ์ ผู้จัดการศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.) ในฐานะผู้หนึ่งที่ศึกษาและทำการรณรงค์เรื่องอุบัติเหตุบนท้องถนนมาโดยตลอด ให้ความเห็นไว้อย่างน่าสนใจ ว่าด้วยสื่อต่างๆ ที่ลงข่าวเกี่ยวกับอุบัติเหตุ มักจะนำเสนอไปในทางที่มองว่าผู้ประสบเหตุประสบเคราะห์กรรม ถึงวาระต้องเจ็บต้องตายตามดวงชะตาเท่านั้น โดยที่ไม่ได้มองไปถึงปัจจัยอื่นๆ ที่น่าจะควบคุมได้ แต่ถูกละเลยมาตลอด “พอมีอาถรรพณ์ หลายคนก็เรียกร้องให้นายก อบต. ในพื้นที่ทำบุญ เพื่อไม่ให้วิญญาณต่อวิญญาณ ก็คือมองว่าตรงนี้จะเป็นโค้งกี่ศพ คือบ้านเราก็เป็นสังคมที่จะมีปรากฏการณ์โค้งอันตราย แล้วก็ค่อยๆ ยกระดับเป็นโค้งร้อยศพ แล้วต้องทำอะไรไหม? กับตัวระบบที่ทำให้โค้งนี้มันยังไม่ถูกแก้” นพ.ธนะพงษ์ ตั้งข้อสังเกต นอกจากเรื่องของโค้งร้อยศพ ตัวแทนจากภาควิชาการรายนี้ ยังได้ยกตัวอย่างขึ้นมาอีก 2 กรณี กรณีแรก เรื่องของยางระเบิด ซึ่งหลายครั้งมักเกิดขึ้นกับรถตู้โดยสาร ทั้งนี้เมื่อเข้าไปตรวจสอบอย่างละเอียด พบว่ายางที่ใช้นั้นมักเป็นยางที่ผ่านการใช้งานมานาน จนหมดอายุแล้วก็มี หรือกรณีของการปล่อยให้เยาวชนอายุไม่ถึง 18 ปีขับรถยนต์ จนไปเกิดอุบัติเหตุชนผู้อื่นบาดเจ็บหรือเสียชีวิต ทั้งนี้หากเป็นในหลายๆ ประเทศ การปล่อยให้เยาวชนมาขับรถบนท้องถนน ( Young Driver ) ถือเป็นเรื่องใหญ่และรุนแรงมาก เพราะความที่อายุยังน้อย วุฒิภาวะก็มักจะมีไม่เพียงพอ จึงอาจเป็นอันตรายกับบุคคลอื่นๆ ได้ สังคมไทย:“ละเมิดกฏ”คือ“เจ๋ง”? - เมื่อพูดถึงนิสัยคนไทย เชื่อว่าคนไทยหลายคน รวมถึงชาวต่างชาติที่อยู่ในเมืองไทยเป็นเวลานานๆ จะทราบดีว่าคนไทยเป็นคนที่ทำอะไรตามใจตนเองเสมอ โดยไม่ต้องคำนึงถึงกฏ กติกา หรือมารยาทในสังคม ตามที่มีผู้กล่าวไว้นานแล้วว่า “ทำอะไรตามใจคือไทยแท้” นอกจากนี้ ยังมีผู้ตั้งข้อสังเกตอีกว่า..คนไทยนั้นมีความสามารถพิเศษในการ “บิด” กฏระเบียบต่างๆ เพื่อให้เข้ากับความสะดวกสบายของตนเอง หรือที่เรียกกันในสำนวนไทยว่า “ศรีธนญชัย” อันมีที่มาจากวรรณคดีเรื่องหนึ่ง ว่าด้วยชายผู้มีไหวพริบในการเอาตัวรอดเป็นเลิศ ชนิดที่ไหลไปได้ทุกทิศทาง แต่ที่เลวร้ายยิ่งกว่า คือกรณีการชี้ช่องทางการละเมิดกฏระเบียบ โดยเห็นว่าเป็นเรื่องโก้เก๋ ชนิดที่เรียกว่ามีการวางแผนกันเป็นขั้นตอน ซึ่งเรื่องนี้ ดร.ชัชวาล สิมะสกุล ผู้แทนจากสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาเคยพบถึงขนาดมีแผนที่ สำหรับเอาไว้หลบด่านตำรวจที่ตั้งเพื่อตรวจวัดแอลกอฮอล์ บนถนนบางสายถูกนำมาเผยแพร่กันเลยทีเดียว “ผมอ่านหนังสือพิมพ์ เขาก็มีบอกว่า ที่ถนนหรือซอยแห่งนึง เขามีว่าเป็นเส้นทางเลี่ยงตรวจแอลกอฮอล์ เขาทำเป็นเส้นทางไว้รอเลย มันตกใจเลย คือว่าวัฒนธรรมของคน คือมันเป็นเรื่องผิดอยู่แล้วละ ก็ยังอุตส่าห์มาแชร์อีกนะ แล้วก็ให้คนที่เขาดื่มแล้วขับ วิ่งเส้นทางนี้เพราะตำรวจไม่ได้ตั้งด่าน ผมจะบอกว่าสุดๆ ของการคิดมันยังเป็นแบบนี้อยู่ คือมันเป็นเรื่องที่ไม่ดี” ผู้แทนจาก สนข. สะท้อนปัญหาระบบคิดของคนไทยบางกลุ่ม สอดคล้องกับความเห็นของ นายอนุสรณ์ แก้วกังวาล รองอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ที่ตั้งข้อสังเกตว่า บนท้องถนนในเมืองไทยนั้น ผู้ที่ละเมิดกฏจราจร มักจะเป็นผู้ได้เปรียบในการใช้รถใช้ถนนอยู่เสมอ ซึ่งจริงๆ แล้ว ก็ไม่ใช่แค่เรื่องของการจราจรเท่านั้น แต่แทบจะเป็นไปในทุกๆ อิริยาบถของการใช้ชีวิตแบบไทยๆ ที่ไม่ค่อยจะใส่ใจความปลอดภัย เท่าที่ควรจะเป็น “กฏระเบียบเรามีมากมายครับ แต่ปรากฏว่าเรายังบังคับใช้ไม่ได้เต็มที่นัก ประชาชนคนไทยยังพยายามที่จะหลีกเลี่ยง ไม่ยอมรับตามกฏกติกา ทั้งๆ ที่รู้ว่าสิ่งเหล่านั้นไม่ถูกต้อง มีหลายชาติเขาพูดว่า..คนไทยนี่แปลกนะ ทำไมกลัวลำบากแต่ไม่กลัวตาย เห็นไหมครับคนไทยใช้รถใช้ถนน ลำบากนิดลำบากหน่อย เสียเวลานิดเสียเวลาหน่อยนี่ไม่ได้เลย จะต้องฝ่าฝืนทุกเรื่อง เพื่อให้ไปได้เร็วกว่า จริงๆ แล้วมีครั้งนึง ผมเคยทดลองว่า ถ้าเราขับรถตามกฏกติกาบนถนนกันจริงๆ กับการที่พยายามฝ่าฝืนกติกา ไปพร้อมกัน แข่งกันไปเลยครับ คนนึงขับถูกต้อง อีกคนขับไปเต็มกำลังความสามารถที่จะซิ่งได้ ปาดซ้ายแซงขวา ไปยังจุดหมายเดียวกัน กรุงเทพ-พัทยา ปรากฏว่าคนที่พยายามทำทุกวิถีทางที่จะไปถึงให้เร็วที่สุด เร็วกว่าคนที่ขับตามกฏเพียง 15 นาที ดังนั้นใน 15 นาทีที่ท่านได้ไป กับความตายที่รออยู่มากมาย นี่คือสิ่งที่ทำให้เห็นว่า ทำไมวัฒนธรรมความปลอดภัยในบ้านเราถึงมีน้อยมาก” รองอธิบดี ปภ. กล่าว แม้กระทั่งจะฝากความหวังกับเยาวชน ก็ยังเป็นไปได้ยาก เพราะผู้ใหญ่ในเมืองไทย แทบจะหาตัวอย่างที่ดีให้เด็กๆ ได้ดูได้เห็นกันได้น้อยมาก โดยคุณอนุสรณ์ ยกตัวอย่างกรณีในโรงเรียน ที่ครูสอนนักเรียนเสมอให้มีวินัย รักษากฏระเบียบ แต่พอเลิกเรียน ผู้ปกครองมารับกลับบ้าน แค่สะพานลอยหน้าโรงเรียนก็ยังไม่ข้าม กลับจูงลูกหลานเดินข้ามถนนไปหน้าตาเฉย ซึ่งเมื่อเด็กเห็นตัวอย่างเช่นนี้บ่อยๆ เข้า ก็จะเคยชินเป็นนิสัย ดังนั้นจึงไม่ต้องแปลกใจว่า เหตุใดการฝึกคนไทยให้มีระเบียบวินัย จึงประสบกับความล้มเหลวมาโดยตลอด และรุ่นที่ล้มเหลวนี้ ก็จะกลายเป็นแบบอย่างที่ไม่ดีแก่เด็กรุ่นใหม่ต่อไป วนกันแบบนี้ไม่จบไม่สิ้น ต้องสร้างเงื่อนไข“ทำดีได้ดี” - มีคำกล่าวอีกประโยคหนึ่งที่ว่า “สังคมเลวเพราะคนดีท้อแท้” ซึ่งก็มิใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใดหากคนๆ หนึ่งจะท้อแท้กับการทำความดี เพราะคนส่วนใหญ่ก็ยังเป็นปุถุชน มีอารมณ์ความรู้สึกไหลไปตามกระแสต่างๆ ได้ง่าย ดังนั้นหากอยู่ในสังคมที่คนรอบข้างนิยมทำผิดกฏระเบียบเป็นนิสัย ก็จะเกิดความรู้สึกว่าผู้ที่ทำตามกฏระเบียบเป็นคนโง่ ไม่ทันคน ไม่ฉลาดเหมือนคนอื่นๆ แล้วก็จะเริ่มทำผิดบ้าง จนเป็นความเคยชินไปในที่สุด นายพิทักษ์ สุภนันทการ ผู้แทนจากบริษัท บีเอสไอ กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัด ใน ฐานะตัวแทนจากภาคเอกชน มองว่าโครงสร้างระบบต่างๆ ในสังคมไทย ไม่ค่อยจะเอื้ออำนวยให้คนทำดีมีกำลังใจสักเท่าไร ดังนั้นน่าจะไปแก้เงื่อนไขทางกฏหมายบางอย่าง เพื่อให้ภาคเอกชน สถานประกอบการต่างๆ มีแรงจูงใจที่จะเป็นผู้นำในการรณรงค์ในการปฏิบัติตามกฏระเบียบต่างๆ อย่างน้อยๆ ก็กับคนในองค์กรได้มากขึ้น “คนที่ทำดีในประเทศไทย มักจะต้องไปต่อคิวสุดท้าย เพราะทำดีต้นทุนก็สูง คนอื่นก็แทรกมา สุดท้ายมันก็ต้องจัดระบบให้มัน Fair (ยุติธรรม) ซะที ใครที่ทำดี เขาก็ควรได้รับสิ่งที่เขาควรจะได้ ดังนั้นง่ายมากเลยครับ ถ้าผมเป็นรองนายกฯ วันนี้ ถามว่าผมจะทำอะไร? ผมก็จะบอกว่า ประกาศเลยครับ ถ้าท่านทำแบบนี้ แล้วไล่ย้อนไปถึง Supplier

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...