เคลื่อนขบวนสู่หน้าทำเนียบ Pmove จี้ ๒ ปี รัฐล้มเหลวแก้ปัญหาคนจน

แสดงความคิดเห็น

กลุ่มสมาชิก ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.)  People Movement For a Just Society (Pmove) ประชุมหน้าทำเนียบ

วันที่ ๕ พ.ค. ๒๕๕๖ สมาชิก ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.) People Movement For a Just Society (Pmove) เครือข่ายสลัม ๔ ภาค สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ (สกน.) ขึ้นรถไฟที่สถานีรถไฟเชียงใหม่ อยู่ระหว่างเดินทางมายังสถานีรถไฟหัวลำโพง ส่วนสมาชิก Pmove ผู้ได้รับความเดือดร้อน อาทิ เครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสาน (คปอ.) สมัชชาคนจนกรณีเขื่อนปากมูล (สคจ.) เครือข่ายชุมชนเพื่อการปฏิรูปสังคมและการเมือง (คปสม.) เครือข่ายปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัด (คปบ.) สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ (สกต.) เครือข่ายเกษตรพันธสัญญา เครือข่ายสิทธิสถานะบุคคล และกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากโรงไฟฟ้าชีวมวล จ.อุบลราชธานี กำลังทยอยเดินทางจากพื้นที่ โดยสารรถไฟ รถประจำทาง รถบัส มีจุดนัดพบร่วมกันที่หน้าทำเนียบในเช้าวันที่ ๖ พ.ค. ๒๕๕๖

ขบวนรถบัสของกลุ่มสมาชิก ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.)  People Movement For a Just Society (Pmove) ผู้เข้ามาร่วมชุมชนเปิดใจว่า การชุมนุมของผู้ได้รับความเดือดร้อนหน้าทำเนียบรัฐบาลตั้งแต่ วันที่ ๖ พ.ค. เป็นต้นไปนี้ มีจุดหมายเพื่อร้องทุกข์ต่อการแก้ปัญหาที่ล้มเหลวตลอดสองปีที่ผ่านของรัฐบาล ซึ่งเป็นปัญหาด้านนโยบายที่ไม่สำเร็จลุล่วง โดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบายโฉนดชุมชน ๕๓ พื้นที่ ที่ผ่านกระบวนการตรวจสอบ และผ่านความเห็นชอบของ คณะกรรมการประสานงานเพื่อจัดให้มีโฉนดชุมชน (ปจช.) ซึ่งแต่งตั้งโดยรัฐบาล แต่หน่วยงานราชการ ๕ กระทรวงหลักรวมทั้งกรุงเทพมหานคร ยังไม่ยอมอนุญาตให้ใช้พื้นที่ทำโฉนดชุมชน ส่วนปัญหาคดีความคนจน ปัญหาที่ดินชุมชนทับซ้อนกับที่รัฐ หรือปัญหาที่อยู่ที่ดินทำกินถูกเอกชนนำไปขอเอกสารสิทธิ์โดยมิชอบ ปัญหาคนไร้บ้าน ปัญหาชาวเล รวมถึง ปัญหาสัญชาติและชาติพันธุ์ ปัญหาผลกระทบจากเหมืองแร่ โรงไฟฟ้า และโรงโม่หิน ปัญหาผลกระทบจากการสร้างเขื่อนที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ซึ่งเป็นกรณีปัญหาทั้งหมดอยู่ในกระบวนการพิจารณา แก้ไขปัญหาและเยียวยาจากรัฐบาลทั้งหมดแล้ว แต่ความล่าช้าในการแก้ไขปัญหาของรัฐบาลทำให้สถานการณ์ในพื้นที่อยู่ในภาวะวิกฤต ชาวบ้านในหลายพื้นที่ถูกฟ้องร้อง ไล่รื้อ ติดคุก และถูกคุกคามด้วยความรุนแรงทุกรูปแบบ

ขบวนรถบัสของกลุ่มสมาชิก ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.)  People Movement For a Just Society (Pmove) แม้ที่ผ่านมารัฐบาลได้แต่งตั้งกรรมการ และอนุกรรมการหลายคณะ เพื่อศึกษาการแก้ปัญหาจนได้ข้อสรุปในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน แต่กลไกการแก้ปัญหาที่ประชาชนมีส่วนร่วมสร้างขึ้น รัฐบาลกลับไม่ดำเนินตาม ไม่สั่งการ ไม่สนใจ จนการแก้ปัญหาแทบทั้งหมดไม่มีความคืบหน้า

นายดิเรก กองเงิน ชาวบ้านบ้านโป่ง หมู่ ๒ ตำบลแม่แฝก อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ กล่าวถึงกรณีพื้นที่พิพาทที่ดินทำกินระหว่างเกษตรกรใน จ.ลำพูน-เชียงใหม่ กับนายทุนและรัฐ หลังกลุ่มชาวบ้านที่ไม่มีที่ดินทำกินเข้าไปใช้ที่ดินซึ่งไม่ได้ใช้ประโยชน์ จากนั้นจึงถูกนายทุนใช้เอกสารสิทธิ์ แจ้งความดำเนินคดี

จากนั้นกลุ่มชาวบ้านได้รวมตัวเจรจากับรัฐบาล และได้เสนอให้จัดตั้ง สถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน และโครงการนำร่องธนาคารที่ดิน ในพื้นที่ ๕ ชุมชนภาคเหนือ ได้แก่ บ้านไร่ดง หมู่ ๓ ตำบลน้ำดิบ อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน บ้านแม่อาว หมู่ ๓ ตำบลนครเจดีย์ อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน บ้านแพะใต้ หมู่ ๗ ตำบลหนองล่อง อำเภอเวียงหนองล่อง จังหวัดลำพูน บ้านท่ากอม่วง ตำบลหนองปลาสะวาย อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน และบ้านโป่ง หมู่ ๒ ตำบลแม่แฝก อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อกระจายการถือครองที่ดิน ให้สามารถจัดซื้อที่ดินให้แก่เกษตรกรรายย่อยไร้ที่ทำกิน ในกรอบงบประมาณ ๑๖๗ ล้านบาท ตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ๒๒ ก.พ.๒๕๕๔ และ ๘ มี.ค.๒๕๕๔ ได้ และเร่งการร่างกฎหมายเกี่ยวกับจัดตั้งกองทุนธนาคารที่ดิน ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่งรัฐบาลรับปากจะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน ๒ ปี

“๒ ปี ที่ผ่านมา สิ่งที่รัฐบาลประกาศนโยบายไว้ รับปากกับชาวบ้านไว้กลับไม่มีการสั่งให้ดำเนินการ รวมถึงยังพยายามหลีกเลี่ยงที่จะนัดประชุมเพื่อสอบสาเหตุ อธิบายปัญหา ส่วนในพื้นที่ที่เคยเจรจาจะซื้อที่กับคู่กรณีไว้ เจ้าของที่ยอมตกลงจะขายที่ดินให้ และชะลอการฟ้องดำเนินคดีไว้ก่อน ถ้าได้งบประมาณมาจากโครงการธนาคารที่ดินมาซื้อ แต่ตอนนี้เจ้าของที่ยื่นฟ้องชาวบ้านแล้ว วันที่ ๙ พ.ค. นี้ต้องไปรับทราบข้อกล่าวหาที่อัยการ ถ้าชาวบ้านไม่มีญาติซึ่งมีตำแหน่งราชการก็ไม่สามารถประกันตัว ต้องติดคุกไม่รู้เมื่อไหร่ถึงจะประกันตัวได้” นายดิเรก พูด

กลุ่มสมาชิก ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.)  People Movement For a Just Society (Pmove) ประชุมหน้าทำเนียบ สำหรับการเดินทางมาร่วมชุมนุมในครั้งนี้ นายดิเรก กล่าวว่า “แม้จะไม่มีความหวัง ท้อแท้กับความพยายามที่กี่ครั้งๆ รัฐบาลรับปากแต่ไม่ยอมทำ ทำแต่นโยบายของตัวเอง ไม่สนใจการมีส่วนร่วมของประชาชน แต่ก็เป็นหนทางเดียวที่จะให้ปัญหาได้รับการแก้ไข คือต้องมาเจรจากับรัฐบาล ด้วยอำนาจของนายกรัฐมนตรีต้องสั่งการให้ปัญหาคลี่คลายไปได้” นายดิเรก พูด

ด้านผู้ได้รับความเดือดร้อนจากเขื่อนปากมูนที่ผ่านการเจรจาอย่างต่อเนื่องกับรัฐบาลมาหลายครั้ง ในที่สุด ๒๓ มกราคม ๒๕๕๖ สามารถบรรลุข้อตกลง ๓ ข้อกับรัฐบาล ประกอบด้วย ๑.ยกเลิกมติ ครม.เมื่อวันที่ ๓ พ.ค.๒๕๕๔ ในสมัยรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ ที่ให้สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ทำการศึกษาเพิ่มเติม ๒.ให้ยกเลิก คณะกรรมการฯ อนุกรรมการ และคณะทำงาน ที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาเขื่อนปากมูล ที่มีอยู่ทั้งหมด และ ๓.ให้คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการเพื่อแก้ไขปัญหาเขื่อนปากมูลขึ้นมา ๑ คณะ ที่มีอำนาจเต็ม เพื่อเป็นกลไกหลักในการแก้ไขปัญหาองค์รวม

นางสมปอง เวียงจันทร์ แกนนำสมัชชาคนจน หนึ่งในกรรมการแก้ปัญหาเขื่อนปากมูล กล่าวถึงการมาร่วมชุมนุมในครั้งนี้ว่า ข้อตกลงในครั้งนั้นกับรัฐบาล รัฐบาลรับปากจะนำเรื่องเข้า ค.ร.ม.ในเดือนมีนาคม ที่ผ่านมา มาถึงปัจจุบันยังไม่มีการดำเนินการ

นางสมปอง กล่าวว่า “เรารอมานานแล้วเพื่อให้รัฐบาลแก้ปัญหา ๑๓ นายก ๑๖ รัฐบาล แต่รัฐบาลนี้ก็ไม่แตกต่างเหมือนกันหมด เราไม่ได้อยากมาชุมนุม แต่มันตกลงกันไม่ได้ เรื่องการแก้ปัญหาปากมูนไม่เข้า ค.ร.ม. เราก็ต้องรวมพลังกันเพื่อต่อรองเท่านั้นถึงจะเจราจาต่อรองปัญหาได้ เพื่อผลักดันการแก้ปัญหาปากมูนเข้า ค.ร.ม. ให้ได้”

ทั้งนี้ การชุมนุมของผู้เดือนร้อนจาก ๔ ภาคของประเทศ ภายใต้ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม Pmove หน้าทำเนียบรัฐบาล ผู้เดือดร้อนทั้งหมดได้เตรียมพร้อมมาเพื่อยืนยันจะปักหลักรอคำตอบจากรัฐบาลให้ถึงที่สุด

๕ พ.ค. ๒๕๕๖ สายอีสาน สมัชชาคนจนกรณีเขื่อนปากมูล (สคจ.) ร่วมพันคน รวมพลเคลื่อนขบวนขึ้นรถไฟมุ่งหน้าทำเนียบรัฐบาล เพื่อร่วมชุมนุมในวันที่ ๖ พ.ค.๕๖ จี้! รัฐบาลล้มเหลวแก้ปัญหาคนจน ถามปัญหาเขื่อนปากมูล ผ่าน ๑๓ นายก ๑๖ รัฐบาล จะสำเร็จได้ในรัฐบาลปูที่รับปากแก้ปัญหาให้ชาวบ้านได้หรือไม่?

แม้จะมีอุปสรรคต้องเจราจากับนายสถานีรถไฟเพื่อขึ้นรถไฟฟรี ตามนโยบายรถไฟฟรีเพื่อช่วยเหลือคนไทย และถูกคุมเข้มจากเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยในพื้นที่ แต่ชาวบ้านก็สามารถเจรจาขึ้นรถไฟได้สำเร็จ

ในระหว่างรอขึ้นขบวนรถไฟและทุกช่วงของการเดินทาง ยังได้แจกใบปลิว เพื่ออธิบายสถานการณ์ปัญหาความเดือดร้อนจากเขื่อนปากมูล เพื่อทำความเข้าใจกับผู้ที่สัญจรไปมาและสังคม

จุดมุ่งหมายของขบวนที่มาร่วมในการชุมนุมครั้ง คือ ความเดือดร้อนหลายสิบปีของชาวบ้านต้องได้รับการแก้ไข

เช้า ๖ พ.ค ๒๕๕๖ สมาชิกขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (Pmove) ทยอยเดินทางถึงกรุงเทพฯ โดยสมาชิกสหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ (สกน.) เดินทางถึงสถานีรถไฟหัวลาโพงเป็นกลุ่มแรก เครือข่ายชุมชนเพื่อการปฏิรูปสังคมและการเมือง (คปสม.) จากจังหวัดภูเก็ตและอุบลราชธานี เมื่อเดินทางมาถึงได้เคลื่อนกำลังไปยังบริเวณประตู ๕ หน้าทาเนียบรัฐบาล เพื่อยึดเป็นที่ชุมนุม ส่วนสมาชิก พี่น้อง Pmove จากเครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสาน (คปอ.) สมัชชาคนจนกรณีเขื่อนปากมูล (สคจ.) เดินทางมาสมทบกับสมาชิก สกน. ที่หัวลาโพง ทั้งหมดกาลังจะเดินทางไปสมทบกันที่บริเวณประตู ๕ หน้าทำเนียบรัฐบาล

ในการเคลื่อนกาลังเข้ายึดพื้นที่ชุมนุมในบริเวณดังกล่าวของ พี่น้อง Pmove หลังจากเริ่มกั้นแผงเหล็กปิดถนนบริเวณประตู ๕ และกาลังจะตั้งเวที ได้มีเจ้าหน้าที่ตารวจเข้ามาห้ามไม่ให้ตั้งเวทีชุมนุม เหตุเพราะไม่ได้รับเเจ้งหนังสือตอบรับการชุมนุม แต่หลังจากการเจรจานาน ๑ ชั่วโมง เจ้าหน้าที่ตารวจจึงให้ตั้งเวทีชุมนุมได้ แต่ให้ติดตั้งอุปกรณ์ขยายเสียงหลังเวลา ๐๘.๐๐ น. เนื่องจากจะมีขบวนเสด็จเวลา ๐๙.๐๐ น. พี่น้อง Pmove จึงช่วยกันเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ทั้งหมดไม่ให้มีสิ่งกีดขวางเพื่อรอรับเสด็จ

ส่วนพี่น้อง Pmove ที่กาลังจะออกเดินทางจากหัวลำโพง กาลังเจรจาต่อรองเพื่อให้เจ้าหน้าที่ตารวจกับการรถไฟจัดบริการรถสำหรับขนสัมภาระไปยังบริเวณหน้าทาเนียบ ส่วนสมาชิกที่มากันเป็นจานวนมากจะเดินเท้าไปสมทบกับ พี่น้อง Pmove ที่หน้าทำเนียบ เพราะเจ้าหน้าที่ไม่สามารถจัดรถบริการให้เพียงพอได้

ติดตามความเคลื่อนไหวการชุมนุมใหญ่ของ Pmove ได้ที่ Facebook ขบวนการประชาชน เพื่อสังคมที่เป็นธรรม

ที่มา: ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๖พ.ค.๕๖
วันที่โพสต์: 6/05/2556 เวลา 02:48:23 ดูภาพสไลด์โชว์ เคลื่อนขบวนสู่หน้าทำเนียบ Pmove จี้ ๒ ปี รัฐล้มเหลวแก้ปัญหาคนจน

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

กลุ่มสมาชิก ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.) People Movement For a Just Society (Pmove) ประชุมหน้าทำเนียบ วันที่ ๕ พ.ค. ๒๕๕๖ สมาชิก ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.) People Movement For a Just Society (Pmove) เครือข่ายสลัม ๔ ภาค สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ (สกน.) ขึ้นรถไฟที่สถานีรถไฟเชียงใหม่ อยู่ระหว่างเดินทางมายังสถานีรถไฟหัวลำโพง ส่วนสมาชิก Pmove ผู้ได้รับความเดือดร้อน อาทิ เครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสาน (คปอ.) สมัชชาคนจนกรณีเขื่อนปากมูล (สคจ.) เครือข่ายชุมชนเพื่อการปฏิรูปสังคมและการเมือง (คปสม.) เครือข่ายปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัด (คปบ.) สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ (สกต.) เครือข่ายเกษตรพันธสัญญา เครือข่ายสิทธิสถานะบุคคล และกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากโรงไฟฟ้าชีวมวล จ.อุบลราชธานี กำลังทยอยเดินทางจากพื้นที่ โดยสารรถไฟ รถประจำทาง รถบัส มีจุดนัดพบร่วมกันที่หน้าทำเนียบในเช้าวันที่ ๖ พ.ค. ๒๕๕๖ ขบวนรถบัสของกลุ่มสมาชิก ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.) People Movement For a Just Society (Pmove)ผู้เข้ามาร่วมชุมชนเปิดใจว่า การชุมนุมของผู้ได้รับความเดือดร้อนหน้าทำเนียบรัฐบาลตั้งแต่ วันที่ ๖ พ.ค. เป็นต้นไปนี้ มีจุดหมายเพื่อร้องทุกข์ต่อการแก้ปัญหาที่ล้มเหลวตลอดสองปีที่ผ่านของรัฐบาล ซึ่งเป็นปัญหาด้านนโยบายที่ไม่สำเร็จลุล่วง โดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบายโฉนดชุมชน ๕๓ พื้นที่ ที่ผ่านกระบวนการตรวจสอบ และผ่านความเห็นชอบของ คณะกรรมการประสานงานเพื่อจัดให้มีโฉนดชุมชน (ปจช.) ซึ่งแต่งตั้งโดยรัฐบาล แต่หน่วยงานราชการ ๕ กระทรวงหลักรวมทั้งกรุงเทพมหานคร ยังไม่ยอมอนุญาตให้ใช้พื้นที่ทำโฉนดชุมชน ส่วนปัญหาคดีความคนจน ปัญหาที่ดินชุมชนทับซ้อนกับที่รัฐ หรือปัญหาที่อยู่ที่ดินทำกินถูกเอกชนนำไปขอเอกสารสิทธิ์โดยมิชอบ ปัญหาคนไร้บ้าน ปัญหาชาวเล รวมถึง ปัญหาสัญชาติและชาติพันธุ์ ปัญหาผลกระทบจากเหมืองแร่ โรงไฟฟ้า และโรงโม่หิน ปัญหาผลกระทบจากการสร้างเขื่อนที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ซึ่งเป็นกรณีปัญหาทั้งหมดอยู่ในกระบวนการพิจารณา แก้ไขปัญหาและเยียวยาจากรัฐบาลทั้งหมดแล้ว แต่ความล่าช้าในการแก้ไขปัญหาของรัฐบาลทำให้สถานการณ์ในพื้นที่อยู่ในภาวะวิกฤต ชาวบ้านในหลายพื้นที่ถูกฟ้องร้อง ไล่รื้อ ติดคุก และถูกคุกคามด้วยความรุนแรงทุกรูปแบบ ขบวนรถบัสของกลุ่มสมาชิก ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.) People Movement For a Just Society (Pmove)แม้ที่ผ่านมารัฐบาลได้แต่งตั้งกรรมการ และอนุกรรมการหลายคณะ เพื่อศึกษาการแก้ปัญหาจนได้ข้อสรุปในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน แต่กลไกการแก้ปัญหาที่ประชาชนมีส่วนร่วมสร้างขึ้น รัฐบาลกลับไม่ดำเนินตาม ไม่สั่งการ ไม่สนใจ จนการแก้ปัญหาแทบทั้งหมดไม่มีความคืบหน้า นายดิเรก กองเงิน ชาวบ้านบ้านโป่ง หมู่ ๒ ตำบลแม่แฝก อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ กล่าวถึงกรณีพื้นที่พิพาทที่ดินทำกินระหว่างเกษตรกรใน จ.ลำพูน-เชียงใหม่ กับนายทุนและรัฐ หลังกลุ่มชาวบ้านที่ไม่มีที่ดินทำกินเข้าไปใช้ที่ดินซึ่งไม่ได้ใช้ประโยชน์ จากนั้นจึงถูกนายทุนใช้เอกสารสิทธิ์ แจ้งความดำเนินคดี จากนั้นกลุ่มชาวบ้านได้รวมตัวเจรจากับรัฐบาล และได้เสนอให้จัดตั้ง สถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน และโครงการนำร่องธนาคารที่ดิน ในพื้นที่ ๕ ชุมชนภาคเหนือ ได้แก่ บ้านไร่ดง หมู่ ๓ ตำบลน้ำดิบ อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน บ้านแม่อาว หมู่ ๓ ตำบลนครเจดีย์ อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน บ้านแพะใต้ หมู่ ๗ ตำบลหนองล่อง อำเภอเวียงหนองล่อง จังหวัดลำพูน บ้านท่ากอม่วง ตำบลหนองปลาสะวาย อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน และบ้านโป่ง หมู่ ๒ ตำบลแม่แฝก อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อกระจายการถือครองที่ดิน ให้สามารถจัดซื้อที่ดินให้แก่เกษตรกรรายย่อยไร้ที่ทำกิน ในกรอบงบประมาณ ๑๖๗ ล้านบาท ตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ๒๒ ก.พ.๒๕๕๔ และ ๘ มี.ค.๒๕๕๔ ได้ และเร่งการร่างกฎหมายเกี่ยวกับจัดตั้งกองทุนธนาคารที่ดิน ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่งรัฐบาลรับปากจะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน ๒ ปี “๒ ปี ที่ผ่านมา สิ่งที่รัฐบาลประกาศนโยบายไว้ รับปากกับชาวบ้านไว้กลับไม่มีการสั่งให้ดำเนินการ รวมถึงยังพยายามหลีกเลี่ยงที่จะนัดประชุมเพื่อสอบสาเหตุ อธิบายปัญหา ส่วนในพื้นที่ที่เคยเจรจาจะซื้อที่กับคู่กรณีไว้ เจ้าของที่ยอมตกลงจะขายที่ดินให้ และชะลอการฟ้องดำเนินคดีไว้ก่อน ถ้าได้งบประมาณมาจากโครงการธนาคารที่ดินมาซื้อ แต่ตอนนี้เจ้าของที่ยื่นฟ้องชาวบ้านแล้ว วันที่ ๙ พ.ค. นี้ต้องไปรับทราบข้อกล่าวหาที่อัยการ ถ้าชาวบ้านไม่มีญาติซึ่งมีตำแหน่งราชการก็ไม่สามารถประกันตัว ต้องติดคุกไม่รู้เมื่อไหร่ถึงจะประกันตัวได้” นายดิเรก พูด กลุ่มสมาชิก ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.) People Movement For a Just Society (Pmove) ประชุมหน้าทำเนียบ สำหรับการเดินทางมาร่วมชุมนุมในครั้งนี้ นายดิเรก กล่าวว่า “แม้จะไม่มีความหวัง ท้อแท้กับความพยายามที่กี่ครั้งๆ รัฐบาลรับปากแต่ไม่ยอมทำ ทำแต่นโยบายของตัวเอง ไม่สนใจการมีส่วนร่วมของประชาชน แต่ก็เป็นหนทางเดียวที่จะให้ปัญหาได้รับการแก้ไข คือต้องมาเจรจากับรัฐบาล ด้วยอำนาจของนายกรัฐมนตรีต้องสั่งการให้ปัญหาคลี่คลายไปได้” นายดิเรก พูด ด้านผู้ได้รับความเดือดร้อนจากเขื่อนปากมูนที่ผ่านการเจรจาอย่างต่อเนื่องกับรัฐบาลมาหลายครั้ง ในที่สุด ๒๓ มกราคม ๒๕๕๖ สามารถบรรลุข้อตกลง ๓ ข้อกับรัฐบาล ประกอบด้วย ๑.ยกเลิกมติ ครม.เมื่อวันที่ ๓ พ.ค.๒๕๕๔ ในสมัยรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ ที่ให้สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ทำการศึกษาเพิ่มเติม ๒.ให้ยกเลิก คณะกรรมการฯ อนุกรรมการ และคณะทำงาน ที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาเขื่อนปากมูล ที่มีอยู่ทั้งหมด และ ๓.ให้คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการเพื่อแก้ไขปัญหาเขื่อนปากมูลขึ้นมา ๑ คณะ ที่มีอำนาจเต็ม เพื่อเป็นกลไกหลักในการแก้ไขปัญหาองค์รวม นางสมปอง เวียงจันทร์ แกนนำสมัชชาคนจน หนึ่งในกรรมการแก้ปัญหาเขื่อนปากมูล กล่าวถึงการมาร่วมชุมนุมในครั้งนี้ว่า ข้อตกลงในครั้งนั้นกับรัฐบาล รัฐบาลรับปากจะนำเรื่องเข้า ค.ร.ม.ในเดือนมีนาคม ที่ผ่านมา มาถึงปัจจุบันยังไม่มีการดำเนินการ นางสมปอง กล่าวว่า “เรารอมานานแล้วเพื่อให้รัฐบาลแก้ปัญหา ๑๓ นายก ๑๖ รัฐบาล แต่รัฐบาลนี้ก็ไม่แตกต่างเหมือนกันหมด เราไม่ได้อยากมาชุมนุม แต่มันตกลงกันไม่ได้ เรื่องการแก้ปัญหาปากมูนไม่เข้า ค.ร.ม. เราก็ต้องรวมพลังกันเพื่อต่อรองเท่านั้นถึงจะเจราจาต่อรองปัญหาได้ เพื่อผลักดันการแก้ปัญหาปากมูนเข้า ค.ร.ม. ให้ได้” ทั้งนี้ การชุมนุมของผู้เดือนร้อนจาก ๔ ภาคของประเทศ ภายใต้ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม Pmove หน้าทำเนียบรัฐบาล ผู้เดือดร้อนทั้งหมดได้เตรียมพร้อมมาเพื่อยืนยันจะปักหลักรอคำตอบจากรัฐบาลให้ถึงที่สุด ๕ พ.ค. ๒๕๕๖ สายอีสาน สมัชชาคนจนกรณีเขื่อนปากมูล (สคจ.) ร่วมพันคน รวมพลเคลื่อนขบวนขึ้นรถไฟมุ่งหน้าทำเนียบรัฐบาล เพื่อร่วมชุมนุมในวันที่ ๖ พ.ค.๕๖ จี้! รัฐบาลล้มเหลวแก้ปัญหาคนจน ถามปัญหาเขื่อนปากมูล ผ่าน ๑๓ นายก ๑๖ รัฐบาล จะสำเร็จได้ในรัฐบาลปูที่รับปากแก้ปัญหาให้ชาวบ้านได้หรือไม่? แม้จะมีอุปสรรคต้องเจราจากับนายสถานีรถไฟเพื่อขึ้นรถไฟฟรี ตามนโยบายรถไฟฟรีเพื่อช่วยเหลือคนไทย และถูกคุมเข้มจากเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยในพื้นที่ แต่ชาวบ้านก็สามารถเจรจาขึ้นรถไฟได้สำเร็จ ในระหว่างรอขึ้นขบวนรถไฟและทุกช่วงของการเดินทาง ยังได้แจกใบปลิว เพื่ออธิบายสถานการณ์ปัญหาความเดือดร้อนจากเขื่อนปากมูล เพื่อทำความเข้าใจกับผู้ที่สัญจรไปมาและสังคม จุดมุ่งหมายของขบวนที่มาร่วมในการชุมนุมครั้ง คือ ความเดือดร้อนหลายสิบปีของชาวบ้านต้องได้รับการแก้ไข เช้า ๖ พ.ค ๒๕๕๖ สมาชิกขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (Pmove) ทยอยเดินทางถึงกรุงเทพฯ โดยสมาชิกสหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ (สกน.) เดินทางถึงสถานีรถไฟหัวลาโพงเป็นกลุ่มแรก เครือข่ายชุมชนเพื่อการปฏิรูปสังคมและการเมือง (คปสม.) จากจังหวัดภูเก็ตและอุบลราชธานี เมื่อเดินทางมาถึงได้เคลื่อนกำลังไปยังบริเวณประตู ๕ หน้าทาเนียบรัฐบาล เพื่อยึดเป็นที่ชุมนุม ส่วนสมาชิก พี่น้อง Pmove จากเครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสาน (คปอ.) สมัชชาคนจนกรณีเขื่อนปากมูล (สคจ.) เดินทางมาสมทบกับสมาชิก สกน. ที่หัวลาโพง ทั้งหมดกาลังจะเดินทางไปสมทบกันที่บริเวณประตู ๕ หน้าทำเนียบรัฐบาล ในการเคลื่อนกาลังเข้ายึดพื้นที่ชุมนุมในบริเวณดังกล่าวของ พี่น้อง Pmove หลังจากเริ่มกั้นแผงเหล็กปิดถนนบริเวณประตู ๕ และกาลังจะตั้งเวที ได้มีเจ้าหน้าที่ตารวจเข้ามาห้ามไม่ให้ตั้งเวทีชุมนุม

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...