มก.-ญี่ปุ่นสร้างชุมชนต้นแบบนครปฐมดูแลสุขภาพ-สวัสดิการเพื่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ

แสดงความคิดเห็น

รศ.ดร.สมบัติ ชิณะวงศ์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน กล่าวถึงโครงการสร้างชุมชนต้นแบบด้านการดูแลสุขภาพและสวัสดิการเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ จ.นครปฐม ว่า โครงการดังกล่าวได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากรัฐบาลญี่ปุ่นซึ่งได้มอบทุน จำนวน 3,498,200 บาท แก่คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์(มก.) ตามที่ได้เล็งเห็นถึงความจำเป็นในการสร้างชุมชนต้นแบบด้านการดูแลสุขภาพและ สวัสดิการเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจ.นครปฐม ด้วยแนวคิดใช้การแพทย์ผสมผสานมาเป็นตัวขับเคลื่อน เน้นการรักษาสุขภาพและโรคต่างๆ ด้วยการสร้างความเชื่อมโยงกันทั้งด้านร่างกาย จิตใจ ภาวะแวดล้อม การใช้ชีวิตวิถีชาวบ้าน เข้ากับองค์ความรู้และเทคโนโลยีทางการแพทย์เพื่อทำให้ผู้สูงอายุสามารถดูแลตนเองตลอดจนมีสุขภาพที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน

รอง อธิการบดี มก. กล่าวว่า คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์มีความเชี่ยวชาญด้านการศึกษาและพัฒนา ทำหน้าที่บริหารโครงการฯ กำหนดแนวทางจัดการเรียนและสร้างองค์ความรู้ในแต่ละตำบล โดยร่วมกับสมาคมการแพทย์ผสมผสานไทยและองค์การต่างๆ ในจ.นครปฐม ได้แก่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(ร.พ.สต.) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชมรมผู้สูงอายุ อสม. เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนโครงการนี้ให้เป็นรูปธรรมในพื้นที่เป้าหมาย 7 ตำบล คือ ร.พ.สต.ดอนยายหอม อ.เมืองนครปฐม ร.พ.สต.ยายชา อ.สามพราน ร.พ.ห้วยพลู อ.นครชัยศรี ร.พ.สต.คลองนกกระทุง อ.บางเลน ร.พ.สต.วังน้ำเขียว อ.กำแพงแสนร.พ.สต.ห้วยด้วนอ.ดอนตูมและร.พ.สต.คลองโยงอ.พุทธมณฑล

รอง อธิการบดี มก. กล่าวว่า โครงการมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการจัดการคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ โดยอาศัยการมีส่วนร่วมจากคนในชุมชน ผ่านกระบวนการสร้างองค์ความรู้ ส่งเสริมผู้สูงอายุให้มีความเข้าใจในการดูแลสุขภาพและอยู่อย่างมีความสุขใน ภาวะสังคมปัจจุบัน สร้างศักยภาพให้แก่บุตรหลานและอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุในการดูแลเอาใจใส่ ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุได้อย่างเหมาะสม จัดให้มีแหล่งเรียนรู้และกองทุนสวัสดิการช่วยเหลือผู้สูงอายุและอาสาสมัคร ดูแลผู้สูงอายุประจำตำบล คาดว่าผลที่จะได้รับ ผู้สูงอายุในพื้นที่ 7 ตำบล ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 มีคุณภาพชีวิตทางด้านสุขภาพดีขึ้น บุตรหลานและอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุมีความรู้เบื้องต้นในการดูแลผู้สูงอายุ อย่างถูกต้องและเหมาะสม มีกองทุนสวัสดิการช่วยเหลือผู้สูงอายุที่ยากไร้ในชุมชน มีศูนย์ข้อมูลการดูแลสุขภาพและสวัสดิการผู้สูงอายุในชุมชน การช่วยเหลือซึ่งกันและกันภายในชุมชนในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ และมีการถ่ายทอดภูมิปัญญาในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุไปสู่คนรุ่นหลังต่อไป

ขอบคุณ... http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROeVlXb3dNVEU1TURNMU5nPT0=&sectionid=TURNek1RPT0=&day=TWpBeE15MHdNeTB4T1E9PQ== (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: ข่าวสดออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 19 มี.ค.56
วันที่โพสต์: 21/03/2556 เวลา 02:54:58

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

รศ.ดร.สมบัติ ชิณะวงศ์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน กล่าวถึงโครงการสร้างชุมชนต้นแบบด้านการดูแลสุขภาพและสวัสดิการเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ จ.นครปฐม ว่า โครงการดังกล่าวได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากรัฐบาลญี่ปุ่นซึ่งได้มอบทุน จำนวน 3,498,200 บาท แก่คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์(มก.) ตามที่ได้เล็งเห็นถึงความจำเป็นในการสร้างชุมชนต้นแบบด้านการดูแลสุขภาพและ สวัสดิการเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจ.นครปฐม ด้วยแนวคิดใช้การแพทย์ผสมผสานมาเป็นตัวขับเคลื่อน เน้นการรักษาสุขภาพและโรคต่างๆ ด้วยการสร้างความเชื่อมโยงกันทั้งด้านร่างกาย จิตใจ ภาวะแวดล้อม การใช้ชีวิตวิถีชาวบ้าน เข้ากับองค์ความรู้และเทคโนโลยีทางการแพทย์เพื่อทำให้ผู้สูงอายุสามารถดูแลตนเองตลอดจนมีสุขภาพที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน รอง อธิการบดี มก. กล่าวว่า คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์มีความเชี่ยวชาญด้านการศึกษาและพัฒนา ทำหน้าที่บริหารโครงการฯ กำหนดแนวทางจัดการเรียนและสร้างองค์ความรู้ในแต่ละตำบล โดยร่วมกับสมาคมการแพทย์ผสมผสานไทยและองค์การต่างๆ ในจ.นครปฐม ได้แก่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(ร.พ.สต.) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชมรมผู้สูงอายุ อสม. เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนโครงการนี้ให้เป็นรูปธรรมในพื้นที่เป้าหมาย 7 ตำบล คือ ร.พ.สต.ดอนยายหอม อ.เมืองนครปฐม ร.พ.สต.ยายชา อ.สามพราน ร.พ.ห้วยพลู อ.นครชัยศรี ร.พ.สต.คลองนกกระทุง อ.บางเลน ร.พ.สต.วังน้ำเขียว อ.กำแพงแสนร.พ.สต.ห้วยด้วนอ.ดอนตูมและร.พ.สต.คลองโยงอ.พุทธมณฑล รอง อธิการบดี มก. กล่าวว่า โครงการมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการจัดการคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ โดยอาศัยการมีส่วนร่วมจากคนในชุมชน ผ่านกระบวนการสร้างองค์ความรู้ ส่งเสริมผู้สูงอายุให้มีความเข้าใจในการดูแลสุขภาพและอยู่อย่างมีความสุขใน ภาวะสังคมปัจจุบัน สร้างศักยภาพให้แก่บุตรหลานและอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุในการดูแลเอาใจใส่ ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุได้อย่างเหมาะสม จัดให้มีแหล่งเรียนรู้และกองทุนสวัสดิการช่วยเหลือผู้สูงอายุและอาสาสมัคร ดูแลผู้สูงอายุประจำตำบล คาดว่าผลที่จะได้รับ ผู้สูงอายุในพื้นที่ 7 ตำบล ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 มีคุณภาพชีวิตทางด้านสุขภาพดีขึ้น บุตรหลานและอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุมีความรู้เบื้องต้นในการดูแลผู้สูงอายุ อย่างถูกต้องและเหมาะสม มีกองทุนสวัสดิการช่วยเหลือผู้สูงอายุที่ยากไร้ในชุมชน มีศูนย์ข้อมูลการดูแลสุขภาพและสวัสดิการผู้สูงอายุในชุมชน การช่วยเหลือซึ่งกันและกันภายในชุมชนในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ และมีการถ่ายทอดภูมิปัญญาในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุไปสู่คนรุ่นหลังต่อไป ขอบคุณ... http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROeVlXb3dNVEU1TURNMU5nPT0=§ionid=TURNek1RPT0=&day=TWpBeE15MHdNeTB4T1E9PQ==

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...