'มิตรภาพบำบัด'จากเพื่อนสู่เพื่อนผู้พิการ

แสดงความคิดเห็น

นายโยทัย  ภูกาสอน ผู้พิการอัมพาตท่อนล่าง อายุ ๕๑ ปี มนุษย์ทุกคนล้วนเกิดมาอยากสมบูรณ์พร้อม แต่เมื่อต้องกลายเป็น “ผู้พิการ” ก็ไม่ใช่อุปสรรคใหญ่ในการดำรงชีวิต เพียงแต่ต้องปรับสภาพจิตใจให้อยู่กับร่างกายที่ไม่สมบูรณ์ให้ได้ ท้อแท้ หมดกำลังได้ แต่ต้องไม่หมดศรัทธาในการมีชีวิตอยู่ทั้งเพื่อตนเองและผู้อื่น เพื่อให้ผู้พิการได้สามารถดำรงชีวิตอยู่ด้วยคุณภาพชีวิตที่ดีนั้น หลายหน่วยงานได้ให้ความสำคัญกับการดูแลผู้พิการ หนึ่งในนั้นคือสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ที่ขยายขอบข่ายการให้บริการฟื้นฟูสมรรถภาพเพิ่มเติมจากเดิมให้เฉพาะผู้พิการ มาเป็นครอบคลุมถึงผู้สูงอายุ และผู้ป่วยที่จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูหลังการเจ็บป่วยเฉียบพลัน ด้วยการสนับสนุนงบประมาณบริการเพื่อให้กลุ่มผู้พิการเข้าถึงบริการฟื้นฟูและบริการที่จำเป็นได้อย่างครอบคลุม ทั้งในการฟื้นฟูสภาพ การรับเครื่องช่วยของคนพิการ รวมทั้งจัดงบประมาณสนับสนุนให้หน่วยบริการ องค์กรคนพิการได้นำมาพัฒนาเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน สร้างกระบวนการพัฒนาที่มีส่วนร่วมของภาคีในพื้นที่

หลังจากต้องกลายเป็นผู้พิการจากอุบัติเหตุ โยทัย ภูกาสอน ผู้พิการอัมพาตท่อนล่าง อายุ ๕๑ ปี บ้านเลขที่ ๑๔๔ หมู่ ๙ บ้านหนองอิเฒ่า ต.ยางตลาด อ.ยางตลาด จ.กาฬสินธุ์ อดีตเป็นนายช่างโยธา โครงการพัฒนาป่าดงใหญ่ อ.เดชอุดม อ.นาจะหลวย อ.อุบลราชธานี ซึ่งเป็นโครงการร่วมระหว่าง สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) ของไทยกับประเทศออสเตรเลีย ที่ปัจจุบันรับจ้างเขียนแบบ และรับเหมาก่อสร้างในพื้นที่ และยังเป็นหนึ่งในผู้มีจิตอาสาช่วยดูแลเพื่อนผู้พิการแบบ “มิตรภาพบำบัด” เพราะไม่มีใครจะรู้ใจคนพิการเท่ากับคนพิการด้วยกันเองอีกแล้ว

ชีวิต โยทัย พลิกผัน ขณะที่อาชีพนายช่างโยธากำลังรุ่งเรือง ได้เงินเดือนไม่น้อย มีชีวิตที่สุขสบาย เมื่อประสบอุบัติเหตุรถยนต์ เมื่อวันที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๓๕ หลังกลับจากประชุมร่วมกับชาวบ้านในพื้นที่ ผลจากอุบัติเหตุครั้งนั้นทำให้กระดูกช่วงอกที่ ๑๑-๑๒ หัก จนกลายเป็นอัมพาตครึ่งช่วงล่าง จากที่เคยเดินเหินได้ ต้องมานั่งรถเข็นแทน ช่วง ๓ ปีแรกไม่เคยออกจากบ้านไปไหนเลย เฝ้าแต่คิดคำนึงถึงความหลังครั้งยังรุ่งโรจน์ กว่าจะมองไปข้างหน้าได้ก็เสียเวลาไปถึง ๓ ปี

“หลังจากเกิดอุบัติเหตุ ก็ไม่มีกำลังใจที่จะทำอะไรอย่างอื่น ได้แต่เฝ้าครวญคิดถึงความโชคร้ายของตัวเอง ที่ต้องมาพิการเสียตั้งแต่ยังหนุ่มแน่น หน้าที่การงานกำลังก้าวหน้า กลับต้องมานั่งบนรถเข็น พอคิดได้ก็มองไปข้างหน้า เราเป็นคนมีสติปัญญา ทำไมจะต้องมานั่งจมกับความทุกข์ ทำไมไม่เอาสติปัญญาที่มีไปช่วยคนอื่น จากนั้นจึงได้ออกไปให้กำลังใจกับผู้พิการในพื้นที่ เพราะเข้าใจว่าในช่วงแรกๆ ที่พิการ ไม่มีใครทำใจยอมรับได้เร็วนัก แต่หากมีเพื่อนที่เคยประสบปัญหาเดียวกันไปช่วยพูดช่วยคุย ให้กำลังใจ ก็จะช่วยได้มากขึ้น” โยทัย เล่า ดังนั้นเมื่อมีผู้พิการรายใหม่ โดยเฉพาะที่เกิดจากอุบัติเหตุไม่ว่าจะในพื้นที่ อ.ยางตลาด หรือใกล้เคียงเขาจะออกไปให้กำลังผู้พิการรายใหม่ พร้อมกับทีมสหวิชาชีพของโรงพยาบาลยางตลาด ติดตามเยี่ยมให้กำลังใจถึงบ้าน หากผู้พิการคนใดพร้อมที่จะทำงานก็จะช่วยหาสถานที่ทำงานให้ พาไปสมัครงานให้พร้อม ใช้ความรู้เชิงช่างได้ประดิษฐ์นวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อแก้ปัญหาให้ผู้พิการด้วยกัน เพราะเวลานั่งรถเข็นนานๆ ก็จะเกิดแผลกดทับ จึงคิดทำ “หมอนมีรู” ซึ่งเป็นหมอนที่ทำจากผ้ามีรูตรงกลางคล้ายโดนัท เพื่อเอามาทำเป็นเบาะนั่งรถเข็น ทำให้นั่งสบายขึ้น และไม่มีแผลกดทับ เป็นนวัตกรรมง่ายๆ ที่ทำขึ้นจากความลำบากของตัวเอง เขาจะเอาหมอนมีรู ประมาณ ๒๐ อัน ไปแจกจ่ายให้ผู้สนใจ เพื่อนำไปใช้กับผู้พิการโดยไม่มีหวง แถมสอนวิธีทำให้ด้วยหมอนมีรูนั้น ทำได้ง่ายๆ จากเศษผ้า ที่มาจากกลุ่มเย็บที่นอนในหมู่บ้าน เมื่อได้ผ้ามาแล้วบางครั้งช่างเย็บผ้าในหมู่บ้านมีเวลาก็จะเย็บหมอนให้ หากช่างไม่มีเวลาทำให้ โยทัย ก็จะลงมือทำเอง และยังได้ประดิษฐ์ตาข่ายรองเบาะนั่ง เพื่อชะลอการพังของรถเข็นอีกด้วย

นอกจากจะทำตัวเป็นจิตอาสาให้กำลังใจกับเพื่อนผู้พิการแบบเพื่อนช่วยเพื่อนแล้ว เขายังช่วยให้เพื่อนผู้พิการได้ฝึกอาชีพ และมีงานทำเพื่อเลี้ยงตัวเอง ...ไม่ได้ช่วยแค่ที่ต.หนองอิเฒ่า แต่ขยายออกไปถึงจังหวัดข้างเคียง ด้วยความร่วมมือจากองค์การบริหารส่วนตำบลยางตลาด และโรงพยาบาลยางตลาดที่สนับสนุนการทำงานทุกอย่างเท่าที่จะช่วยได้ ด้วยความมีจิตอาสา และเข้ามาทำงานแบบเพื่อนช่วยเพื่อน เป็น “มิตรภาพบำบัด” ที่เข้าใจในหัวอกของเพื่อนผู้พิการที่มีความทุกข์ทั้งกายและใจ ได้เห็นคุณค่าของตัวเองและอยู่ร่วมกับคนในครอบครัว ขยายออกไปถึงในสังคมได้อย่างปกติสุข มีอาชีพที่สามารถเลี้ยงตัวเองและครอบครัวได้ เท่านี้ก็คุ้มค่าที่ได้ทำดีแล้ว (คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๙ ก.พ.๕๖)

ที่มา: คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๙ ก.พ.๕๖
วันที่โพสต์: 27/02/2556 เวลา 06:38:12 ดูภาพสไลด์โชว์ 'มิตรภาพบำบัด'จากเพื่อนสู่เพื่อนผู้พิการ

ชอบเรื่องนี้ไหม? ชอบ ไม่ชอบ ไม่มีความเห็น

สถิติความสนใจ

ชอบ: 1 คน (100%)

ไม่ชอบ: 0 คน (0%)

ไม่มีความเห็น: 0 คน (0%)

จำนวนคนโหวตทั้งหมด: 1 คน (100%)

1 คนแถวนี้ 9/02/2556 05:18:23

เป็นโครงการที่ดีมากๆ ครับ

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

นายโยทัย ภูกาสอน ผู้พิการอัมพาตท่อนล่าง อายุ ๕๑ ปี มนุษย์ทุกคนล้วนเกิดมาอยากสมบูรณ์พร้อม แต่เมื่อต้องกลายเป็น “ผู้พิการ” ก็ไม่ใช่อุปสรรคใหญ่ในการดำรงชีวิต เพียงแต่ต้องปรับสภาพจิตใจให้อยู่กับร่างกายที่ไม่สมบูรณ์ให้ได้ ท้อแท้ หมดกำลังได้ แต่ต้องไม่หมดศรัทธาในการมีชีวิตอยู่ทั้งเพื่อตนเองและผู้อื่น เพื่อให้ผู้พิการได้สามารถดำรงชีวิตอยู่ด้วยคุณภาพชีวิตที่ดีนั้น หลายหน่วยงานได้ให้ความสำคัญกับการดูแลผู้พิการ หนึ่งในนั้นคือสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ที่ขยายขอบข่ายการให้บริการฟื้นฟูสมรรถภาพเพิ่มเติมจากเดิมให้เฉพาะผู้พิการ มาเป็นครอบคลุมถึงผู้สูงอายุ และผู้ป่วยที่จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูหลังการเจ็บป่วยเฉียบพลัน ด้วยการสนับสนุนงบประมาณบริการเพื่อให้กลุ่มผู้พิการเข้าถึงบริการฟื้นฟูและบริการที่จำเป็นได้อย่างครอบคลุม ทั้งในการฟื้นฟูสภาพ การรับเครื่องช่วยของคนพิการ รวมทั้งจัดงบประมาณสนับสนุนให้หน่วยบริการ องค์กรคนพิการได้นำมาพัฒนาเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน สร้างกระบวนการพัฒนาที่มีส่วนร่วมของภาคีในพื้นที่ หลังจากต้องกลายเป็นผู้พิการจากอุบัติเหตุ โยทัย ภูกาสอน ผู้พิการอัมพาตท่อนล่าง อายุ ๕๑ ปี บ้านเลขที่ ๑๔๔ หมู่ ๙ บ้านหนองอิเฒ่า ต.ยางตลาด อ.ยางตลาด จ.กาฬสินธุ์ อดีตเป็นนายช่างโยธา โครงการพัฒนาป่าดงใหญ่ อ.เดชอุดม อ.นาจะหลวย อ.อุบลราชธานี ซึ่งเป็นโครงการร่วมระหว่าง สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) ของไทยกับประเทศออสเตรเลีย ที่ปัจจุบันรับจ้างเขียนแบบ และรับเหมาก่อสร้างในพื้นที่ และยังเป็นหนึ่งในผู้มีจิตอาสาช่วยดูแลเพื่อนผู้พิการแบบ “มิตรภาพบำบัด” เพราะไม่มีใครจะรู้ใจคนพิการเท่ากับคนพิการด้วยกันเองอีกแล้ว ชีวิต โยทัย พลิกผัน ขณะที่อาชีพนายช่างโยธากำลังรุ่งเรือง ได้เงินเดือนไม่น้อย มีชีวิตที่สุขสบาย เมื่อประสบอุบัติเหตุรถยนต์ เมื่อวันที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๓๕ หลังกลับจากประชุมร่วมกับชาวบ้านในพื้นที่ ผลจากอุบัติเหตุครั้งนั้นทำให้กระดูกช่วงอกที่ ๑๑-๑๒ หัก จนกลายเป็นอัมพาตครึ่งช่วงล่าง จากที่เคยเดินเหินได้ ต้องมานั่งรถเข็นแทน ช่วง ๓ ปีแรกไม่เคยออกจากบ้านไปไหนเลย เฝ้าแต่คิดคำนึงถึงความหลังครั้งยังรุ่งโรจน์ กว่าจะมองไปข้างหน้าได้ก็เสียเวลาไปถึง ๓ ปี “หลังจากเกิดอุบัติเหตุ ก็ไม่มีกำลังใจที่จะทำอะไรอย่างอื่น ได้แต่เฝ้าครวญคิดถึงความโชคร้ายของตัวเอง ที่ต้องมาพิการเสียตั้งแต่ยังหนุ่มแน่น หน้าที่การงานกำลังก้าวหน้า กลับต้องมานั่งบนรถเข็น พอคิดได้ก็มองไปข้างหน้า เราเป็นคนมีสติปัญญา ทำไมจะต้องมานั่งจมกับความทุกข์ ทำไมไม่เอาสติปัญญาที่มีไปช่วยคนอื่น จากนั้นจึงได้ออกไปให้กำลังใจกับผู้พิการในพื้นที่ เพราะเข้าใจว่าในช่วงแรกๆ ที่พิการ ไม่มีใครทำใจยอมรับได้เร็วนัก แต่หากมีเพื่อนที่เคยประสบปัญหาเดียวกันไปช่วยพูดช่วยคุย ให้กำลังใจ ก็จะช่วยได้มากขึ้น” โยทัย เล่า ดังนั้นเมื่อมีผู้พิการรายใหม่ โดยเฉพาะที่เกิดจากอุบัติเหตุไม่ว่าจะในพื้นที่ อ.ยางตลาด หรือใกล้เคียงเขาจะออกไปให้กำลังผู้พิการรายใหม่ พร้อมกับทีมสหวิชาชีพของโรงพยาบาลยางตลาด ติดตามเยี่ยมให้กำลังใจถึงบ้าน หากผู้พิการคนใดพร้อมที่จะทำงานก็จะช่วยหาสถานที่ทำงานให้ พาไปสมัครงานให้พร้อม ใช้ความรู้เชิงช่างได้ประดิษฐ์นวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อแก้ปัญหาให้ผู้พิการด้วยกัน เพราะเวลานั่งรถเข็นนานๆ ก็จะเกิดแผลกดทับ จึงคิดทำ “หมอนมีรู” ซึ่งเป็นหมอนที่ทำจากผ้ามีรูตรงกลางคล้ายโดนัท เพื่อเอามาทำเป็นเบาะนั่งรถเข็น ทำให้นั่งสบายขึ้น และไม่มีแผลกดทับ เป็นนวัตกรรมง่ายๆ ที่ทำขึ้นจากความลำบากของตัวเอง เขาจะเอาหมอนมีรู ประมาณ ๒๐ อัน ไปแจกจ่ายให้ผู้สนใจ เพื่อนำไปใช้กับผู้พิการโดยไม่มีหวง แถมสอนวิธีทำให้ด้วยหมอนมีรูนั้น ทำได้ง่ายๆ จากเศษผ้า ที่มาจากกลุ่มเย็บที่นอนในหมู่บ้าน เมื่อได้ผ้ามาแล้วบางครั้งช่างเย็บผ้าในหมู่บ้านมีเวลาก็จะเย็บหมอนให้ หากช่างไม่มีเวลาทำให้ โยทัย ก็จะลงมือทำเอง และยังได้ประดิษฐ์ตาข่ายรองเบาะนั่ง เพื่อชะลอการพังของรถเข็นอีกด้วย นอกจากจะทำตัวเป็นจิตอาสาให้กำลังใจกับเพื่อนผู้พิการแบบเพื่อนช่วยเพื่อนแล้ว เขายังช่วยให้เพื่อนผู้พิการได้ฝึกอาชีพ และมีงานทำเพื่อเลี้ยงตัวเอง ...ไม่ได้ช่วยแค่ที่ต.หนองอิเฒ่า แต่ขยายออกไปถึงจังหวัดข้างเคียง ด้วยความร่วมมือจากองค์การบริหารส่วนตำบลยางตลาด และโรงพยาบาลยางตลาดที่สนับสนุนการทำงานทุกอย่างเท่าที่จะช่วยได้ ด้วยความมีจิตอาสา และเข้ามาทำงานแบบเพื่อนช่วยเพื่อน เป็น “มิตรภาพบำบัด” ที่เข้าใจในหัวอกของเพื่อนผู้พิการที่มีความทุกข์ทั้งกายและใจ ได้เห็นคุณค่าของตัวเองและอยู่ร่วมกับคนในครอบครัว ขยายออกไปถึงในสังคมได้อย่างปกติสุข มีอาชีพที่สามารถเลี้ยงตัวเองและครอบครัวได้ เท่านี้ก็คุ้มค่าที่ได้ทำดีแล้ว (คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๙ ก.พ.๕๖)

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...