ใบขับขี่ "คนหูหนวก" สะท้อนสิทธิ "คนพิการ” เข้าไม่ถึง เพราะความกลัว หรือ...?

แสดงความคิดเห็น

ภาพที่1 ภาษามือ ภาพที่2 สภาพการจราจรบนท้องถนนที่คนปกติจะต้องใช้ร่วมกับคนพิการทางหู  และภาพที่3 ตำรวจจราจรผู้คุมกฎกติกาบนท้องถนน นอกเหนือจากการขับรถที่ผู้ขับขี่ต้องปฎิบัติตามกฎจราจร

การขับขี่ยานพาหนะบนท้องถนนแยกไม่ได้ว่ามีคนตาบอดหรือคนปกติใช้ถนนร่วมกันด้วยหรือไม่ นี่คือคำถามที่ค้างคาใจของใครหลายคน ! เพราะ แม้กฎหมายของกรมการขนส่งทางบกจะให้สิทธิคนพิการในการอนุญาตให้ทำใบขับขี่รถ ยนต์และรถจักรยานยนต์ เพื่อเปิดโอกาสให้คนเหล่านี้สามารถใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้เหมือนกับคนปกติ ทั่วไป

แต่ในข้อเท็จจริงจะมีคนพิการสักกี่คนที่ตระหนักในสิทธิตามกฎหมายที่ตนพึงควรได้ โดยเฉพาะผู้พิการทางหู หรือที่เรียกกันว่า "คนหูหนวก" มี ข้อมูลจากฐานทะเบียนกลางคนพิการ สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ(พก.) ระบุว่า ประเทศไทยมีผู้พิการทางหู จำนวน 196,272 คน จำนวนนี้มีเพียง 4,330 คนเท่านั้น ที่สามารถฝ่าด่านเข้าไปสอบใบขับขี่จนได้รับใบอนุญาตขับรถจากกรมการขนส่งทาง บก หรือคิดเป็นร้อยละ 2.204 ขณะบางส่วนที่เหลืออีกถึงร้อยละ 97.796 ยังไม่พบข้อมูลว่าพวกเขาได้รับสิทธิ์เช่นเดียวกับคนปกติโดยทั่วไปหรือไม่

คนหูหนวกเปิดใจผ่านล่าม "กลัว”ปมปัญหาเข้าไม่ถึงสิทธิ "จิราวรรณ เหล่าสมบัติ" ครูพี่เลี้ยงศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 9 จ.ขอนแก่น วัย 52 ปี ลักษณะภายนอกเฉกคนปกติทั่วไป แต่ความจริงแล้ว “ครูจิราวรรณ” เป็นผู้บกพร่องทางการได้ยินหรือหูหนวกมาแต่กำเนิด และถือเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของคนหูหนวกที่ประสบปัญหาที่เกือบเข้าไม่ถึง สิทธิการทำใบขับขี่ เพราะความไม่รู้และความกลัว ในตลอดระยะเวลากว่า 20 ปีที่เธอต้องอาศัยความชำนาญในการขับขี่รถจักรยานยนต์ในชีวิตประจำวันหลบ เลี่ยงตำรวจจราจรตามเส้นทางทางถนนด้วยเหตุเพราะไม่มีใบขับขี่เหมือนกับ เพื่อนคนหูหนวกอีกหลายคน

"วรพล ธุลีจันทร์" หรือ "ครูโต้ง" ครูประจำศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 9 จังหวัดขอนแก่น ในฐานะล่ามภาษามือ อธิบายถึงสิ่งที่ครูจิราวรรณพยายามสื่อสารว่า ตำรวจขอนแก่นตั้งด่านตรวจถี่มาก ดังนั้นเวลาเดินทางจึงต้องคอยขับขี่หลบเลี่ยง และหากถ้าหลบไม่พ้นก็จะถูกเรียกขอดูใบขับขี่

ครู จิรวรรณ บอกว่า ทุกครั้งที่จำเป็นต้องขับรถได้พยายามแสดงตัวให้ตำรวจจราจรทราบว่า เป็นคนหูหนวก ตำรวจก็จะปล่อยไป แต่ตำรวจบางนายก็จะซักถามขับรถไปไหน มีใบขับขี่หรือไม่ พอสื่อสารกันไม่ได้ก็ปล่อยๆ ไป เป็นอย่างนี้หลายครั้ง จึงรู้สึกกลัวตำรวจจราจร เพราะถูกเรียกตรวจบ่อยๆ แต่ตอนนั้นยังไม่รู้ว่าคนหูหนวกสามารถไปทำใบขับขี่ได้ ก็จะคอยขับรถหลีกเลี่ยงเส้นทางเพื่อหนีตำรวจตลอดเวลา”ครูโต้ง ถ่ายทอดคำบอกเล่าจากภาษามือ

เธอยังเล่าอีกว่า ต่อมาปี 2549 เธอประสบอุบัติเหตุถูกเฉี่ยวชน และเมื่อกลับจากทำแผลที่โรงพยาบาล จึงเดินทางไปสถานีตำรวจ แต่ทราบจากเจ้าหน้าที่ตำรวจว่าไม่สามารถจับกุมผู้ที่ขับรถจักรยานยนต์ชนเธอ ได้เพราะคนหลบขับหนีไปแล้ว โดยช่วงนั้นทั้งบาดเจ็บจากบาดแผลและยังรู้สึกตกใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ประกอบกับถูกตำรวจสอบถามรายละเอียดเหตุการณ์เพิ่มเติมโดยไม่มีล่าม จึงเห็นว่าการสื่อสารยุ่งยากมากและ ที่สำคัญเธอไม่มีใบขับขี่ จึงได้รับคำแนะนำให้แล้วๆ กันไป

“ตอนนั้นฉันรู้สึกเหมือนถูกซ้ำเติมจากเจ้าหน้าที่ด้วยถึงการไม่ได้รับความช่วยเหลือ แต่เหตุการณ์ครั้งนั้นก็กลายเป็นชนวนเหตุที่ทำให้เพื่อนครูซึ่งเป็นคนปกติ ได้ช่วยหาข้อมูล และทำให้ทราบว่าคนหูหนวกไปทำใบขับขี่ได้เหมือนกับคนปกติ เพื่อนครูเลยแนะนำให้ลองไปทำดู”ครูโต้งถอดคำบอกเล่าของครูจิราวรรณผ่านภาษา มือ

ฝ่าด่านสอบใบขับขี่ความเพียรไม่สูญเปล่าของผู้พิการทางหู ครู จิราวรรณ บอกว่า กว่าจะได้รับอนุญาตให้ไปทำใบขับขี่รถยนต์เธอต้องเดินทางไปติดต่อขอเอกสารและ หลักฐานจากโรงพยาบาล และที่สำนักงานกรมการขนส่ง รวมเกือบ 10 ครั้ง กว่าจะสอบผ่านได้ใบขับขี่ เนื่องจากที่สถานีขนส่งฯและโรงพยาบาลไม่มีเจ้าหน้าที่ที่เป็นล่ามให้กับคน พิการ ดังนั้นการสื่อสารจึงเป็นไปด้วยความยากลำบาก โดยเฉพาะที่โรงพยาบาลของรัฐกว่าจะได้ใบรับรองแพทย์ก็ต้องเสียเวลาเกือบทั้ง วันเพราะเจ้าหน้าที่ไม่เข้าใจภาษามือ

“ฉัน ต้องใช้วิธีพิมพ์ข้อความบนโทรศัพท์มือถือ ส่งให้พยาบาล ให้หมอ แล้วก็เขียนบนกระดาษตลอด เขียนไปเขียนมาหลายรอบ แต่ภาษาเขียนของคนหูหนวกกับภาษาของคนปกติ มีความแตกต่างกันอีก เพราะภาษาคนปกติมีถ้อยคำที่ให้รายละเอียดมากกว่า เมื่ออยากถามรายละเอียดมากขึ้นก็จะไม่สามารถสื่อสารกันได้”ครูจิราวรรณ บอกถึงอุปสรรคในการสื่อสารกับคนปกติ

นอกจากปัญหาดังกล่าวข้างต้นแล้วเธอยังบอกผ่านล่ามอีกว่า หลังจากฝ่าด่านแรกได้ก็ต้องพบกับด่านการสอบข้อเขียนซึ่งยากมาก แม้จะอ่านข้อสอบเข้าใจ แต่ไม่สามารถเขียนตอบเป็นภาษาปกติได้ ทำให้สอบหลายรอบแต่กระนั้นก็ไม่ล้มเลิกความพยายาม และได้เดินทางเข้า-ออกขนส่งจังหวัดเพื่อสอบใบขับขี่ประมาณ 10 ครั้ง จึงสอบข้อเขียนผ่าน แล้วไปฝ่าด่านไปสอบภาคปฏิบัติซึ่งสอบเพียงครั้งเดียวก็ผ่าน เนื่องจากขับขี่รถเป็นประจำทุกวันอยู่แล้ว

ครู จิราวรรณ ถือเป็น 1 ในจำนวนคนหูหนวกในกลุ่มร้อยละ 2.204 ของคนหูหนวกทั่วประเทศที่มีใบขับขี่ และถือเป็นเพียง 1 ใน 25 คน ของคนหูหนวกในจังหวัดขอนแก่น ที่สามารถเข้าถึงสิทธินี้โดยนี้ ประสบความสำเร็จในการฝ่าด่านสอบใบขับขี่ได้เมื่อปี 2549

คนหูหนวกขอนแก่นมีใบขับขี่แค่ 25 คนจาก 6 พันคน นับจากปี 2541 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบันมีข้อมูลทะเบียนกลางคนพิการของพก.จังหวัดขอนแก่น จำนวนนับพันคน แต่เฉพาะผู้พิการหูหนวกมีถึง 6,090 คน แต่จำนวนนี้เมื่อตรวจสอบข้อมูลสถิติการดำเนินการออกใบอนุญาตขับรถของกรมการ ขนส่งทางบก ปรากฏข้อมูลสถิติการขนส่ง กองแผนงาน กรมการขนส่งทางบกระบุว่า ตั้งแต่ปีงบ ประมาณ 2544 มาจนถึงวันที่ 31 พ.ค. 2555 ตรวจสอบพบสถิติคนพิการหูหนวกจังหวัดขอนแก่นเข้าสอบได้รับใบขับขี่แล้วเพียง 25 คนเท่านั้น

แหล่งข่าวจากกรมการขนส่งจังหวัดขอนแก่น เปิดเผยถึงสาเหตุที่ทำให้ผู้พิการทางหูขาดไม่ได้รับการดูแลในเรื่องการสอบใบ อนุญาตว่า การควบคุมการสอบคนหูหนวกยากกว่าคนปกติ เนื่องจากปัญหาด้านการสื่อสาร และหากผู้สอบไม่มีญาติหรือล่ามภาษามือมาด้วยจะทำให้ความยากในการสอบเพิ่ม ขึ้นเป็นสองเท่า

อย่างไรก็ตามการดำเนินการสอบต้องเป็นไปตามระเบียบของกรมการขนส่งทางบก ที่ระบุว่าคนพิการกับคนปกติมีสิทธิเท่าเทียมกัน คือ คนหูหนวกในฐานะผู้ขอรับใบอนุญาตขับขี่หรือผู้ขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องเข้า รับการอบรมความรู้เกี่ยวกับการจราจร ต้องผ่านการทดสอบสมรรถภาพทางร่างกาย ทดสอบภาคทฤษฎี(ข้อเขียน) และทดสอบภาคปฏิบัติ(ขับรถ)

“ผู้พิการจะมีระเบียบปฏิบัติมากกว่าคนปกติ คือ ต้องขับรถให้กรรมการดูทุกครั้งเมื่อมีการต่ออายุใบอนุญาตขับขี่เพื่อเป็นการ ตรวจสอบสมรรถภาพการขับขี่แต่ไม่ต้องสอบข้อเขียน ซึ่งเป็นกฎระเบียบสำหรับคนพิการโดยเฉพาะของกรมการขนส่งทางบกที่ต้องการให้ เกิดความปลอดภัยกับผู้ขับขี่ และผู้พิการต้องมีใบรับรองแพทย์เฉพาะทางจากโรงพยาบาลของรัฐเท่านั้นมาประกอบ การขอใบอนุญาตขับขี่ รวมทั้งในการขอต่ออายุใบอนุญาตเช่นกัน”แหล่งข่าวจากกรมการขนส่งเมืองขอนแก่นกล่าว

เจ้าหน้าที่คนดัง กล่าวยังแนะอีกว่า คนหูหนวกที่เดินทางมาทดสอบหากไม่สามารถสื่อสารด้วยวาจาและอ่านหนังสือไม่ได้ ควรหาล่ามภาษามือมาด้วยตนเอง เพื่อช่วยแปลข้อสอบแล้วให้ผู้เข้ารับการทดสอบตอบโดยทำเครื่องหมายลงในกระดาษคำตอบ เพื่อให้ผู้ทำการทดสอบบันทึกในกระดาษคำตอบว่า “สอบโดยใช้ล่ามภาษามือ” พร้อมลงนามกำกับไว้เป็นหลักฐาน

สำหรับ รถจักรยานยนต์หรือรถยนต์ที่คนหูหนวกใช้ขับ ต้องมีความเหมาะสมกับสภาพร่างกาย และได้จดทะเบียนผ่านการตรวจสภาพจากนายทะเบียนตามกฎหมายแล้วจึงอนุญาตให้ยื่น คำขอได้ ซึ่งต้องติดเครื่องหมายตราสัญลักษณ์คนพิการตามประเภทความพิการของตนเองที่ตัวรถให้คนทั่วไปและตำรวจสังเกต เห็น เพื่อสร้างความระมัด ระวังทั้งคนขับที่หูหนวกและบุคคลอื่นที่ใช้รถใช้ถนนเพื่อความปลอดภัยด้วย เช่นกัน

จนท.ขนส่งฯวอนเห็นใจ”ปลอดภัย” ต้องมาก่อน “สะดวก” กนก สิริพานิชกร ขนส่งจังหวัดขอนแก่น ระบุว่ากฎหมายเปิดช่องให้คนพิการหลายประเภท รวมถึงคนหูหนวกให้สามารถทำใบขับขี่ได้ ส่วนข้อสงสัยว่าสาเหตุใดที่กรมการขนส่งทางบกฯต้องบังคับคนหูหนวกให้ใช้ใบ รับรองแพทย์จากโรงพยาบาลของรัฐเท่านั้น และปัญหาข้อนี้อาจทำให้คนหูหนวกรู้สึกเป็นความยุ่งยากและทำให้เกิดความ รู้สึกไม่เท่าเทียมกับคนปกตินั้น

กนก ชี้แจงว่าในระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับใบอนุญาต ขับรถตามกฎหมาย ว่าด้วยรถยนต์สำหรับคนพิการ พ.ศ. 2541 ระบุผู้พิการต้องมีใบรับรองแพทย์ที่ระบุประเภทความพิการชัดเจน ซึ่งใบรับรองแพทย์ต้องแสดงว่าผู้ขอใบอนุญาตขับขี่ไม่มีโรคประจำตัวอันอาจ เป็นอันตรายขณะขับรถ

“คนหูหนวกมองเป็นเรื่องยุ่งยาก ซึ่งเราเข้าใจว่าเพราะการสื่อสารที่ยากลำบาก คนหูหนวกจำเป็นต้องมีล่าม ต้องไปติดต่อโรงพยาบาลทำให้รู้สึกว่ามีอุปสรรคเยอะ จนทำให้รู้สึกว่าทำไมต้องยุ่งยากมากกว่าผู้อื่นนั้น อยากให้เข้าใจตรงกันว่า เพราะคนหูหนวกเป็นผู้พิการและมีข้อจำกัดทางการได้ยิน ซึ่งในทางกฎหมายกรมการขนส่งฯเองย่อมจำเป็นต้องใช้การรับรองทางการแพทย์ที่ ออกโดยสถานพยาบาลของรัฐที่เชื่อถือได้เท่านั้น เพราะใบรับรองแพทย์ต้องนำมาใช้อ้างอิงการอนุญาตให้คนหูหนวกสามารถขับขี่ยาน พาหนะได้เหมือนคนปกติทั่วไป “เจ้าหน้าที่กรมการขนส่งเมืองขอนแก่น ชี้แจง และ อธิบายต่อว่า

ก่อนหน้านี้มีผู้พิการทางหูเดินทางไปขอใบรับรองแพทย์เพื่อนำมายื่นขอทำใบขับขี่ฯ แต่แพทย์ปฏิเสธที่จะออกใบรับรองให้ ผู้พิการฯจึงไปขอจากคลินิกเนื่องจากสะดวกและทำได้ง่ายกว่า แต่เมื่อนำมาแล้วทางขนส่งไม่รับต้องกลับไปทำใหม่ จึงอยากชี้แจงว่าให้คนพิการเข้าใจว่า ใบรับรองแพทย์ถือว่าเป็นใบเบิกทางสำคัญในการทำใบขับขี่ ดังนั้นเอกสารรับรองทางการแพทย์จึงต้องมีความน่าเชื่อถือได้อย่างมาก และไม่อาจอนุญาตให้ใช้ใบรับรองจากคลินิกทั่วไปได้

กนก กล่าวว่า ทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกันก็จริงแต่ต้องปฏิบัติตามกรอบกฎหมาย เพราะสิทธิคนหนึ่งอาจไปกระทบสิทธิของคนอื่น หากมีอุบัติเหตุเกิดขึ้น สังคมอาจตั้งคำถามว่าคนหูหนวกไม่ได้ยินเสียง แล้วจะมีข้อผิดพลาดอันเกิดจากการไม่ได้ยินจนทำให้เกิดปัญหาการขับขี่รถยนต์ หรือรถจักรยานยนต์หรือไม่ ซึ่งคนขับรถเป็นไม่ใช่คนที่จะถูกเสมอไป ต้องอยู่ที่ความถูกต้องของกฎจราจร การดำเนินการอย่างเชื่อถือได้ ก็น่าจะเป็นเป็นสิ่งที่ดีที่สุดกับทุกคน ซึ่งถือเป็นการดูแลสังคมให้มีความปลอดภัยร่วมกัน ไม่ใช่เอาความสะดวกเป็นที่ตั้ง

“สิ่งที่น่ากังวลในขณะนี้ก็คือ คนที่ขับรถได้ซึ่งเป็นคนหูหนวก คงไม่ได้มีเพียงเท่าตัวเลขผู้ทำใบขับขี่ไปแล้ว แต่ยังมีคนหูหนวกที่ใช้ยวดยานพาหนะบนท้องถนนที่ไม่มีใบขับขี่ ซึ่งเราไม่ทราบตัวเลขชัดเจนว่า คนจำนวนนั้นขาดการเข้าถึงสิทธินี้อีกจำนวนเท่าใด หัวใจสำคัญของปัญหานี้ ไม่ได้มีเฉพาะคนหูหนวกเท่านั้นที่ต้องใช้รถใช้ถนนร่วมกันกับคนปกติ ดังนั้นการที่คนหูหนวกเข้าถึงสิทธินี้ในจำนวนน้อยจึงเป็นปัญหาที่น่าเป็นห่วง”กนกให้ข้อคิด

การเข้าถึงสิทธิในการทำใบขับขี่ของคนพิการทางหูในเขต จ.ขอนแก่น น่าจะเป็นมุมสะท้อนเล็กๆให้เห็นถึงปัญหาใหญ่ระดับประเทศที่เกิดขึ้นซึ่งควร ได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน และถือเป็นประเด็นสาธารณะที่ไม่ได้เป็นเรื่องของกลุ่มคนเพียงกลุ่มหนึ่งอีก ต่อไปเพราะไม่ว่า จะเป็นคนพิการหรือคนปกติทุกชีวิตต่างก็ต้องใช้ถนนบนเส้นทางเดียวกัน

ขอบคุณ... http://goo.gl/bL9Zm (ขนาดไฟล์: 0 )

isranewsออนไลน์ /มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 16 ก.พ.2556

ที่มา: isranewsออนไลน์ /มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 16 ก.พ.2556
วันที่โพสต์: 27/02/2556 เวลา 06:29:29 ดูภาพสไลด์โชว์ ใบขับขี่ "คนหูหนวก" สะท้อนสิทธิ "คนพิการ” เข้าไม่ถึง เพราะความกลัว หรือ...?

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ภาพที่1 ภาษามือ ภาพที่2 สภาพการจราจรบนท้องถนนที่คนปกติจะต้องใช้ร่วมกับคนพิการทางหู และภาพที่3 ตำรวจจราจรผู้คุมกฎกติกาบนท้องถนน นอกเหนือจากการขับรถที่ผู้ขับขี่ต้องปฎิบัติตามกฎจราจร การขับขี่ยานพาหนะบนท้องถนนแยกไม่ได้ว่ามีคนตาบอดหรือคนปกติใช้ถนนร่วมกันด้วยหรือไม่ นี่คือคำถามที่ค้างคาใจของใครหลายคน ! เพราะ แม้กฎหมายของกรมการขนส่งทางบกจะให้สิทธิคนพิการในการอนุญาตให้ทำใบขับขี่รถ ยนต์และรถจักรยานยนต์ เพื่อเปิดโอกาสให้คนเหล่านี้สามารถใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้เหมือนกับคนปกติ ทั่วไป แต่ในข้อเท็จจริงจะมีคนพิการสักกี่คนที่ตระหนักในสิทธิตามกฎหมายที่ตนพึงควรได้ โดยเฉพาะผู้พิการทางหู หรือที่เรียกกันว่า "คนหูหนวก" มี ข้อมูลจากฐานทะเบียนกลางคนพิการ สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ(พก.) ระบุว่า ประเทศไทยมีผู้พิการทางหู จำนวน 196,272 คน จำนวนนี้มีเพียง 4,330 คนเท่านั้น ที่สามารถฝ่าด่านเข้าไปสอบใบขับขี่จนได้รับใบอนุญาตขับรถจากกรมการขนส่งทาง บก หรือคิดเป็นร้อยละ 2.204 ขณะบางส่วนที่เหลืออีกถึงร้อยละ 97.796 ยังไม่พบข้อมูลว่าพวกเขาได้รับสิทธิ์เช่นเดียวกับคนปกติโดยทั่วไปหรือไม่ คนหูหนวกเปิดใจผ่านล่าม "กลัว”ปมปัญหาเข้าไม่ถึงสิทธิ "จิราวรรณ เหล่าสมบัติ" ครูพี่เลี้ยงศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 9 จ.ขอนแก่น วัย 52 ปี ลักษณะภายนอกเฉกคนปกติทั่วไป แต่ความจริงแล้ว “ครูจิราวรรณ” เป็นผู้บกพร่องทางการได้ยินหรือหูหนวกมาแต่กำเนิด และถือเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของคนหูหนวกที่ประสบปัญหาที่เกือบเข้าไม่ถึง สิทธิการทำใบขับขี่ เพราะความไม่รู้และความกลัว ในตลอดระยะเวลากว่า 20 ปีที่เธอต้องอาศัยความชำนาญในการขับขี่รถจักรยานยนต์ในชีวิตประจำวันหลบ เลี่ยงตำรวจจราจรตามเส้นทางทางถนนด้วยเหตุเพราะไม่มีใบขับขี่เหมือนกับ เพื่อนคนหูหนวกอีกหลายคน "วรพล ธุลีจันทร์" หรือ "ครูโต้ง" ครูประจำศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 9 จังหวัดขอนแก่น ในฐานะล่ามภาษามือ อธิบายถึงสิ่งที่ครูจิราวรรณพยายามสื่อสารว่า ตำรวจขอนแก่นตั้งด่านตรวจถี่มาก ดังนั้นเวลาเดินทางจึงต้องคอยขับขี่หลบเลี่ยง และหากถ้าหลบไม่พ้นก็จะถูกเรียกขอดูใบขับขี่ ครู จิรวรรณ บอกว่า ทุกครั้งที่จำเป็นต้องขับรถได้พยายามแสดงตัวให้ตำรวจจราจรทราบว่า เป็นคนหูหนวก ตำรวจก็จะปล่อยไป แต่ตำรวจบางนายก็จะซักถามขับรถไปไหน มีใบขับขี่หรือไม่ พอสื่อสารกันไม่ได้ก็ปล่อยๆ ไป เป็นอย่างนี้หลายครั้ง จึงรู้สึกกลัวตำรวจจราจร เพราะถูกเรียกตรวจบ่อยๆ แต่ตอนนั้นยังไม่รู้ว่าคนหูหนวกสามารถไปทำใบขับขี่ได้ ก็จะคอยขับรถหลีกเลี่ยงเส้นทางเพื่อหนีตำรวจตลอดเวลา”ครูโต้ง ถ่ายทอดคำบอกเล่าจากภาษามือ เธอยังเล่าอีกว่า ต่อมาปี 2549 เธอประสบอุบัติเหตุถูกเฉี่ยวชน และเมื่อกลับจากทำแผลที่โรงพยาบาล จึงเดินทางไปสถานีตำรวจ แต่ทราบจากเจ้าหน้าที่ตำรวจว่าไม่สามารถจับกุมผู้ที่ขับรถจักรยานยนต์ชนเธอ ได้เพราะคนหลบขับหนีไปแล้ว โดยช่วงนั้นทั้งบาดเจ็บจากบาดแผลและยังรู้สึกตกใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ประกอบกับถูกตำรวจสอบถามรายละเอียดเหตุการณ์เพิ่มเติมโดยไม่มีล่าม จึงเห็นว่าการสื่อสารยุ่งยากมากและ ที่สำคัญเธอไม่มีใบขับขี่ จึงได้รับคำแนะนำให้แล้วๆ กันไป “ตอนนั้นฉันรู้สึกเหมือนถูกซ้ำเติมจากเจ้าหน้าที่ด้วยถึงการไม่ได้รับความช่วยเหลือ แต่เหตุการณ์ครั้งนั้นก็กลายเป็นชนวนเหตุที่ทำให้เพื่อนครูซึ่งเป็นคนปกติ ได้ช่วยหาข้อมูล และทำให้ทราบว่าคนหูหนวกไปทำใบขับขี่ได้เหมือนกับคนปกติ เพื่อนครูเลยแนะนำให้ลองไปทำดู”ครูโต้งถอดคำบอกเล่าของครูจิราวรรณผ่านภาษา มือ ฝ่าด่านสอบใบขับขี่ความเพียรไม่สูญเปล่าของผู้พิการทางหู ครู จิราวรรณ บอกว่า กว่าจะได้รับอนุญาตให้ไปทำใบขับขี่รถยนต์เธอต้องเดินทางไปติดต่อขอเอกสารและ หลักฐานจากโรงพยาบาล และที่สำนักงานกรมการขนส่ง รวมเกือบ 10 ครั้ง กว่าจะสอบผ่านได้ใบขับขี่ เนื่องจากที่สถานีขนส่งฯและโรงพยาบาลไม่มีเจ้าหน้าที่ที่เป็นล่ามให้กับคน พิการ ดังนั้นการสื่อสารจึงเป็นไปด้วยความยากลำบาก โดยเฉพาะที่โรงพยาบาลของรัฐกว่าจะได้ใบรับรองแพทย์ก็ต้องเสียเวลาเกือบทั้ง วันเพราะเจ้าหน้าที่ไม่เข้าใจภาษามือ “ฉัน ต้องใช้วิธีพิมพ์ข้อความบนโทรศัพท์มือถือ ส่งให้พยาบาล ให้หมอ แล้วก็เขียนบนกระดาษตลอด เขียนไปเขียนมาหลายรอบ แต่ภาษาเขียนของคนหูหนวกกับภาษาของคนปกติ มีความแตกต่างกันอีก เพราะภาษาคนปกติมีถ้อยคำที่ให้รายละเอียดมากกว่า เมื่ออยากถามรายละเอียดมากขึ้นก็จะไม่สามารถสื่อสารกันได้”ครูจิราวรรณ บอกถึงอุปสรรคในการสื่อสารกับคนปกติ นอกจากปัญหาดังกล่าวข้างต้นแล้วเธอยังบอกผ่านล่ามอีกว่า หลังจากฝ่าด่านแรกได้ก็ต้องพบกับด่านการสอบข้อเขียนซึ่งยากมาก แม้จะอ่านข้อสอบเข้าใจ แต่ไม่สามารถเขียนตอบเป็นภาษาปกติได้ ทำให้สอบหลายรอบแต่กระนั้นก็ไม่ล้มเลิกความพยายาม และได้เดินทางเข้า-ออกขนส่งจังหวัดเพื่อสอบใบขับขี่ประมาณ 10 ครั้ง จึงสอบข้อเขียนผ่าน แล้วไปฝ่าด่านไปสอบภาคปฏิบัติซึ่งสอบเพียงครั้งเดียวก็ผ่าน เนื่องจากขับขี่รถเป็นประจำทุกวันอยู่แล้ว ครู จิราวรรณ ถือเป็น 1 ในจำนวนคนหูหนวกในกลุ่มร้อยละ 2.204 ของคนหูหนวกทั่วประเทศที่มีใบขับขี่ และถือเป็นเพียง 1 ใน 25 คน ของคนหูหนวกในจังหวัดขอนแก่น ที่สามารถเข้าถึงสิทธินี้โดยนี้ ประสบความสำเร็จในการฝ่าด่านสอบใบขับขี่ได้เมื่อปี 2549 คนหูหนวกขอนแก่นมีใบขับขี่แค่ 25 คนจาก 6 พันคน นับจากปี 2541 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบันมีข้อมูลทะเบียนกลางคนพิการของพก.จังหวัดขอนแก่น จำนวนนับพันคน แต่เฉพาะผู้พิการหูหนวกมีถึง 6,090 คน แต่จำนวนนี้เมื่อตรวจสอบข้อมูลสถิติการดำเนินการออกใบอนุญาตขับรถของกรมการ ขนส่งทางบก ปรากฏข้อมูลสถิติการขนส่ง กองแผนงาน กรมการขนส่งทางบกระบุว่า ตั้งแต่ปีงบ ประมาณ 2544 มาจนถึงวันที่ 31 พ.ค. 2555 ตรวจสอบพบสถิติคนพิการหูหนวกจังหวัดขอนแก่นเข้าสอบได้รับใบขับขี่แล้วเพียง 25 คนเท่านั้น แหล่งข่าวจากกรมการขนส่งจังหวัดขอนแก่น เปิดเผยถึงสาเหตุที่ทำให้ผู้พิการทางหูขาดไม่ได้รับการดูแลในเรื่องการสอบใบ อนุญาตว่า การควบคุมการสอบคนหูหนวกยากกว่าคนปกติ เนื่องจากปัญหาด้านการสื่อสาร และหากผู้สอบไม่มีญาติหรือล่ามภาษามือมาด้วยจะทำให้ความยากในการสอบเพิ่ม ขึ้นเป็นสองเท่า อย่างไรก็ตามการดำเนินการสอบต้องเป็นไปตามระเบียบของกรมการขนส่งทางบก ที่ระบุว่าคนพิการกับคนปกติมีสิทธิเท่าเทียมกัน คือ คนหูหนวกในฐานะผู้ขอรับใบอนุญาตขับขี่หรือผู้ขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องเข้า รับการอบรมความรู้เกี่ยวกับการจราจร ต้องผ่านการทดสอบสมรรถภาพทางร่างกาย ทดสอบภาคทฤษฎี(ข้อเขียน) และทดสอบภาคปฏิบัติ(ขับรถ) “ผู้พิการจะมีระเบียบปฏิบัติมากกว่าคนปกติ คือ ต้องขับรถให้กรรมการดูทุกครั้งเมื่อมีการต่ออายุใบอนุญาตขับขี่เพื่อเป็นการ ตรวจสอบสมรรถภาพการขับขี่แต่ไม่ต้องสอบข้อเขียน ซึ่งเป็นกฎระเบียบสำหรับคนพิการโดยเฉพาะของกรมการขนส่งทางบกที่ต้องการให้ เกิดความปลอดภัยกับผู้ขับขี่ และผู้พิการต้องมีใบรับรองแพทย์เฉพาะทางจากโรงพยาบาลของรัฐเท่านั้นมาประกอบ การขอใบอนุญาตขับขี่ รวมทั้งในการขอต่ออายุใบอนุญาตเช่นกัน”แหล่งข่าวจากกรมการขนส่งเมืองขอนแก่นกล่าว เจ้าหน้าที่คนดัง กล่าวยังแนะอีกว่า คนหูหนวกที่เดินทางมาทดสอบหากไม่สามารถสื่อสารด้วยวาจาและอ่านหนังสือไม่ได้ ควรหาล่ามภาษามือมาด้วยตนเอง เพื่อช่วยแปลข้อสอบแล้วให้ผู้เข้ารับการทดสอบตอบโดยทำเครื่องหมายลงในกระดาษคำตอบ เพื่อให้ผู้ทำการทดสอบบันทึกในกระดาษคำตอบว่า “สอบโดยใช้ล่ามภาษามือ” พร้อมลงนามกำกับไว้เป็นหลักฐาน สำหรับ รถจักรยานยนต์หรือรถยนต์ที่คนหูหนวกใช้ขับ ต้องมีความเหมาะสมกับสภาพร่างกาย และได้จดทะเบียนผ่านการตรวจสภาพจากนายทะเบียนตามกฎหมายแล้วจึงอนุญาตให้ยื่น คำขอได้ ซึ่งต้องติดเครื่องหมายตราสัญลักษณ์คนพิการตามประเภทความพิการของตนเองที่ตัวรถให้คนทั่วไปและตำรวจสังเกต เห็น เพื่อสร้างความระมัด ระวังทั้งคนขับที่หูหนวกและบุคคลอื่นที่ใช้รถใช้ถนนเพื่อความปลอดภัยด้วย เช่นกัน จนท.ขนส่งฯวอนเห็นใจ”ปลอดภัย” ต้องมาก่อน “สะดวก” กนก สิริพานิชกร ขนส่งจังหวัดขอนแก่น ระบุว่ากฎหมายเปิดช่องให้คนพิการหลายประเภท รวมถึงคนหูหนวกให้สามารถทำใบขับขี่ได้ ส่วนข้อสงสัยว่าสาเหตุใดที่กรมการขนส่งทางบกฯต้องบังคับคนหูหนวกให้ใช้ใบ รับรองแพทย์จากโรงพยาบาลของรัฐเท่านั้น และปัญหาข้อนี้อาจทำให้คนหูหนวกรู้สึกเป็นความยุ่งยากและทำให้เกิดความ

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...