ภาคสังคมจี้คนกรุงเทพฯสร้างการมีส่วนร่วม

แสดงความคิดเห็น

กลุ่ม ลุมพินี เครือข่ายภาคประชาสังคม  ขึ้นปราศรัยจัดเสวนา "ร่วมกำหนดอนาคต กทม."

ลุมพินี เครือข่ายภาคประชาสังคม อาทิ สมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย เครือข่ายนักธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม กลุ่มกรีน คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) จัดเสวนา "ร่วมกำหนดอนาคต กทม." มีผู้เสวนาประกอบด้วย นางรสนา โตสิตระกูล สว.กทม. นายปรีดา เตียสุวรรณ์ ที่ปรึกษาเครือข่ายนักธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม และนายขวัญสรวง อติโพธิ อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีผู้ร่วมรับฟังกว่าร้อยคน

นางรสนา กล่าวว่า คนกรุงเทพฯต้องออกมากำหนดวาระตัวเอง ระบอบการปกครองได้ให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง โดยการปกครองส่วนท้องถิ่นได้จำลองการปกครองระบบใหญ่ มีทั้งสภากทม. ผู้ว่าฯกทม. ซึ่งรัฐธรรมนูญกำหนดให้ประชาชนสามารถตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ แต่ในความจริงมีโอกาสน้อยมากที่ประชาชนจะกำหนดทิศทางของประเทศได้ เพราะจะหยุดแค่การเลือกตั้งเท่านั้น

โดยหลังจากเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.ประชาชนก็อยากคาดหวังว่าผู้ว่าฯกทม.จะเปลี่ยนแปลง แต่คนกรุงเทพฯสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมได้เช่นกัน อาทิ โครงการใหญ่ๆต้องถามประชาชนก่อน ไม่ใช่จะสร้างอะไรก็ได้ ซึ่งตนอยากเห็นการปกครองท้องถิ่นให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ไม่ใช่ให้ผู้ว่าฯกทม. สภากทม.ได้ตัดสินเองทุกอย่าง ซึ่งในโซเชียลมีเดียก็มีการรวมตัวกันเรียกร้องเพื่อบอกความต้องการของตัวเอง แต่เสียงตรงนี้ยังไม่ดัง เพราะเป็นสังคมเสมือนจริง แต่ถ้าระดับชุมชนแต่ละที่รวมตัวกันอย่างเข้มเข็งสามารถให้ผู้ว่าฯกทม.หันมาฟังได้ ทั้งเรื่องขยะ น้ำท่วม การจราจร เชื่อว่าจะแก้ปัญหาได้

" เพื่อต้องมีการทำประชามติ ถามความเห็นของคนกรุงเทพฯ เพื่อให้รู้สึกว่าเสียงของคนกรุงเทพฯมีความสำคัญ โดยให้ประชาชนตื่นตัวก่อนผู้ว่าฯกทม. อาทิ ย่านมักกะสัน จะมีการสร้างคอมเพล็กซ์ ก็บอกว่าเราต้องมีปอดในกรุงเทพฯ ไม่ใช่คอมเพล็กซ์ จึงต้องทำอย่างไรก็ได้ให้เสียงเราดังให้มากขึ้น ผู้ว่าฯกทม.ไม่ตื่นตัว ประชาชนต้องตื่นตัว ต้องให้พวกที่จะสมัครลงพื้นที่ 2 ปีเพื่อจะได้รู้ปัญหาชุมชนอย่างแท้จริง ไม่ใช่มาถึงไม่รู้จักหน้า มาถึงก็ตั้งป้ายโฆษณาแบบนี้" นางรสนา กล่าว

นายปรีดา กล่าวว่า นโยบายที่อยู่บนป้ายเห็นแต่การเสนอตัว หรือเป็นนโยบายเกร็ดๆ อาทิ ให้ขยะหายไป ให้กรุงเทพฯมีความสุข ให้คนกรุงงเทพฯไม่ว่างงาน แต่กลับไม่มีใครพูดเรื่องปรัชญาการบริหาร ถ้าปล่อยให้ผู้ว่าฯกทม.มาบริหาร โดยไม่ฟังประชาชนก็จะทำอะไรอย่างที่ต้องการได้ ประชาขนจึงต้องแสดงพลัง และความต้องการ โดยเฉพาะการเลือกตั้งวันที่ 3 มีนาคม ดังนั้นถ้ามีการส่งเสียง ในฐานะผู้บริหารกทม.ที่ต้องอุ้มเสียงเป็นหลัก เสียงเหล่านี้นักการเมืองต้องใส่ใจมากที่สุด มีนักการเมืองบอกเสียงที่มาเลือกตั้งคือเสียงสวรรค์ นักเลือกตั้งรู้อยู่แก่ใจ ถ้าประชาชนไม่แสดงหรือนั่งเฉยๆ นักการเมืองก็จะทำตามคนที่อยู่ใกล้มากที่สุด อาทิ นายทุน ทั้งนี้ การร่วมกำหนดอนาคตกทม. คือการกำหนดอนาคตตัวเราเอง

นายขวัญสรวง กล่าวว่า การเป็นมหานครต้องมีการบริหารจัดการ เพราะมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว ต้องมีความตื่นตัว วิชาการ และแผน เพื่อให้กรุงเทพฯเริ่มได้ อย่างเรื่องน้ำท่วมมีคนมาช่วยกันเอง ถ้ามีการจัดระบบ มีการสนับสนุนจะไปต่อ ต้องมีการคิดว่ากรุงเทพฯจะมุ่งไปทางไหนทั้งระดับชุมชน ถึงย่านสำคัญต่างๆ ตัวอย่าง เยาวราชกำลังมีรถไฟฟ้าที่จะเปลี่ยนชีวิต ทั้งนี้ อะไรที่ยังไม่มีต้องสร้าง ก็ต้องหาโจทย์เล็กๆให้ประชาชนได้ทำ หรือสถานีรถไฟฟ้าที่จะเกิดขึ้นต้องมีการวางแผนให้แต่ละพื้นที่ในการมีส่วนร่วมเช่นกัน จึงต้องให้กรุงเทพฯเปลี่ยนจากเมืองคนเป็นรถไฟฟ้าให้ได้ แต่ตนขอตัดพ้อ เพราะเชื่อว่าไม่มีใครพากรุงเทพฯไปสู่แสงสว่างได้ ดังนั้นถ้าใครมาแจกของขวัญจะเป็นเมืองอย่างนั้นอย่างนี้ ขออย่าไปเชื่อ

ขอบคุณhttp://goo.gl/jwTev (ขนาดไฟล์: 0 )

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 16 ก.พ.2556

ที่มา: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 16 ก.พ.2556
วันที่โพสต์: 17/02/2556 เวลา 03:42:19 ดูภาพสไลด์โชว์ ภาคสังคมจี้คนกรุงเทพฯสร้างการมีส่วนร่วม

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

กลุ่ม ลุมพินี เครือข่ายภาคประชาสังคม ขึ้นปราศรัยจัดเสวนา "ร่วมกำหนดอนาคต กทม."ลุมพินี เครือข่ายภาคประชาสังคม อาทิ สมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย เครือข่ายนักธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม กลุ่มกรีน คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) จัดเสวนา "ร่วมกำหนดอนาคต กทม." มีผู้เสวนาประกอบด้วย นางรสนา โตสิตระกูล สว.กทม. นายปรีดา เตียสุวรรณ์ ที่ปรึกษาเครือข่ายนักธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม และนายขวัญสรวง อติโพธิ อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีผู้ร่วมรับฟังกว่าร้อยคน นางรสนา กล่าวว่า คนกรุงเทพฯต้องออกมากำหนดวาระตัวเอง ระบอบการปกครองได้ให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง โดยการปกครองส่วนท้องถิ่นได้จำลองการปกครองระบบใหญ่ มีทั้งสภากทม. ผู้ว่าฯกทม. ซึ่งรัฐธรรมนูญกำหนดให้ประชาชนสามารถตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ แต่ในความจริงมีโอกาสน้อยมากที่ประชาชนจะกำหนดทิศทางของประเทศได้ เพราะจะหยุดแค่การเลือกตั้งเท่านั้น โดยหลังจากเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.ประชาชนก็อยากคาดหวังว่าผู้ว่าฯกทม.จะเปลี่ยนแปลง แต่คนกรุงเทพฯสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมได้เช่นกัน อาทิ โครงการใหญ่ๆต้องถามประชาชนก่อน ไม่ใช่จะสร้างอะไรก็ได้ ซึ่งตนอยากเห็นการปกครองท้องถิ่นให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ไม่ใช่ให้ผู้ว่าฯกทม. สภากทม.ได้ตัดสินเองทุกอย่าง ซึ่งในโซเชียลมีเดียก็มีการรวมตัวกันเรียกร้องเพื่อบอกความต้องการของตัวเอง แต่เสียงตรงนี้ยังไม่ดัง เพราะเป็นสังคมเสมือนจริง แต่ถ้าระดับชุมชนแต่ละที่รวมตัวกันอย่างเข้มเข็งสามารถให้ผู้ว่าฯกทม.หันมาฟังได้ ทั้งเรื่องขยะ น้ำท่วม การจราจร เชื่อว่าจะแก้ปัญหาได้ " เพื่อต้องมีการทำประชามติ ถามความเห็นของคนกรุงเทพฯ เพื่อให้รู้สึกว่าเสียงของคนกรุงเทพฯมีความสำคัญ โดยให้ประชาชนตื่นตัวก่อนผู้ว่าฯกทม. อาทิ ย่านมักกะสัน จะมีการสร้างคอมเพล็กซ์ ก็บอกว่าเราต้องมีปอดในกรุงเทพฯ ไม่ใช่คอมเพล็กซ์ จึงต้องทำอย่างไรก็ได้ให้เสียงเราดังให้มากขึ้น ผู้ว่าฯกทม.ไม่ตื่นตัว ประชาชนต้องตื่นตัว ต้องให้พวกที่จะสมัครลงพื้นที่ 2 ปีเพื่อจะได้รู้ปัญหาชุมชนอย่างแท้จริง ไม่ใช่มาถึงไม่รู้จักหน้า มาถึงก็ตั้งป้ายโฆษณาแบบนี้" นางรสนา กล่าว นายปรีดา กล่าวว่า นโยบายที่อยู่บนป้ายเห็นแต่การเสนอตัว หรือเป็นนโยบายเกร็ดๆ อาทิ ให้ขยะหายไป ให้กรุงเทพฯมีความสุข ให้คนกรุงงเทพฯไม่ว่างงาน แต่กลับไม่มีใครพูดเรื่องปรัชญาการบริหาร ถ้าปล่อยให้ผู้ว่าฯกทม.มาบริหาร โดยไม่ฟังประชาชนก็จะทำอะไรอย่างที่ต้องการได้ ประชาขนจึงต้องแสดงพลัง และความต้องการ โดยเฉพาะการเลือกตั้งวันที่ 3 มีนาคม ดังนั้นถ้ามีการส่งเสียง ในฐานะผู้บริหารกทม.ที่ต้องอุ้มเสียงเป็นหลัก เสียงเหล่านี้นักการเมืองต้องใส่ใจมากที่สุด มีนักการเมืองบอกเสียงที่มาเลือกตั้งคือเสียงสวรรค์ นักเลือกตั้งรู้อยู่แก่ใจ ถ้าประชาชนไม่แสดงหรือนั่งเฉยๆ นักการเมืองก็จะทำตามคนที่อยู่ใกล้มากที่สุด อาทิ นายทุน ทั้งนี้ การร่วมกำหนดอนาคตกทม. คือการกำหนดอนาคตตัวเราเอง นายขวัญสรวง กล่าวว่า การเป็นมหานครต้องมีการบริหารจัดการ เพราะมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว ต้องมีความตื่นตัว วิชาการ และแผน เพื่อให้กรุงเทพฯเริ่มได้ อย่างเรื่องน้ำท่วมมีคนมาช่วยกันเอง ถ้ามีการจัดระบบ มีการสนับสนุนจะไปต่อ ต้องมีการคิดว่ากรุงเทพฯจะมุ่งไปทางไหนทั้งระดับชุมชน ถึงย่านสำคัญต่างๆ ตัวอย่าง เยาวราชกำลังมีรถไฟฟ้าที่จะเปลี่ยนชีวิต ทั้งนี้ อะไรที่ยังไม่มีต้องสร้าง ก็ต้องหาโจทย์เล็กๆให้ประชาชนได้ทำ หรือสถานีรถไฟฟ้าที่จะเกิดขึ้นต้องมีการวางแผนให้แต่ละพื้นที่ในการมีส่วนร่วมเช่นกัน จึงต้องให้กรุงเทพฯเปลี่ยนจากเมืองคนเป็นรถไฟฟ้าให้ได้ แต่ตนขอตัดพ้อ เพราะเชื่อว่าไม่มีใครพากรุงเทพฯไปสู่แสงสว่างได้ ดังนั้นถ้าใครมาแจกของขวัญจะเป็นเมืองอย่างนั้นอย่างนี้ ขออย่าไปเชื่อ ขอบคุณ…http://goo.gl/jwTev กรุงเทพธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 16

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...