จุดประกาย : สิทธิคนพิการใน กทม.
เมืองหลวงที่สิทธิของทุกคนเท่าเทียมกัน คือเสียงเรียกร้องของกลุ่มผู้พิการที่ต้องใช้ชีวิตอยู่อย่างยากลำบาก เพราะสิ่งอำนวยความสะดวกที่มีอยู่ยังไม่เพียงพอ จึงอยากให้ผู้ว่าฯ กทม.แก้ไขปัญหาโดยไม่ลังเล นี่คือปัญหาเพียงส่วนเดียวแต่ใหญ่หลวงมากสำหรับผู้พิการที่ยังต้องไปไหนมาในเพียงลำพังในเมืองหลวง เขาบอกว่าลำพังความพิการที่มีมาแต่กำเนิดยังค่อยๆ ปรับตัวปรับใจได้ แต่การที่ต้องใช้ชีวิตกับสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อความพิการที่เกิดขึ้นเป็นปัญหาใหญ่ที่อยากให้ทุกฝ่ายใส่ใจ เพราะคนพิการก็คือมนุษย์ที่อาศัยอยู่ในสังคมเดียวกับทุกคนแต่ยากกว่าในการดำรงชีวิต
ขณะที่นายกสมาคมผู้พิการทางสายตา บอกว่าในต่างประเทศความพิการที่เกิดขึ้นแต่กำเนิดได้รับการยอมรับและส่งเสริมในทุกทิศทางต่างกับประเทศไทย ซึ่งคนพิการต้องเรียนรู้ที่จะเอาตัวรอดให้ได้ โดยเฉพาะในเมืองหลวงที่มีความซับซ้อนและสิ่งอำนวยความสะดวกไม่ว่าจะเป็นบริการขนส่ง ทางเท้า ทางลาด ระบบสุขา ไปจนถึงลานจอดรถและอัตราการจ้างงานผู้พิการ ที่ยังมีไม่เพียงพอ เขาบอกด้วยว่าที่ผ่านมาหลายหน่วยงานก็พยายามจะใส่ใจ แต่มาตรฐานที่เกิดขึ้นก็ขาดความต่อเนื่องทั้งการเพิ่มปริมาณ และการบำรุงรักษา ซ้ำบางจุดพื้นที่ที่เตรียมไว้สำหรับผู้พิการก็ถูกคนทั่วไปยึดครองจนทำให้สิ่งที่พอจะมีอยู่บ้างค่อยๆ หดหายไปในที่สุด ผู้พิการที่ต้องใช้ชีวิตอยู่ในเมืองหลวงที่ไม่อยากเป็นภาระของสังคมจึงอยากให้ผู้ว่าฯ กทม.มองปัญหาและแก้ไขอย่างจริงจัง ไม่ใช่ให้ความหวังแล้วปล่อยให้เงียบหายไปตามกาลเวลา
ขอบคุณ... http://goo.gl/FPHOS (ขนาดไฟล์: 0 )
ช่อง 7 สี ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 19 ก.พ.56
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
เมืองหลวงที่สิทธิของทุกคนเท่าเทียมกัน คือเสียงเรียกร้องของกลุ่มผู้พิการที่ต้องใช้ชีวิตอยู่อย่างยากลำบาก เพราะสิ่งอำนวยความสะดวกที่มีอยู่ยังไม่เพียงพอ จึงอยากให้ผู้ว่าฯ กทม.แก้ไขปัญหาโดยไม่ลังเล นี่คือปัญหาเพียงส่วนเดียวแต่ใหญ่หลวงมากสำหรับผู้พิการที่ยังต้องไปไหนมาในเพียงลำพังในเมืองหลวง เขาบอกว่าลำพังความพิการที่มีมาแต่กำเนิดยังค่อยๆ ปรับตัวปรับใจได้ แต่การที่ต้องใช้ชีวิตกับสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อความพิการที่เกิดขึ้นเป็นปัญหาใหญ่ที่อยากให้ทุกฝ่ายใส่ใจ เพราะคนพิการก็คือมนุษย์ที่อาศัยอยู่ในสังคมเดียวกับทุกคนแต่ยากกว่าในการดำรงชีวิต ขณะที่นายกสมาคมผู้พิการทางสายตา บอกว่าในต่างประเทศความพิการที่เกิดขึ้นแต่กำเนิดได้รับการยอมรับและส่งเสริมในทุกทิศทางต่างกับประเทศไทย ซึ่งคนพิการต้องเรียนรู้ที่จะเอาตัวรอดให้ได้ โดยเฉพาะในเมืองหลวงที่มีความซับซ้อนและสิ่งอำนวยความสะดวกไม่ว่าจะเป็นบริการขนส่ง ทางเท้า ทางลาด ระบบสุขา ไปจนถึงลานจอดรถและอัตราการจ้างงานผู้พิการ ที่ยังมีไม่เพียงพอ เขาบอกด้วยว่าที่ผ่านมาหลายหน่วยงานก็พยายามจะใส่ใจ แต่มาตรฐานที่เกิดขึ้นก็ขาดความต่อเนื่องทั้งการเพิ่มปริมาณ และการบำรุงรักษา ซ้ำบางจุดพื้นที่ที่เตรียมไว้สำหรับผู้พิการก็ถูกคนทั่วไปยึดครองจนทำให้สิ่งที่พอจะมีอยู่บ้างค่อยๆ หดหายไปในที่สุด ผู้พิการที่ต้องใช้ชีวิตอยู่ในเมืองหลวงที่ไม่อยากเป็นภาระของสังคมจึงอยากให้ผู้ว่าฯ กทม.มองปัญหาและแก้ไขอย่างจริงจัง ไม่ใช่ให้ความหวังแล้วปล่อยให้เงียบหายไปตามกาลเวลา ขอบคุณ... http://goo.gl/FPHOS ช่อง 7 สี ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 19 ก.พ.56
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)