วิถีพุทธนอกตำรา "เด็กปัญญา"ครูโต้ง

แสดงความคิดเห็น

ครูโต้ง และเด็กๆ คอลัมน์ : สดจากเยาวชน กว่า 3 ปี ที่ครูหนุ่ม โต้ง พรมกุล หรือ ครูโต้ง ของเด็กๆ ครูโรงเรียนฉะเชิงเทราปัญญานุกูล วัย 32 ปี เป็นตัวหลักสำคัญในการริเริ่มกิจกรรมโครงการวิถีชีวิตไตรสิกขา เด็กปัญญาทำได้ ที่พัฒนาแนวคิดสร้างการเรียนรู้ให้กับเด็กที่ผิดปกติด้านการเรียนรู้ตามแบบวิถีพุทธของเครือข่ายพุทธิกา

ครูโต้งมองว่า แม้เด็กพิการทางสติปัญญาจะมีอุปสรรคทางกายภาพ มีขีดจำกัดการเข้าถึงทักษะการเรียนรู้เมื่อเทียบกับเด็กปกติ หากแต่การพัฒนาวิธีคิด การสร้างความสุขที่มาจากการให้-การตั้งสติ และการบำเพ็ญประโยชน์แก่ส่วนรวมไม่มีอะไรที่นักเรียนของที่นี่จะทำไม่ได้

ด้วยเหตุนี้ครูโต้งและทีมจึงผสานองค์ความรู้ที่มี ออกแบบกิจกรรมและสร้างเครื่องมือ หวังให้กลุ่มนักเรียนเหล่านี้เข้าถึงการมีสุขภาวะในแบบที่ควรจะเป็น สามารถอยู่ในสังคมได้ นั่นหมายถึงการช่วยเหลือตนเองลดการพึ่งพิงจากผู้อื่นมีจิตใจที่สงบเยือกเย็นลง

การที่ครูหนุ่มคนนี้มุ่งมั่น ให้ความรู้กับเด็ก โดยให้ความสำคัญกับสติ เหมือนคำกล่าวที่ว่า "สติมา ปัญญามี" เป็นเพราะเขาร่ำเรียนมาทางนี้โดยตรง ครูโต้งเป็น ชาวอุดรธานี หลังจบชั้นป.6 มีโอกาสเข้าเรียนที่โรงเรียนพระปริยัติธรรม ประจำจังหวัดขอนแก่น เมื่อเรียนได้เปรียญธรรม 5 ประโยค และจบการศึกษา จึงมาศึกษาที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย สาขาวิชาสังคมสงเคราะห์ จนได้รับปริญญาพุทธศาสตรบัณฑิตแล้วไปทำงานด้านสังคมสงเคราะห์สังกัดกรุงเทพมหานคร1ปี

พอมีเปิดรับสมัครสอบครู เขามุ่งมั่นตั้งใจมาสมัคร เมื่อสอบติดก็ไปร่วมอบรมครูการศึกษาพิเศษ กระทั่งได้มาสอนที่โรงเรียนฉะเชิงเทราปัญญานุกูล "เมื่อเราเป็นครู เราก็อยากให้ลูกศิษย์เราได้รับสิ่งที่ดี" ครู โต้งบอก ดังนั้นเขาจึงคิดโครงการใหม่ๆ ในการสอนขึ้นมาหลายโครงการ บางโครงการก็ใช้ทุนจากภายนอก เช่น โครงการวิถีชีวิตไตรสิกขา เด็กปัญญาทำได้ เป็นส่วนหนึ่งในโครงการสุขแท้ด้วยปัญญาที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)สนับสนุน

"แนวคิดสุขแท้ด้วยปัญญานั้น เป็นการสร้างความสุขที่แท้จริง เพราะความสุขไม่จำเป็นต้องมาจากความพร้อมในทุกอย่าง หรือมั่งมีเงินทอง แต่เป็นการมีความสุขที่ผ่านการใช้สติปัญญา ทั้งการคิดถึงผู้อื่นมากกว่าตนเอง เชื่อมั่นในความเพียรพยายาม คิดอย่างมีเหตุผลและเป็นประโยชน์เกื้อกูล ไม่ยึดติดกับวัตถุ เราจึงเขียนใบสมัครเสนอโครงการไป และช่วยกันออกแบบกิจกรรม

อย่างเด็กคนไหนไม่นิ่งผมจับเขามาวิ่งก่อนเลย วิ่งบนเครื่องวิ่งเพื่อลดพลังงาน ลดความฟุ้งซ่านที่มากเกินไป จากนั้นอาจจะฝึกสมาธิด้วยการเดินหรือนั่งสักพัก เปิดเสียงคำสอนคลอเบาๆ ให้เขาได้พักผ่อนสติตัวเอง ฝึกนั่งสมาธิในวิธีการต่างๆ เพราะห้องธรรมานุบาลแท้จริงคือการสร้างแรงจูงใจให้เด็กนักเรียนเข้าถึงศาสนา ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบการใช้อุปกรณ์เครื่องมือ หรือในบรรยากาศที่เงียบ เย็นสบาย ที่ง่ายต่อการรับฟังหลักธรรมคำสอนดีกว่าบรรยากาศปกติ"

เด็กนักเรียนกำลังนั่งสมาธิและครูโต้ง พรมกุล หรือ ครูโต้ง กำลังนั่งสมาธิ ส่วนการบำเพ็ญประโยชน์นั้น ครูโต้งอธิบายว่า เริ่มจากการที่สังคมมักมองว่าโรงเรียนเด็กพิการคือ "แหล่งบุญ" ของคนปกติ ผลลัพธ์ในเรื่องนี้นอกจากความสบายใจของผู้ให้ และการร่วมแบ่งปันของคนในสังคมแล้ว ในมุมกลับได้สร้างลักษณะนิสัยที่ไม่ดีนักให้เด็กในโรงเรียน เกิดการเอาแต่รอคอยผู้มาบริจาค กินทิ้งกินขว้าง หนักเข้าถึงขนาดเอาแต่ใจและเอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง จึงเป็นที่มาของการหากิจกรรมให้เด็กในโรงเรียนออกไปช่วยสังคมในรูปแบบอาสาสมัครที่วัดในช่วงสุดสัปดาห์ คอยหยิบเท่าที่จะทำได้ ไล่ตั้งแต่การจัดรองเท้าล้างจานประเคนอาหารฯลฯรวมถึงการร่วมอาสาสร้างประโยชน์ในบ้านพักคนชรา

"ทำให้เขา รู้จักการให้บ้าง ขณะที่อีกมุมคือการให้ชุมชนยอมรับความสามารถของเด็กพิการเหล่านี้ อย่าลืมว่าเด็กนักเรียนของเรา เป็นเด็กจากพื้นที่อื่นที่ต้องมาเรียนในโรงเรียนพิเศษเพราะความบกพร่องทางกายภาพ แต่เด็กเหล่านี้ไม่มีความผูกพันกับคนในชุมชนเลย การแสดงถึงการยอมรับจากวัด จากพระ จากผู้อาวุโส ทำให้ชาวบ้านในชุมชนเห็นประโยชน์ของพวกเขา เปลี่ยนมุมมองว่าเด็กพิการทางปัญญาเหล่านี้มีคุณค่ามีศักยภาพมากกว่าจะรอคอยแต่ความสงสาร"ครูหนุ่มเฉลยหลักการที่ซ่อนจากกิจกรรม

ครูโต้งทิ้งท้ายว่า การร่วมกิจกรรมสุขแท้ฯ ทำให้เขาได้โอกาสลองทำอะไรใหม่ๆ เกิดความอยากพัฒนาในระดับต่อๆ ไป พร้อมกับส่งเสริม หาเครือข่ายนักพัฒนาผู้เชี่ยวชาญในด้านอื่นๆ มาร่วมแลกเปลี่ยนความรู้เพื่อนำไปประยุกต์กับงานของตัวเอง

ยิ่งไปกว่านั้น ผลของการทำงานช่วยยืนยันความเชื่อที่ว่า หลักคิดที่ดี กระทั่งแนวคิดทางศาสนาไม่ใช่เรื่องสูงส่ง กลับกันด้วยซ้ำที่เราสามารถสัมผัสและนำไปปฏิบัติให้เกิดผลลัพธ์ที่เป็น รูปธรรมได้ ขณะเดียวกันผลลัพธ์อีกทางหนึ่งที่ก่อเกิด เกียรติยศส่วนบุคคลให้กับครูโต้ง คือได้รับคัดเลือกเป็น "ครูสอนดี" ประจำปี 2554 จากสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.)

ขอบคุณ... http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TURONWIzVXdNVEk1TURRMU5nPT0=&sectionid=TURNeE1RPT0=&day=TWpBeE15MHdOQzB5T1E9PQ== (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: ข่าวสดออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 29 เม.ย.56
วันที่โพสต์: 30/04/2556 เวลา 03:08:13 ดูภาพสไลด์โชว์ วิถีพุทธนอกตำรา "เด็กปัญญา"ครูโต้ง

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ครูโต้ง และเด็กๆ คอลัมน์ : สดจากเยาวชน กว่า 3 ปี ที่ครูหนุ่ม โต้ง พรมกุล หรือ ครูโต้ง ของเด็กๆ ครูโรงเรียนฉะเชิงเทราปัญญานุกูล วัย 32 ปี เป็นตัวหลักสำคัญในการริเริ่มกิจกรรมโครงการวิถีชีวิตไตรสิกขา เด็กปัญญาทำได้ ที่พัฒนาแนวคิดสร้างการเรียนรู้ให้กับเด็กที่ผิดปกติด้านการเรียนรู้ตามแบบวิถีพุทธของเครือข่ายพุทธิกา ครูโต้งมองว่า แม้เด็กพิการทางสติปัญญาจะมีอุปสรรคทางกายภาพ มีขีดจำกัดการเข้าถึงทักษะการเรียนรู้เมื่อเทียบกับเด็กปกติ หากแต่การพัฒนาวิธีคิด การสร้างความสุขที่มาจากการให้-การตั้งสติ และการบำเพ็ญประโยชน์แก่ส่วนรวมไม่มีอะไรที่นักเรียนของที่นี่จะทำไม่ได้ ด้วยเหตุนี้ครูโต้งและทีมจึงผสานองค์ความรู้ที่มี ออกแบบกิจกรรมและสร้างเครื่องมือ หวังให้กลุ่มนักเรียนเหล่านี้เข้าถึงการมีสุขภาวะในแบบที่ควรจะเป็น สามารถอยู่ในสังคมได้ นั่นหมายถึงการช่วยเหลือตนเองลดการพึ่งพิงจากผู้อื่นมีจิตใจที่สงบเยือกเย็นลง การที่ครูหนุ่มคนนี้มุ่งมั่น ให้ความรู้กับเด็ก โดยให้ความสำคัญกับสติ เหมือนคำกล่าวที่ว่า "สติมา ปัญญามี" เป็นเพราะเขาร่ำเรียนมาทางนี้โดยตรง ครูโต้งเป็น ชาวอุดรธานี หลังจบชั้นป.6 มีโอกาสเข้าเรียนที่โรงเรียนพระปริยัติธรรม ประจำจังหวัดขอนแก่น เมื่อเรียนได้เปรียญธรรม 5 ประโยค และจบการศึกษา จึงมาศึกษาที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย สาขาวิชาสังคมสงเคราะห์ จนได้รับปริญญาพุทธศาสตรบัณฑิตแล้วไปทำงานด้านสังคมสงเคราะห์สังกัดกรุงเทพมหานคร1ปี พอมีเปิดรับสมัครสอบครู เขามุ่งมั่นตั้งใจมาสมัคร เมื่อสอบติดก็ไปร่วมอบรมครูการศึกษาพิเศษ กระทั่งได้มาสอนที่โรงเรียนฉะเชิงเทราปัญญานุกูล "เมื่อเราเป็นครู เราก็อยากให้ลูกศิษย์เราได้รับสิ่งที่ดี" ครู โต้งบอก ดังนั้นเขาจึงคิดโครงการใหม่ๆ ในการสอนขึ้นมาหลายโครงการ บางโครงการก็ใช้ทุนจากภายนอก เช่น โครงการวิถีชีวิตไตรสิกขา เด็กปัญญาทำได้ เป็นส่วนหนึ่งในโครงการสุขแท้ด้วยปัญญาที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)สนับสนุน "แนวคิดสุขแท้ด้วยปัญญานั้น เป็นการสร้างความสุขที่แท้จริง เพราะความสุขไม่จำเป็นต้องมาจากความพร้อมในทุกอย่าง หรือมั่งมีเงินทอง แต่เป็นการมีความสุขที่ผ่านการใช้สติปัญญา ทั้งการคิดถึงผู้อื่นมากกว่าตนเอง เชื่อมั่นในความเพียรพยายาม คิดอย่างมีเหตุผลและเป็นประโยชน์เกื้อกูล ไม่ยึดติดกับวัตถุ เราจึงเขียนใบสมัครเสนอโครงการไป และช่วยกันออกแบบกิจกรรม อย่างเด็กคนไหนไม่นิ่งผมจับเขามาวิ่งก่อนเลย วิ่งบนเครื่องวิ่งเพื่อลดพลังงาน ลดความฟุ้งซ่านที่มากเกินไป จากนั้นอาจจะฝึกสมาธิด้วยการเดินหรือนั่งสักพัก เปิดเสียงคำสอนคลอเบาๆ ให้เขาได้พักผ่อนสติตัวเอง ฝึกนั่งสมาธิในวิธีการต่างๆ เพราะห้องธรรมานุบาลแท้จริงคือการสร้างแรงจูงใจให้เด็กนักเรียนเข้าถึงศาสนา ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบการใช้อุปกรณ์เครื่องมือ หรือในบรรยากาศที่เงียบ เย็นสบาย ที่ง่ายต่อการรับฟังหลักธรรมคำสอนดีกว่าบรรยากาศปกติ" เด็กนักเรียนกำลังนั่งสมาธิและครูโต้ง พรมกุล หรือ ครูโต้ง กำลังนั่งสมาธิ ส่วนการบำเพ็ญประโยชน์นั้น ครูโต้งอธิบายว่า เริ่มจากการที่สังคมมักมองว่าโรงเรียนเด็กพิการคือ "แหล่งบุญ" ของคนปกติ ผลลัพธ์ในเรื่องนี้นอกจากความสบายใจของผู้ให้ และการร่วมแบ่งปันของคนในสังคมแล้ว ในมุมกลับได้สร้างลักษณะนิสัยที่ไม่ดีนักให้เด็กในโรงเรียน เกิดการเอาแต่รอคอยผู้มาบริจาค กินทิ้งกินขว้าง หนักเข้าถึงขนาดเอาแต่ใจและเอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง จึงเป็นที่มาของการหากิจกรรมให้เด็กในโรงเรียนออกไปช่วยสังคมในรูปแบบอาสาสมัครที่วัดในช่วงสุดสัปดาห์ คอยหยิบเท่าที่จะทำได้ ไล่ตั้งแต่การจัดรองเท้าล้างจานประเคนอาหารฯลฯรวมถึงการร่วมอาสาสร้างประโยชน์ในบ้านพักคนชรา "ทำให้เขา รู้จักการให้บ้าง ขณะที่อีกมุมคือการให้ชุมชนยอมรับความสามารถของเด็กพิการเหล่านี้ อย่าลืมว่าเด็กนักเรียนของเรา เป็นเด็กจากพื้นที่อื่นที่ต้องมาเรียนในโรงเรียนพิเศษเพราะความบกพร่องทางกายภาพ แต่เด็กเหล่านี้ไม่มีความผูกพันกับคนในชุมชนเลย การแสดงถึงการยอมรับจากวัด จากพระ จากผู้อาวุโส ทำให้ชาวบ้านในชุมชนเห็นประโยชน์ของพวกเขา เปลี่ยนมุมมองว่าเด็กพิการทางปัญญาเหล่านี้มีคุณค่ามีศักยภาพมากกว่าจะรอคอยแต่ความสงสาร"ครูหนุ่มเฉลยหลักการที่ซ่อนจากกิจกรรม ครูโต้งทิ้งท้ายว่า การร่วมกิจกรรมสุขแท้ฯ ทำให้เขาได้โอกาสลองทำอะไรใหม่ๆ เกิดความอยากพัฒนาในระดับต่อๆ ไป พร้อมกับส่งเสริม หาเครือข่ายนักพัฒนาผู้เชี่ยวชาญในด้านอื่นๆ มาร่วมแลกเปลี่ยนความรู้เพื่อนำไปประยุกต์กับงานของตัวเอง ยิ่งไปกว่านั้น ผลของการทำงานช่วยยืนยันความเชื่อที่ว่า หลักคิดที่ดี กระทั่งแนวคิดทางศาสนาไม่ใช่เรื่องสูงส่ง กลับกันด้วยซ้ำที่เราสามารถสัมผัสและนำไปปฏิบัติให้เกิดผลลัพธ์ที่เป็น รูปธรรมได้ ขณะเดียวกันผลลัพธ์อีกทางหนึ่งที่ก่อเกิด เกียรติยศส่วนบุคคลให้กับครูโต้ง คือได้รับคัดเลือกเป็น "ครูสอนดี" ประจำปี 2554 จากสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) ขอบคุณ... http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TURONWIzVXdNVEk1TURRMU5nPT0=§ionid=TURNeE1RPT0=&day=TWpBeE15MHdOQzB5T1E9PQ==

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...