ไม่ได้บังคับเลิกนั่งยอง ปฏิวัติ "ส้วมซึม" แค่คุมมาตรฐาน จี้ใช้"ชักโครก"

แสดงความคิดเห็น

ส้วมซึม แบบนั่งยอง

กระทรวงอุตฯแจง พ.ร.ฎ.ปฏิวัติส้วมซึม ไม่ได้บังคับเลิกใช้แบบนั่งยอง แต่เป็นการควบคุมมาตรฐาน"ชักโครก" สอดคล้องนโยบายรัฐบาลทุกครัวเรือน-ห้องน้ำสาธารณะมีชักโครกใช้ ตั้งเป้าหมายปี 2559

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 23 เมษายนที่ผ่านมา หนังสือราชกิจจานุเบกษาได้ลงประกาศพระราชกฤษฎีกา "กำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องสุขภัณฑ์เซรามิก : โถส้วมนั่งราบต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. 2556" ซึ่งเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติแผนแม่บทพัฒนาส้วม โดยตั้งเป้าหมายให้ทุกครัวเรือนใช้ชักโครกภายในปี 2559 เนื่องมาจากโถส้วมนั่งราบซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและอนามัยของประชาชน หากมีคุณภาพต่ำ จึงจำเป็นต้องควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคและเพื่อป้องกันความเสียหายอันอาจเกิดแก่ประชาชน นอกจากนี้ แผนดังกล่าวยังเป็นการพัฒนาส้วมครัวเรือนให้เหมาะสมในการรองรับต่อการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ส่งเสริมและสนับสนุนให้คนไทยมีพฤติกรรมการใช้ส้วมสาธารณะที่ถูกสุขลักษณะ รวมไปถึงส่งเสริมและสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการจัดการสิ่งปฏิกูลอย่างถูกหลัก

สาระสำคัญของพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว ประกอบด้วย 4 มาตรา ดังต่อไปนี้ มาตรา 1 พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า "พระราชกฤษฎีกากำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องสุขภัณฑ์เซรามิก : โถส้วมนั่งราบต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ.2556" มาตรา 2 พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 120 วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

มาตรา 3 ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องสุขภัณฑ์เซรามิก : โถส้วมนั่งราบต้องเป็นไปตามมาตรฐาน เลขที่ มอก.792-2554 ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 4380 (พ.ศ.2554) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ.2511 เรื่องยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องสุขภัณฑ์วิเทรียสไชนา : โถส้วมนั่งราบ และกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องสุขภัณฑ์เซรามิก : โถส้วมนั่งราบ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ.2554 และมาตรา 4 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้

ทั้งนี้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา มีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ ได้แก่ 1.เห็นชอบในหลักการแผนแม่บทพัฒนาส้วมสาธารณะไทย ระยะที่ 3 (พ.ศ.2556-2559) และ 2.ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำแผนแม่บทพัฒนาส้วมสาธารณะไทย ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2556-2559) ไปสู่การปฏิบัติเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายความสำเร็จที่กำหนดไว้ โดยมีเป้าหมาย 1.ครัวเรือนไทยใช้ส้วมแบบ "ส้วมนั่งราบ" ร้อยละ 90 ภายในปี พ.ศ.2559 2.สถานบริการสาธารณะ และสถานที่สาธารณะมีบริการ "ส้วมนั่งราบ" อย่างน้อย 1 ที่ ร้อยละ 10 ของกลุ่มเป้าหมายภายในปี พ.ศ.2559 3.มีส้วมสาธารณะที่สะอาด เพียงพอ ปลอดภัย ร้อยละ 90 ของกลุ่มเป้าหมายภายในปี พ.ศ.2559 4.คนไทยมีพฤติกรรมการใช้ส้วมสาธารณะถูกสุขลักษณะ ร้อยละ 90 ของผู้ใช้บริการในปี พ.ศ.2559 และ 5.องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการจัดการสิ่งปฏิกูลอย่างถูกหลักสุขาภิบาลร้อยละ50ภายในปี2559

สำหรับส้วมสาธารณะตามเป้าหมายดังกล่าวกำหนด ไว้ 12 ประเภท ได้แก่ 1.แหล่งท่องเที่ยว 2.ร้านจำหน่ายอาหาร 3.ตลาดสด 4.สถานีขนส่งทางบกและทางอากาศ 5.สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง 6.สถานศึกษา 7.โรงพยาบาล 8.สถานที่ราชการ 9.สวนสาธารณะ 10.ศาสนสถาน 11.ส้วมสาธารณะริมทาง และ12.ห้างสรรพสินค้า/ศูนย์การค้า/ดิสเคานต์สโตร์

รายงานข่าวกล่าวว่า นอกจากนี้จะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการส้วมสาธารณะไทย มีหน้าที่ในการกำหนดนโยบายอำนวยการและติดตามความก้าวหน้าผลการดำเนินงานส้วมสาธารณะไทย และอาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานเพื่อการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพตามความเหมาะสม

ด้านนายณัฐพล ณัฐฎสมบูรณ์ โฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวเมื่อวันที่ 26 เมษายน ที่ผ่านมา ว่า พระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าวจะมีผลบังคับทั้งผู้นำเข้าและผู้ผลิตสุขภัณฑ์ต้อง ปฏิบัติตามมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.) เลขที่ 792-2554 ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ 8 ราย แต่มาตรฐานดังกล่าวไม่ใช่เป็นการบังคับ ให้ประชาชนเลิกใช้ สุขภัณฑ์นั่งยอง ซึ่งเป็นมาตรฐานทั่วไปเลขที่ 794/2544 ปัจจุบันมีผู้ประกอบการ 9 ราย ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ประกอบการขนาดกลางและย่อม (เอสเอ็มอี) ผลิตสินค้าในราคาที่ไม่สูงมาก ทำให้ประชาชนทั่วไปสามารถซื้อใช้ได้

นายณัฐพลกล่าวว่า สำหรับการกำหนดให้ทุกครัวเรือนใช้ชักโครกภายในปี 2559 ไม่ได้หมายความว่าห้ามใช้ส้วมนั่งยอง โดยคาดว่ามาจากการที่รัฐบาลประกาศให้การใช้สุขภัณฑ์นั่งราบเป็นวาระแห่งชาติ และตั้งเป้าหมายไว้ภายใน 4 ปี น่าจะเป็นการออกนโยบายในลักษณะรณรงค์ประชาชนให้หันมาใช้สุขภัณฑ์นั่งราบมากกว่า

"เรื่องนี้ไม่ได้เป็นการบังคับว่าประชาชนจะต้องเลิกใช้ส้วมซึม เพราะไม่มีกฎหมายที่จะบังคับประชาชนได้ แต่ที่ประกาศเป็นมาตรฐานบังคับ เพราะเมื่อปี 2552 มีผู้ประกอบการได้ร้องเรียนมาที่สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม ให้ประกาศสุขภัณฑ์ดังกล่าวเป็นมาตรฐานบังคับ" นายณัฐพลกล่าว

ขอบคุณ... http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1367037539&grpid=&catid=19&subcatid=1904 (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 27 เม.ย.56
วันที่โพสต์: 30/04/2556 เวลา 03:06:10 ดูภาพสไลด์โชว์ ไม่ได้บังคับเลิกนั่งยอง ปฏิวัติ "ส้วมซึม" แค่คุมมาตรฐาน จี้ใช้"ชักโครก"

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ส้วมซึม แบบนั่งยอง กระทรวงอุตฯแจง พ.ร.ฎ.ปฏิวัติส้วมซึม ไม่ได้บังคับเลิกใช้แบบนั่งยอง แต่เป็นการควบคุมมาตรฐาน"ชักโครก" สอดคล้องนโยบายรัฐบาลทุกครัวเรือน-ห้องน้ำสาธารณะมีชักโครกใช้ ตั้งเป้าหมายปี 2559 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 23 เมษายนที่ผ่านมา หนังสือราชกิจจานุเบกษาได้ลงประกาศพระราชกฤษฎีกา "กำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องสุขภัณฑ์เซรามิก : โถส้วมนั่งราบต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. 2556" ซึ่งเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติแผนแม่บทพัฒนาส้วม โดยตั้งเป้าหมายให้ทุกครัวเรือนใช้ชักโครกภายในปี 2559 เนื่องมาจากโถส้วมนั่งราบซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและอนามัยของประชาชน หากมีคุณภาพต่ำ จึงจำเป็นต้องควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคและเพื่อป้องกันความเสียหายอันอาจเกิดแก่ประชาชน นอกจากนี้ แผนดังกล่าวยังเป็นการพัฒนาส้วมครัวเรือนให้เหมาะสมในการรองรับต่อการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ส่งเสริมและสนับสนุนให้คนไทยมีพฤติกรรมการใช้ส้วมสาธารณะที่ถูกสุขลักษณะ รวมไปถึงส่งเสริมและสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการจัดการสิ่งปฏิกูลอย่างถูกหลัก สาระสำคัญของพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว ประกอบด้วย 4 มาตรา ดังต่อไปนี้ มาตรา 1 พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า "พระราชกฤษฎีกากำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องสุขภัณฑ์เซรามิก : โถส้วมนั่งราบต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ.2556" มาตรา 2 พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 120 วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา 3 ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องสุขภัณฑ์เซรามิก : โถส้วมนั่งราบต้องเป็นไปตามมาตรฐาน เลขที่ มอก.792-2554 ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 4380 (พ.ศ.2554) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ.2511 เรื่องยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องสุขภัณฑ์วิเทรียสไชนา : โถส้วมนั่งราบ และกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องสุขภัณฑ์เซรามิก : โถส้วมนั่งราบ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ.2554 และมาตรา 4 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ทั้งนี้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา มีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ ได้แก่ 1.เห็นชอบในหลักการแผนแม่บทพัฒนาส้วมสาธารณะไทย ระยะที่ 3 (พ.ศ.2556-2559) และ 2.ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำแผนแม่บทพัฒนาส้วมสาธารณะไทย ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2556-2559) ไปสู่การปฏิบัติเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายความสำเร็จที่กำหนดไว้ โดยมีเป้าหมาย 1.ครัวเรือนไทยใช้ส้วมแบบ "ส้วมนั่งราบ" ร้อยละ 90 ภายในปี พ.ศ.2559 2.สถานบริการสาธารณะ และสถานที่สาธารณะมีบริการ "ส้วมนั่งราบ" อย่างน้อย 1 ที่ ร้อยละ 10 ของกลุ่มเป้าหมายภายในปี พ.ศ.2559 3.มีส้วมสาธารณะที่สะอาด เพียงพอ ปลอดภัย ร้อยละ 90 ของกลุ่มเป้าหมายภายในปี พ.ศ.2559 4.คนไทยมีพฤติกรรมการใช้ส้วมสาธารณะถูกสุขลักษณะ ร้อยละ 90 ของผู้ใช้บริการในปี พ.ศ.2559 และ 5.องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการจัดการสิ่งปฏิกูลอย่างถูกหลักสุขาภิบาลร้อยละ50ภายในปี2559 สำหรับส้วมสาธารณะตามเป้าหมายดังกล่าวกำหนด ไว้ 12 ประเภท ได้แก่ 1.แหล่งท่องเที่ยว 2.ร้านจำหน่ายอาหาร 3.ตลาดสด 4.สถานีขนส่งทางบกและทางอากาศ 5.สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง 6.สถานศึกษา 7.โรงพยาบาล 8.สถานที่ราชการ 9.สวนสาธารณะ 10.ศาสนสถาน 11.ส้วมสาธารณะริมทาง และ12.ห้างสรรพสินค้า/ศูนย์การค้า/ดิสเคานต์สโตร์ รายงานข่าวกล่าวว่า นอกจากนี้จะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการส้วมสาธารณะไทย มีหน้าที่ในการกำหนดนโยบายอำนวยการและติดตามความก้าวหน้าผลการดำเนินงานส้วมสาธารณะไทย และอาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานเพื่อการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพตามความเหมาะสม ด้านนายณัฐพล ณัฐฎสมบูรณ์ โฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวเมื่อวันที่ 26 เมษายน ที่ผ่านมา ว่า พระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าวจะมีผลบังคับทั้งผู้นำเข้าและผู้ผลิตสุขภัณฑ์ต้อง ปฏิบัติตามมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.) เลขที่ 792-2554 ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ 8 ราย แต่มาตรฐานดังกล่าวไม่ใช่เป็นการบังคับ ให้ประชาชนเลิกใช้ สุขภัณฑ์นั่งยอง ซึ่งเป็นมาตรฐานทั่วไปเลขที่ 794/2544 ปัจจุบันมีผู้ประกอบการ 9 ราย ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ประกอบการขนาดกลางและย่อม (เอสเอ็มอี) ผลิตสินค้าในราคาที่ไม่สูงมาก ทำให้ประชาชนทั่วไปสามารถซื้อใช้ได้ นายณัฐพลกล่าวว่า สำหรับการกำหนดให้ทุกครัวเรือนใช้ชักโครกภายในปี 2559 ไม่ได้หมายความว่าห้ามใช้ส้วมนั่งยอง โดยคาดว่ามาจากการที่รัฐบาลประกาศให้การใช้สุขภัณฑ์นั่งราบเป็นวาระแห่งชาติ และตั้งเป้าหมายไว้ภายใน 4 ปี น่าจะเป็นการออกนโยบายในลักษณะรณรงค์ประชาชนให้หันมาใช้สุขภัณฑ์นั่งราบมากกว่า "เรื่องนี้ไม่ได้เป็นการบังคับว่าประชาชนจะต้องเลิกใช้ส้วมซึม เพราะไม่มีกฎหมายที่จะบังคับประชาชนได้ แต่ที่ประกาศเป็นมาตรฐานบังคับ เพราะเมื่อปี 2552 มีผู้ประกอบการได้ร้องเรียนมาที่สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม ให้ประกาศสุขภัณฑ์ดังกล่าวเป็นมาตรฐานบังคับ" นายณัฐพลกล่าว ขอบคุณ... http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1367037539&grpid=&catid=19&subcatid=1904

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...