ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม
การเคลื่อนไหวของขบวนการเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส. หรือเรียกกันทั่วไปว่า พีมูฟ) เป็นการรวมกลุ่มประชาชนที่เดือดร้อน จากปัญหาการแย่งชิงการ ใช้ทรัพยากรและการไร้โอกาสในการเข้าถึงทรัพยากรที่จำเป็นในการดำรงชีวิต เรียกร้องให้รัฐช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ให้แก่พวกเขา
การเคลื่อนไหวของชาวบ้านที่เดือดร้อนกลุ่มนี้ไม่มีเป้าหมายทางการเมืองโดยตรงหรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่าไม่ใช่ “การเมืองเพื่อการเมือง” อย่างกลุ่มคนเสื้อสีต่างๆ ในช่วงที่ผ่านมา หากแต่เป็นการเคลื่อนไหวเรียกร้อง “การเมืองเพื่อชีวิต” ของชาวบ้านตัวเล็กตัวน้อย ซึ่งก็ได้แสดงตนให้สังคมได้รับรู้มาเนิ่นนานแล้วในหลายชื่อ เช่น สมัชชาคนจน แต่ปัญหาก็ไม่เคยถูกแก้ไขจนถึงปัจจุบันนี้
ช่วงเวลาสี่ห้าปีที่ผ่านมา สังคมไทยโดยรวมให้ความสนใจขบวนการประชาชนตัวเล็กตัวน้อยลดลงอย่างมาก เพราะการต่อสู้ทางการเมืองที่แหลมคมของกลุ่มเสื้อสีได้บดบังและทำให้การเคลื่อนไหวของคนตัวเล็กตัวน้อยดูจืดไร้สีสันไป เมื่อสังคมให้ความสนใจน้อยลงเช่นนี้ ก็ยิ่งทำให้รัฐบาลไม่แยแสที่จะแก้ไขอะไรให้ เพราะพรรคการเมืองไม่ว่าฝ่ายค้านหรือรัฐบาลล้วนแล้วแต่กำลังแสวงหาฐานเสียง มวลชนที่กว้างขวางกว่า (แน่นอน เสียงลงคะแนนก็หนักแน่นกว่า) จากกลุ่มการเมืองสีเสื้อ
หากพิจารณาจากกลุ่มชาวบ้านที่ร่วมเคลื่อนไหวในขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรมจะเห็นได้ว่าเป็นกลุ่มชาวบ้านที่อยู่ในสภาวะของการดิ้นรนเพื่อแสวงหาปัจจัยการผลิตที่พอเพียงต่อการดำรงชีวิต และส่วนใหญ่แล้วต้องการที่จะดำรงชีวิตอยู่ในภาคเกษตรกรรมเช่นเดิมซึ่งจะต้อง จะมีปัจจัยการผลิตพื้นฐานที่ทำให้ดำเนินชีวิตเกษตรกรต่อไปได้ ข้อเรียกร้องหลักของกลุ่มจึงเน้นที่ที่สิทธิของมนุษย์ในทรัพยากรธรรมชาติ "ดิน น้ำ ป่า"
กลุ่มคนกลุ่มนี้แตกต่างไปจากการเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่มชาวบ้าน เสื้อแดง เพราะส่วนใหญ่แล้วชาวบ้านเสื้อแดงแม้ว่าจำนวนหนึ่งจะยังคงมีขาข้างหนึ่งอยู่ ในภาคเกษตรกรรม แต่ขาอีกข้างหนึ่งหรือรายได้หลักล้วนแล้วมาจากนอกภาคเกษตรกรรม ดังนั้น ความสนใจและการต่อสู้ทางการเมืองของกลุ่มคนเสื้อแดงจึงก้าวพ้นจากการเรียก ร้องในเรื่องดิน น้ำ ป่า มาสู่การต่อสู้ทางการเมืองในฐานะพลเมืองโดยตรง
แม้ว่าความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจในชนบทช่วงยี่สิบปีที่ผ่านมาได้ทำให้เกิดการแตกตัวทางชนชั้นชัดเจนมากขึ้น กลุ่มคนรวยและชนชั้นกลางในชนบทได้ปรับตัวเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจสมัยใหม่มากขึ้น รวมทั้งการดำรงสถานะเป็น “ผู้จัดการนา” แทน “ชาวนา” แต่คนอีกประมาณเกือบครึ่งหนึ่งของพื้นที่ชนบทยังคงต้องอาศัยฐานปัจจัยการ ผลิตตามธรรมชาติอยู่ อย่างน้อยก็เป็นหลังพิงทางเศรษฐกิจในยามเดือดร้อนจากการทำธุรกิจค้าขายแบบใหม่ จะเห็นได้อย่างชัดเจนจากการคืนชนบทในช่วงวิกฤติการณ์เศรษฐกิจ พ.ศ. 2540
ดังนั้น หากพิจารณาเพียงแค่ว่าข้อเรียกร้องของขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม จะเน้นอยู่ที่การรักษาชีวิตของสังคมเกษตร ก็อาจจะมองว่าเป็นข้อเรียกร้องที่ล้าหลัง เพราะคนจำนวนมากได้เคลื่อนย้ายออกจากภาคเกษตรกรรมแล้ว แต่หากมองอีกด้านหนึ่งจะพบว่าข้อเรียกร้องแก้ไขปัญหาเฉพาะเรื่องเฉพาะ ประเด็นของพวกเขาไม่ได้จำกัดเฉพาะเรื่องเฉพาะประเด็นเท่านั้น แต่กลับทำให้มองเห็นถึงความพยายามที่จะทำให้สังคมได้ตระหนักถึงความไม่เป็น ธรรมในการใช้ทรัพยากรส่วนรวมของสังคมด้วย
ข้อเสนอในประเด็นหลักสี่ข้อเป็นการเรียกร้องจากรัฐบาลให้ปฏิบัติ ตามนโยบายที่วางเอาไว้อย่างน้อยสี่ประเด็น ได้แก่ ความมั่นคงของชีวิตและสังคมซึ่งรัฐบาลเน้นให้โอกาสประชาชนที่มีฐานะยากจนได้ มีที่อยู่อาศัย นโยบายเรื่องที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่จะสนับสนุนการจัดการอย่างมีส่วนร่วม นโยบายสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในการใช้ประโยชน์จากที่ดินและ ทรัพยากร และนโยบายส่งเสริมกองทุนยุติธรรมเพื่อการคุ้มครองคนจนและคนด้อยโอกาส
ข้อเสนอทั้งหมดนี้เป็นการเสนอหลักการที่จะประคับประคองสังคมไทยที่กำลัง ขัดแย้งกันรุนแรงขึ้นจากการแย่งชิงทรัพยากร โดยมุ่งจะทำให้เกิดการกระจายทั้งอำนาจและทรัพยากรต่างๆ ไปสู่คนจำนวนมากไม่ใช่กระจุกตัวอยู่ในมือคนจำนวนน้อยนิดเท่านั้น
ข้อเสนอนี้จึงเป็นเรื่องที่สังคมไทยโดยรวมควรจะต้องให้ความสนใจ ไม่น้อยไปกว่าปัญหาการต่อสู้ทางการเมืองเฉพาะหน้า เพราะข้อเสนอชุดนี้จะสร้าง/ปรับโครงสร้างทางสังคมเศรษฐกิจไทยให้มีความสมดุล และยุติธรรมมากขึ้น การกระจายอำนาจในการจัดการทรัพยากรและการครอบครองทรัพยากรให้เสมอภาคและเสมอ หน้ากันจะเอื้ออำนวยให้สังคมไทยก้าวไปสู่สังคมคนชั้นกลางได้สะดวกมากขึ้น
ข้อเสนอนี้ไม่เกี่ยวกับการเมืองเสื้อสี ดังนั้น จึงอยากจะเรียกร้องพลเมืองผู้กระตือรือร้นทางการเมืองทั้งสองสีเสื้อ (ที่มีเฉดสีแตกต่างกันไป) ให้ความสนใจและช่วยเพิ่มน้ำหนักให้แก่ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมยุติธรรมนี้ด้วย แต่ความช่วยเหลือนั้นต้องไม่ใช่การดึงเอาขบวนการนี้ไปรับใช้การเมืองของสี เสื้อตัวเองนะครับ เพราะไม่อย่างนั้นจะทำให้น้ำหนักของความต้องการสร้างสังคมที่ยุติธรรมนี้จะ ลดลง หากแต่ต้องช่วยกันมองไปในอนาคตของสังคมไทยว่าการปรับโครงสร้างที่อยุติธรรม นั้นจะต้องทำอะไรกันบ้าง จะหนุนเสริมกลุ่มเคลื่อนไหวใดและอย่างไร
ไม่ว่าจะเรียกว่าทุนกลุ่มไหนว่าเป็นทุนสามานย์หรือเป็นทุนไม่สามานย์ โดยธรรมชาติของทุนแล้วหากไม่มีการควบคุมหรือกำกับให้ดีแล้ว ทุนทั้งหมดทุกรูปแบบก็จะขูดรีดคนส่วนใหญ่ทั้งนั้นแหละครับ ดังนั้น ต้องหาทางสร้างอำนาจชาวบ้านในการต่อรองกับทุนให้ได้มากที่สุดครับ
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
การเคลื่อนไหวของขบวนการเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส. หรือเรียกกันทั่วไปว่า พีมูฟ) เป็นการรวมกลุ่มประชาชนที่เดือดร้อน จากปัญหาการแย่งชิงการ ใช้ทรัพยากรและการไร้โอกาสในการเข้าถึงทรัพยากรที่จำเป็นในการดำรงชีวิต เรียกร้องให้รัฐช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ให้แก่พวกเขา การเคลื่อนไหวของชาวบ้านที่เดือดร้อนกลุ่มนี้ไม่มีเป้าหมายทางการเมืองโดยตรงหรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่าไม่ใช่ “การเมืองเพื่อการเมือง” อย่างกลุ่มคนเสื้อสีต่างๆ ในช่วงที่ผ่านมา หากแต่เป็นการเคลื่อนไหวเรียกร้อง “การเมืองเพื่อชีวิต” ของชาวบ้านตัวเล็กตัวน้อย ซึ่งก็ได้แสดงตนให้สังคมได้รับรู้มาเนิ่นนานแล้วในหลายชื่อ เช่น สมัชชาคนจน แต่ปัญหาก็ไม่เคยถูกแก้ไขจนถึงปัจจุบันนี้ ช่วงเวลาสี่ห้าปีที่ผ่านมา สังคมไทยโดยรวมให้ความสนใจขบวนการประชาชนตัวเล็กตัวน้อยลดลงอย่างมาก เพราะการต่อสู้ทางการเมืองที่แหลมคมของกลุ่มเสื้อสีได้บดบังและทำให้การเคลื่อนไหวของคนตัวเล็กตัวน้อยดูจืดไร้สีสันไป เมื่อสังคมให้ความสนใจน้อยลงเช่นนี้ ก็ยิ่งทำให้รัฐบาลไม่แยแสที่จะแก้ไขอะไรให้ เพราะพรรคการเมืองไม่ว่าฝ่ายค้านหรือรัฐบาลล้วนแล้วแต่กำลังแสวงหาฐานเสียง มวลชนที่กว้างขวางกว่า (แน่นอน เสียงลงคะแนนก็หนักแน่นกว่า) จากกลุ่มการเมืองสีเสื้อ หากพิจารณาจากกลุ่มชาวบ้านที่ร่วมเคลื่อนไหวในขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรมจะเห็นได้ว่าเป็นกลุ่มชาวบ้านที่อยู่ในสภาวะของการดิ้นรนเพื่อแสวงหาปัจจัยการผลิตที่พอเพียงต่อการดำรงชีวิต และส่วนใหญ่แล้วต้องการที่จะดำรงชีวิตอยู่ในภาคเกษตรกรรมเช่นเดิมซึ่งจะต้อง จะมีปัจจัยการผลิตพื้นฐานที่ทำให้ดำเนินชีวิตเกษตรกรต่อไปได้ ข้อเรียกร้องหลักของกลุ่มจึงเน้นที่ที่สิทธิของมนุษย์ในทรัพยากรธรรมชาติ "ดิน น้ำ ป่า" กลุ่มคนกลุ่มนี้แตกต่างไปจากการเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่มชาวบ้าน เสื้อแดง เพราะส่วนใหญ่แล้วชาวบ้านเสื้อแดงแม้ว่าจำนวนหนึ่งจะยังคงมีขาข้างหนึ่งอยู่ ในภาคเกษตรกรรม แต่ขาอีกข้างหนึ่งหรือรายได้หลักล้วนแล้วมาจากนอกภาคเกษตรกรรม ดังนั้น ความสนใจและการต่อสู้ทางการเมืองของกลุ่มคนเสื้อแดงจึงก้าวพ้นจากการเรียก ร้องในเรื่องดิน น้ำ ป่า มาสู่การต่อสู้ทางการเมืองในฐานะพลเมืองโดยตรง แม้ว่าความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจในชนบทช่วงยี่สิบปีที่ผ่านมาได้ทำให้เกิดการแตกตัวทางชนชั้นชัดเจนมากขึ้น กลุ่มคนรวยและชนชั้นกลางในชนบทได้ปรับตัวเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจสมัยใหม่มากขึ้น รวมทั้งการดำรงสถานะเป็น “ผู้จัดการนา” แทน “ชาวนา” แต่คนอีกประมาณเกือบครึ่งหนึ่งของพื้นที่ชนบทยังคงต้องอาศัยฐานปัจจัยการ ผลิตตามธรรมชาติอยู่ อย่างน้อยก็เป็นหลังพิงทางเศรษฐกิจในยามเดือดร้อนจากการทำธุรกิจค้าขายแบบใหม่ จะเห็นได้อย่างชัดเจนจากการคืนชนบทในช่วงวิกฤติการณ์เศรษฐกิจ พ.ศ. 2540 ดังนั้น หากพิจารณาเพียงแค่ว่าข้อเรียกร้องของขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม จะเน้นอยู่ที่การรักษาชีวิตของสังคมเกษตร ก็อาจจะมองว่าเป็นข้อเรียกร้องที่ล้าหลัง เพราะคนจำนวนมากได้เคลื่อนย้ายออกจากภาคเกษตรกรรมแล้ว แต่หากมองอีกด้านหนึ่งจะพบว่าข้อเรียกร้องแก้ไขปัญหาเฉพาะเรื่องเฉพาะ ประเด็นของพวกเขาไม่ได้จำกัดเฉพาะเรื่องเฉพาะประเด็นเท่านั้น แต่กลับทำให้มองเห็นถึงความพยายามที่จะทำให้สังคมได้ตระหนักถึงความไม่เป็น ธรรมในการใช้ทรัพยากรส่วนรวมของสังคมด้วย ข้อเสนอในประเด็นหลักสี่ข้อเป็นการเรียกร้องจากรัฐบาลให้ปฏิบัติ ตามนโยบายที่วางเอาไว้อย่างน้อยสี่ประเด็น ได้แก่ ความมั่นคงของชีวิตและสังคมซึ่งรัฐบาลเน้นให้โอกาสประชาชนที่มีฐานะยากจนได้ มีที่อยู่อาศัย นโยบายเรื่องที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่จะสนับสนุนการจัดการอย่างมีส่วนร่วม นโยบายสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในการใช้ประโยชน์จากที่ดินและ ทรัพยากร และนโยบายส่งเสริมกองทุนยุติธรรมเพื่อการคุ้มครองคนจนและคนด้อยโอกาส ข้อเสนอทั้งหมดนี้เป็นการเสนอหลักการที่จะประคับประคองสังคมไทยที่กำลัง ขัดแย้งกันรุนแรงขึ้นจากการแย่งชิงทรัพยากร โดยมุ่งจะทำให้เกิดการกระจายทั้งอำนาจและทรัพยากรต่างๆ ไปสู่คนจำนวนมากไม่ใช่กระจุกตัวอยู่ในมือคนจำนวนน้อยนิดเท่านั้น ข้อเสนอนี้จึงเป็นเรื่องที่สังคมไทยโดยรวมควรจะต้องให้ความสนใจ ไม่น้อยไปกว่าปัญหาการต่อสู้ทางการเมืองเฉพาะหน้า เพราะข้อเสนอชุดนี้จะสร้าง/ปรับโครงสร้างทางสังคมเศรษฐกิจไทยให้มีความสมดุล และยุติธรรมมากขึ้น การกระจายอำนาจในการจัดการทรัพยากรและการครอบครองทรัพยากรให้เสมอภาคและเสมอ หน้ากันจะเอื้ออำนวยให้สังคมไทยก้าวไปสู่สังคมคนชั้นกลางได้สะดวกมากขึ้น ข้อเสนอนี้ไม่เกี่ยวกับการเมืองเสื้อสี ดังนั้น จึงอยากจะเรียกร้องพลเมืองผู้กระตือรือร้นทางการเมืองทั้งสองสีเสื้อ (ที่มีเฉดสีแตกต่างกันไป) ให้ความสนใจและช่วยเพิ่มน้ำหนักให้แก่ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมยุติธรรมนี้ด้วย แต่ความช่วยเหลือนั้นต้องไม่ใช่การดึงเอาขบวนการนี้ไปรับใช้การเมืองของสี เสื้อตัวเองนะครับ เพราะไม่อย่างนั้นจะทำให้น้ำหนักของความต้องการสร้างสังคมที่ยุติธรรมนี้จะ ลดลง หากแต่ต้องช่วยกันมองไปในอนาคตของสังคมไทยว่าการปรับโครงสร้างที่อยุติธรรม นั้นจะต้องทำอะไรกันบ้าง จะหนุนเสริมกลุ่มเคลื่อนไหวใดและอย่างไร ไม่ว่าจะเรียกว่าทุนกลุ่มไหนว่าเป็นทุนสามานย์หรือเป็นทุนไม่สามานย์ โดยธรรมชาติของทุนแล้วหากไม่มีการควบคุมหรือกำกับให้ดีแล้ว ทุนทั้งหมดทุกรูปแบบก็จะขูดรีดคนส่วนใหญ่ทั้งนั้นแหละครับ ดังนั้น ต้องหาทางสร้างอำนาจชาวบ้านในการต่อรองกับทุนให้ได้มากที่สุดครับ ขอบคุณ... http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/opinion/attachak/20130510/504689/ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม.html
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)