สาธารณสุขสหรัฐชี้เด็กอเมริกัน 20% มีปัญหาสุขภาพจิต

แสดงความคิดเห็น

เด็กชายชาวต่างชาติ

สถิติโดยหน่วยงานด้านสาธารณสุขสหรัฐพบว่า 1 ใน 5 ของเยาวชนในประเทศ กำลังมีอาการป่วยที่เกี่ยวข้องกับสภาพจิตใจ สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 17 พ.ค. ว่า หนึ่งในหน่วยงานด้านสาธารณสุขของสหรัฐชี้ 1 ใน 5 ของเยาวชนอเมริกัน กำลังมีอาการป่วยที่เกี่ยวเนื่องกับสภาพจิตใจ และจำนวนผู้ป่วยยังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องด้วย

ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรค ( ซีดีซี ) ของสหรัฐ เผยรายงานอัตราการเจ็บป่วยและอัตราการตายประจำสัปดาห์ ( เอ็มเอ็มดับเบิ้ลยูอาร์ ) รวบรวมข้อมูลจากเยาวชนอเมริกันทั้งชายและหญิง ที่มีอายุระหว่าง 12-17 ปี ระหว่างปี 2548-2554 พบว่า 13-20% ของเด็กอเมริกันมีความผิดปกติทางจิตใจ โดยมีอาการของโรคสมาธิสั้น ( เอดีเอชดี ) มากที่สุด 6.8% รองลงมาคือ ภาวะความประพฤติผิดปกติ 3.5% ตามด้วยโรควิตกกังวล ( 3.0% ) โรคซึมเศร้า 2.1% โรคออทิสติก 1.1% และปิดท้ายด้วยโรค “ทูเร็ตต์” 0.2% ซึ่งก็คืออาการกระตุกของกล้ามเนื้อซ้ำหลายครั้งโดยไม่ได้ตั้งใจ มักเกิดขึ้นควบคู่กับอาการสมาธิสั้น

ทั้งนี้ อาการป่วยดังกล่าวพบในเด็กชายมากกว่าเด็กหญิง นอกจากนี้ ผลจากการทำแบบทดสอบยังบ่งชี้ด้วยว่า เด็กชายมีแนวโน้มฆ่าตัวตายมากกว่า ขณะที่เด็กหญิงมีแนวโน้มจะมีอาการซึมเศร้า หรือเกิดภาวะติดแอลกอฮอล์มากกว่าในอนาคต ซึ่งค่าใช้จ่ายของผู้ปกครองในการรักษาและดูแลบุตรหลานที่กำลังล้มป่วยด้วย โรคเหล่านี้ มีมูลค่ารวมแล้วมากถึงปีละ 2.47 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ( ราว 7.28 ล้านล้านบาท )

ดังนั้น เพื่อให้กระบวนการรักษาดำเนินอย่างมีประสิทธิภาพต่อเนื่อง เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยที่มีอยู่ รวมถึงป้องกันไม่ให้จำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอีก ซีดีซีจึงขอแนะนำให้ผู้ปกครองหมั่นสังเกตพฤติกรรมของบุตรหลานอย่างใกล้ชิด หากสัมผัสถึงความผิดปกติให้พาตัวมาพบแพทย์ หรือเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญโดยเร็ว เพื่อรับการรักษาเสียแต่เนิ่นๆ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ปกครองและตัวเด็กเองเข้าใจถึงอาการป่วยของตัวเองมากขึ้น ด้วย

ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/world/205162 (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 17 พ.ค.56
วันที่โพสต์: 18/05/2556 เวลา 04:53:11 ดูภาพสไลด์โชว์ สาธารณสุขสหรัฐชี้เด็กอเมริกัน 20% มีปัญหาสุขภาพจิต

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

เด็กชายชาวต่างชาติ สถิติโดยหน่วยงานด้านสาธารณสุขสหรัฐพบว่า 1 ใน 5 ของเยาวชนในประเทศ กำลังมีอาการป่วยที่เกี่ยวข้องกับสภาพจิตใจ สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 17 พ.ค. ว่า หนึ่งในหน่วยงานด้านสาธารณสุขของสหรัฐชี้ 1 ใน 5 ของเยาวชนอเมริกัน กำลังมีอาการป่วยที่เกี่ยวเนื่องกับสภาพจิตใจ และจำนวนผู้ป่วยยังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องด้วย ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรค ( ซีดีซี ) ของสหรัฐ เผยรายงานอัตราการเจ็บป่วยและอัตราการตายประจำสัปดาห์ ( เอ็มเอ็มดับเบิ้ลยูอาร์ ) รวบรวมข้อมูลจากเยาวชนอเมริกันทั้งชายและหญิง ที่มีอายุระหว่าง 12-17 ปี ระหว่างปี 2548-2554 พบว่า 13-20% ของเด็กอเมริกันมีความผิดปกติทางจิตใจ โดยมีอาการของโรคสมาธิสั้น ( เอดีเอชดี ) มากที่สุด 6.8% รองลงมาคือ ภาวะความประพฤติผิดปกติ 3.5% ตามด้วยโรควิตกกังวล ( 3.0% ) โรคซึมเศร้า 2.1% โรคออทิสติก 1.1% และปิดท้ายด้วยโรค “ทูเร็ตต์” 0.2% ซึ่งก็คืออาการกระตุกของกล้ามเนื้อซ้ำหลายครั้งโดยไม่ได้ตั้งใจ มักเกิดขึ้นควบคู่กับอาการสมาธิสั้น ทั้งนี้ อาการป่วยดังกล่าวพบในเด็กชายมากกว่าเด็กหญิง นอกจากนี้ ผลจากการทำแบบทดสอบยังบ่งชี้ด้วยว่า เด็กชายมีแนวโน้มฆ่าตัวตายมากกว่า ขณะที่เด็กหญิงมีแนวโน้มจะมีอาการซึมเศร้า หรือเกิดภาวะติดแอลกอฮอล์มากกว่าในอนาคต ซึ่งค่าใช้จ่ายของผู้ปกครองในการรักษาและดูแลบุตรหลานที่กำลังล้มป่วยด้วย โรคเหล่านี้ มีมูลค่ารวมแล้วมากถึงปีละ 2.47 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ( ราว 7.28 ล้านล้านบาท ) ดังนั้น เพื่อให้กระบวนการรักษาดำเนินอย่างมีประสิทธิภาพต่อเนื่อง เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยที่มีอยู่ รวมถึงป้องกันไม่ให้จำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอีก ซีดีซีจึงขอแนะนำให้ผู้ปกครองหมั่นสังเกตพฤติกรรมของบุตรหลานอย่างใกล้ชิด หากสัมผัสถึงความผิดปกติให้พาตัวมาพบแพทย์ หรือเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญโดยเร็ว เพื่อรับการรักษาเสียแต่เนิ่นๆ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ปกครองและตัวเด็กเองเข้าใจถึงอาการป่วยของตัวเองมากขึ้น ด้วย ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/world/205162

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...