เมื่อผู้ป่วยจิตเวชมาปลูกผัก
หลังจากคุณญาดา จำนงทอง หรือหมอจิ๊บ อดีตพยาบาลจิตเวช โรงพยาบาลอ่าวอุดม และทีมงานจิตอาสา ได้ทดลองนำเรื่องการปลูกผักไปเยียวยาผู้ป่วยจิตเวช และผู้ติดยาเสพติด และได้ผลเป็นที่น่าพอใจ จนตอนนี้ทั้งหมอจิ๊บและทีมงานจิตอาสา ต่างก็ร่วมมือร่วมใจกันมาทำสวนผักคนเมือง ที่ศรีราชาอย่างจริงจัง และเปิดเป็นพื้นที่ที่ช่วยบำบัดเยียวยาผู้ป่วยจิตเวชขึ้น
มาตอนนี้ นับเป็นเรื่องที่น่ายินดีอย่างยิ่งที่เราเห็นทางสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา ซึ่งเป็นโรงพยาบาลจิตเวชแห่งแรกของประเทศไทย ให้การบำบัดรักษาผู้ป่วยจิตเวช ประสาทวิทยา ประสาทศัลยศาสตร์ และจิตเวชศาสตร์มาเป็นเวลานานนับร้อยปี เริ่มหันมาสนใจเรื่องการทำสวนผัก และเปิดพื้นที่ให้ผู้ป่วยได้มีโอกาสลงมาเรียนรู้ และทำกิจกรรมในแปลงผัก เพื่อช่วยฟื้นฟูศักยภาพทั้งทางร่างกาย จิตใจ และการสร้างปฏิสัมพันธ์กับคน ให้มีทักษะทางสังคมมากยิ่งขึ้น
คุณกรรณิกา ไชยชนะ นักสังคมสงเคราะห์ประจำสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา เล่าให้ฟังว่าหนึ่งในปัญหาที่คนไข้ที่นี่ต้องเผชิญคือ เมื่อได้รับการบำบัดรักษาแล้ว แต่ไม่สามารถส่งกลับไปบ้านได้ เนื่องจากครอบครัว ญาติพี่น้องไม่ยอมรับ ทางโรงพยาบาลจึงคิดเรื่องการฝึกอาชีพให้ ที่ผ่านมาส่วนใหญ่จะเป็นการฝึกอาชีวะบำบัด เช่นให้ทำผ้าบาติก ทำหัตถกรรม ฝึกปอกสายไฟ ฝึกทำงานศิลปะต่างๆ หรือบางครั้งก็ให้มาช่วยดูแลสวน คือให้รดน้ำ ตัดหญ้าเท่านั้น จนมีคนไข้รายหนึ่งเสนอว่าอยากหัดปลูกผัก เผื่อว่าจะได้ออกไปปลูกผักขายเป็นอาชีพได้ ทางทีมฟื้นฟูศักยภาพ ฝ่ายงานอาคารสถานที่ และตึกราชาวดี ของสถาบันจึงได้ปรึกษาหารือกัน และตกลงขอใช้พื้นที่ที่เคยรกร้างของฝ่ายอาคารสถานที่มาทำเป็นแปลง ให้คนไข้ได้เรียนรู้ ฝึกฝนเรื่องการปลูกผัก จนสามารถนำผลผลิตบางส่วนไปจำหน่ายให้ตามตึกต่างๆของสถาบันได้แล้ว
งานนี้คนที่ลืมพูดถึงและกล่าวชื่นชมในน้ำใจและฝีมือเลยไม่ได้ก็คือพี่เพชร เจ้าหน้าฝ่ายอาคารสถานที่ที่สละเวลางาน มาช่วยสอน และฝึกฝนคนไข้ ตลอดจนช่วยลงมือลงแรงทำสวนผักจนสำเร็จเป็นรูปธรรมขึ้นมาได้
พี่เพชรเล่าให้ฟังว่า ตอนแรกก็ไม่แน่ใจว่าตัวเองจะสามารถสอนคนไข้ปลูกผักได้ เพราะไม่เคยอยู่กับคนไข้มาก่อน บางทีก็มีความรู้สึกกลัวจะถูกทำร้าย เพราะโดยปกติแล้วเขาจะไม่อนุญาตให้คนไข้ใช้ของมีคม แต่ถ้ามาทำสวนก็อาจต้องใช้บ้าง อย่างไรก็ตาม ในที่สุดพี่เพชรก็เปิดใจตัวเอง ค่อยๆเรียนรู้และทำความคุ้นเคยกับคนไข้ เริ่มจากรดน้ำต้นไม้ เก็บกวาดใบไม้ จนได้มาลงมือปรับพื้นที่ และยกแปลงปลูกผักร่วมกัน “เรารู้สึกอยากช่วยคนไข้ บางทีเราเห็นแล้วเราก็รู้สึกว่าจะเอาเขามาขังไว้หรือจะเอามารักษา เวลาเราขึ้นไปบนอาคารเรารู้สึกอย่างนั้น ที่นี่เราก็ช่วยเขาเต็มที่ ให้ลองเรียนรู้ ทำสวน ปลูกผักร่วมกัน พอพักบางทีเราก็ซื้อขนม ซื้อน้ำ ซื้อลูกชิ้นให้เขามานั่งกินด้วยกัน” พี่เพชรกล่าว
จากวันนั้นที่พื้นที่แห่งนี้เต็มไปด้วยพงหญ้า ตอนนี้หากใครมีโอกาสเข้าไปดูอีกครั้ง ก็จะพบความเขียวขจีของพืชผักนานาชนิด ที่ทั้งพี่เพชร และคนไข้ได้มาช่วยกันปลูกไว้ งานนี้ทางโครงการสวนผักคนเมืองก็มีโอกาสได้แบ่งปันเมล็ดพันธุ์บางส่วนไปไว้ ให้พี่เพชรและคนไข้ปลูกด้วย ตอนกลับไปเยี่ยมเยียนอีกครั้งก็เห็นผลผลิตงอกงามอย่างน่าชื่นใจ
ไม่เพียงผลผลิตที่คนไข้ได้กิน และได้นำไปแบ่งขายเป็นรายได้เล็กน้อยๆให้เป็นทุนไว้เลี้ยงชีพแล้ว ทางนักสังคมสงเคราะห์ยังเล่าให้ฟังว่า เห็นพัฒนาการของคนไข้ จากเดิมที่เป็นคนซึมๆ พอมาปลูกผัก ก็รู้สึกร่าเริง สดชื่นขึ้น พอเขาออกไปอยู่ที่สถานสงเคราะห์ ก็สามารถรับจ้างทำสวนได้
“ปลูกผักแล้วได้ออกกำลังกาย ได้ออกกำลังสมอง ได้คิดวางแผน ประมวลว่าต้องทำอะไรบ้าง”
“ปลูกผักแล้วได้ขยับมือ ได้ออกกำลังนิ้ว”
“ปลูกผักแล้วได้ความภูมิใจ ถ้าปลูกแล้วมันตาย เราก็ปลูกใหม่ได้ เหมือนได้รู้ว่าล้มแล้วก็ลุกขึ้นได้”
คำพูดเหล่านี้เป็นเสียงสะท้อนจากคนไข้จิตเวชที่มีโอกาสได้ลงมาเรียนรู้เรื่องการปลูกผัก และก็ทำให้เรารู้ว่า ปลูกผักนั้น ให้อะไรมากกว่าผัก จริงๆ
แม้ว่าโครงการฟื้นฟูศักยภาพด้วยการปลูกผักของสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยาแห่งนี้จะเพิ่งเริ่มต้น แต่ก็นับเป็นก้าวแรกที่สำคัญ และกล้าทดลองออกเดินสู่เส้นทางสายใหม่ เราขอเป็นกำลังใจและเป็นเพื่อนร่วมเดินทางไปด้วยกันนะคะ
ขอบคุณ … http://www.thaicityfarm.com/autopagev4/show_page.php?topic_id=507&auto_id=47&TopicPk=
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
แปลงปลูกผักฝีมือผู้ป่วยจิตเวช หลังจากคุณญาดา จำนงทอง หรือหมอจิ๊บ อดีตพยาบาลจิตเวช โรงพยาบาลอ่าวอุดม และทีมงานจิตอาสา ได้ทดลองนำเรื่องการปลูกผักไปเยียวยาผู้ป่วยจิตเวช และผู้ติดยาเสพติด และได้ผลเป็นที่น่าพอใจ จนตอนนี้ทั้งหมอจิ๊บและทีมงานจิตอาสา ต่างก็ร่วมมือร่วมใจกันมาทำสวนผักคนเมือง ที่ศรีราชาอย่างจริงจัง และเปิดเป็นพื้นที่ที่ช่วยบำบัดเยียวยาผู้ป่วยจิตเวชขึ้น มาตอนนี้ นับเป็นเรื่องที่น่ายินดีอย่างยิ่งที่เราเห็นทางสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา ซึ่งเป็นโรงพยาบาลจิตเวชแห่งแรกของประเทศไทย ให้การบำบัดรักษาผู้ป่วยจิตเวช ประสาทวิทยา ประสาทศัลยศาสตร์ และจิตเวชศาสตร์มาเป็นเวลานานนับร้อยปี เริ่มหันมาสนใจเรื่องการทำสวนผัก และเปิดพื้นที่ให้ผู้ป่วยได้มีโอกาสลงมาเรียนรู้ และทำกิจกรรมในแปลงผัก เพื่อช่วยฟื้นฟูศักยภาพทั้งทางร่างกาย จิตใจ และการสร้างปฏิสัมพันธ์กับคน ให้มีทักษะทางสังคมมากยิ่งขึ้น คุณกรรณิกา ไชยชนะ นักสังคมสงเคราะห์ประจำสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา เล่าให้ฟังว่าหนึ่งในปัญหาที่คนไข้ที่นี่ต้องเผชิญคือ เมื่อได้รับการบำบัดรักษาแล้ว แต่ไม่สามารถส่งกลับไปบ้านได้ เนื่องจากครอบครัว ญาติพี่น้องไม่ยอมรับ ทางโรงพยาบาลจึงคิดเรื่องการฝึกอาชีพให้ ที่ผ่านมาส่วนใหญ่จะเป็นการฝึกอาชีวะบำบัด เช่นให้ทำผ้าบาติก ทำหัตถกรรม ฝึกปอกสายไฟ ฝึกทำงานศิลปะต่างๆ หรือบางครั้งก็ให้มาช่วยดูแลสวน คือให้รดน้ำ ตัดหญ้าเท่านั้น จนมีคนไข้รายหนึ่งเสนอว่าอยากหัดปลูกผัก เผื่อว่าจะได้ออกไปปลูกผักขายเป็นอาชีพได้ ทางทีมฟื้นฟูศักยภาพ ฝ่ายงานอาคารสถานที่ และตึกราชาวดี ของสถาบันจึงได้ปรึกษาหารือกัน และตกลงขอใช้พื้นที่ที่เคยรกร้างของฝ่ายอาคารสถานที่มาทำเป็นแปลง ให้คนไข้ได้เรียนรู้ ฝึกฝนเรื่องการปลูกผัก จนสามารถนำผลผลิตบางส่วนไปจำหน่ายให้ตามตึกต่างๆของสถาบันได้แล้ว กลุ่มผู้ป่วยนั่งอบรมก่อนลงมือปลูกผัก งานนี้คนที่ลืมพูดถึงและกล่าวชื่นชมในน้ำใจและฝีมือเลยไม่ได้ก็คือพี่เพชร เจ้าหน้าฝ่ายอาคารสถานที่ที่สละเวลางาน มาช่วยสอน และฝึกฝนคนไข้ ตลอดจนช่วยลงมือลงแรงทำสวนผักจนสำเร็จเป็นรูปธรรมขึ้นมาได้ พี่เพชรเล่าให้ฟังว่า ตอนแรกก็ไม่แน่ใจว่าตัวเองจะสามารถสอนคนไข้ปลูกผักได้ เพราะไม่เคยอยู่กับคนไข้มาก่อน บางทีก็มีความรู้สึกกลัวจะถูกทำร้าย เพราะโดยปกติแล้วเขาจะไม่อนุญาตให้คนไข้ใช้ของมีคม แต่ถ้ามาทำสวนก็อาจต้องใช้บ้าง อย่างไรก็ตาม ในที่สุดพี่เพชรก็เปิดใจตัวเอง ค่อยๆเรียนรู้และทำความคุ้นเคยกับคนไข้ เริ่มจากรดน้ำต้นไม้ เก็บกวาดใบไม้ จนได้มาลงมือปรับพื้นที่ และยกแปลงปลูกผักร่วมกัน “เรารู้สึกอยากช่วยคนไข้ บางทีเราเห็นแล้วเราก็รู้สึกว่าจะเอาเขามาขังไว้หรือจะเอามารักษา เวลาเราขึ้นไปบนอาคารเรารู้สึกอย่างนั้น ที่นี่เราก็ช่วยเขาเต็มที่ ให้ลองเรียนรู้ ทำสวน ปลูกผักร่วมกัน พอพักบางทีเราก็ซื้อขนม ซื้อน้ำ ซื้อลูกชิ้นให้เขามานั่งกินด้วยกัน” พี่เพชรกล่าว จากวันนั้นที่พื้นที่แห่งนี้เต็มไปด้วยพงหญ้า ตอนนี้หากใครมีโอกาสเข้าไปดูอีกครั้ง ก็จะพบความเขียวขจีของพืชผักนานาชนิด ที่ทั้งพี่เพชร และคนไข้ได้มาช่วยกันปลูกไว้ งานนี้ทางโครงการสวนผักคนเมืองก็มีโอกาสได้แบ่งปันเมล็ดพันธุ์บางส่วนไปไว้ ให้พี่เพชรและคนไข้ปลูกด้วย ตอนกลับไปเยี่ยมเยียนอีกครั้งก็เห็นผลผลิตงอกงามอย่างน่าชื่นใจ ไม่เพียงผลผลิตที่คนไข้ได้กิน และได้นำไปแบ่งขายเป็นรายได้เล็กน้อยๆให้เป็นทุนไว้เลี้ยงชีพแล้ว ทางนักสังคมสงเคราะห์ยังเล่าให้ฟังว่า เห็นพัฒนาการของคนไข้ จากเดิมที่เป็นคนซึมๆ พอมาปลูกผัก ก็รู้สึกร่าเริง สดชื่นขึ้น พอเขาออกไปอยู่ที่สถานสงเคราะห์ ก็สามารถรับจ้างทำสวนได้ “ปลูกผักแล้วได้ออกกำลังกาย ได้ออกกำลังสมอง ได้คิดวางแผน ประมวลว่าต้องทำอะไรบ้าง” “ปลูกผักแล้วได้ขยับมือ ได้ออกกำลังนิ้ว” “ปลูกผักแล้วได้ความภูมิใจ ถ้าปลูกแล้วมันตาย เราก็ปลูกใหม่ได้ เหมือนได้รู้ว่าล้มแล้วก็ลุกขึ้นได้” คำพูดเหล่านี้เป็นเสียงสะท้อนจากคนไข้จิตเวชที่มีโอกาสได้ลงมาเรียนรู้เรื่องการปลูกผัก และก็ทำให้เรารู้ว่า ปลูกผักนั้น ให้อะไรมากกว่าผัก จริงๆ แม้ว่าโครงการฟื้นฟูศักยภาพด้วยการปลูกผักของสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยาแห่งนี้จะเพิ่งเริ่มต้น แต่ก็นับเป็นก้าวแรกที่สำคัญ และกล้าทดลองออกเดินสู่เส้นทางสายใหม่ เราขอเป็นกำลังใจและเป็นเพื่อนร่วมเดินทางไปด้วยกันนะคะ ขอบคุณ … http://www.thaicityfarm.com/autopagev4/show_page.php?topic_id=507&auto_id=47&TopicPk=
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)