เรียนรู้ให้เข้าใจ 'เด็ก' 'แอสเพอร์เกอร์' 'อัจฉริยะ' สร้างได้!!
'แอสเพอร์เกอร์' เป็นหนึ่งในความผิดปกติที่อยู่ในกลุ่ม “ออทิสติก” ซึ่งพ่อแม่ผู้ปกครองหลายคนเมื่อได้ยิน 2 คำนี้มาโยงกับ ’เด็ก“ ที่เป็นบุตรหลาน ก็มักกังวลใจสูง เนื่องจากมีความเชื่อฝังใจกับความหมายเชิงลบเกี่ยวกับออทิสติก อย่างไรก็ตาม แอสเพอร์เกอร์นั้น จริง ๆ แล้วสามารถดำเนินชีวิตและประสบความสำเร็จได้ไม่น้อยกว่าคนปกติทั่ว ๆ ไป เพียงแต่...ก็ต้องได้รับการเลี้ยงดูและดูแลช่วยเหลืออย่างถูกวิธีตั้งแต่ในวัยเด็ก
เข้าใจและดูแลช่วยเหลือเด็กกลุ่มนี้อย่างถูกวิธี - เมื่อเด็กเติบโตขึ้นอาจจะเป็น “อัจฉริยะ” ก็ได้!! “มีผู้ป่วยแอสเพอร์เกอร์จำนวนไม่น้อยเลยที่ประสบความสำเร็จในชีวิต และสามารถดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข” ...นี่เป็นส่วนหนึ่งจากการระบุของ พญ.กมลชนก เหล่าชัยศรี จิตแพทย์เด็กประจำ โรงพยาบาลมนารมย์ ซึ่งทางโรงพยาบาลแห่งนี้ได้มีการจัดบรรยายหัวข้อ “เปิดโลกแอสเพอร์เกอร์” ขึ้น เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้สังคมไทย สร้างความรู้ความเข้าใจในการดูแลเด็กกลุ่มนี้อย่างถูกต้องเหมาะสม
ทั้งนี้ ในปัจจุบันยังไม่สามารถระบุได้แน่ชัดว่า “แอสเพอร์เกอร์” เกิดจากสาเหตุใด แต่ที่แน่ ๆ ไม่ได้เกิดจากการเลี้ยงดู ซึ่งผู้ป่วยแอสเพอร์เกอร์ส่วนใหญ่ก็มีความสามารถทางสติปัญญาในเกณฑ์ปกติ แถม บางรายสติปัญญาในขั้นดีเลิศ อย่างไรก็ตาม พฤติกรรมผิดปกติของแอสเพอร์เกอร์คือ มีปัญหาด้านพัฒนาการของทักษะทางสังคม ซึ่งพ่อแม่ผู้ปกครอง ครู สามารถจะสังเกตเห็นได้ตั้งแต่วัยเด็ก ในช่วงตั้งแต่เด็กเริ่มหัดพูด
“เด็กที่มีภาวะแอสเพอร์เกอร์จะ ไม่สามารถเข้าใจถึงความรู้สึก ความต้องการของผู้อื่น จึงพูดแต่ในแง่มุมของตัวเอง ซึ่งไม่ใช่ลักษณะการพูดคุยสื่อสารทางสังคมแบบโต้ตอบที่มีลักษณะถ้อยทีถ้อย อาศัย และ มักมีการดำเนินกิจวัตรประจำวันรูปแบบเดิมซ้ำ ๆ ไม่เปลี่ยนแปลง หากมีการเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตประจำวันที่แตกต่างไปจากเดิมจะเกิดความเครียดขึ้นทันที ซึ่งบางครั้งอาจหงุดหงิด โกรธ หรืออาจอาละวาด หากพบว่าเด็กมีพฤติกรรมคล้ายคลึงกับลักษณะดังกล่าวนี้ ควรจะให้แพทย์วินิจฉัยอย่างละเอียดด้วยการตรวจร่างกาย ระบบประสาท พัฒนาการ และสภาพจิต เพื่อประเมินและหาแนวทางช่วยเหลือ”...พญ.กมลชนก ระบุ
พร้อมทั้งบอกอีกว่า... สำหรับเด็กที่มีภาวะแอสเพอร์เกอร์ การมีพฤติกรรม เช่น ก้าวร้าว ทำร้ายตัวเอง ย้ำคิดย้ำทำ ซึมเศร้า วิตกกังวล ก็อาจเป็นอาการร่วมกับลักษณะดังที่ว่ามาข้างต้น ซึ่งหากมีอาการเหล่านี้ร่วมด้วยก็อาจจะต้องใช้ยาร่วมกับการทำพฤติกรรมบำบัด ในการรักษา โดย สิ่งที่สำคัญคือการช่วยเหลือเด็กในด้านพัฒนาการทางสังคม สอนทักษะการปฏิบัติตัวทางสังคมในชีวิตประจำวัน สอนวิธีการแก้ไขสถานการณ์ที่พบบ่อยและเป็นปัญหา มีการช่วยสอนให้รับรู้ว่าคนอื่นคิดอย่างไร รู้สึกอย่างไร รวมถึงการสอนให้มีการประเมินพฤติกรรมของตนเองว่าเหมาะสมเพียงใด และสอนให้เข้าใจความเกี่ยวโยงของสถานการณ์กับความรู้สึกด้วย
นอกจากนี้ ก็ ควรได้รับความร่วมมือจากครูและสถานศึกษา ครูผู้สอนควรใช้วิธีการสื่อสารที่สั้น ชัดเจน ตรงประเด็น และตรวจสอบความเข้าใจของเด็กทุกครั้ง รวมถึงสอนให้เด็กมีทักษะโต้ตอบทางสังคมในเรื่องกฎ กติกา มารยาท สิทธิส่วนบุคคล การปฏิบัติตนกับคนแปลกหน้า การแสดงออกต่าง ๆ กับบุคคลอื่น อีกทั้งเรื่อง มีการช่วยเหลือและทำความเข้าใจจากเพื่อนร่วมชั้นเรียน กับเด็กที่มีภาวะแอสเพอร์เกอร์ นี่ก็สำคัญ
จิตแพทย์เด็กโรงพยาบาลมนารมย์ ระบุด้วยว่า...ด้วยความบกพร่องด้านทักษะทางสังคม จึงมักถูกเพื่อนรังแกบ่อยๆ ซึ่งแท้จริงแล้วเด็กที่มีภาวะแอสเพอร์เกอร์ก็ต้องการเข้าสังคม เด็กแอสเพอร์เกอร์แม้จะมีความบกพร่องทางสังคม แต่ก็มีศักยภาพ และมีความน่ารักอยู่ในตัว จะให้อภัยคนง่าย ไว้ใจได้ มีความรับผิดชอบ ไม่ลักขโมย ไม่ค่อยรังเกียจหรือรังแกใคร ไม่แบ่งแยกคนจากภาษาหรือสีผิว และก็ ฉลาดและมีความสามารถ ดังนั้น นอกจากช่วยเหลือด้านพัฒนาการทางสังคมและการเรียนแล้ว ก็ ควรหาจุดแข็งของเด็กให้พบ เพื่อใช้เป็นจุดเด่นที่ทำให้เพื่อนๆ และสังคมยอมรับ ซึ่งจะช่วยให้เด็กสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข
ด้านผู้ปกครองที่เข้าร่วมฟังบรรยาย “เปิดโลกแอสเพอร์เกอร์” รายหนึ่ง ก็ระบุว่า...พ่อแม่ของเด็กที่มีภาวะแอสเพอร์เกอร์ก็ย่อมกังวล พยายามปกป้องลูกจากสถานการณ์ต่าง ๆ แต่วิธีที่ดีกว่าคือสอนให้เขาแยกแยะ และสอนวิธีรับมือที่เขาพอจะทำได้ด้วยตนเอง แสดงให้เขาเห็นว่าเราภูมิใจที่เขาสามารถจะเอาตัวรอดได้ พ่อแม่ควรคิดในแง่ดี ’เลิกคิดว่าลูกผิดปกติ แต่ควรมองหาว่าลูกมีจุดเด่นอะไร แล้วช่วยเขาพัฒนาให้ดีขึ้น“
ทั้งนี้ เชื่อหรือไม่?? กับนักฟิสิกส์ชื่อก้องโลกอย่าง อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ นักวิทยาศาสตร์ผู้ค้นพบแรงโน้มถ่วงอย่าง เซอร์ไอแซค นิวตัน อัจฉริยะระดับโลกหลายคนทั้งในอดีตและในปัจจุบัน ก็มีการตั้งข้อสังเกตกันว่า อาจมีประวัติเข้าข่ายภาวะ “แอสเพอร์เกอร์” หนึ่งในภาวะในกลุ่ม “ออทิสติก” ซึ่งนี่ก็สะท้อนนัยสำคัญ
เรียนรู้และเข้าใจวิธีการดูแลเลี้ยงดูที่ถูกต้อง แม้ลูกเป็น ’เด็กแอสเพอร์เกอร์“ ก็ไม่เป็นไร ’สร้างลูกเป็นอัจฉริยะ“ ก็สามารถทำได้!!!!!.
ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/223/208060 (ขนาดไฟล์: 167)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
ภาพวาดการ์ตูน ชาย หญิง และเด็ก 'แอสเพอร์เกอร์' เป็นหนึ่งในความผิดปกติที่อยู่ในกลุ่ม “ออทิสติก” ซึ่งพ่อแม่ผู้ปกครองหลายคนเมื่อได้ยิน 2 คำนี้มาโยงกับ ’เด็ก“ ที่เป็นบุตรหลาน ก็มักกังวลใจสูง เนื่องจากมีความเชื่อฝังใจกับความหมายเชิงลบเกี่ยวกับออทิสติก อย่างไรก็ตาม แอสเพอร์เกอร์นั้น จริง ๆ แล้วสามารถดำเนินชีวิตและประสบความสำเร็จได้ไม่น้อยกว่าคนปกติทั่ว ๆ ไป เพียงแต่...ก็ต้องได้รับการเลี้ยงดูและดูแลช่วยเหลืออย่างถูกวิธีตั้งแต่ในวัยเด็ก เข้าใจและดูแลช่วยเหลือเด็กกลุ่มนี้อย่างถูกวิธี - เมื่อเด็กเติบโตขึ้นอาจจะเป็น “อัจฉริยะ” ก็ได้!! “มีผู้ป่วยแอสเพอร์เกอร์จำนวนไม่น้อยเลยที่ประสบความสำเร็จในชีวิต และสามารถดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข” ...นี่เป็นส่วนหนึ่งจากการระบุของ พญ.กมลชนก เหล่าชัยศรี จิตแพทย์เด็กประจำ โรงพยาบาลมนารมย์ ซึ่งทางโรงพยาบาลแห่งนี้ได้มีการจัดบรรยายหัวข้อ “เปิดโลกแอสเพอร์เกอร์” ขึ้น เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้สังคมไทย สร้างความรู้ความเข้าใจในการดูแลเด็กกลุ่มนี้อย่างถูกต้องเหมาะสม ทั้งนี้ ในปัจจุบันยังไม่สามารถระบุได้แน่ชัดว่า “แอสเพอร์เกอร์” เกิดจากสาเหตุใด แต่ที่แน่ ๆ ไม่ได้เกิดจากการเลี้ยงดู ซึ่งผู้ป่วยแอสเพอร์เกอร์ส่วนใหญ่ก็มีความสามารถทางสติปัญญาในเกณฑ์ปกติ แถม บางรายสติปัญญาในขั้นดีเลิศ อย่างไรก็ตาม พฤติกรรมผิดปกติของแอสเพอร์เกอร์คือ มีปัญหาด้านพัฒนาการของทักษะทางสังคม ซึ่งพ่อแม่ผู้ปกครอง ครู สามารถจะสังเกตเห็นได้ตั้งแต่วัยเด็ก ในช่วงตั้งแต่เด็กเริ่มหัดพูด “เด็กที่มีภาวะแอสเพอร์เกอร์จะ ไม่สามารถเข้าใจถึงความรู้สึก ความต้องการของผู้อื่น จึงพูดแต่ในแง่มุมของตัวเอง ซึ่งไม่ใช่ลักษณะการพูดคุยสื่อสารทางสังคมแบบโต้ตอบที่มีลักษณะถ้อยทีถ้อย อาศัย และ มักมีการดำเนินกิจวัตรประจำวันรูปแบบเดิมซ้ำ ๆ ไม่เปลี่ยนแปลง หากมีการเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตประจำวันที่แตกต่างไปจากเดิมจะเกิดความเครียดขึ้นทันที ซึ่งบางครั้งอาจหงุดหงิด โกรธ หรืออาจอาละวาด หากพบว่าเด็กมีพฤติกรรมคล้ายคลึงกับลักษณะดังกล่าวนี้ ควรจะให้แพทย์วินิจฉัยอย่างละเอียดด้วยการตรวจร่างกาย ระบบประสาท พัฒนาการ และสภาพจิต เพื่อประเมินและหาแนวทางช่วยเหลือ”...พญ.กมลชนก ระบุ พร้อมทั้งบอกอีกว่า... สำหรับเด็กที่มีภาวะแอสเพอร์เกอร์ การมีพฤติกรรม เช่น ก้าวร้าว ทำร้ายตัวเอง ย้ำคิดย้ำทำ ซึมเศร้า วิตกกังวล ก็อาจเป็นอาการร่วมกับลักษณะดังที่ว่ามาข้างต้น ซึ่งหากมีอาการเหล่านี้ร่วมด้วยก็อาจจะต้องใช้ยาร่วมกับการทำพฤติกรรมบำบัด ในการรักษา โดย สิ่งที่สำคัญคือการช่วยเหลือเด็กในด้านพัฒนาการทางสังคม สอนทักษะการปฏิบัติตัวทางสังคมในชีวิตประจำวัน สอนวิธีการแก้ไขสถานการณ์ที่พบบ่อยและเป็นปัญหา มีการช่วยสอนให้รับรู้ว่าคนอื่นคิดอย่างไร รู้สึกอย่างไร รวมถึงการสอนให้มีการประเมินพฤติกรรมของตนเองว่าเหมาะสมเพียงใด และสอนให้เข้าใจความเกี่ยวโยงของสถานการณ์กับความรู้สึกด้วย นอกจากนี้ ก็ ควรได้รับความร่วมมือจากครูและสถานศึกษา ครูผู้สอนควรใช้วิธีการสื่อสารที่สั้น ชัดเจน ตรงประเด็น และตรวจสอบความเข้าใจของเด็กทุกครั้ง รวมถึงสอนให้เด็กมีทักษะโต้ตอบทางสังคมในเรื่องกฎ กติกา มารยาท สิทธิส่วนบุคคล การปฏิบัติตนกับคนแปลกหน้า การแสดงออกต่าง ๆ กับบุคคลอื่น อีกทั้งเรื่อง มีการช่วยเหลือและทำความเข้าใจจากเพื่อนร่วมชั้นเรียน กับเด็กที่มีภาวะแอสเพอร์เกอร์ นี่ก็สำคัญ จิตแพทย์เด็กโรงพยาบาลมนารมย์ ระบุด้วยว่า...ด้วยความบกพร่องด้านทักษะทางสังคม จึงมักถูกเพื่อนรังแกบ่อยๆ ซึ่งแท้จริงแล้วเด็กที่มีภาวะแอสเพอร์เกอร์ก็ต้องการเข้าสังคม เด็กแอสเพอร์เกอร์แม้จะมีความบกพร่องทางสังคม แต่ก็มีศักยภาพ และมีความน่ารักอยู่ในตัว จะให้อภัยคนง่าย ไว้ใจได้ มีความรับผิดชอบ ไม่ลักขโมย ไม่ค่อยรังเกียจหรือรังแกใคร ไม่แบ่งแยกคนจากภาษาหรือสีผิว และก็ ฉลาดและมีความสามารถ ดังนั้น นอกจากช่วยเหลือด้านพัฒนาการทางสังคมและการเรียนแล้ว ก็ ควรหาจุดแข็งของเด็กให้พบ เพื่อใช้เป็นจุดเด่นที่ทำให้เพื่อนๆ และสังคมยอมรับ ซึ่งจะช่วยให้เด็กสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข ด้านผู้ปกครองที่เข้าร่วมฟังบรรยาย “เปิดโลกแอสเพอร์เกอร์” รายหนึ่ง ก็ระบุว่า...พ่อแม่ของเด็กที่มีภาวะแอสเพอร์เกอร์ก็ย่อมกังวล พยายามปกป้องลูกจากสถานการณ์ต่าง ๆ แต่วิธีที่ดีกว่าคือสอนให้เขาแยกแยะ และสอนวิธีรับมือที่เขาพอจะทำได้ด้วยตนเอง แสดงให้เขาเห็นว่าเราภูมิใจที่เขาสามารถจะเอาตัวรอดได้ พ่อแม่ควรคิดในแง่ดี ’เลิกคิดว่าลูกผิดปกติ แต่ควรมองหาว่าลูกมีจุดเด่นอะไร แล้วช่วยเขาพัฒนาให้ดีขึ้น“ ทั้งนี้ เชื่อหรือไม่?? กับนักฟิสิกส์ชื่อก้องโลกอย่าง อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ นักวิทยาศาสตร์ผู้ค้นพบแรงโน้มถ่วงอย่าง เซอร์ไอแซค นิวตัน อัจฉริยะระดับโลกหลายคนทั้งในอดีตและในปัจจุบัน ก็มีการตั้งข้อสังเกตกันว่า อาจมีประวัติเข้าข่ายภาวะ “แอสเพอร์เกอร์” หนึ่งในภาวะในกลุ่ม “ออทิสติก” ซึ่งนี่ก็สะท้อนนัยสำคัญ เรียนรู้และเข้าใจวิธีการดูแลเลี้ยงดูที่ถูกต้อง แม้ลูกเป็น ’เด็กแอสเพอร์เกอร์“ ก็ไม่เป็นไร ’สร้างลูกเป็นอัจฉริยะ“ ก็สามารถทำได้!!!!!. ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/223/208060
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)