ฟื้นฟู"เด็กออทิสติก"อยู่ร่วมสังคมปกติสุข

แสดงความคิดเห็น

"น.ส.ธารทิพย์" นำสื่อมวลชนเยี่ยมชมโรงพยาบาลขอนแก่น

"ตะลอนตาม อำเภอใจ"- "เด็กออทิสติก" คือ เด็กที่มีความผิดปกติทางพัฒนาการด้านสังคม ภาษา และการสื่อความหมาย พฤติกรรมอารมณ์ และจินตนาการ ซึ่งมีสาเหตุเนื่องมาจากการทำงานในหน้าที่บางส่วนของสมองผิดปกติ ทำให้กลายเป็น "เด็กพิเศษ" ที่ต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อให้พัฒนาสมรรถภาพทางร่างกาย สมอง ให้สามารถเรียนรู้และใช้ชีวิตได้อย่างเป็นปกติด้วยความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ และการลองผิดลองถูกของผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็กพิเศษกลุ่มนี้ ปัจจุบันทำให้เกิดองค์ความรู้ ความเข้าใจ "เด็กออทิสติก" มากขึ้น เรื่อยๆ และได้ใช้ความรู้นั้นเพื่อบำบัด รักษา "เด็กออทิสติก" ด้วยการกระตุ้นพัฒนาการของเด็ก เช่น การฝึกพูด พฤติกรรมบำบัด การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการเรียนรู้ การฝึกการเคลื่อนไหวร่างกาย จน "เด็กออทิสติก" บางคน สามารถลบความแตกต่าง และใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างปกติสุข

ผมหยิบยกเรื่องราวของ "เด็กออทิสติก" มาเขียนถึง เพราะเมื่อช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมาได้มีโอกาสร่วมเดินทางกับคณะสื่อมวลชนสัญจร ที่มี "ธารทิพย์ กาญจนาภา" ผอ.ส่วนสื่อสารสร้างความเข้าใจในการพัฒนาระบบราชการ สำนักงานคณะกรรมการระบบราชการ หรือก.พ.ร. ได้นำคณะสื่อมวลชนเข้าเยี่ยมชมการดำเนินงานของโรงพยาบาลของแก่น อ.เมืองขอนแก่น จ.ขอนแก่น โดยมี "นพ.วีระพันธ์ สุพรรณไชยมาตย์" ผอ.โรงพยาบาลขอนแก่น นำคณะแพทย์-พยาบาลให้การต้อนรับ พร้อมนำคณะแพทย์และพยาบาลบรรยายสรุปให้คณะสื่อมวลชนฟังกันอย่างทั่วถึง

"พญ.ภัทรา ฤชุวรารักษ์" นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ โรงพยาบาลขอนแก่น "น.ส.ธารทิพย์" บอกว่า การนำสื่อมวลชนเยี่ยมชมโรงพยาบาลขอนแก่นครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเยี่ยมชมงานบริการประชาชนของโรงพยาบาลขอนแก่นที่มีการพัฒนาคุณภาพการบริการโดดเด่น และจากการตัดสิน Best Practices รางวัลบริการภาครัฐแห่งชาติ ที่สำนักงาน ก.พ.ร. ประจำปี 2555 ที่ผ่านมา โรงพยาบาลขอนแก่นได้รับรางวัลบริการภาครัฐแห่งชาติถึง 2 รางวัล คือ รางวัลบูรณาการบริการที่เป็นเลิศ จากโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพบุคคลออทิสติกสู่ชุมชนอยู่ดีมีสุข และรางวัลนวัตกรรมบริการที่เป็นเลิศ จากโครงการ คิดใหม่ทำใหม่ เพื่อผู้ป่วยธาลัสซีเมีย ซึ่งการดำเนินโครงการของโรงพยาบาลขอนแก่นมีความโดดเด่น ในกระบวนการศึกษาแตกต่างกันตามปัจจัยของกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นโรคออทิสติกและโรคธาลัสซีเมีย

"พญ.ภัทรา ฤชุวรารักษ์" นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ โรงพยาบาลขอนแก่น บอกว่า การดูแลบุคคลที่เป็น "ออทิสติก" นอกจากจะมีหลักคิดเน้นการมีส่วนร่วมของทีม และจัดการแบบผนึกกำลัง ยึดหลักการทำงานแบบพึ่งพิงกัน เชื่อมโยงองค์กรในรูปแบบคณะกรรมการภาคีเครือข่ายการดูแลบุคคลออทิสติก จ.ขอนแก่น ที่สำคัญจะต้องมีการบูรณาการแก้ไขปัญหาในทุกมิติ ได้แก่ การศึกษา สาธารณสุข เศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ควบคู่กันไปอีกด้วย

"โรงพยาบาลขอนแก่น" หลังจากเยี่ยมชม "โรงพยาบาลขอนแก่น" จนได้รับความรู้มากมายแล้ว คณะสื่อมวลชนสัญจรก็มีโอกาสเดินทางไปเยี่ยมชมศูนย์การเรียนรู้และพัฒนา ศักยภาพครอบครัวและเด็ก (Autistic Learning Center) ที่ อ.เมือง จ.ขอนแก่น โดยผู้ดูแลศูนย์การเรียนรู้แห่งนี้ บอกว่า แม้ว่าจะวิธีการดูแล "เด็กออทิสติก" หลากหลายรูปแบบแต่คนเป็นพ่อแม่ต้องเข้าใจในกระบวนการพัฒนาการของลูก เราจะเลี้ยงลูกที่เป็นเด็กพิเศษแบบเด็กปกติไม่ได้ เราจะต้องเข้าใจว่าลูกอยากเล่นอะไร เมื่อเข้าใจแล้วต้องเล่นกับเขา แล้วค่อยๆ จูงเขาออกมาในส่วนที่เราอยากจะสอน ซึ่งถือเป็นการเข้าถึงเขาก่อนที่จะพัฒนาเขาต่อไป เพราะ "เด็กออทิสติก" มีความซับซ้อน และความต้องการของเด็กแต่ละช่วงวัยมีความแตกต่างกัน ที่สำคัญศูนย์การเรียนรู้แห่งนี้ยังมีกิจกรรมต่างๆ ที่ทำร่วมกันระหว่างลูกและผู้ปกครอง อาทิ ทำขนม และงานฝีมือต่างๆ ขณะเดียวกันคณะสื่อมวลชนก็ได้เดิน ทางไปเยี่ยมชมโรงเรียนต้นแบบการจัดการศึกษาในเด็กที่มีความต้องการพิเศษ (ห้องเรียนขอบฟ้ากว้าง) ที่โรงเรียนเทศบาลวัดกลาง ถนนเหล่านาดี อ.เมือง จ.ขอนแก่น "สายชล สิงห์สุวรรณ รอง ผอ.ฝ่ายวิชาการ โรงเรียนเทศบาลวัดกลาง เล่าว่า "ห้องเรียนขอบฟ้ากว้าง" จะเน้นรูปแบบการเรียนรู้รายบุคคล และใช้แนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ยอมรับความแตกต่างของเด็กแต่ละบุคคล เปิดโอกาสให้เรียนรู้ตามที่เด็กถนัด จะเน้นวิชาภาษาไทยและคณิตศาสตร์เป็นหลัก เพื่อฟื้นฟูเรื่องการอ่านออกเขียนได้และคิดคำนวณด้วยการจัดวงนั่งคุยให้นัก เรียนฝึกเล่าเรื่อง เนื่องจากเด็กกลุ่มนี้จะไม่กล้าพูด และมีความภาคภูมิใจในตนเองต่ำ

การเรียนการสอนและกิจกรรมของเด็กๆ "นางสายชล" บอกด้วยว่า เด็กแต่ละคนจะต้องค้นหาตัวเองก่อนว่าตัวเองติดตรงไหน ก็จะเริ่มตรงนั้น บางคนยังคิดคำนวณเศษส่วนไม่ได้ ก็จะไปหยิบแบบฝึกหัดเรื่องเศษส่วนมาทำ หากไม่เข้าใจและทำไม่ได้ ครูจะสอนตัวต่อตัวจนเข้าใจ โดยไม่มีการดุด่าหรือบังคับ แต่จะใช้วิธีกระตุ้นและเชิญชวนให้เด็กลงมือทำ ซึ่งบรรยากาศการเรียนเป็นแบบสบายๆ ครูจะต้องไม่คาดหวังกับเด็ก เพราะจะทำให้เด็กเครียดจนทำไม่ได้เหมือนเดิม หากเด็กสามารถทำได้ตามตัวชี้วัดของเด็กแต่ละคน ก็ถือว่าเด็กเรียนผ่าน หลังผ่านพ้นไป 2 เดือน สังเกตเห็นผลได้ทันที นักเรียนมีความสำเร็จทางการเรียนดีขึ้นทีละน้อย จากเด็กที่ไม่สนใจอ่านหนังสือ กลับเลือกหนังสือที่ตนเองสนใจมานั่งอ่าน

การเรียนการสอนและกิจกรรมของเด็กๆ ศูนย์บริการบุคคลออทิสติกจังหวัดขอนแก่น กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ตั้งอยู่ที่ อ.เมือง จ.ขอนแก่น เป็นอีกสถานที่หนึ่งที่คณะสื่อมวลชนมีโอกาสมาเยี่ยมศูนย์แห่งนี้ ซึ่ง "ธนวรรณ สุขไพศาล" ผู้อำนวยการศูนย์บริการออทิสติกฯ ก็ได้นำเจ้าหน้าที่ และน้องๆ ออทิสติกมาให้การต้อนรับอย่างอบอุ่นทีเดียว โดย "นางธนวรรณ" บอกว่า สำหรับคนที่มาอยู่ที่นี่นั้นจะรับการสนับสนุนจากกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งคนที่มาอยู่ที่ศูนย์แห่งนี้จะไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ และขณะนี้มีเด็กที่อยู่ในการดูแลของศูนย์ฯ จำนวน 62 คน โดยก่อนหน้านี้ศูนย์แห่งนี้เกิดจากการรวมตัวกันของผู้ปกครองที่ต้องการให้ "เด็กออทิสติก" เกิดการพัฒนา มีคนดูแล จึงเป็นที่มาของการเกิดศูนย์บริการออทิสติกฯ แห่งนี้

ช่วงสุดท้ายของ "ตะลอนตามอำเภอใจ" "ธารทิพย์ กาญจนาภา" ผอ.ส่วนสื่อสารสร้างความเข้าใจในการพัฒนาระบบราชการ สำนักงานคณะกรรมการระบบราชการ หรือก.พ.ร.บอกว่า สำนักงาน ก.พ.ร.มุ่งหวังให้การจัดกิจกรรมสื่อมวลชนสัญจรในครั้งนี้ เพื่อต้องการให้สื่อมวลชนเข้าเยี่ยมชมการดำเนินงานของโรงพยาบาลขอนแก่น และหน่วยงานต่างๆ ของจังหวัดขอนแก่น เพื่อนำไปเผยแพร่สู่สาธารณชนเห็นถึงผลความสำเร็จในด้านต่างๆ เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีกับหน่วยงานราชการต่างๆ ได้จุดประกาย และก่อให้เกิดการสร้างกลไกในการพัฒนาระบบราชการที่ยั่งยืน เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนต่อไป...!!!

ขอบคุณ... http://nou999.blogspot.com/2013/06/blog-post_6.html (ขนาดไฟล์: 104)

ที่มา: ตะลอนตามอำเภอใจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 6 มิ.ย.56
วันที่โพสต์: 11/06/2556 เวลา 04:15:35 ดูภาพสไลด์โชว์ ฟื้นฟู"เด็กออทิสติก"อยู่ร่วมสังคมปกติสุข

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

"น.ส.ธารทิพย์" นำสื่อมวลชนเยี่ยมชมโรงพยาบาลขอนแก่น "ตะลอนตาม อำเภอใจ"- "เด็กออทิสติก" คือ เด็กที่มีความผิดปกติทางพัฒนาการด้านสังคม ภาษา และการสื่อความหมาย พฤติกรรมอารมณ์ และจินตนาการ ซึ่งมีสาเหตุเนื่องมาจากการทำงานในหน้าที่บางส่วนของสมองผิดปกติ ทำให้กลายเป็น "เด็กพิเศษ" ที่ต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อให้พัฒนาสมรรถภาพทางร่างกาย สมอง ให้สามารถเรียนรู้และใช้ชีวิตได้อย่างเป็นปกติด้วยความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ และการลองผิดลองถูกของผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็กพิเศษกลุ่มนี้ ปัจจุบันทำให้เกิดองค์ความรู้ ความเข้าใจ "เด็กออทิสติก" มากขึ้น เรื่อยๆ และได้ใช้ความรู้นั้นเพื่อบำบัด รักษา "เด็กออทิสติก" ด้วยการกระตุ้นพัฒนาการของเด็ก เช่น การฝึกพูด พฤติกรรมบำบัด การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการเรียนรู้ การฝึกการเคลื่อนไหวร่างกาย จน "เด็กออทิสติก" บางคน สามารถลบความแตกต่าง และใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างปกติสุข ผมหยิบยกเรื่องราวของ "เด็กออทิสติก" มาเขียนถึง เพราะเมื่อช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมาได้มีโอกาสร่วมเดินทางกับคณะสื่อมวลชนสัญจร ที่มี "ธารทิพย์ กาญจนาภา" ผอ.ส่วนสื่อสารสร้างความเข้าใจในการพัฒนาระบบราชการ สำนักงานคณะกรรมการระบบราชการ หรือก.พ.ร. ได้นำคณะสื่อมวลชนเข้าเยี่ยมชมการดำเนินงานของโรงพยาบาลของแก่น อ.เมืองขอนแก่น จ.ขอนแก่น โดยมี "นพ.วีระพันธ์ สุพรรณไชยมาตย์" ผอ.โรงพยาบาลขอนแก่น นำคณะแพทย์-พยาบาลให้การต้อนรับ พร้อมนำคณะแพทย์และพยาบาลบรรยายสรุปให้คณะสื่อมวลชนฟังกันอย่างทั่วถึง "พญ.ภัทรา ฤชุวรารักษ์" นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ โรงพยาบาลขอนแก่น "น.ส.ธารทิพย์" บอกว่า การนำสื่อมวลชนเยี่ยมชมโรงพยาบาลขอนแก่นครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเยี่ยมชมงานบริการประชาชนของโรงพยาบาลขอนแก่นที่มีการพัฒนาคุณภาพการบริการโดดเด่น และจากการตัดสิน Best Practices รางวัลบริการภาครัฐแห่งชาติ ที่สำนักงาน ก.พ.ร. ประจำปี 2555 ที่ผ่านมา โรงพยาบาลขอนแก่นได้รับรางวัลบริการภาครัฐแห่งชาติถึง 2 รางวัล คือ รางวัลบูรณาการบริการที่เป็นเลิศ จากโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพบุคคลออทิสติกสู่ชุมชนอยู่ดีมีสุข และรางวัลนวัตกรรมบริการที่เป็นเลิศ จากโครงการ คิดใหม่ทำใหม่ เพื่อผู้ป่วยธาลัสซีเมีย ซึ่งการดำเนินโครงการของโรงพยาบาลขอนแก่นมีความโดดเด่น ในกระบวนการศึกษาแตกต่างกันตามปัจจัยของกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นโรคออทิสติกและโรคธาลัสซีเมีย "พญ.ภัทรา ฤชุวรารักษ์" นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ โรงพยาบาลขอนแก่น บอกว่า การดูแลบุคคลที่เป็น "ออทิสติก" นอกจากจะมีหลักคิดเน้นการมีส่วนร่วมของทีม และจัดการแบบผนึกกำลัง ยึดหลักการทำงานแบบพึ่งพิงกัน เชื่อมโยงองค์กรในรูปแบบคณะกรรมการภาคีเครือข่ายการดูแลบุคคลออทิสติก จ.ขอนแก่น ที่สำคัญจะต้องมีการบูรณาการแก้ไขปัญหาในทุกมิติ ได้แก่ การศึกษา สาธารณสุข เศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ควบคู่กันไปอีกด้วย "โรงพยาบาลขอนแก่น"หลังจากเยี่ยมชม "โรงพยาบาลขอนแก่น" จนได้รับความรู้มากมายแล้ว คณะสื่อมวลชนสัญจรก็มีโอกาสเดินทางไปเยี่ยมชมศูนย์การเรียนรู้และพัฒนา ศักยภาพครอบครัวและเด็ก (Autistic Learning Center) ที่ อ.เมือง จ.ขอนแก่น โดยผู้ดูแลศูนย์การเรียนรู้แห่งนี้ บอกว่า แม้ว่าจะวิธีการดูแล "เด็กออทิสติก" หลากหลายรูปแบบแต่คนเป็นพ่อแม่ต้องเข้าใจในกระบวนการพัฒนาการของลูก เราจะเลี้ยงลูกที่เป็นเด็กพิเศษแบบเด็กปกติไม่ได้ เราจะต้องเข้าใจว่าลูกอยากเล่นอะไร เมื่อเข้าใจแล้วต้องเล่นกับเขา แล้วค่อยๆ จูงเขาออกมาในส่วนที่เราอยากจะสอน ซึ่งถือเป็นการเข้าถึงเขาก่อนที่จะพัฒนาเขาต่อไป เพราะ "เด็กออทิสติก" มีความซับซ้อน และความต้องการของเด็กแต่ละช่วงวัยมีความแตกต่างกัน ที่สำคัญศูนย์การเรียนรู้แห่งนี้ยังมีกิจกรรมต่างๆ ที่ทำร่วมกันระหว่างลูกและผู้ปกครอง อาทิ ทำขนม และงานฝีมือต่างๆ ขณะเดียวกันคณะสื่อมวลชนก็ได้เดิน ทางไปเยี่ยมชมโรงเรียนต้นแบบการจัดการศึกษาในเด็กที่มีความต้องการพิเศษ (ห้องเรียนขอบฟ้ากว้าง) ที่โรงเรียนเทศบาลวัดกลาง ถนนเหล่านาดี อ.เมือง จ.ขอนแก่น "สายชล สิงห์สุวรรณ รอง ผอ.ฝ่ายวิชาการ โรงเรียนเทศบาลวัดกลาง เล่าว่า "ห้องเรียนขอบฟ้ากว้าง" จะเน้นรูปแบบการเรียนรู้รายบุคคล และใช้แนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ยอมรับความแตกต่างของเด็กแต่ละบุคคล เปิดโอกาสให้เรียนรู้ตามที่เด็กถนัด จะเน้นวิชาภาษาไทยและคณิตศาสตร์เป็นหลัก เพื่อฟื้นฟูเรื่องการอ่านออกเขียนได้และคิดคำนวณด้วยการจัดวงนั่งคุยให้นัก เรียนฝึกเล่าเรื่อง เนื่องจากเด็กกลุ่มนี้จะไม่กล้าพูด และมีความภาคภูมิใจในตนเองต่ำ การเรียนการสอนและกิจกรรมของเด็กๆ"นางสายชล" บอกด้วยว่า เด็กแต่ละคนจะต้องค้นหาตัวเองก่อนว่าตัวเองติดตรงไหน ก็จะเริ่มตรงนั้น บางคนยังคิดคำนวณเศษส่วนไม่ได้ ก็จะไปหยิบแบบฝึกหัดเรื่องเศษส่วนมาทำ หากไม่เข้าใจและทำไม่ได้ ครูจะสอนตัวต่อตัวจนเข้าใจ โดยไม่มีการดุด่าหรือบังคับ แต่จะใช้วิธีกระตุ้นและเชิญชวนให้เด็กลงมือทำ ซึ่งบรรยากาศการเรียนเป็นแบบสบายๆ ครูจะต้องไม่คาดหวังกับเด็ก เพราะจะทำให้เด็กเครียดจนทำไม่ได้เหมือนเดิม หากเด็กสามารถทำได้ตามตัวชี้วัดของเด็กแต่ละคน ก็ถือว่าเด็กเรียนผ่าน หลังผ่านพ้นไป 2 เดือน สังเกตเห็นผลได้ทันที นักเรียนมีความสำเร็จทางการเรียนดีขึ้นทีละน้อย จากเด็กที่ไม่สนใจอ่านหนังสือ กลับเลือกหนังสือที่ตนเองสนใจมานั่งอ่าน การเรียนการสอนและกิจกรรมของเด็กๆ ศูนย์บริการบุคคลออทิสติกจังหวัดขอนแก่น กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ตั้งอยู่ที่ อ.เมือง จ.ขอนแก่น เป็นอีกสถานที่หนึ่งที่คณะสื่อมวลชนมีโอกาสมาเยี่ยมศูนย์แห่งนี้ ซึ่ง "ธนวรรณ สุขไพศาล" ผู้อำนวยการศูนย์บริการออทิสติกฯ ก็ได้นำเจ้าหน้าที่ และน้องๆ ออทิสติกมาให้การต้อนรับอย่างอบอุ่นทีเดียว โดย "นางธนวรรณ" บอกว่า สำหรับคนที่มาอยู่ที่นี่นั้นจะรับการสนับสนุนจากกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งคนที่มาอยู่ที่ศูนย์แห่งนี้จะไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ และขณะนี้มีเด็กที่อยู่ในการดูแลของศูนย์ฯ จำนวน 62 คน โดยก่อนหน้านี้ศูนย์แห่งนี้เกิดจากการรวมตัวกันของผู้ปกครองที่ต้องการให้ "เด็กออทิสติก" เกิดการพัฒนา มีคนดูแล จึงเป็นที่มาของการเกิดศูนย์บริการออทิสติกฯ แห่งนี้ ช่วงสุดท้ายของ "ตะลอนตามอำเภอใจ" "ธารทิพย์ กาญจนาภา" ผอ.ส่วนสื่อสารสร้างความเข้าใจในการพัฒนาระบบราชการ สำนักงานคณะกรรมการระบบราชการ หรือก.พ.ร.บอกว่า สำนักงาน ก.พ.ร.มุ่งหวังให้การจัดกิจกรรมสื่อมวลชนสัญจรในครั้งนี้ เพื่อต้องการให้สื่อมวลชนเข้าเยี่ยมชมการดำเนินงานของโรงพยาบาลขอนแก่น และหน่วยงานต่างๆ ของจังหวัดขอนแก่น เพื่อนำไปเผยแพร่สู่สาธารณชนเห็นถึงผลความสำเร็จในด้านต่างๆ เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีกับหน่วยงานราชการต่างๆ ได้จุดประกาย และก่อให้เกิดการสร้างกลไกในการพัฒนาระบบราชการที่ยั่งยืน เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนต่อไป...!!! ขอบคุณ... http://nou999.blogspot.com/2013/06/blog-post_6.html

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...