ฟื้นฟู"เด็กออทิสติก"อยู่ร่วมสังคมปกติสุข
"ตะลอนตาม อำเภอใจ"- "เด็กออทิสติก" คือ เด็กที่มีความผิดปกติทางพัฒนาการด้านสังคม ภาษา และการสื่อความหมาย พฤติกรรมอารมณ์ และจินตนาการ ซึ่งมีสาเหตุเนื่องมาจากการทำงานในหน้าที่บางส่วนของสมองผิดปกติ ทำให้กลายเป็น "เด็กพิเศษ" ที่ต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อให้พัฒนาสมรรถภาพทางร่างกาย สมอง ให้สามารถเรียนรู้และใช้ชีวิตได้อย่างเป็นปกติด้วยความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ และการลองผิดลองถูกของผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็กพิเศษกลุ่มนี้ ปัจจุบันทำให้เกิดองค์ความรู้ ความเข้าใจ "เด็กออทิสติก" มากขึ้น เรื่อยๆ และได้ใช้ความรู้นั้นเพื่อบำบัด รักษา "เด็กออทิสติก" ด้วยการกระตุ้นพัฒนาการของเด็ก เช่น การฝึกพูด พฤติกรรมบำบัด การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการเรียนรู้ การฝึกการเคลื่อนไหวร่างกาย จน "เด็กออทิสติก" บางคน สามารถลบความแตกต่าง และใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างปกติสุข
ผมหยิบยกเรื่องราวของ "เด็กออทิสติก" มาเขียนถึง เพราะเมื่อช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมาได้มีโอกาสร่วมเดินทางกับคณะสื่อมวลชนสัญจร ที่มี "ธารทิพย์ กาญจนาภา" ผอ.ส่วนสื่อสารสร้างความเข้าใจในการพัฒนาระบบราชการ สำนักงานคณะกรรมการระบบราชการ หรือก.พ.ร. ได้นำคณะสื่อมวลชนเข้าเยี่ยมชมการดำเนินงานของโรงพยาบาลของแก่น อ.เมืองขอนแก่น จ.ขอนแก่น โดยมี "นพ.วีระพันธ์ สุพรรณไชยมาตย์" ผอ.โรงพยาบาลขอนแก่น นำคณะแพทย์-พยาบาลให้การต้อนรับ พร้อมนำคณะแพทย์และพยาบาลบรรยายสรุปให้คณะสื่อมวลชนฟังกันอย่างทั่วถึง
"น.ส.ธารทิพย์" บอกว่า การนำสื่อมวลชนเยี่ยมชมโรงพยาบาลขอนแก่นครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเยี่ยมชมงานบริการประชาชนของโรงพยาบาลขอนแก่นที่มีการพัฒนาคุณภาพการบริการโดดเด่น และจากการตัดสิน Best Practices รางวัลบริการภาครัฐแห่งชาติ ที่สำนักงาน ก.พ.ร. ประจำปี 2555 ที่ผ่านมา โรงพยาบาลขอนแก่นได้รับรางวัลบริการภาครัฐแห่งชาติถึง 2 รางวัล คือ รางวัลบูรณาการบริการที่เป็นเลิศ จากโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพบุคคลออทิสติกสู่ชุมชนอยู่ดีมีสุข และรางวัลนวัตกรรมบริการที่เป็นเลิศ จากโครงการ คิดใหม่ทำใหม่ เพื่อผู้ป่วยธาลัสซีเมีย ซึ่งการดำเนินโครงการของโรงพยาบาลขอนแก่นมีความโดดเด่น ในกระบวนการศึกษาแตกต่างกันตามปัจจัยของกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นโรคออทิสติกและโรคธาลัสซีเมีย
"พญ.ภัทรา ฤชุวรารักษ์" นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ โรงพยาบาลขอนแก่น บอกว่า การดูแลบุคคลที่เป็น "ออทิสติก" นอกจากจะมีหลักคิดเน้นการมีส่วนร่วมของทีม และจัดการแบบผนึกกำลัง ยึดหลักการทำงานแบบพึ่งพิงกัน เชื่อมโยงองค์กรในรูปแบบคณะกรรมการภาคีเครือข่ายการดูแลบุคคลออทิสติก จ.ขอนแก่น ที่สำคัญจะต้องมีการบูรณาการแก้ไขปัญหาในทุกมิติ ได้แก่ การศึกษา สาธารณสุข เศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ควบคู่กันไปอีกด้วย
หลังจากเยี่ยมชม "โรงพยาบาลขอนแก่น" จนได้รับความรู้มากมายแล้ว คณะสื่อมวลชนสัญจรก็มีโอกาสเดินทางไปเยี่ยมชมศูนย์การเรียนรู้และพัฒนา ศักยภาพครอบครัวและเด็ก (Autistic Learning Center) ที่ อ.เมือง จ.ขอนแก่น โดยผู้ดูแลศูนย์การเรียนรู้แห่งนี้ บอกว่า แม้ว่าจะวิธีการดูแล "เด็กออทิสติก" หลากหลายรูปแบบแต่คนเป็นพ่อแม่ต้องเข้าใจในกระบวนการพัฒนาการของลูก เราจะเลี้ยงลูกที่เป็นเด็กพิเศษแบบเด็กปกติไม่ได้ เราจะต้องเข้าใจว่าลูกอยากเล่นอะไร เมื่อเข้าใจแล้วต้องเล่นกับเขา แล้วค่อยๆ จูงเขาออกมาในส่วนที่เราอยากจะสอน ซึ่งถือเป็นการเข้าถึงเขาก่อนที่จะพัฒนาเขาต่อไป เพราะ "เด็กออทิสติก" มีความซับซ้อน และความต้องการของเด็กแต่ละช่วงวัยมีความแตกต่างกัน ที่สำคัญศูนย์การเรียนรู้แห่งนี้ยังมีกิจกรรมต่างๆ ที่ทำร่วมกันระหว่างลูกและผู้ปกครอง อาทิ ทำขนม และงานฝีมือต่างๆ ขณะเดียวกันคณะสื่อมวลชนก็ได้เดิน ทางไปเยี่ยมชมโรงเรียนต้นแบบการจัดการศึกษาในเด็กที่มีความต้องการพิเศษ (ห้องเรียนขอบฟ้ากว้าง) ที่โรงเรียนเทศบาลวัดกลาง ถนนเหล่านาดี อ.เมือง จ.ขอนแก่น "สายชล สิงห์สุวรรณ รอง ผอ.ฝ่ายวิชาการ โรงเรียนเทศบาลวัดกลาง เล่าว่า "ห้องเรียนขอบฟ้ากว้าง" จะเน้นรูปแบบการเรียนรู้รายบุคคล และใช้แนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ยอมรับความแตกต่างของเด็กแต่ละบุคคล เปิดโอกาสให้เรียนรู้ตามที่เด็กถนัด จะเน้นวิชาภาษาไทยและคณิตศาสตร์เป็นหลัก เพื่อฟื้นฟูเรื่องการอ่านออกเขียนได้และคิดคำนวณด้วยการจัดวงนั่งคุยให้นัก เรียนฝึกเล่าเรื่อง เนื่องจากเด็กกลุ่มนี้จะไม่กล้าพูด และมีความภาคภูมิใจในตนเองต่ำ
"นางสายชล" บอกด้วยว่า เด็กแต่ละคนจะต้องค้นหาตัวเองก่อนว่าตัวเองติดตรงไหน ก็จะเริ่มตรงนั้น บางคนยังคิดคำนวณเศษส่วนไม่ได้ ก็จะไปหยิบแบบฝึกหัดเรื่องเศษส่วนมาทำ หากไม่เข้าใจและทำไม่ได้ ครูจะสอนตัวต่อตัวจนเข้าใจ โดยไม่มีการดุด่าหรือบังคับ แต่จะใช้วิธีกระตุ้นและเชิญชวนให้เด็กลงมือทำ ซึ่งบรรยากาศการเรียนเป็นแบบสบายๆ ครูจะต้องไม่คาดหวังกับเด็ก เพราะจะทำให้เด็กเครียดจนทำไม่ได้เหมือนเดิม หากเด็กสามารถทำได้ตามตัวชี้วัดของเด็กแต่ละคน ก็ถือว่าเด็กเรียนผ่าน หลังผ่านพ้นไป 2 เดือน สังเกตเห็นผลได้ทันที นักเรียนมีความสำเร็จทางการเรียนดีขึ้นทีละน้อย จากเด็กที่ไม่สนใจอ่านหนังสือ กลับเลือกหนังสือที่ตนเองสนใจมานั่งอ่าน
ศูนย์บริการบุคคลออทิสติกจังหวัดขอนแก่น กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ตั้งอยู่ที่ อ.เมือง จ.ขอนแก่น เป็นอีกสถานที่หนึ่งที่คณะสื่อมวลชนมีโอกาสมาเยี่ยมศูนย์แห่งนี้ ซึ่ง "ธนวรรณ สุขไพศาล" ผู้อำนวยการศูนย์บริการออทิสติกฯ ก็ได้นำเจ้าหน้าที่ และน้องๆ ออทิสติกมาให้การต้อนรับอย่างอบอุ่นทีเดียว โดย "นางธนวรรณ" บอกว่า สำหรับคนที่มาอยู่ที่นี่นั้นจะรับการสนับสนุนจากกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งคนที่มาอยู่ที่ศูนย์แห่งนี้จะไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ และขณะนี้มีเด็กที่อยู่ในการดูแลของศูนย์ฯ จำนวน 62 คน โดยก่อนหน้านี้ศูนย์แห่งนี้เกิดจากการรวมตัวกันของผู้ปกครองที่ต้องการให้ "เด็กออทิสติก" เกิดการพัฒนา มีคนดูแล จึงเป็นที่มาของการเกิดศูนย์บริการออทิสติกฯ แห่งนี้
ช่วงสุดท้ายของ "ตะลอนตามอำเภอใจ" "ธารทิพย์ กาญจนาภา" ผอ.ส่วนสื่อสารสร้างความเข้าใจในการพัฒนาระบบราชการ สำนักงานคณะกรรมการระบบราชการ หรือก.พ.ร.บอกว่า สำนักงาน ก.พ.ร.มุ่งหวังให้การจัดกิจกรรมสื่อมวลชนสัญจรในครั้งนี้ เพื่อต้องการให้สื่อมวลชนเข้าเยี่ยมชมการดำเนินงานของโรงพยาบาลขอนแก่น และหน่วยงานต่างๆ ของจังหวัดขอนแก่น เพื่อนำไปเผยแพร่สู่สาธารณชนเห็นถึงผลความสำเร็จในด้านต่างๆ เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีกับหน่วยงานราชการต่างๆ ได้จุดประกาย และก่อให้เกิดการสร้างกลไกในการพัฒนาระบบราชการที่ยั่งยืน เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนต่อไป...!!!
ขอบคุณ... http://nou999.blogspot.com/2013/06/blog-post_6.html
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
"น.ส.ธารทิพย์" นำสื่อมวลชนเยี่ยมชมโรงพยาบาลขอนแก่น "ตะลอนตาม อำเภอใจ"- "เด็กออทิสติก" คือ เด็กที่มีความผิดปกติทางพัฒนาการด้านสังคม ภาษา และการสื่อความหมาย พฤติกรรมอารมณ์ และจินตนาการ ซึ่งมีสาเหตุเนื่องมาจากการทำงานในหน้าที่บางส่วนของสมองผิดปกติ ทำให้กลายเป็น "เด็กพิเศษ" ที่ต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อให้พัฒนาสมรรถภาพทางร่างกาย สมอง ให้สามารถเรียนรู้และใช้ชีวิตได้อย่างเป็นปกติด้วยความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ และการลองผิดลองถูกของผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็กพิเศษกลุ่มนี้ ปัจจุบันทำให้เกิดองค์ความรู้ ความเข้าใจ "เด็กออทิสติก" มากขึ้น เรื่อยๆ และได้ใช้ความรู้นั้นเพื่อบำบัด รักษา "เด็กออทิสติก" ด้วยการกระตุ้นพัฒนาการของเด็ก เช่น การฝึกพูด พฤติกรรมบำบัด การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการเรียนรู้ การฝึกการเคลื่อนไหวร่างกาย จน "เด็กออทิสติก" บางคน สามารถลบความแตกต่าง และใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างปกติสุข ผมหยิบยกเรื่องราวของ "เด็กออทิสติก" มาเขียนถึง เพราะเมื่อช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมาได้มีโอกาสร่วมเดินทางกับคณะสื่อมวลชนสัญจร ที่มี "ธารทิพย์ กาญจนาภา" ผอ.ส่วนสื่อสารสร้างความเข้าใจในการพัฒนาระบบราชการ สำนักงานคณะกรรมการระบบราชการ หรือก.พ.ร. ได้นำคณะสื่อมวลชนเข้าเยี่ยมชมการดำเนินงานของโรงพยาบาลของแก่น อ.เมืองขอนแก่น จ.ขอนแก่น โดยมี "นพ.วีระพันธ์ สุพรรณไชยมาตย์" ผอ.โรงพยาบาลขอนแก่น นำคณะแพทย์-พยาบาลให้การต้อนรับ พร้อมนำคณะแพทย์และพยาบาลบรรยายสรุปให้คณะสื่อมวลชนฟังกันอย่างทั่วถึง "พญ.ภัทรา ฤชุวรารักษ์" นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ โรงพยาบาลขอนแก่น "น.ส.ธารทิพย์" บอกว่า การนำสื่อมวลชนเยี่ยมชมโรงพยาบาลขอนแก่นครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเยี่ยมชมงานบริการประชาชนของโรงพยาบาลขอนแก่นที่มีการพัฒนาคุณภาพการบริการโดดเด่น และจากการตัดสิน Best Practices รางวัลบริการภาครัฐแห่งชาติ ที่สำนักงาน ก.พ.ร. ประจำปี 2555 ที่ผ่านมา โรงพยาบาลขอนแก่นได้รับรางวัลบริการภาครัฐแห่งชาติถึง 2 รางวัล คือ รางวัลบูรณาการบริการที่เป็นเลิศ จากโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพบุคคลออทิสติกสู่ชุมชนอยู่ดีมีสุข และรางวัลนวัตกรรมบริการที่เป็นเลิศ จากโครงการ คิดใหม่ทำใหม่ เพื่อผู้ป่วยธาลัสซีเมีย ซึ่งการดำเนินโครงการของโรงพยาบาลขอนแก่นมีความโดดเด่น ในกระบวนการศึกษาแตกต่างกันตามปัจจัยของกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นโรคออทิสติกและโรคธาลัสซีเมีย "พญ.ภัทรา ฤชุวรารักษ์" นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ โรงพยาบาลขอนแก่น บอกว่า การดูแลบุคคลที่เป็น "ออทิสติก" นอกจากจะมีหลักคิดเน้นการมีส่วนร่วมของทีม และจัดการแบบผนึกกำลัง ยึดหลักการทำงานแบบพึ่งพิงกัน เชื่อมโยงองค์กรในรูปแบบคณะกรรมการภาคีเครือข่ายการดูแลบุคคลออทิสติก จ.ขอนแก่น ที่สำคัญจะต้องมีการบูรณาการแก้ไขปัญหาในทุกมิติ ได้แก่ การศึกษา สาธารณสุข เศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ควบคู่กันไปอีกด้วย "โรงพยาบาลขอนแก่น"หลังจากเยี่ยมชม "โรงพยาบาลขอนแก่น" จนได้รับความรู้มากมายแล้ว คณะสื่อมวลชนสัญจรก็มีโอกาสเดินทางไปเยี่ยมชมศูนย์การเรียนรู้และพัฒนา ศักยภาพครอบครัวและเด็ก (Autistic Learning Center) ที่ อ.เมือง จ.ขอนแก่น โดยผู้ดูแลศูนย์การเรียนรู้แห่งนี้ บอกว่า แม้ว่าจะวิธีการดูแล "เด็กออทิสติก" หลากหลายรูปแบบแต่คนเป็นพ่อแม่ต้องเข้าใจในกระบวนการพัฒนาการของลูก เราจะเลี้ยงลูกที่เป็นเด็กพิเศษแบบเด็กปกติไม่ได้ เราจะต้องเข้าใจว่าลูกอยากเล่นอะไร เมื่อเข้าใจแล้วต้องเล่นกับเขา แล้วค่อยๆ จูงเขาออกมาในส่วนที่เราอยากจะสอน ซึ่งถือเป็นการเข้าถึงเขาก่อนที่จะพัฒนาเขาต่อไป เพราะ "เด็กออทิสติก" มีความซับซ้อน และความต้องการของเด็กแต่ละช่วงวัยมีความแตกต่างกัน ที่สำคัญศูนย์การเรียนรู้แห่งนี้ยังมีกิจกรรมต่างๆ ที่ทำร่วมกันระหว่างลูกและผู้ปกครอง อาทิ ทำขนม และงานฝีมือต่างๆ ขณะเดียวกันคณะสื่อมวลชนก็ได้เดิน ทางไปเยี่ยมชมโรงเรียนต้นแบบการจัดการศึกษาในเด็กที่มีความต้องการพิเศษ (ห้องเรียนขอบฟ้ากว้าง) ที่โรงเรียนเทศบาลวัดกลาง ถนนเหล่านาดี อ.เมือง จ.ขอนแก่น "สายชล สิงห์สุวรรณ รอง ผอ.ฝ่ายวิชาการ โรงเรียนเทศบาลวัดกลาง เล่าว่า "ห้องเรียนขอบฟ้ากว้าง" จะเน้นรูปแบบการเรียนรู้รายบุคคล และใช้แนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ยอมรับความแตกต่างของเด็กแต่ละบุคคล เปิดโอกาสให้เรียนรู้ตามที่เด็กถนัด จะเน้นวิชาภาษาไทยและคณิตศาสตร์เป็นหลัก เพื่อฟื้นฟูเรื่องการอ่านออกเขียนได้และคิดคำนวณด้วยการจัดวงนั่งคุยให้นัก เรียนฝึกเล่าเรื่อง เนื่องจากเด็กกลุ่มนี้จะไม่กล้าพูด และมีความภาคภูมิใจในตนเองต่ำ การเรียนการสอนและกิจกรรมของเด็กๆ"นางสายชล" บอกด้วยว่า เด็กแต่ละคนจะต้องค้นหาตัวเองก่อนว่าตัวเองติดตรงไหน ก็จะเริ่มตรงนั้น บางคนยังคิดคำนวณเศษส่วนไม่ได้ ก็จะไปหยิบแบบฝึกหัดเรื่องเศษส่วนมาทำ หากไม่เข้าใจและทำไม่ได้ ครูจะสอนตัวต่อตัวจนเข้าใจ โดยไม่มีการดุด่าหรือบังคับ แต่จะใช้วิธีกระตุ้นและเชิญชวนให้เด็กลงมือทำ ซึ่งบรรยากาศการเรียนเป็นแบบสบายๆ ครูจะต้องไม่คาดหวังกับเด็ก เพราะจะทำให้เด็กเครียดจนทำไม่ได้เหมือนเดิม หากเด็กสามารถทำได้ตามตัวชี้วัดของเด็กแต่ละคน ก็ถือว่าเด็กเรียนผ่าน หลังผ่านพ้นไป 2 เดือน สังเกตเห็นผลได้ทันที นักเรียนมีความสำเร็จทางการเรียนดีขึ้นทีละน้อย จากเด็กที่ไม่สนใจอ่านหนังสือ กลับเลือกหนังสือที่ตนเองสนใจมานั่งอ่าน การเรียนการสอนและกิจกรรมของเด็กๆ ศูนย์บริการบุคคลออทิสติกจังหวัดขอนแก่น กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ตั้งอยู่ที่ อ.เมือง จ.ขอนแก่น เป็นอีกสถานที่หนึ่งที่คณะสื่อมวลชนมีโอกาสมาเยี่ยมศูนย์แห่งนี้ ซึ่ง "ธนวรรณ สุขไพศาล" ผู้อำนวยการศูนย์บริการออทิสติกฯ ก็ได้นำเจ้าหน้าที่ และน้องๆ ออทิสติกมาให้การต้อนรับอย่างอบอุ่นทีเดียว โดย "นางธนวรรณ" บอกว่า สำหรับคนที่มาอยู่ที่นี่นั้นจะรับการสนับสนุนจากกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งคนที่มาอยู่ที่ศูนย์แห่งนี้จะไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ และขณะนี้มีเด็กที่อยู่ในการดูแลของศูนย์ฯ จำนวน 62 คน โดยก่อนหน้านี้ศูนย์แห่งนี้เกิดจากการรวมตัวกันของผู้ปกครองที่ต้องการให้ "เด็กออทิสติก" เกิดการพัฒนา มีคนดูแล จึงเป็นที่มาของการเกิดศูนย์บริการออทิสติกฯ แห่งนี้ ช่วงสุดท้ายของ "ตะลอนตามอำเภอใจ" "ธารทิพย์ กาญจนาภา" ผอ.ส่วนสื่อสารสร้างความเข้าใจในการพัฒนาระบบราชการ สำนักงานคณะกรรมการระบบราชการ หรือก.พ.ร.บอกว่า สำนักงาน ก.พ.ร.มุ่งหวังให้การจัดกิจกรรมสื่อมวลชนสัญจรในครั้งนี้ เพื่อต้องการให้สื่อมวลชนเข้าเยี่ยมชมการดำเนินงานของโรงพยาบาลขอนแก่น และหน่วยงานต่างๆ ของจังหวัดขอนแก่น เพื่อนำไปเผยแพร่สู่สาธารณชนเห็นถึงผลความสำเร็จในด้านต่างๆ เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีกับหน่วยงานราชการต่างๆ ได้จุดประกาย และก่อให้เกิดการสร้างกลไกในการพัฒนาระบบราชการที่ยั่งยืน เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนต่อไป...!!! ขอบคุณ... http://nou999.blogspot.com/2013/06/blog-post_6.html
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)