วันสากลเพื่อยุติการเกลียดกลัวการรักเพศเดียวกันและการข้ามเพศ IDAHOT International Day Against Homophobia, Biphobia and Transphobia

แสดงความคิดเห็น

การรณรงค์ วันสากลเพื่อยุติการเกลียดกลัวการรักเพศเดียวกันและการข้ามเพศ IDAHOT International Day Against Homophobia, Biphobia and Transphobia

วันที่ 17 พฤษภาคม ของทุกปีเป็นวันที่ประเทศทั่วโลกเคลื่อนไหวพร้อมกัน เพื่อยุติการเกลียดกลัวการรักเพศเดียวกัน (homophobia) การเกลียดกลัวคนที่รักได้มากกว่าหนึ่งเพศ (biphobia) และการเกลียดกลัวการข้ามเพศ (transphobia) วันนี้เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า IDAHO และปัจจุบันมีการเพิ่มตัว T(Transphobia) เป็น IDAHOT และบางประเทศได้เพิ่มการรณรงค์ Bi (biphobia) เป็น IDAHOBiT

การรณรงค์ในวันนี้เริ่มขึ้นครั้งแรกเมื่อองค์การอนามัยโลกถอดถอนการรักเพศเดียวกันออกจากบัญชีรายชื่อความเจ็บป่วยทางจิต หมายความว่า การรักเพศเดียวกันไม่ใช่ความผิดปกติแต่อย่างใด วันนี้จึงถูกใช้เพื่อรณรงค์ต่อสังคมในวงกว้างให้หยุดการเกลียดกลัวการรักเพศเดียวกัน สัญลักษณ์ของวัน IDAHO คือ รูปเครื่องหมายตกใจ (!) เพื่อบอกให้สังคมหยุดความรุนแรงที่กระทำต่อผู้ที่รักเพศเดียวกัน และผู้ที่มีเพศแตกต่างออกไปจากความหมายของเพศตามกรอบกระแสหลักในสังคม

การรณรงค์ วันสากลเพื่อยุติการเกลียดกลัวการรักเพศเดียวกันและการข้ามเพศ IDAHOT International Day Against Homophobia, Biphobia and Transphobia อะไรคือความรุนแรงต่อการรักเพศเดียวกันและการข้ามเพศที่มีอยู่ในประเทศไทย เราพบว่ามีการข่มขืน การทำร้ายร่างกาย ไปจนถึงการฆ่า ในช่วงเวลา 5 ปี (2549-2554) พบการฆ่าหญิงรักหญิงและทอมถึง 15 ราย เฉพาะที่เป็นข่าว นอกจากนี้ ความรุนแรงต่อคนที่รักเพศเดียวกันและคนข้ามเพศยังปรากฏในรูปของการทำร้ายจิตใจ การไม่ยอมรับในครอบครัว ในสถานศึกษา การบีบบังคับให้ยอมรับความเป็นเพศที่ไม่ตรงกับความต้องการของเจ้าตัว การกีดกันโอกาสทางการงานไปจนถึงการไล่ออก การตีตราว่าเป็นความผิดปกติหรือเป็นบาปกรรมทางศาสนา ไปจนกระทั่งการไม่มีกฎหมายคุ้มครองความสัมพันธ์และครอบครัวของคู่ที่เป็นเพศเดียวกัน

ในปี 2556 เครือข่ายความหลากหลายทางเพศกำลังขับเคลื่อนบนฐานสิทธิมนุษยชน เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในความไม่เท่าเทียมและความรุนแรงในระดับโครงสร้างสังคมที่กระทำต่อคนที่รักเพศเดียวกันและคนข้ามเพศ รวม 4 ประเด็นคือ

การผลักดันให้ครอบครัวและความสัมพันธ์ของคน ทุกเพศ ได้รับการคุ้มครองอย่างเท่าเทียมทางกฎหมาย เนื่องจากในปัจุบันมีเพียงครอบครัวของชาย-หญิงเท่านั้นที่ได้รับการคุ้มครองสิทธิ ในขณะที่มีครอบครัวของคนรักเพศเดียวกันและครอบครัวของคนข้ามเพศในสังคมจำนวนมาก และหลายครอบครัวมีบุตร

การรณรงค์ วันสากลเพื่อยุติการเกลียดกลัวการรักเพศเดียวกันและการข้ามเพศ IDAHOT International Day Against Homophobia, Biphobia and Transphobia การผลักดันให้การข้ามเพศออกจากบัญชีความเจ็บป่วยทางจิต แม้ว่าประเทศไทยจะมีความก้าวหน้าในการไม่รวมกะเทย/ผู้หญิงข้ามเพศเข้าเป็นทหารกองเกิน แต่การข้ามเพศก็ยังคงถูกตีตรา สร้างความลำบากในการสมัครงานและการใช้ชีวิตของคนข้ามเพศ

การผลักดันให้ศูนย์บริจาคโลหิตแห่งชาติยุติการเกลียดกลัวชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายและสาวประเภทสอง โดยการใช้ระบบการคัดกรองเลือดที่เป็นกลาง โดยไม่เลือกปฏิบัติและกีดกันชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายและสาวประเภทสอง ใช้มาตรฐานในการไม่รับบริจาคเดียวกันกับชาย-หญิงที่มีเพศสัมพันธ์แบบไม่ปลอดภัยในช่วงเวลาที่กำหนดก่อนการบริจาค

การผลักดันให้ยุติการบีบบังคับให้นักศึกษาแต่งเครื่องแบบตามเพศบนบัตรประชาชนในสถาบันการศึกษา สร้างความอึดอัดและสภาพในการเรียนรู้ที่ไม่เอื้ออำนวยต่อนักศึกษาข้ามเพศ อันได้แก่ นักศึกษาชายข้ามเพศ หญิงข้ามเพศ ทอม กะเทย ส่งผลให้นักศึกษาจำนวนมากตัดสินใจออกจากการเรียน หรือได้รับความกดดันจนมีปัญหาสุขภาพในวัยเรียน

การเลือกสถานที่แรกเป็นอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เพราะเราต้องการเน้นความสำคัญของ การได้รับการคุ้มครองภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งประเทศไทย

ขอบคุณ... https://bay171.mail.live.com/mail/?n=1625904466&fid=1#n=1511396417&fid=1&mid=aadcd848-bedd-11e2-b4ce-00215ad71a08&fv=1

ที่มา: เครือข่ายความหลากหลายทางเพออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 17 พ.ค.56
วันที่โพสต์: 18/05/2556 เวลา 04:59:57 ดูภาพสไลด์โชว์ วันสากลเพื่อยุติการเกลียดกลัวการรักเพศเดียวกันและการข้ามเพศ IDAHOT International Day Against Homophobia, Biphobia and Transphobia

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

การรณรงค์ วันสากลเพื่อยุติการเกลียดกลัวการรักเพศเดียวกันและการข้ามเพศ IDAHOT International Day Against Homophobia, Biphobia and Transphobia วันที่ 17 พฤษภาคม ของทุกปีเป็นวันที่ประเทศทั่วโลกเคลื่อนไหวพร้อมกัน เพื่อยุติการเกลียดกลัวการรักเพศเดียวกัน (homophobia) การเกลียดกลัวคนที่รักได้มากกว่าหนึ่งเพศ (biphobia) และการเกลียดกลัวการข้ามเพศ (transphobia) วันนี้เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า IDAHO และปัจจุบันมีการเพิ่มตัว T(Transphobia) เป็น IDAHOT และบางประเทศได้เพิ่มการรณรงค์ Bi (biphobia) เป็น IDAHOBiT การรณรงค์ในวันนี้เริ่มขึ้นครั้งแรกเมื่อองค์การอนามัยโลกถอดถอนการรักเพศเดียวกันออกจากบัญชีรายชื่อความเจ็บป่วยทางจิต หมายความว่า การรักเพศเดียวกันไม่ใช่ความผิดปกติแต่อย่างใด วันนี้จึงถูกใช้เพื่อรณรงค์ต่อสังคมในวงกว้างให้หยุดการเกลียดกลัวการรักเพศเดียวกัน สัญลักษณ์ของวัน IDAHO คือ รูปเครื่องหมายตกใจ (!) เพื่อบอกให้สังคมหยุดความรุนแรงที่กระทำต่อผู้ที่รักเพศเดียวกัน และผู้ที่มีเพศแตกต่างออกไปจากความหมายของเพศตามกรอบกระแสหลักในสังคม การรณรงค์ วันสากลเพื่อยุติการเกลียดกลัวการรักเพศเดียวกันและการข้ามเพศ IDAHOT International Day Against Homophobia, Biphobia and Transphobia อะไรคือความรุนแรงต่อการรักเพศเดียวกันและการข้ามเพศที่มีอยู่ในประเทศไทย เราพบว่ามีการข่มขืน การทำร้ายร่างกาย ไปจนถึงการฆ่า ในช่วงเวลา 5 ปี (2549-2554) พบการฆ่าหญิงรักหญิงและทอมถึง 15 ราย เฉพาะที่เป็นข่าว นอกจากนี้ ความรุนแรงต่อคนที่รักเพศเดียวกันและคนข้ามเพศยังปรากฏในรูปของการทำร้ายจิตใจ การไม่ยอมรับในครอบครัว ในสถานศึกษา การบีบบังคับให้ยอมรับความเป็นเพศที่ไม่ตรงกับความต้องการของเจ้าตัว การกีดกันโอกาสทางการงานไปจนถึงการไล่ออก การตีตราว่าเป็นความผิดปกติหรือเป็นบาปกรรมทางศาสนา ไปจนกระทั่งการไม่มีกฎหมายคุ้มครองความสัมพันธ์และครอบครัวของคู่ที่เป็นเพศเดียวกัน ในปี 2556 เครือข่ายความหลากหลายทางเพศกำลังขับเคลื่อนบนฐานสิทธิมนุษยชน เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในความไม่เท่าเทียมและความรุนแรงในระดับโครงสร้างสังคมที่กระทำต่อคนที่รักเพศเดียวกันและคนข้ามเพศ รวม 4 ประเด็นคือ การผลักดันให้ครอบครัวและความสัมพันธ์ของคน ทุกเพศ ได้รับการคุ้มครองอย่างเท่าเทียมทางกฎหมาย เนื่องจากในปัจุบันมีเพียงครอบครัวของชาย-หญิงเท่านั้นที่ได้รับการคุ้มครองสิทธิ ในขณะที่มีครอบครัวของคนรักเพศเดียวกันและครอบครัวของคนข้ามเพศในสังคมจำนวนมาก และหลายครอบครัวมีบุตร การรณรงค์ วันสากลเพื่อยุติการเกลียดกลัวการรักเพศเดียวกันและการข้ามเพศ IDAHOT International Day Against Homophobia, Biphobia and Transphobia การผลักดันให้การข้ามเพศออกจากบัญชีความเจ็บป่วยทางจิต แม้ว่าประเทศไทยจะมีความก้าวหน้าในการไม่รวมกะเทย/ผู้หญิงข้ามเพศเข้าเป็นทหารกองเกิน แต่การข้ามเพศก็ยังคงถูกตีตรา สร้างความลำบากในการสมัครงานและการใช้ชีวิตของคนข้ามเพศ การผลักดันให้ศูนย์บริจาคโลหิตแห่งชาติยุติการเกลียดกลัวชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายและสาวประเภทสอง โดยการใช้ระบบการคัดกรองเลือดที่เป็นกลาง โดยไม่เลือกปฏิบัติและกีดกันชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายและสาวประเภทสอง ใช้มาตรฐานในการไม่รับบริจาคเดียวกันกับชาย-หญิงที่มีเพศสัมพันธ์แบบไม่ปลอดภัยในช่วงเวลาที่กำหนดก่อนการบริจาค การผลักดันให้ยุติการบีบบังคับให้นักศึกษาแต่งเครื่องแบบตามเพศบนบัตรประชาชนในสถาบันการศึกษา สร้างความอึดอัดและสภาพในการเรียนรู้ที่ไม่เอื้ออำนวยต่อนักศึกษาข้ามเพศ อันได้แก่ นักศึกษาชายข้ามเพศ หญิงข้ามเพศ ทอม กะเทย ส่งผลให้นักศึกษาจำนวนมากตัดสินใจออกจากการเรียน หรือได้รับความกดดันจนมีปัญหาสุขภาพในวัยเรียน การเลือกสถานที่แรกเป็นอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เพราะเราต้องการเน้นความสำคัญของ การได้รับการคุ้มครองภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งประเทศไทย ขอบคุณ... https://bay171.mail.live.com/mail/?n=1625904466&fid=1#n=1511396417&fid=1&mid=aadcd848-bedd-11e2-b4ce-00215ad71a08&fv=1

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...