อุปกรณ์ฟื้นฟูชีวิต เพื่อชีวิตที่ดี..ยิ่งกว่า
“คงเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนักที่ชุมชนในชนบทที่ห่างไกลต้องการฟื้นฟู และพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้พิการให้ดียิ่งขึ้น แต่ก็คงไม่ยากนักหากเรามีความตั้งใจถ้า เฮ็ดบ่อดี ก็เฮ็ดใหม่” นี่คือคำพูดของคุณไพฑูรย์ ไชยนาเมือง เจ้าพนักงานเวชกรรมฟื้นฟู รพ.สมเด็จพระยุพราชกุฉินรายณ์ จ.กาฬสินธุ์ หนึ่งในผู้นำทีมเยี่ยมบ้านของโรงพยาบาลฯ งานเยี่ยมบ้านถือว่าเป็นงานประจำที่ รพ.ที่จะต้องทำอยู่แล้ว แต่สำหรับการออกแบบหรือดัดแปลงอุปกรณ์ฟื้นฟูชีวิต ผู้พิการตามความเหมาะสม หรือตามอาการของผู้ป่วยถือว่าเป็นเรื่องใหม่ เพราะงานด้านนี้ ต้องใช้ทั้งองค์ความรู้ด้านกายภาพบวกกับประสบการณ์จากการออกเยี่ยมบ้าน โดยผู้ปฏิบัติงานจะต้องรู้จักวิเคราะห์ และประเมินอาการของผู้พิการ โดยจะต้องมีความรู้พื้นฐานของงานช่างมาผนวกเข้าด้วยกัน อีกทั้งต้องมีความคิดสร้างสรรค์และรู้จักหยิบจับสิ่งที่นำมาประยุกต์ใช้
ซึ่งจุดเริ่มต้นของงานด้านนี้มาจากแรงบันดาลใจในการเยี่ยมบ้านจริงๆ คุณไพฑูรย์บอกว่าในตอนเย็นของทุกวัน ทีมเยี่ยมบ้านจะกลับมาประชุมพูดคุยเล่าความคืบหน้า และแจ้งปัญหาของเคสต่างๆ ที่พบเจอซึ่งปัญหาส่วนใหญ่ที่ทีมเยี่ยมบ้านเจอนั้นเป็นเรื่องอุปกรณ์ช่วยเหลือผู้พิการพื้นฐานที่ได้รับไปไม่ว่าจะเป็นไม้เท้า, รถเข็น , วอล์คเกอร์ ปัญหาหรือสิ่งที่ทีมเจอเป็นเรื่องซ้ำๆ จนทำให้เราคิดว่าสิ่งที่ผู้พิการมีคงไม่เกิดประโยชน์สูงสุด หากผู้พิการไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้จริงจากอุปกรณ์ที่ได้รับ จึงทำให้เราอยากแก้ปัญหามันให้ได้ตรงจุด และนี่เองที่ทำให้เรา นำกระบวนการการเรียนรู้จากตำรามาดัดแปลงทบทวนและพัฒนา หรือที่เราเรียกว่า “บทเรียนจากฟากฟ้า พัฒนาสู่พื้นดิน” นั้น คือการนำความรู้จากตำราเรียนมาดัดแปลงประยุกต์ใช้ให้มีความเหมาะสมกับความเจ็บป่วยของผู้พิการและสภาพพื้นที่ โดยอาศัยหลักการ 3 ข้อ คือ 1.ต้องมีความต่อเนื่อง(Continue) 2.เน้นคุณภาพ(Quality) 3.ต้องมีการปรับปรุง(Improvement)
ทีมงานเยี่ยมบ้านของเรารวมกลุ่มกันภายใต้ชื่อ ทีมไม้เลื่อย โดยทีมนี้จะนำองค์ความรู้ที่ได้รับมาประยุกต์ใช้กับผู้ป่วยผู้พิการแต่ละรายให้มีความเหมาะสมและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ป่วยผู้พิการ ทั้งนี้ กิจกรรมของทีมไม้เลื้อยได้รับการสนับสนุนจาก โครงการโอสถสภา เพื่อชีวิตที่ดี..ยิ่งกว่า ซึ่งได้เห็นในความตั้งใจ และศักยภาพของทีมเยี่ยมบ้าน ในการดัดแปลงอุปกรณ์ฟื้นฟูชีวิตของผู้พิการ โครงการ โอสถสภาเพื่อชีวิตที่ดียิ่งกว่าจึงให้การสนับสนุนงบประมาณในการทำงานปีละ 1 ล้านบาทต่อเนื่องเป็นเวลา 5 ปี จนถึงปี 2559 เพื่อต่อยอดในการช่วยเหลือฟื้นฟูชีวิตของผู้พิการที่มีแนวโน้มว่าจะมีมากขึ้นทุกวัน อีกทั้งได้สนับสนุนงบประมาณพิเศษในการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้กายอุปกรณ์ฟื้นฟูชีวิต เพื่อชีวิตที่ดี..ยิ่งกว่า อีกจำนวน 6.5 ล้านบาท ซึ่งศูนย์แห่งนี้จะสามารถเปิดให้บริการได้ในปลายปี 2556 ทั้งนี้เพื่อเป็นต้นแบบและแหล่งเรียนรู้สำหรับหน่วยงานสาธารณสุขต่างๆ ที่จะมาเรียนรู้และศึกษาดูงานต่อไป
โอสถสภา ภายใต้โครงการ โอสถสภา เพื่อชีวิตที่ดียิ่งกว่า ขอสนับสนุนในความมุ่งมั่นและความพยายามในการฟื้นฟูชีวิตของผู้พิการให้กลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น และช่วยเหลือตัวเองได้มากขึ้น เพื่อแบ่งเบาภาระของผู้ป่วยและครอบครัว และสังคมภายใต้แนวคิด และความตั้งใจจริงของทีมเยี่ยมบ้าน หรือ ทีมไม้เลื้อย รพ.สมเด็จพระยุพราช อ.กุฉินรานณ์ จ.กาฬสินธุ์
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
ทีมเยี่ยมบ้านนำอุปกรณ์ฟื้นฟูช่วยชาวบ้านพิการ “คงเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนักที่ชุมชนในชนบทที่ห่างไกลต้องการฟื้นฟู และพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้พิการให้ดียิ่งขึ้น แต่ก็คงไม่ยากนักหากเรามีความตั้งใจถ้า เฮ็ดบ่อดี ก็เฮ็ดใหม่” นี่คือคำพูดของคุณไพฑูรย์ ไชยนาเมือง เจ้าพนักงานเวชกรรมฟื้นฟู รพ.สมเด็จพระยุพราชกุฉินรายณ์ จ.กาฬสินธุ์ หนึ่งในผู้นำทีมเยี่ยมบ้านของโรงพยาบาลฯ งานเยี่ยมบ้านถือว่าเป็นงานประจำที่ รพ.ที่จะต้องทำอยู่แล้ว แต่สำหรับการออกแบบหรือดัดแปลงอุปกรณ์ฟื้นฟูชีวิต ผู้พิการตามความเหมาะสม หรือตามอาการของผู้ป่วยถือว่าเป็นเรื่องใหม่ เพราะงานด้านนี้ ต้องใช้ทั้งองค์ความรู้ด้านกายภาพบวกกับประสบการณ์จากการออกเยี่ยมบ้าน โดยผู้ปฏิบัติงานจะต้องรู้จักวิเคราะห์ และประเมินอาการของผู้พิการ โดยจะต้องมีความรู้พื้นฐานของงานช่างมาผนวกเข้าด้วยกัน อีกทั้งต้องมีความคิดสร้างสรรค์และรู้จักหยิบจับสิ่งที่นำมาประยุกต์ใช้ ทีมงานเยี่ยมบ้าน ทีมไม้เลื่อย เข้าฟื้นฟูผู้สูงอายุตามบ้านด้วยอุปกรณ์ฟื้นฟู ซึ่งจุดเริ่มต้นของงานด้านนี้มาจากแรงบันดาลใจในการเยี่ยมบ้านจริงๆ คุณไพฑูรย์บอกว่าในตอนเย็นของทุกวัน ทีมเยี่ยมบ้านจะกลับมาประชุมพูดคุยเล่าความคืบหน้า และแจ้งปัญหาของเคสต่างๆ ที่พบเจอซึ่งปัญหาส่วนใหญ่ที่ทีมเยี่ยมบ้านเจอนั้นเป็นเรื่องอุปกรณ์ช่วยเหลือผู้พิการพื้นฐานที่ได้รับไปไม่ว่าจะเป็นไม้เท้า, รถเข็น , วอล์คเกอร์ ปัญหาหรือสิ่งที่ทีมเจอเป็นเรื่องซ้ำๆ จนทำให้เราคิดว่าสิ่งที่ผู้พิการมีคงไม่เกิดประโยชน์สูงสุด หากผู้พิการไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้จริงจากอุปกรณ์ที่ได้รับ จึงทำให้เราอยากแก้ปัญหามันให้ได้ตรงจุด และนี่เองที่ทำให้เรา นำกระบวนการการเรียนรู้จากตำรามาดัดแปลงทบทวนและพัฒนา หรือที่เราเรียกว่า “บทเรียนจากฟากฟ้า พัฒนาสู่พื้นดิน” นั้น คือการนำความรู้จากตำราเรียนมาดัดแปลงประยุกต์ใช้ให้มีความเหมาะสมกับความเจ็บป่วยของผู้พิการและสภาพพื้นที่ โดยอาศัยหลักการ 3 ข้อ คือ 1.ต้องมีความต่อเนื่อง(Continue) 2.เน้นคุณภาพ(Quality) 3.ต้องมีการปรับปรุง(Improvement) ทีมงานเยี่ยมบ้านกำลังช่วยฟื้นฟูผู้พิการทางการเคลื่อนไหวให้ฝึกเดิน ทีมงานเยี่ยมบ้านของเรารวมกลุ่มกันภายใต้ชื่อ ทีมไม้เลื่อย โดยทีมนี้จะนำองค์ความรู้ที่ได้รับมาประยุกต์ใช้กับผู้ป่วยผู้พิการแต่ละรายให้มีความเหมาะสมและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ป่วยผู้พิการ ทั้งนี้ กิจกรรมของทีมไม้เลื้อยได้รับการสนับสนุนจาก โครงการโอสถสภา เพื่อชีวิตที่ดี..ยิ่งกว่า ซึ่งได้เห็นในความตั้งใจ และศักยภาพของทีมเยี่ยมบ้าน ในการดัดแปลงอุปกรณ์ฟื้นฟูชีวิตของผู้พิการ โครงการ โอสถสภาเพื่อชีวิตที่ดียิ่งกว่าจึงให้การสนับสนุนงบประมาณในการทำงานปีละ 1 ล้านบาทต่อเนื่องเป็นเวลา 5 ปี จนถึงปี 2559 เพื่อต่อยอดในการช่วยเหลือฟื้นฟูชีวิตของผู้พิการที่มีแนวโน้มว่าจะมีมากขึ้นทุกวัน อีกทั้งได้สนับสนุนงบประมาณพิเศษในการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้กายอุปกรณ์ฟื้นฟูชีวิต เพื่อชีวิตที่ดี..ยิ่งกว่า อีกจำนวน 6.5 ล้านบาท ซึ่งศูนย์แห่งนี้จะสามารถเปิดให้บริการได้ในปลายปี 2556 ทั้งนี้เพื่อเป็นต้นแบบและแหล่งเรียนรู้สำหรับหน่วยงานสาธารณสุขต่างๆ ที่จะมาเรียนรู้และศึกษาดูงานต่อไป โอสถสภา ภายใต้โครงการ โอสถสภา เพื่อชีวิตที่ดียิ่งกว่า ขอสนับสนุนในความมุ่งมั่นและความพยายามในการฟื้นฟูชีวิตของผู้พิการให้กลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น และช่วยเหลือตัวเองได้มากขึ้น เพื่อแบ่งเบาภาระของผู้ป่วยและครอบครัว และสังคมภายใต้แนวคิด และความตั้งใจจริงของทีมเยี่ยมบ้าน หรือ ทีมไม้เลื้อย รพ.สมเด็จพระยุพราช อ.กุฉินรานณ์ จ.กาฬสินธุ์
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)