อัจฉริยะ"แอสเพอร์เกอร์" ว่าที่"ไอน์สไตน์"คนต่อไป!
เด็กชายบรรจงเขียนสมการคณิตศาสตร์นับร้อยสูตรอย่างขะมักเขม้น ลงบนกระจกใสบานแล้วบานเล่าในบ้านของ นางคริสติน บาร์เน็ต สุภาพสตรีชาวอเมริกัน แต่แปลกที่ผู้เป็นแม่กลับไม่ปวดหัวกับ ฝีมือของลูกชายตัวดีทั้งยังส่งเสริมให้ลูกเขียนอะไรเอาไว้ที่จุดใดในบ้านก็ได้โดยไม่กลัวหมึกเปื้อนสกปรกเพราะ "เจค็อบ บาร์เน็ต" ลูกชายคนโตวัย 14 ย่าง 15 ปีของ คริสติน มีสมองที่ดีเยี่ยมเข้าขั้นระดับอัจฉริยะ จนได้รับการขนานนามจากสื่อว่า"ไอน์สไตน์คนต่อไป"แม้เกิดมามีพัฒนาการทางสมองช้า!
ย้อนกลับไปสิบกว่าปีก่อน คริสตินถึงกับหมดหวัง เมื่อแพทย์วินิจฉัยว่า เจค็อบ วัย 2 ขวบ ลูกคนแรกจากลูกชายทั้งหมด 3 คนของเธอ ป่วยเป็นโรคออทิสติก เพราะในช่วงวัย 14 เดือนที่ผ่านมา เจค็อบไม่เคยพูดไม่แสดงสีหน้าอารมณ์และชอบทำอะไรคนเดียวซ้ำไปซ้ำมา แพทย์ต่างให้การบำบัด รักษาเขาเช่นเดียวกับวิธีที่ดูแลเด็กพิเศษคนอื่นๆ จนกระทั่งเจค็อบส่งสัญญาณให้รู้ว่าแพทย์วินิจฉัยผิด ก่อนจะเผยแววอัจฉริยะออกมา เพราะเจค็อบเรียนรู้ตัวอักษรได้ก่อนที่เขาจะหัดเดิน ฟังคำสั้นๆ รู้เรื่องก่อนจะอายุครบ 1 ขวบ เสียอีก
วันหนึ่งในช่วงหน้าร้อน คริสตินและครอบครัวไปพักร้อนที่ต่างจังหวัดคืนนั้นเธอพาลูกชายขึ้นไปนอนดูดาวบนหลังคารถ เจค็อบดูจะสนใจสิ่งที่อยู่บนท้องฟ้ามาก เมื่อกลับมาบ้านคุณแม่จึงตัดสินใจพาเจค็อบไปงานบรรยายเรื่อง "ดาวอังคาร" ที่ท้องฟ้าจำลอง ระหว่างบรรยาย วิทยากรก็ถามขึ้นมาว่า "มีใครทราบหรือไม่ว่าทำไมดวงจันทร์ที่โคจรรอบดาวอังคารจึงมีลักษณะเป็นรูปไข่" ปรากฏ ว่า จู่ๆ เจ้าหนูเจค็อบยกมือขึ้น แล้วถามว่า "ขอโทษนะครับ คุณช่วยบอกขนาดของดวงจันทร์ได้ไหม" วิทยากรตอบคำถามเขา แล้วเจค็อบก็อธิบายออกมาว่า "เป็นเพราะดวงจันทร์ที่โคจรรอบดาวอังคารมีขนาดเล็ก มันจึงมีมวลขนาดเล็ก ดังนั้น ดวงจันทร์จึงไม่มีแรงโน้มถ่วงมากพอที่จะคงรูปเป็นทรงกลมโดยสมบูรณ์"ทุกคนที่ได้ยินต่างเงียบด้วยความทึ่งในความสามารถของเจค็อบ นั่นเป็นครั้งแรกที่คริสตินได้ฟังบทสนทนาที่ยาวที่สุดจากปากลูกชายของเธอในวัยเพียง 3 ขวบ ที่จริงแล้ว เจค็อบป่วยเป็นแอสเพอร์เกอร์ (Asperger"s Syndrome)โรคดังกล่าวค้นพบเมื่อปี ค.ศ.1940 โดยนายแพทย์ฮานส์แอสเพอร์เกอร์ อาการมีลักษณะใกล้เคียงกับออทิสติกมาก โดยเป็นความบกพร่องทางพัฒนาการรูปแบบหนึ่งที่มีความผิดปกติของพัฒนาการด้านสังคมและการสื่อสาร เด็กที่เป็นแอสเพอร์เกอร์นั้นจะแตกต่างจากเด็กที่เป็นออทิสติกซึ่งมีปัญหาการพูดรวมทั้งอาการผิดปกติอย่างอื่นที่รุนแรงกว่า
คนจึงมักเข้าใจว่าแอสเพอร์เกอร์ คือออทิสติก แต่เป็นออทิสติกที่มีศักยภาพสูงกว่า และมีปัญหามากกว่าในทักษะการเข้าสังคมโดยเฉพาะการสื่อสารและการอยู่ร่วมกับผู้อื่น เพราะไม่สามารถเข้าใจความหมายของการประชดเปรียบเปรยได้ แต่ เจค็อบได้พิสูจน์ให้เห็นว่าเขาแตกต่างจากคนอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อได้รับการดูแลอย่างดีจากครอบครัวแม้ว่าครอบครัวต้องเผชิญกับลูกชายทั้ง3คนที่มีภาวะบกพร่องคล้ายๆกัน
ทั้งนี้ เจค็อบเองเชี่ยวชาญด้านดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ ส่วนน้องชายอีก 2 คน "อีธาน" มีความสนใจในเรื่องชีววิทยา และ "เวสลี่" สนใจเรื่องอุตุนิยมวิทยา เจค็อบกลายเป็นเด็กหัวกะทิของโรงเรียน มีไอคิวอยู่ในระดับ 170 ซึ่งสูงกว่าไอคิวของ "ไอน์สไตน์" ยอดอัจฉริยะฟิลิกส์โลก เด็กแอสเพอร์เกอร์คนนี้มีความสามารถจดจำจำนวนหน้าต่างทุกบานบนตึกที่เขาได้เห็นเพียงแค่ครั้งเดียว ในวัย 8 ขวบ เจค็อบเข้าเรียนสาขาดาราศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยอินเดียน่าจบจากมหาวิทยาลัยเปอร์ดูในวัย10ขวบ และตอนนี้กำลังศึกษาระดับปริญญาโทเพื่อที่จะต่อปริญญาเอกในสาขาควอนตั้มฟิสิกส์
"ผมใช้เวลาตลอดปิดเทอมนั่งวาดรูปทรงเรขาคณิตในความคิดของผม นับ 100 รูปทรง ลงบนกระดาษเป็นพันๆ ใบ จนกระทั่งผมสามารถแก้ปัญหาโจทย์ฟิสิกส์ดาราศาสตร์ได้ ผมเลยมานั่งคิดว่า มันเปลืองกระดาษ เลยย้ายไปเขียนบนไวต์บอร์ด และบานหน้าต่าง ผมยังพยายามพิสูจน์ว่าสิ่งที่ผมคิดได้มันเป็นสิ่งผิดหรือไม่ตลอดเวลา ก่อนที่จะย้ายมาครุ่นคิดกับเรื่องสมการคณิตศาสตร์" เจค็อบเล่าให้ ผู้สื่อข่าวอเมริกันฟัง
ในที่สุด เจค็อบก็เกิดไอเดียอัดวิดีโอลงเว็บไซต์ยูทูบ เพื่อสอนคณิตศาสตร์แคลคูลัสให้กับผู้ที่สนใจ จนทำให้มีผู้ชมติดตามเป็นจำนวนมาก ทั้งตะลึงกับความสามารถของเด็กชายวัย 15 ปี คนนี้ "ผมชอบออทิสติกมันเป็นส่วนหนึ่งของบุคลิกผม"อัจฉริยะวัยรุ่นกล่าว
ความปราดเปรื่องของเจค็อบ กลายเป็นที่สนใจของสาธารณชนมากขึ้น จนได้รับเชิญไปออกรายการโทรทัศน์หลายรายการ เช่น ในรายการ "60 มินิตส์" คริสตินเล่าว่า เธอเปิดศูนย์เพื่อการบำบัดรักษาและพัฒนาเด็กออทิสติกและเด็กพิเศษเมื่อปีพ.ศ.2543โดยให้เด็กๆได้เลี้ยงสัตว์เพื่อปรับพฤติกรรม
"เจค็อบเชื่อว่า เราทุกคนมีความสามารถพิเศษเฉพาะอย่างในตัวเอง อยู่ที่ว่าใครจะมองเห็นและนำมันมาใช้" คริสตินกล่าวอารมณ์ ขันยังเป็นเสน่ห์ที่โดดเด่นอีกข้อของเด็กคนนี้ ยกตัวอย่างเช่น เมื่อครั้งที่คริสตินให้สัมภาษณ์รายการอยู่กับเจค็อบ เธอถามเขาว่า "ถ้าแม่ลุกไปซักประเดี๋ยวได้ไหม" เจค็อบตอบ "ได้ครับ แต่อย่านานนักนะ ผมไม่อยากให้แม่ต้องออกทีวีนานๆ" พิธีกรรวมทั้งทุกคนที่นั่งฟังการสัมภาษณ์ต่างงุนงงกับคำพูดดังกล่าวจนเขาต้องหยุดคิดซักพักแล้วอธิบายให้ฟังว่า"เป็นคำพูดประชดน่ะครับ..."
ล่าสุด เจค็อบทิ้งประเด็นน่าสนใจไว้ในรายการ "เท็ด เอ็กซ์ ทีน" ที่เชิญมาพูดถึงความอัจฉริยะในหัวข้อ "ภูมิปัญญาของความไม่รู้" ว่า "การที่จะประสบความสำเร็จได้ คุณต้องทำความเข้าใจสิ่งต่างๆ ด้วยมุมมองที่สร้างสรรค์ในแบบของคุณเอง อย่าผูกขาดที่จะเชื่ออย่างใดอย่างหนึ่งโดยตรง จงหยุดเรียนแต่อย่าหยุดคิด เพราะในวัย 3 ขวบ ผมสอบตกการวาดภาพสีน้ำด้วยนิ้วมือ ในขณะที่ผมเข้าใจสิ่งต่างๆ ในธรรมชาติเป็นอย่างดี อย่างเช่นที่ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ถูกบังคับให้คิดและทำสิ่งต่างๆ ให้กลมกลืนกับสังคม แต่เมื่อปฏิเสธที่จะทำอย่างที่คนทั่วไปทำ เขาเลยกลายเป็นคนแปลกแยกของสังคม ทั้งที่ไอน์ สไตน์พยายามจะแก้ปัญหาเดียวกันกับที่ทุกคนแก้ด้วยวิธีและมุมมองที่หลากหลายและแตกต่างออกไป"เจค็อบพูดบนเวที
ในรายการเท็ด เอ็กซ์ ทีน เจค็อบไม่ได้สอนสิ่งที่ยุ่งยากหรือเป็นหลักการให้กับคนฟังตรงกันข้ามกลับแนะนำให้เราเริ่มฟิสิกส์ด้วยการมองจากสิ่งง่ายๆใกล้ตัว เช่น คุกกี้ ล้อสเกตบอร์ด อะไรที่เป็นทรงกลม ไปจนถึงกลไกการทำงาน แล้วนำมาคิดหาเหตุผล พร้อมทั้งพิสูจน์สิ่งที่ตัวเองคิด ด้วยวิธีการที่แตกต่างกันออกไปอยู่เสมอ
"ผมหวังว่า จะสามารถทำให้คุณมั่นใจได้ว่าเราควรจะหยุดเรียน ลืมสิ่งที่คุณเคยรู้ซะ ช่วงเวลาในการสร้าง สรรค์สิ่งที่ยิ่งใหญ่เกิดขึ้นเมื่อเราเลิกเรียนรู้จากตำรา คุณต้องหยุดทำบางสิ่งที่คุณไม่ชอบ เพื่อให้ครูหรือเพื่อนร่วมงานของคุณพอใจในสิ่งที่คุณไม่ได้เป็น และหวังว่าคุณจะลองเก็บความท้าทายนี้ที่ผมบอกไปคิด แล้วออกไปค้นหาสิ่งที่คุณอยากจะทำจริงๆโดยทำตามความฝันแล้วนำมาปรับใช้ในโลกของความเป็นจริง"
นอกจากนั้น เจค็อบยังพิสูจน์ว่าทฤษฎีของนักวิทยาศาสตร์รุ่นเก๋าหลายคน ผิดบ้าง หรือขาดความสมบูรณ์บ้าง อย่างทฤษฎีแรงโน้มถ่วงของ "เซอร์ ไอแซ็ก นิวตัน" ความพิเศษอยู่ที่โจ๋อเมริกันคนนี้ไม่ได้รู้จากการเรียน แต่เกิดจากการที่ใช้เวลานั่งขบคิดตัวเลข ถอดสมการ และหารูปทรงด้วยตัวเอง ซึ่งบางครั้งมันคือสูตรคณิตศาสตร์อันนำมาสู่ทฤษฎีฟิสิกส์ที่มีอยู่แล้ว
จนทำให้หลายคนจับตาว่าวันหนึ่ง เจค็อบอาจจะสามารถเพิ่มเติมและต่อยอดทฤษฎีสัมพันธภาพ ของนักวิทยาศาสตร์ชื่อดังก้องโลกอย่าง อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ก็เป็นได้"การเรียนรู้ เอามาคิด แล้วนำมาปฏิบัติ คือสิ่งที่ทำให้ผมมายืนที่นี่ในเวลานี้" ในมุมมองของเจค็อบทุกวันนี้ สิ่งที่ท้าทายมนุษย์มากที่สุดไม่ใช่การแก้ปัญหายากๆ หรือการจะไปถึงสิ่งที่เรียกว่าความสำเร็จแต่กลับกลายเป็นสิ่งที่เราควรจะมาทบทวนตนเองอยู่เสมอ
สิ่งที่ยากที่สุดคือการที่จะเป็นตัวเองบนโลกที่ทุกคนพยายามทำให้เราเป็นเหมือนคนอื่นๆ ในสังคม ถ้า เกรเกอร์ เมนเดล เชื่อ ทุกอย่างตามทฤษฎีของ ชาร์ล ดาร์วิน ทุกวันนี้เราคงไม่รู้จักกับยีนส์ หรือพันธุกรรม หากเราเรียนวิทยาศาสตร์จากหน้าหนังสือมากกว่าออกไปทำความเข้าใจจากสิ่งที่ เกิดขึ้นจริงในธรรมชาติ หรือตัดสินว่าเจค็อบเป็นออทิสติกโดยไม่มองจากสิ่งที่เจค็อบเป็นแล้วก้าวต่อไปของมนุษยชาติคงไม่พ้นรอยเท้าผืนเดิมก็เป็นได้ "เรา ต้องการใครบางคนที่พร้อมจะลืมทุกอย่างที่เคยเรียนมา แล้วแก้โจทย์เดิมที่เผชิญอยู่ด้วยวิธีคิดที่แตกต่างออกไป" เจ้าของฉายาไอน์สไตน์คนต่อไปกล่าว : พงษ์ผกา ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
กลางบน-แม่ของเจค็อบ กลางล่าง-วัยทารก ล่างขวา-สื่อตีพิมพ์ประวัติชีวิตอัจฉริยะวัยเยาว์ เด็กชายบรรจงเขียนสมการคณิตศาสตร์นับร้อยสูตรอย่างขะมักเขม้น ลงบนกระจกใสบานแล้วบานเล่าในบ้านของ นางคริสติน บาร์เน็ต สุภาพสตรีชาวอเมริกัน แต่แปลกที่ผู้เป็นแม่กลับไม่ปวดหัวกับ ฝีมือของลูกชายตัวดีทั้งยังส่งเสริมให้ลูกเขียนอะไรเอาไว้ที่จุดใดในบ้านก็ได้โดยไม่กลัวหมึกเปื้อนสกปรกเพราะ "เจค็อบ บาร์เน็ต" ลูกชายคนโตวัย 14 ย่าง 15 ปีของ คริสติน มีสมองที่ดีเยี่ยมเข้าขั้นระดับอัจฉริยะ จนได้รับการขนานนามจากสื่อว่า"ไอน์สไตน์คนต่อไป"แม้เกิดมามีพัฒนาการทางสมองช้า! ย้อนกลับไปสิบกว่าปีก่อน คริสตินถึงกับหมดหวัง เมื่อแพทย์วินิจฉัยว่า เจค็อบ วัย 2 ขวบ ลูกคนแรกจากลูกชายทั้งหมด 3 คนของเธอ ป่วยเป็นโรคออทิสติก เพราะในช่วงวัย 14 เดือนที่ผ่านมา เจค็อบไม่เคยพูดไม่แสดงสีหน้าอารมณ์และชอบทำอะไรคนเดียวซ้ำไปซ้ำมา แพทย์ต่างให้การบำบัด รักษาเขาเช่นเดียวกับวิธีที่ดูแลเด็กพิเศษคนอื่นๆ จนกระทั่งเจค็อบส่งสัญญาณให้รู้ว่าแพทย์วินิจฉัยผิด ก่อนจะเผยแววอัจฉริยะออกมา เพราะเจค็อบเรียนรู้ตัวอักษรได้ก่อนที่เขาจะหัดเดิน ฟังคำสั้นๆ รู้เรื่องก่อนจะอายุครบ 1 ขวบ เสียอีก เจค็อบ บาร์เน็ต วันหนึ่งในช่วงหน้าร้อน คริสตินและครอบครัวไปพักร้อนที่ต่างจังหวัดคืนนั้นเธอพาลูกชายขึ้นไปนอนดูดาวบนหลังคารถ เจค็อบดูจะสนใจสิ่งที่อยู่บนท้องฟ้ามาก เมื่อกลับมาบ้านคุณแม่จึงตัดสินใจพาเจค็อบไปงานบรรยายเรื่อง "ดาวอังคาร" ที่ท้องฟ้าจำลอง ระหว่างบรรยาย วิทยากรก็ถามขึ้นมาว่า "มีใครทราบหรือไม่ว่าทำไมดวงจันทร์ที่โคจรรอบดาวอังคารจึงมีลักษณะเป็นรูปไข่" ปรากฏ ว่า จู่ๆ เจ้าหนูเจค็อบยกมือขึ้น แล้วถามว่า "ขอโทษนะครับ คุณช่วยบอกขนาดของดวงจันทร์ได้ไหม" วิทยากรตอบคำถามเขา แล้วเจค็อบก็อธิบายออกมาว่า "เป็นเพราะดวงจันทร์ที่โคจรรอบดาวอังคารมีขนาดเล็ก มันจึงมีมวลขนาดเล็ก ดังนั้น ดวงจันทร์จึงไม่มีแรงโน้มถ่วงมากพอที่จะคงรูปเป็นทรงกลมโดยสมบูรณ์"ทุกคนที่ได้ยินต่างเงียบด้วยความทึ่งในความสามารถของเจค็อบ นั่นเป็นครั้งแรกที่คริสตินได้ฟังบทสนทนาที่ยาวที่สุดจากปากลูกชายของเธอในวัยเพียง 3 ขวบ ที่จริงแล้ว เจค็อบป่วยเป็นแอสเพอร์เกอร์ (Asperger"s Syndrome)โรคดังกล่าวค้นพบเมื่อปี ค.ศ.1940 โดยนายแพทย์ฮานส์แอสเพอร์เกอร์ อาการมีลักษณะใกล้เคียงกับออทิสติกมาก โดยเป็นความบกพร่องทางพัฒนาการรูปแบบหนึ่งที่มีความผิดปกติของพัฒนาการด้านสังคมและการสื่อสาร เด็กที่เป็นแอสเพอร์เกอร์นั้นจะแตกต่างจากเด็กที่เป็นออทิสติกซึ่งมีปัญหาการพูดรวมทั้งอาการผิดปกติอย่างอื่นที่รุนแรงกว่า คนจึงมักเข้าใจว่าแอสเพอร์เกอร์ คือออทิสติก แต่เป็นออทิสติกที่มีศักยภาพสูงกว่า และมีปัญหามากกว่าในทักษะการเข้าสังคมโดยเฉพาะการสื่อสารและการอยู่ร่วมกับผู้อื่น เพราะไม่สามารถเข้าใจความหมายของการประชดเปรียบเปรยได้ แต่ เจค็อบได้พิสูจน์ให้เห็นว่าเขาแตกต่างจากคนอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อได้รับการดูแลอย่างดีจากครอบครัวแม้ว่าครอบครัวต้องเผชิญกับลูกชายทั้ง3คนที่มีภาวะบกพร่องคล้ายๆกัน ไอน์สไตน์ ทั้งนี้ เจค็อบเองเชี่ยวชาญด้านดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ ส่วนน้องชายอีก 2 คน "อีธาน" มีความสนใจในเรื่องชีววิทยา และ "เวสลี่" สนใจเรื่องอุตุนิยมวิทยา เจค็อบกลายเป็นเด็กหัวกะทิของโรงเรียน มีไอคิวอยู่ในระดับ 170 ซึ่งสูงกว่าไอคิวของ "ไอน์สไตน์" ยอดอัจฉริยะฟิลิกส์โลก เด็กแอสเพอร์เกอร์คนนี้มีความสามารถจดจำจำนวนหน้าต่างทุกบานบนตึกที่เขาได้เห็นเพียงแค่ครั้งเดียว ในวัย 8 ขวบ เจค็อบเข้าเรียนสาขาดาราศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยอินเดียน่าจบจากมหาวิทยาลัยเปอร์ดูในวัย10ขวบ และตอนนี้กำลังศึกษาระดับปริญญาโทเพื่อที่จะต่อปริญญาเอกในสาขาควอนตั้มฟิสิกส์ "ผมใช้เวลาตลอดปิดเทอมนั่งวาดรูปทรงเรขาคณิตในความคิดของผม นับ 100 รูปทรง ลงบนกระดาษเป็นพันๆ ใบ จนกระทั่งผมสามารถแก้ปัญหาโจทย์ฟิสิกส์ดาราศาสตร์ได้ ผมเลยมานั่งคิดว่า มันเปลืองกระดาษ เลยย้ายไปเขียนบนไวต์บอร์ด และบานหน้าต่าง ผมยังพยายามพิสูจน์ว่าสิ่งที่ผมคิดได้มันเป็นสิ่งผิดหรือไม่ตลอดเวลา ก่อนที่จะย้ายมาครุ่นคิดกับเรื่องสมการคณิตศาสตร์" เจค็อบเล่าให้ ผู้สื่อข่าวอเมริกันฟัง ในที่สุด เจค็อบก็เกิดไอเดียอัดวิดีโอลงเว็บไซต์ยูทูบ เพื่อสอนคณิตศาสตร์แคลคูลัสให้กับผู้ที่สนใจ จนทำให้มีผู้ชมติดตามเป็นจำนวนมาก ทั้งตะลึงกับความสามารถของเด็กชายวัย 15 ปี คนนี้ "ผมชอบออทิสติกมันเป็นส่วนหนึ่งของบุคลิกผม"อัจฉริยะวัยรุ่นกล่าว ความปราดเปรื่องของเจค็อบ กลายเป็นที่สนใจของสาธารณชนมากขึ้น จนได้รับเชิญไปออกรายการโทรทัศน์หลายรายการ เช่น ในรายการ "60 มินิตส์" คริสตินเล่าว่า เธอเปิดศูนย์เพื่อการบำบัดรักษาและพัฒนาเด็กออทิสติกและเด็กพิเศษเมื่อปีพ.ศ.2543โดยให้เด็กๆได้เลี้ยงสัตว์เพื่อปรับพฤติกรรม "เจค็อบเชื่อว่า เราทุกคนมีความสามารถพิเศษเฉพาะอย่างในตัวเอง อยู่ที่ว่าใครจะมองเห็นและนำมันมาใช้" คริสตินกล่าวอารมณ์ ขันยังเป็นเสน่ห์ที่โดดเด่นอีกข้อของเด็กคนนี้ ยกตัวอย่างเช่น เมื่อครั้งที่คริสตินให้สัมภาษณ์รายการอยู่กับเจค็อบ เธอถามเขาว่า "ถ้าแม่ลุกไปซักประเดี๋ยวได้ไหม" เจค็อบตอบ "ได้ครับ แต่อย่านานนักนะ ผมไม่อยากให้แม่ต้องออกทีวีนานๆ" พิธีกรรวมทั้งทุกคนที่นั่งฟังการสัมภาษณ์ต่างงุนงงกับคำพูดดังกล่าวจนเขาต้องหยุดคิดซักพักแล้วอธิบายให้ฟังว่า"เป็นคำพูดประชดน่ะครับ..." ล่าสุด เจค็อบทิ้งประเด็นน่าสนใจไว้ในรายการ "เท็ด เอ็กซ์ ทีน" ที่เชิญมาพูดถึงความอัจฉริยะในหัวข้อ "ภูมิปัญญาของความไม่รู้" ว่า "การที่จะประสบความสำเร็จได้ คุณต้องทำความเข้าใจสิ่งต่างๆ ด้วยมุมมองที่สร้างสรรค์ในแบบของคุณเอง อย่าผูกขาดที่จะเชื่ออย่างใดอย่างหนึ่งโดยตรง จงหยุดเรียนแต่อย่าหยุดคิด เพราะในวัย 3 ขวบ ผมสอบตกการวาดภาพสีน้ำด้วยนิ้วมือ ในขณะที่ผมเข้าใจสิ่งต่างๆ ในธรรมชาติเป็นอย่างดี อย่างเช่นที่ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ถูกบังคับให้คิดและทำสิ่งต่างๆ ให้กลมกลืนกับสังคม แต่เมื่อปฏิเสธที่จะทำอย่างที่คนทั่วไปทำ เขาเลยกลายเป็นคนแปลกแยกของสังคม ทั้งที่ไอน์ สไตน์พยายามจะแก้ปัญหาเดียวกันกับที่ทุกคนแก้ด้วยวิธีและมุมมองที่หลากหลายและแตกต่างออกไป"เจค็อบพูดบนเวที ในรายการเท็ด เอ็กซ์ ทีน เจค็อบไม่ได้สอนสิ่งที่ยุ่งยากหรือเป็นหลักการให้กับคนฟังตรงกันข้ามกลับแนะนำให้เราเริ่มฟิสิกส์ด้วยการมองจากสิ่งง่ายๆใกล้ตัว เช่น คุกกี้ ล้อสเกตบอร์ด อะไรที่เป็นทรงกลม ไปจนถึงกลไกการทำงาน แล้วนำมาคิดหาเหตุผล พร้อมทั้งพิสูจน์สิ่งที่ตัวเองคิด ด้วยวิธีการที่แตกต่างกันออกไปอยู่เสมอ "ผมหวังว่า จะสามารถทำให้คุณมั่นใจได้ว่าเราควรจะหยุดเรียน ลืมสิ่งที่คุณเคยรู้ซะ ช่วงเวลาในการสร้าง สรรค์สิ่งที่ยิ่งใหญ่เกิดขึ้นเมื่อเราเลิกเรียนรู้จากตำรา คุณต้องหยุดทำบางสิ่งที่คุณไม่ชอบ เพื่อให้ครูหรือเพื่อนร่วมงานของคุณพอใจในสิ่งที่คุณไม่ได้เป็น และหวังว่าคุณจะลองเก็บความท้าทายนี้ที่ผมบอกไปคิด แล้วออกไปค้นหาสิ่งที่คุณอยากจะทำจริงๆโดยทำตามความฝันแล้วนำมาปรับใช้ในโลกของความเป็นจริง" นอกจากนั้น เจค็อบยังพิสูจน์ว่าทฤษฎีของนักวิทยาศาสตร์รุ่นเก๋าหลายคน ผิดบ้าง หรือขาดความสมบูรณ์บ้าง อย่างทฤษฎีแรงโน้มถ่วงของ "เซอร์ ไอแซ็ก นิวตัน" ความพิเศษอยู่ที่โจ๋อเมริกันคนนี้ไม่ได้รู้จากการเรียน แต่เกิดจากการที่ใช้เวลานั่งขบคิดตัวเลข ถอดสมการ และหารูปทรงด้วยตัวเอง ซึ่งบางครั้งมันคือสูตรคณิตศาสตร์อันนำมาสู่ทฤษฎีฟิสิกส์ที่มีอยู่แล้ว จนทำให้หลายคนจับตาว่าวันหนึ่ง เจค็อบอาจจะสามารถเพิ่มเติมและต่อยอดทฤษฎีสัมพันธภาพ ของนักวิทยาศาสตร์ชื่อดังก้องโลกอย่าง อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ก็เป็นได้"การเรียนรู้ เอามาคิด แล้วนำมาปฏิบัติ คือสิ่งที่ทำให้ผมมายืนที่นี่ในเวลานี้" ในมุมมองของเจค็อบทุกวันนี้ สิ่งที่ท้าทายมนุษย์มากที่สุดไม่ใช่การแก้ปัญหายากๆ หรือการจะไปถึงสิ่งที่เรียกว่าความสำเร็จแต่กลับกลายเป็นสิ่งที่เราควรจะมาทบทวนตนเองอยู่เสมอ สิ่งที่ยากที่สุดคือการที่จะเป็นตัวเองบนโลกที่ทุกคนพยายามทำให้เราเป็นเหมือนคนอื่นๆ ในสังคม ถ้า เกรเกอร์ เมนเดล เชื่อ ทุกอย่างตามทฤษฎีของ ชาร์ล ดาร์วิน ทุกวันนี้เราคงไม่รู้จักกับยีนส์ หรือพันธุกรรม หากเราเรียนวิทยาศาสตร์จากหน้าหนังสือมากกว่าออกไปทำความเข้าใจจากสิ่งที่ เกิดขึ้นจริงในธรรมชาติ
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)