ป่วยจิตคลุ้มคลั่งเพิ่ม รับมืออย่างไรปลอดภัย

แสดงความคิดเห็น

คนป่วยจิตคลุ้มคลั่งจับตัวประกันโดยใช้มีดจี้คอ

สังคมปัจจุบันเต็มไปด้วยความเครียด ส่งผลให้คนไทยจำนวนมากไม่สามารถแบกรับกับปัญหาและความเปลี่ยนแปลงที่ต้องเผชิญ ทำให้ป่วยเป็นโรคจิตเพิ่มมากขึ้น สถิติกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุขระบุว่าปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคจิตที่เข้ามารับการรักษามีจำนวนกว่า1,076,155คน

ลักษณะการป่วยโรคจิตมีหลายประเภท ที่น่าเป็นห่วง คือ โรคจิตที่จะทำให้เกิดอาการคลุ้มคลั่ง ทำร้ายร่างกายตนเองและทำร้ายร่างกายผู้อื่น ได้แก่ โรคจิตชนิดซึมเศร้า โดยคนที่เป็นโรคจิตชนิดนี้จะมีอาการเฉื่อยชา ไม่ดูแลตนเอง เบื่ออาหาร คิดมาก วิตกกังวล บางคนก็ร้องไห้ตลอดเวลา และบางคนอาจตัดสินใจถึงขั้นฆ่าตัวตาย นอกจากนี้ยังมีอาการโรคจิตที่เกิดจากสารเสพติดที่ผู้ป่วยจะมีอาการประสาท หลอน เพ้อ คลุ้มคลั่ง ก้าวร้าว ควบคุมตนเองไม่ได้ ทำร้ายร่างกายตนเองและผู้อื่น โดยผู้ป่วยโรคจิตทั้งสองกลุ่มนี้จะเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยฉุกเฉินได้มากที่สุดล่าสุดได้มีผู้ป่วยโรคจิตจากสารเสพติดคลุ้มคลั่งที่ จ.ขอนแก่น ใช้มีดจี้คอตัวเอง จนถูกหลอดลมด้านหน้า สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) เล็งเห็นว่าระบบการแพทย์ฉุกเฉินควรรองรับกับผู้ป่วยฉุกเฉินในทุกประเภทและประชาชนทั่วไปควรจะมีความรู้

นางสุภลักษณ์ ชารีพัด พยาบาลวิชาชีพ ประจำศูนย์สื่อสารสั่งการ ร.พ.ขอนแก่น บอกว่า หากพบเห็นผู้ป่วยโรคจิตในลักษณะนี้ จะต้องรีบโทร.แจ้งสายด่วน 1669 ขั้นตอนการช่วยเหลือมีดังนี้ 1.โทร.แจ้งสายด่วน 1669 เพื่อขอความช่วยเหลือทางการแพทย์ 2.บอกผู้ป่วยว่าเรามาช่วยเหลือ 3.แนะนำให้นั่งลงและคุยกัน ควรปลดอาวุธให้เรียบร้อยก่อนช่วยเหลือ หากประเมินว่าไม่ปลอดภัยควรให้ผู้เชี่ยวชาญเข้ามาให้การช่วยเหลือ 4.หากผู้ป่วยมีภาวะเลือดออกภายนอกมาก ควรปฐมพยาบาลเบื้องต้นโดยการห้ามเลือด ให้ใช้ผ้าสะอาดกดให้แน่นในตำแหน่งบาดแผล เพื่อหยุดเลือดที่ออก แต่ทั้งนี้จะต้องมีอุปกรณ์ป้องกันตัวเองด้วยอาทิถุงมือหน้ากากเสื้อคลุมเพื่อป้องกันการติดเชื้อ

นพ.อนุชา เศรษฐเสถียร เลขาธิการ สพฉ. บอกว่า ประชาชนทั่วไปควรสังเกตผู้ใกล้ชิดมีความเสี่ยงต่ออาการโรคจิตหรือไม่ โดยอาการในเบื้องต้นของผู้ป่วยโรคจิตจะมีอาการซึมเศร้า เก็บตัว อารมณ์รุนแรงจนน่ากลัว ไม่ชอบอาบน้ำ สะสมขยะ พูดจาหรือหัวเราะอยู่คนเดียว โดยสถิติการออกปฏิบัติการทางการแพทย์ฉุกเฉินในปี 2555 พบว่ามีผู้ป่วยฉุกเฉินที่ได้รับการช่วยเหลือจากอาการคลุ้มคลั่ง ภาวะทางจิตประสาทและอารมณ์ 11,652 ครั้ง และในปี 2556 นี้ 7,588 ครั้ง

ขอบคุณ... http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROb1pXRXdOREF5TURjMU5nPT0=&sectionid=TURNek1BPT0=&day=TWpBeE15MHdOeTB3TWc9PQ== (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: ข่าวสดออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 2 ก.ค.56
วันที่โพสต์: 3/07/2556 เวลา 03:33:58 ดูภาพสไลด์โชว์ ป่วยจิตคลุ้มคลั่งเพิ่ม รับมืออย่างไรปลอดภัย

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

คนป่วยจิตคลุ้มคลั่งจับตัวประกันโดยใช้มีดจี้คอ สังคมปัจจุบันเต็มไปด้วยความเครียด ส่งผลให้คนไทยจำนวนมากไม่สามารถแบกรับกับปัญหาและความเปลี่ยนแปลงที่ต้องเผชิญ ทำให้ป่วยเป็นโรคจิตเพิ่มมากขึ้น สถิติกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุขระบุว่าปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคจิตที่เข้ามารับการรักษามีจำนวนกว่า1,076,155คน ลักษณะการป่วยโรคจิตมีหลายประเภท ที่น่าเป็นห่วง คือ โรคจิตที่จะทำให้เกิดอาการคลุ้มคลั่ง ทำร้ายร่างกายตนเองและทำร้ายร่างกายผู้อื่น ได้แก่ โรคจิตชนิดซึมเศร้า โดยคนที่เป็นโรคจิตชนิดนี้จะมีอาการเฉื่อยชา ไม่ดูแลตนเอง เบื่ออาหาร คิดมาก วิตกกังวล บางคนก็ร้องไห้ตลอดเวลา และบางคนอาจตัดสินใจถึงขั้นฆ่าตัวตาย นอกจากนี้ยังมีอาการโรคจิตที่เกิดจากสารเสพติดที่ผู้ป่วยจะมีอาการประสาท หลอน เพ้อ คลุ้มคลั่ง ก้าวร้าว ควบคุมตนเองไม่ได้ ทำร้ายร่างกายตนเองและผู้อื่น โดยผู้ป่วยโรคจิตทั้งสองกลุ่มนี้จะเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยฉุกเฉินได้มากที่สุดล่าสุดได้มีผู้ป่วยโรคจิตจากสารเสพติดคลุ้มคลั่งที่ จ.ขอนแก่น ใช้มีดจี้คอตัวเอง จนถูกหลอดลมด้านหน้า สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) เล็งเห็นว่าระบบการแพทย์ฉุกเฉินควรรองรับกับผู้ป่วยฉุกเฉินในทุกประเภทและประชาชนทั่วไปควรจะมีความรู้ นางสุภลักษณ์ ชารีพัด พยาบาลวิชาชีพ ประจำศูนย์สื่อสารสั่งการ ร.พ.ขอนแก่น บอกว่า หากพบเห็นผู้ป่วยโรคจิตในลักษณะนี้ จะต้องรีบโทร.แจ้งสายด่วน 1669 ขั้นตอนการช่วยเหลือมีดังนี้ 1.โทร.แจ้งสายด่วน 1669 เพื่อขอความช่วยเหลือทางการแพทย์ 2.บอกผู้ป่วยว่าเรามาช่วยเหลือ 3.แนะนำให้นั่งลงและคุยกัน ควรปลดอาวุธให้เรียบร้อยก่อนช่วยเหลือ หากประเมินว่าไม่ปลอดภัยควรให้ผู้เชี่ยวชาญเข้ามาให้การช่วยเหลือ 4.หากผู้ป่วยมีภาวะเลือดออกภายนอกมาก ควรปฐมพยาบาลเบื้องต้นโดยการห้ามเลือด ให้ใช้ผ้าสะอาดกดให้แน่นในตำแหน่งบาดแผล เพื่อหยุดเลือดที่ออก แต่ทั้งนี้จะต้องมีอุปกรณ์ป้องกันตัวเองด้วยอาทิถุงมือหน้ากากเสื้อคลุมเพื่อป้องกันการติดเชื้อ นพ.อนุชา เศรษฐเสถียร เลขาธิการ สพฉ. บอกว่า ประชาชนทั่วไปควรสังเกตผู้ใกล้ชิดมีความเสี่ยงต่ออาการโรคจิตหรือไม่ โดยอาการในเบื้องต้นของผู้ป่วยโรคจิตจะมีอาการซึมเศร้า เก็บตัว อารมณ์รุนแรงจนน่ากลัว ไม่ชอบอาบน้ำ สะสมขยะ พูดจาหรือหัวเราะอยู่คนเดียว โดยสถิติการออกปฏิบัติการทางการแพทย์ฉุกเฉินในปี 2555 พบว่ามีผู้ป่วยฉุกเฉินที่ได้รับการช่วยเหลือจากอาการคลุ้มคลั่ง ภาวะทางจิตประสาทและอารมณ์ 11,652 ครั้ง และในปี 2556 นี้ 7,588 ครั้ง ขอบคุณ... http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROb1pXRXdOREF5TURjMU5nPT0=§ionid=TURNek1BPT0=&day=TWpBeE15MHdOeTB3TWc9PQ==

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...