ดัน'ประกันสุขภาพ'สามกองระบบเดียว
เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม นพ.ภูษิต ประคองสาย ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPP) กล่าวเสวนาสาธารณะเรื่อง “คิดใหม่ระบบปลักประกันสุขภาพของไทย” ว่า มี 3 แนวทางหลัก คือ 1.ศึกษาความเป็นได้ในการแสวงหาแหล่งการคลังสุขภาพอื่นๆ เพื่อใช้ในระบบหลักประกันสุขภาพ อาทิ การเก็บภาษีจากอาหารที่ทำลายสุภาพ เช่น น้ำอัดลม ฟาสต์ฟู้ด ฯลฯ การเก็บภาษีจากการโดยสารเครื่องบิน หรือการบริโภคสินค้าฟุ่มเฟือย เช่น โทรศัพท์มือถือ ระบบโทรคมนาคม โดยเป็นการเก็บจากผู้ประกอบกิจการเท่านั้น 2.ภาระโรคของประเทศไทย และสภาพการเจ็บป่วยของประชาชนไทย ทิศทางเป็นการเจ็บป่วยจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและอุบัติเหตุเพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกันอัตราการเพิ่มขึ้นของประชากรผู้สูงอายุก็สูงขึ้น องค์กรประกันสุขภาพต่างๆ ควรลงทุนในด้านการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคทั้งโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง รวมทั้งการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้ประชาชนทุกกลุ่มมีคุณภาพชีวิตที่ดี และ 3.ต้องพัฒนานโยบายหลักประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าวมากขึ้น โดยตัวเลขเมื่อปี 2555 พบว่ากลุ่มคนดังกล่าวยังไม่มีหลักประกันสุขภาพกว่า 2 ล้านคน แต่โรงพยาบาลของรัฐต้องให้บริการในการรักษาพยาบาล ซึ่งก่อภาระทางการเงินให้กับโรงพยาบาลหลายแห่ง โดยเฉพาะโรงพยาบาลชายแดน และโรงพยาบาลในจังหวัดที่มีแรงงานต่างด้าวจำนวนมาก
นางเดือนเด่น นิคมบริรักษ์ ผู้อำนวยการวิจัยด้านการบริหารจัดการระบบเศรษฐกิจ ทีดีอาร์โอ กล่าวว่า ระบบหลักประกันสุขภาพของไทย ทั้งหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประกันสังคม และสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ ยังมีความเหลื่อมล้ำ ทั้งสิทธิประโยชน์ คุณภาพในการรักษาพยาบาล และค่าเบี้ยประกัน ซึ่งในการลดความเหลี่อมล้ำต้องมีระบบประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) บริหารจัดการแต่ไม่จำเป็นต้องรวม 3 กองทุน
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
นพ.ภูษิต ประคองสาย ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPP)เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม นพ.ภูษิต ประคองสาย ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPP) กล่าวเสวนาสาธารณะเรื่อง “คิดใหม่ระบบปลักประกันสุขภาพของไทย” ว่า มี 3 แนวทางหลัก คือ 1.ศึกษาความเป็นได้ในการแสวงหาแหล่งการคลังสุขภาพอื่นๆ เพื่อใช้ในระบบหลักประกันสุขภาพ อาทิ การเก็บภาษีจากอาหารที่ทำลายสุภาพ เช่น น้ำอัดลม ฟาสต์ฟู้ด ฯลฯ การเก็บภาษีจากการโดยสารเครื่องบิน หรือการบริโภคสินค้าฟุ่มเฟือย เช่น โทรศัพท์มือถือ ระบบโทรคมนาคม โดยเป็นการเก็บจากผู้ประกอบกิจการเท่านั้น 2.ภาระโรคของประเทศไทย และสภาพการเจ็บป่วยของประชาชนไทย ทิศทางเป็นการเจ็บป่วยจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและอุบัติเหตุเพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกันอัตราการเพิ่มขึ้นของประชากรผู้สูงอายุก็สูงขึ้น องค์กรประกันสุขภาพต่างๆ ควรลงทุนในด้านการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคทั้งโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง รวมทั้งการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้ประชาชนทุกกลุ่มมีคุณภาพชีวิตที่ดี และ 3.ต้องพัฒนานโยบายหลักประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าวมากขึ้น โดยตัวเลขเมื่อปี 2555 พบว่ากลุ่มคนดังกล่าวยังไม่มีหลักประกันสุขภาพกว่า 2 ล้านคน แต่โรงพยาบาลของรัฐต้องให้บริการในการรักษาพยาบาล ซึ่งก่อภาระทางการเงินให้กับโรงพยาบาลหลายแห่ง โดยเฉพาะโรงพยาบาลชายแดน และโรงพยาบาลในจังหวัดที่มีแรงงานต่างด้าวจำนวนมาก นางเดือนเด่น นิคมบริรักษ์ ผู้อำนวยการวิจัยด้านการบริหารจัดการระบบเศรษฐกิจ ทีดีอาร์โอ กล่าวว่า ระบบหลักประกันสุขภาพของไทย ทั้งหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประกันสังคม และสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ ยังมีความเหลื่อมล้ำ ทั้งสิทธิประโยชน์ คุณภาพในการรักษาพยาบาล และค่าเบี้ยประกัน ซึ่งในการลดความเหลี่อมล้ำต้องมีระบบประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) บริหารจัดการแต่ไม่จำเป็นต้องรวม 3 กองทุน
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)