การขจัดอุปสรรคทั้งปวง เพื่อร่วมกัน ‘สร้างสังคมที่ทุกคนอยู่เย็นเป็นสุขอย่างเท่าเทียมกัน’
คณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมและกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา ได้มอบให้คณะอนุกรรมาธิการด้านคนพิการ ภายใต้การนำของนายมณเฑียร บุญตัน รองประธานคณะกรรมาธิการ ดำเนินการพิจารณาศึกษา “การขจัดอุปสรรคทั้งปวง เพื่อร่วมกันสร้างสังคมที่ทุกคนอยู่เย็นเป็นสุขอย่างเท่าเทียมกัน” โดยการติดตามการบูรณาการแผนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการประจำจังหวัด เข้ากับแผนพัฒนาจังหวัด ทั้งนี้ คณะอนุกรรมาธิการฯ ได้ไปศึกษาดูงาน ณ จังหวัดเลย จังหวัดระยอง จังหวัดสงขลา จังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งในแต่ละจังหวัดมีกิจกรรมที่บูรณาการแผนดังกล่าวในลักษณะต่างๆ กัน
ระหว่างการศึกษาดูงานในจังหวัดที่กล่าวข้างต้น คณะอนุกรรมาธิการฯ ได้ร่วมประชุม“สมัชชาคนพิการ” ซึ่งจัดโดยสภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นโอกาสให้คณะอนุกรรมาธิการฯ ได้รับรู้อุปสรรคในการดำเนินชีวิตของคนพิการ โดยส่วนใหญ่ในทุกภูมิภาคคนพิการนำเสนอว่า อุปสรรคสำคัญในการดำรงชีวิต คือ การไม่สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากสิทธิตามกฎหมาย โดย เฉพาะการขอกู้เงินกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการเพื่อการประกอบ อาชีพ ซึ่งใช้เวลาในการพิจารณาล่าช้า การจัดบริการล่ามภาษามือให้คนหูหนวกไม่เพียงพอ การดำเนินงานขจัดการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการไม่มีประสิทธิภาพ เท่าที่ควร เนื่อง จากมีขั้นตอนมาก เป็นต้น คณะอนุกรรมาธิการฯ ได้รวบรวมประเด็นอุปสรรคที่คนพิการทุกภูมิภาคนำเสนอ และพิจารณาศึกษาแนวทางเพื่อขจัดอุปสรรคเหล่านั้น ด้วยการใช้กระบวนการทางกฎหมาย โดยสนับสนุนการยกร่าง และนำไปสู่การประกาศใช้พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (ฉบับที่ ๒ ) พ.ศ. ๒๕๕๖ และอนุบัญญัติต่างๆ ซึ่งขจัดอุปสรรคให้คนพิการได้หลายประเด็น เช่น การปรับระบบการอนุมัติเงินกู้เพื่อการประกอบอาชีพโดยให้คณะอนุกรรมการส่ง เสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการประจำจังหวัด พิจารณาโครงการและอนุมัติเงินสนับสนุนโดยไม่ต้องนำเสนอต่อส่วนกลาง การส่งเสริมให้องค์กรด้านคนพิการทั่วประเทศจัดตั้งหน่วยบริการล่ามภาษามือ ให้เพียงพอและทั่วถึงมากขึ้น เป็นต้น นอกจากนั้น คณะอนุกรรมาธิการฯ ได้ให้ข้อเสนอแนะในการขจัดอุปสรรคของคนพิการต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ควรปรับสถานะของกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการเป็นนิติบุคคล และควรจัดตั้งคณะกรรมการขจัดการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการซึ่งมี อำนาจหน้าที่ดำเนินงานเบ็ดเสร็จโดยไม่ต้องรอการพิจารณาของคณะกรรมการส่ง เสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ เป็นต้น
ในการศึกษาดูงาน ณ ศูนย์การเรียนรู้เพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาคนพิการโดยชุมชน ซึ่งดำเนินการโดยสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ (พก.) พบว่าครอบครัวและชุมชนมีความพร้อมที่จะเรียนรู้ร่วมกันในการฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพคนพิการ มีการปรับสภาพที่อยู่อาศัยของคนพิการ จัดบริการอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการ จัดสิ่งอำนวยความสะดวกในบ้านและชุมชน เพื่อให้คนพิการสามารถร่วมกิจกรรมทางสังคมได้อย่างเท่าเทียมกับคนทั่วไป บริการให้คำปรึกษาต่าง ๆ เพื่อให้คนพิการเข้าถึงสิทธิประโยชน์ตามกฎหมาย บริการเยี่ยมบ้านและฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการโดยทีมสหวิชาชีพ การค้นหาผู้พิการรายใหม่ร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุข รวมทั้งคุ้มครองสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ โดยเฉพาะด้านการศึกษา การฝึกอาชีพ และการกู้ยืมเงินประกอบอาชีพจากกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ทั้งกรณีรายบุคคล วงเงินกู้ไม่เกินรายละ ๔๐,๐๐๐ บาท และกรณีรายกลุ่ม วงเงินกู้ไม่เกินกลุ่มละ ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท ชำระภายใน ๕ ปี และไม่คิดดอกเบี้ย โดยมีเจ้าหน้าที่นิติกรประจำสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด เป็นผู้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับกฎหมาย เช่น การขึ้นทะเบียนรับเบี้ยความพิการ การแก้ปัญหาเรื่องหนี้สิน และการเปลี่ยนแปลงสิทธิผู้ดูแลคนพิการในบัตรประจำตัวผู้พิการ เป็นต้น
คณะอนุกรรมาธิการฯ ได้ศึกษาดูงาน ณ มูลนิธิชุมชนสงขลา เพื่อนำเรื่องการจัดการภัยพิบัติมาเป็นหนึ่งในเครื่องมือในการร่วมกันสร้างสังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน ซึ่งมูลนิธิชุมชนสงขลาได้นำเสนอกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดการภัยพิบัติ ของชุมชนสงขลา เช่น การเตรียมเพื่อรับมือกับภัยพิบัติโดยใช้ชุมชนเป็นฐานด้วยการเตรียมข้อมูล เพื่อสนับสนุนงานของทุกภาคส่วนและเป็นฐานส่งเสริมงานขององค์กรด้านคนพิการ ด้วย โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากองค์กรระหว่างประเทศมาดำเนินการศึกษาระบบเมือง สภาพภูมิอากาศ ศักยภาพของเมืองและกลุ่มเสี่ยง เป็นต้น เมื่อเกิดภัยพิบัติก็พร้อมสนับสนุนข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้ให้หน่วยงานภาครัฐได้ทันที ทั้งนี้ การทำงานของมูลนิธิฯ จะตอบโจทย์หลักๆ ในเรื่องภัยพิบัติที่ประชาชนสนใจและได้รับผลกระทบเป็นหลักก่อน ส่งผลให้ประชาชนมีความพร้อมและตื่นรู้สู่การเตรียมรับภัยพิบัติต่างๆ รวมถึงการจัดสภาพแวดล้อมที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียมกันซึ่งจะ ดึงดูดนักท่องเที่ยวทั่วไปและคนพิการให้มาเที่ยวด้วย อันเป็นการสร้างสังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันอย่างแท้จริง
ที่ศูนย์ซ่อมบำรุงและประกอบชิ้นส่วนเครื่องช่วยคนพิการ จังหวัดนครศรีธรรมราช คณะอนุกรรมาธิการฯ ได้ศึกษาดูงาน และพบว่าเป็นศูนย์ที่มีความเข้มแข็ง มีภูมิปัญญาในด้านการจัดการซ่อมบำรุงเครื่องช่วยคนพิการ มีช่างที่เป็นคนพิการทำงานประจำ รับซ่อมเครื่องช่วยคนพิการหลายประเภท พร้อมทั้งบริการออกแบบเก้าอี้เข็นให้เหมาะสมกับร่างกายคนพิการแต่ละคน มีน้ำหนักเบาและราคาถูกกว่าท้องตลาด โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อนึ่ง คณะอนุกรรมาธิการฯ ได้ให้ข้อสังเกตว่า เพื่อให้ศูนย์สามารถเลี้ยงดูตนเองได้เพื่อให้เกิดความยั่งยืน ควรมีการบริหารจัดการที่ดี ตลอดจนมีการจัดทำบัญชีค่าใช้จ่าย การขายและต้นทุนกำไรด้วย
การศึกษาดูงาน ณ โครงการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการโดยชุมชน ณ บ้านเหมืองทอด ตำบลเพิ่มพูนทรัพย์ อำเภอนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี พบว่ามีการดำเนินการในรูปแบบของคณะกรรมการที่เป็นอาสาสมัครเข้ามาร่วมกันทำ งาน โดยกำหนดหน้าที่สำคัญ ดังนี้ (๑) การค้นหาคนพิการในชุมชนท้องถิ่นที่ยังไม่สามารถเข้าถึงบริการของรัฐให้ออกมา ใช้สิทธิตามกฎหมาย (๒) การสร้างเครื่องออกกำลังกาย และเครื่องฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น และ(๓) การฝึกอาชีพ เช่น การจัดทำเหรียญโปรยทาน ยาดม และดอกไม้ประดับ ซึ่งได้รับการช่วยเหลือทางการตลาดจากหลายหน่วยงาน อนึ่ง ประชาชนที่มาร่วมประชุมกับคณะอนุกรรมาธิการฯ ได้นำเสนอปัญหาการจัดการด้านคนพิการ ดัง นี้ ๑. ศูนย์บริการด้านคนพิการมีน้อยเกินไปในแต่ละจังหวัด และทั้งจังหวัดมีผู้ช่วยคนพิการที่ทำงานเต็มเวลาเพียง ๕ คนต่อจังหวัด ควรมีการพิจารณาตามความเป็นจริงเพราะในจังหวัดใหญ่ ๆ ย่อมมีคนพิการมาก ๒. ควรมีการเรียนการสอนโดยครูการศึกษาพิเศษในชุมชนที่คนพิการอยู่ เพราะการเดินทางไปศึกษาในโรงเรียนเฉพาะความพิการส่วนมากจะอยู่พื้นที่ห่าง ไกล ผู้ปกครองไม่สะดวกที่จะเดินทางไปเยี่ยมและการเดินทางไป - กลับแต่ละครั้งมีค่าใช้จ่ายสูง หากมีการรวมกลุ่มหรือจัดการศึกษาให้กับคนพิการในพื้นที่ได้จะเป็นการลดภาระ ให้กับผู้ปกครองและผู้ดูแลคนพิการเป็นอย่างมาก
คณะอนุกรรมาธิการฯ ได้ให้ข้อเสนอแนะต่อศูนย์ฯ และประชาชน ดังนี้ ๑. การมีผู้ช่วยคนพิการเป็นการจ้างมาทำงานเต็มเวลาไม่ใช่การอาสาสมัคร เริ่มแรกอาจใช้เงินกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการมาดูแล ต่อไปต้องผลักดันให้ใช้เงินงบประมาณแผ่นดิน ซึ่งทั้งหมดนี้อาจต้องมีการปรับให้เหมาะสมกับปัญหาและความจำเป็นในพื้นที่ ของแต่ละจังหวัด ๒. คนพิการสามารถใช้บริการระบบสาธารณสุขได้ฟรี นอกจากนี้งบประมาณของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็น กองทุน สุขภาพตำบลสามารถนำมาฟื้นฟูและพัฒนาสมรรถภาพคนพิการได้ ๓. ในอนาคตจะมีศูนย์บริการคนพิการระดับจังหวัด และในพื้นที่ระดับชุมชนสามารถรวมตัวกันจัดตั้งเป็นศูนย์บริการคนพิการได้ ซึ่งจะเป็นทั้งศูนย์การเรียนรู้ ศูนย์สาธารณสุข ในขั้นนี้ขอให้มีการรวมตัวกันให้เข้มแข็งเมื่อมีการออกระเบียบที่เกี่ยวข้อง แล้วเสร็จจะทำให้สามารถทำงานได้เลย ๔. ควรนำคนพิการออกมาสู่สังคมตั้งแต่ต้นแม้ครอบครัวหรือตนเองจะสามารถเลี้ยงดู ได้อย่างสบายก็ตาม
ร่วมแสดงความคิดเห็นได้ที่คณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมและกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา โทร ๐ ๒๘๓๑ ๙๒๒๕-๖ โทรสาร ๐ ๒๘๓๑ ๙๒๒๖ สายด่วนวุฒิสภา ๑๑๐๒ หรือส่งจดหมาย/เอกสาร/ข้อร้องเรียนไปที่ “ตู้ปวงชนชาวไทย”ไปรษณีย์รัฐสภา กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๕
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
ภาพหมู่คณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมและกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา ลงพื้นที่การศึกษาดูงาน ณ ศูนย์การเรียนรู้เพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาคนพิการโดยชุมชน คณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมและกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา ได้มอบให้คณะอนุกรรมาธิการด้านคนพิการ ภายใต้การนำของนายมณเฑียร บุญตัน รองประธานคณะกรรมาธิการ ดำเนินการพิจารณาศึกษา “การขจัดอุปสรรคทั้งปวง เพื่อร่วมกันสร้างสังคมที่ทุกคนอยู่เย็นเป็นสุขอย่างเท่าเทียมกัน” โดยการติดตามการบูรณาการแผนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการประจำจังหวัด เข้ากับแผนพัฒนาจังหวัด ทั้งนี้ คณะอนุกรรมาธิการฯ ได้ไปศึกษาดูงาน ณ จังหวัดเลย จังหวัดระยอง จังหวัดสงขลา จังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งในแต่ละจังหวัดมีกิจกรรมที่บูรณาการแผนดังกล่าวในลักษณะต่างๆ กัน ระหว่างการศึกษาดูงานในจังหวัดที่กล่าวข้างต้น คณะอนุกรรมาธิการฯ ได้ร่วมประชุม“สมัชชาคนพิการ” ซึ่งจัดโดยสภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นโอกาสให้คณะอนุกรรมาธิการฯ ได้รับรู้อุปสรรคในการดำเนินชีวิตของคนพิการ โดยส่วนใหญ่ในทุกภูมิภาคคนพิการนำเสนอว่า อุปสรรคสำคัญในการดำรงชีวิต คือ การไม่สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากสิทธิตามกฎหมาย โดย เฉพาะการขอกู้เงินกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการเพื่อการประกอบ อาชีพ ซึ่งใช้เวลาในการพิจารณาล่าช้า การจัดบริการล่ามภาษามือให้คนหูหนวกไม่เพียงพอ การดำเนินงานขจัดการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการไม่มีประสิทธิภาพ เท่าที่ควร เนื่อง จากมีขั้นตอนมาก เป็นต้น คณะอนุกรรมาธิการฯ ได้รวบรวมประเด็นอุปสรรคที่คนพิการทุกภูมิภาคนำเสนอ และพิจารณาศึกษาแนวทางเพื่อขจัดอุปสรรคเหล่านั้น ด้วยการใช้กระบวนการทางกฎหมาย โดยสนับสนุนการยกร่าง และนำไปสู่การประกาศใช้พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (ฉบับที่ ๒ ) พ.ศ. ๒๕๕๖ และอนุบัญญัติต่างๆ ซึ่งขจัดอุปสรรคให้คนพิการได้หลายประเด็น เช่น การปรับระบบการอนุมัติเงินกู้เพื่อการประกอบอาชีพโดยให้คณะอนุกรรมการส่ง เสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการประจำจังหวัด พิจารณาโครงการและอนุมัติเงินสนับสนุนโดยไม่ต้องนำเสนอต่อส่วนกลาง การส่งเสริมให้องค์กรด้านคนพิการทั่วประเทศจัดตั้งหน่วยบริการล่ามภาษามือ ให้เพียงพอและทั่วถึงมากขึ้น เป็นต้น นอกจากนั้น คณะอนุกรรมาธิการฯ ได้ให้ข้อเสนอแนะในการขจัดอุปสรรคของคนพิการต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ควรปรับสถานะของกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการเป็นนิติบุคคล และควรจัดตั้งคณะกรรมการขจัดการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการซึ่งมี อำนาจหน้าที่ดำเนินงานเบ็ดเสร็จโดยไม่ต้องรอการพิจารณาของคณะกรรมการส่ง เสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ เป็นต้น ภาพหมู่คณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมและกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา ลงพื้นที่การศึกษาดูงาน ณ ศูนย์การเรียนรู้เพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาคนพิการโดยชุมชน ในการศึกษาดูงาน ณ ศูนย์การเรียนรู้เพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาคนพิการโดยชุมชน ซึ่งดำเนินการโดยสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ (พก.) พบว่าครอบครัวและชุมชนมีความพร้อมที่จะเรียนรู้ร่วมกันในการฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพคนพิการ มีการปรับสภาพที่อยู่อาศัยของคนพิการ จัดบริการอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการ จัดสิ่งอำนวยความสะดวกในบ้านและชุมชน เพื่อให้คนพิการสามารถร่วมกิจกรรมทางสังคมได้อย่างเท่าเทียมกับคนทั่วไป บริการให้คำปรึกษาต่าง ๆ เพื่อให้คนพิการเข้าถึงสิทธิประโยชน์ตามกฎหมาย บริการเยี่ยมบ้านและฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการโดยทีมสหวิชาชีพ การค้นหาผู้พิการรายใหม่ร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุข รวมทั้งคุ้มครองสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ โดยเฉพาะด้านการศึกษา การฝึกอาชีพ และการกู้ยืมเงินประกอบอาชีพจากกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ทั้งกรณีรายบุคคล วงเงินกู้ไม่เกินรายละ ๔๐,๐๐๐ บาท และกรณีรายกลุ่ม วงเงินกู้ไม่เกินกลุ่มละ ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท ชำระภายใน ๕ ปี และไม่คิดดอกเบี้ย โดยมีเจ้าหน้าที่นิติกรประจำสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด เป็นผู้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับกฎหมาย เช่น การขึ้นทะเบียนรับเบี้ยความพิการ การแก้ปัญหาเรื่องหนี้สิน และการเปลี่ยนแปลงสิทธิผู้ดูแลคนพิการในบัตรประจำตัวผู้พิการ เป็นต้น คณะอนุกรรมาธิการฯ ได้ศึกษาดูงาน ณ มูลนิธิชุมชนสงขลา เพื่อนำเรื่องการจัดการภัยพิบัติมาเป็นหนึ่งในเครื่องมือในการร่วมกันสร้างสังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน ซึ่งมูลนิธิชุมชนสงขลาได้นำเสนอกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดการภัยพิบัติ ของชุมชนสงขลา เช่น การเตรียมเพื่อรับมือกับภัยพิบัติโดยใช้ชุมชนเป็นฐานด้วยการเตรียมข้อมูล เพื่อสนับสนุนงานของทุกภาคส่วนและเป็นฐานส่งเสริมงานขององค์กรด้านคนพิการ ด้วย โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากองค์กรระหว่างประเทศมาดำเนินการศึกษาระบบเมือง สภาพภูมิอากาศ ศักยภาพของเมืองและกลุ่มเสี่ยง เป็นต้น เมื่อเกิดภัยพิบัติก็พร้อมสนับสนุนข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้ให้หน่วยงานภาครัฐได้ทันที ทั้งนี้ การทำงานของมูลนิธิฯ จะตอบโจทย์หลักๆ ในเรื่องภัยพิบัติที่ประชาชนสนใจและได้รับผลกระทบเป็นหลักก่อน ส่งผลให้ประชาชนมีความพร้อมและตื่นรู้สู่การเตรียมรับภัยพิบัติต่างๆ รวมถึงการจัดสภาพแวดล้อมที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียมกันซึ่งจะ ดึงดูดนักท่องเที่ยวทั่วไปและคนพิการให้มาเที่ยวด้วย อันเป็นการสร้างสังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันอย่างแท้จริง ที่ศูนย์ซ่อมบำรุงและประกอบชิ้นส่วนเครื่องช่วยคนพิการ จังหวัดนครศรีธรรมราช คณะอนุกรรมาธิการฯ ได้ศึกษาดูงาน และพบว่าเป็นศูนย์ที่มีความเข้มแข็ง มีภูมิปัญญาในด้านการจัดการซ่อมบำรุงเครื่องช่วยคนพิการ มีช่างที่เป็นคนพิการทำงานประจำ รับซ่อมเครื่องช่วยคนพิการหลายประเภท พร้อมทั้งบริการออกแบบเก้าอี้เข็นให้เหมาะสมกับร่างกายคนพิการแต่ละคน มีน้ำหนักเบาและราคาถูกกว่าท้องตลาด โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อนึ่ง คณะอนุกรรมาธิการฯ ได้ให้ข้อสังเกตว่า เพื่อให้ศูนย์สามารถเลี้ยงดูตนเองได้เพื่อให้เกิดความยั่งยืน ควรมีการบริหารจัดการที่ดี ตลอดจนมีการจัดทำบัญชีค่าใช้จ่าย การขายและต้นทุนกำไรด้วย การศึกษาดูงาน ณ โครงการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการโดยชุมชน ณ บ้านเหมืองทอด ตำบลเพิ่มพูนทรัพย์ อำเภอนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี พบว่ามีการดำเนินการในรูปแบบของคณะกรรมการที่เป็นอาสาสมัครเข้ามาร่วมกันทำ งาน โดยกำหนดหน้าที่สำคัญ ดังนี้ (๑) การค้นหาคนพิการในชุมชนท้องถิ่นที่ยังไม่สามารถเข้าถึงบริการของรัฐให้ออกมา ใช้สิทธิตามกฎหมาย (๒) การสร้างเครื่องออกกำลังกาย และเครื่องฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น และ(๓) การฝึกอาชีพ เช่น การจัดทำเหรียญโปรยทาน ยาดม และดอกไม้ประดับ ซึ่งได้รับการช่วยเหลือทางการตลาดจากหลายหน่วยงาน อนึ่ง ประชาชนที่มาร่วมประชุมกับคณะอนุกรรมาธิการฯ ได้นำเสนอปัญหาการจัดการด้านคนพิการ ดัง นี้ ๑. ศูนย์บริการด้านคนพิการมีน้อยเกินไปในแต่ละจังหวัด และทั้งจังหวัดมีผู้ช่วยคนพิการที่ทำงานเต็มเวลาเพียง ๕ คนต่อจังหวัด ควรมีการพิจารณาตามความเป็นจริงเพราะในจังหวัดใหญ่ ๆ ย่อมมีคนพิการมาก ๒. ควรมีการเรียนการสอนโดยครูการศึกษาพิเศษในชุมชนที่คนพิการอยู่ เพราะการเดินทางไปศึกษาในโรงเรียนเฉพาะความพิการส่วนมากจะอยู่พื้นที่ห่าง ไกล ผู้ปกครองไม่สะดวกที่จะเดินทางไปเยี่ยมและการเดินทางไป - กลับแต่ละครั้งมีค่าใช้จ่ายสูง หากมีการรวมกลุ่มหรือจัดการศึกษาให้กับคนพิการในพื้นที่ได้จะเป็นการลดภาระ ให้กับผู้ปกครองและผู้ดูแลคนพิการเป็นอย่างมาก ศึกษาดูงานศูนย์ซ่อมบำรุงและประกอบชิ้นส่วนเครื่องช่วยคนพิการ จังหวัดนครศรีธรรมราช คณะอนุกรรมาธิการฯ ได้ให้ข้อเสนอแนะต่อศูนย์ฯ และประชาชน ดังนี้ ๑. การมีผู้ช่วยคนพิการเป็นการจ้างมาทำงานเต็มเวลาไม่ใช่การอาสาสมัคร เริ่มแรกอาจใช้เงินกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการมาดูแล ต่อไปต้องผลักดันให้ใช้เงินงบประมาณแผ่นดิน ซึ่งทั้งหมดนี้อาจต้องมีการปรับให้เหมาะสมกับปัญหาและความจำเป็นในพื้นที่ ของแต่ละจังหวัด ๒. คนพิการสามารถใช้บริการระบบสาธารณสุขได้ฟรี
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)