วัยว้าวุ่นกับยาเสพติด - คุณหมอขอบอก

แสดงความคิดเห็น

นพ.วรตม์ โชติพิทยสุนนท์ ผอ.ศูนย์สุขภาพจิตระหว่างประเทศ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

กรณีดาราสาววัยรุ่นจากซีรีส์สุดฮิต “ฮอร์โมน วัยว้าวุ่น” มีข่าวเรื่องยาเสพติด แม้จะเป็นแค่การทดลอง ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ขาดประสบการณ์ชีวิต ตามที่คนในครอบครัวออกมาชี้แจง ซึ่งผลการตรวจปัสสาวะก็พิสูจน์แล้วว่าไม่ได้ติดยาเสพติด กรณีนี้คงเป็นอุทาหรณ์ให้กับคุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกวัยรุ่นและอาจพลาดพลั้งไปข้องแวะกับยาเสพติด มาดูกันว่ามีทางออกอย่างไร

นพ.วรตม์ โชติพิทยสุนนท์ ผอ.ศูนย์สุขภาพจิตระหว่างประเทศ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข บอกว่า วัยรุ่นเป็นวัยที่ต้องการรู้จักโลกภายนอกมากขึ้น อยากรู้อยากลอง อาจมีสิ่งต่าง ๆ มากมายเข้ามากระตุ้น ทำให้ตื่นเต้นเร้าใจในการดำเนินชีวิต จึงมีแนวโน้มสัมผัสกับสิ่งแปลกใหม่มากมาย เพื่อนเป็นปัจจัยที่สำคัญมาก ในบางครอบครัวเพื่อนสำคัญกว่าพ่อแม่ด้วยซ้ำ เพื่อนจะเริ่มมีบทบาทในวัยรุ่นตั้งแต่ประถม ไปจนถึงมัธยม โดยมีบทบาทมากขึ้นเรื่อย ๆ วัยรุ่นจะติดเพื่อนค่อนข้างมาก เพื่อนพูดอะไรก็เชื่อ วัยรุ่นทุกคนต้องการการยอมรับ ทั้งจากคุณพ่อคุณแม่ สังคม ครู เพื่อน ถ้าเข้าไปอยู่ในกลุ่มเพื่อนใช้ยาเสพติด เพื่อนบอกว่าลองใช้ดูสิ ไม่เป็นไร นิดนึง เล็ก ๆ น้อย ๆ ถูกแรงกดดันจากเพื่อน ก็มีแนวโน้มที่จะทำตาม ในปัจจุบันยาเสพติดหาได้ง่ายมาก มีคนบอกว่าหาง่ายกว่าเดินไปร้านสะดวกซื้ออีก มีบริการส่งถึงที่เพราะฉะนั้นโอกาสใช้ยาเสพติดเกิดขึ้นได้ง่าย โดยเฉพาะเมื่อวัยรุ่นอยู่ด้วยกันแล้วไม่มีผู้ใหญ่ดูแล อย่างบางครอบครัว พ่อแม่ ไม่มีเวลา ขาดการเข้าใจ ขาดความเหนียวแน่นในครอบครัวก็จะพบปัญหานี้ค่อนข้างมาก หรือวัยรุ่นบางคนมีโรคทางจิตเวชอยู่แล้ว เช่น โรคซึมเศร้า อารมณ์แปรปรวน วิตกกังวล หรือโรคอื่น ๆ มีปัญหาการเรียน ไม่มั่นใจด้านการเรียน ความสามารถกีฬาก็ไม่มี หน้าตาก็ไม่ดี ถ้าอยากได้รับการยอมรับจากเพื่อนก็หันไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดมีเยอะแยะ

พ่อแม่จะรู้ว่าลูกยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดเมื่อ 1. ลูกมาบอกเอง 2. จับได้ว่าใช้ยาเสพติด ครอบครัวส่วนใหญ่อยากให้เกิดเหตุการณ์แบบแรกมากกว่า คือ ลูกมาบอกเองว่าใช้ยาเสพติด หรือเพื่อนชักชวน แต่ก่อนจะเกิดเหตุการณ์แบบนั้นได้ต้องมีความไว้วางใจในครอบครัว หมายความว่า ครอบครัวต้องอบอุ่น เข้มแข็ง มีอะไรเปิดอกพูดคุยกัน กรณีเช่นนี้ต้องเริ่มจากวัยเด็กก่อน เวลามีปัญหาอะไรก็ตาม เล็ก ๆ น้อย ๆ ทะเลาะกับเพื่อน ทะเลาะกับครู อกหัก รักคุด เดินมาบอกพ่อแม่ ซึ่งพ่อแม่จะได้รับความไว้วางใจจากลูกต้องมีบุคลิกที่รับฟังเขา เชื่อเขา ฟังทุกอย่างก่อน ยังไม่สอน ยังไม่ด่า ยังไม่ว่า วัยรุ่นก็จะมาปรึกษา

สรุปคือถ้าคุณจะให้ลูกรับฟังหรือเชื่อฟังคำสั่งสอน พ่อแม่ต้องรับฟังลูกก่อน เริ่มตั้งแต่เด็ก ๆ เช่น ลูกบอกว่าอันนี้หนูไม่ชอบ ไม่อยากเรียน ต้องรับฟังเขา หรือเวลาลูกมีปัญหาตี ตบกับเพื่อนที่โรงเรียน พ่อแม่ในปัจจุบันมักจะบอกว่า ไปตบเขาทำไม ไปตีเพื่อนเขาทำไม ทำไมหนูทำแบบนี้ แต่สิ่งที่ควรทำ คือ ช่วยเล่าให้พ่อแม่ฟังสิว่าเกิดอะไรขึ้น วัยรุ่นจะรู้สึกว่าพ่อแม่รับฟังเขา ไม่ใช่ว่าด่าอย่างเดียว พ่อแม่ต้องให้คำปรึกษากับเขาได้ วันหนึ่งถ้าเกิดเพื่อนชักชวนเขาไปใช้ยาเสพติดแทนที่เขาจะไม่กล้าบอก เขาอาจเดินมาบอกพ่อแม่ว่า วันนี้มีเพื่อนชวนให้ใช้ยาเสพติดนะ เขาสนิทกับหนูมากเลยหนูจะทำยังไงดีเพราะฉะนั้นต้องทำให้เกิดจากความไว้วางใจมีความรักความอบอุ่นในครอบครัวแล้วปัญหาจะหมดไป

ในกรณีที่พ่อแม่จับได้ สิ่งที่ควรทำอย่างแรก คือ รับฟัง ถ้าไม่รับฟังเขาจะรู้สึกว่าเพื่อนต่างหากที่รับฟังเขา เพื่อนที่ยื่นยาเสพติดให้เขารับฟัง เข้าใจ แต่พ่อแม่ไม่เข้าใจ ดังนั้นเมื่อจับได้คุณพ่อคุณแม่ต้องทำใจว่าลูกเกิดปัญหาแบบนี้ ไม่ใช่ปัญหาของเขาคนเดียว แต่เป็นปัญหาของเราด้วย ทำไมลูกถึงไม่พูดเรื่องนี้กับเรา ดังนั้นต้องรับผิดชอบร่วมกัน พ่อแม่ก็ต้องไม่ต่อว่าลูกฝ่ายเดียว แต่ควรเปิดใจเข้าหาลูก ให้เขาได้เล่าเรื่องทั้งหมดให้ฟัง ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าลูกจะเล่าเรื่องทั้งหมดให้ฟังในวันเดียว อาจต้องใช้เวลา 2-3 วัน พ่อแม่ต้องรับฟังไม่ลงโทษลูก แล้วช่วยกันแก้ปัญหา อาจไปปรึกษาจิตแพทย์ ควรดูว่าลูกเสพเฉย ๆ หรือติดจนต้องเข้ารับการบำบัดรักษา ทำอย่างไรลูกจะปฏิเสธเพื่อนไม่ไปยุ่งเกี่ยวอีก คือต้องแก้ไขทุกมิติไปพร้อม ๆ กัน

แน่นอนว่า พ่อแม่ทุกคนเมื่อรู้ว่าลูกใช้ยาเสพติด ต้องรู้สึกโกรธ เสียใจ สับสน โทษตัวเอง ลูกของฉัน ฉันเลี้ยงมาไม่ดีหรือเปล่า หรือว่าลูกไม่รักดี ทุกคนต้องเป็นแบบนี้อยู่แล้ว เป็นความรู้สึกที่เกิดได้ ดังนั้นสิ่งที่พ่อแม่ควรทำ คือ ต้องระงับอารมณ์ จัดการอารมณ์ของตัวเองและคนในครอบครัวให้ดี ปัญหายาเสพติดไม่สามารถแก้ด้วยอารมณ์ สุดท้ายอารมณ์จะทำให้ปัญหาบานปลาย

ท้ายนี้อยากให้สังคมมองว่า ผู้เสพหรือติดยาเสพติด คือ ผู้ที่หลงผิดพลาดไป เป็นผู้ป่วยที่ควรได้รับโอกาส ถามว่าต้องรับผิดหรือไม่ ก็ต้องรับผิดตามวัยนั้น แต่มิใช่ว่าต้องรับผิดอย่างเดียว ต้องมีกำลังใจให้เขาด้วย ยิ่งเขาเป็นเยาวชนการรับรู้และการตัดสินใจไม่ดีเท่าผู้ใหญ่ จะทำให้เขารู้สึกว่าโลกนี้ยอมรับเขา ยอมรับที่เขาทำผิดพลาดไป สามารถกลับมาเป็นคนดี หรือในอนาคตอาจเป็นประโยชน์ต่อสังคมได้ ไปช่วยเรื่องยาเสพติด ไปดึงคนอื่นให้กลับมา ไม่เสพยา ดังนั้นทุกคนควรให้กำลังใจผู้ติดยาเสพติด ไม่ว่าเขาจะเป็นใคร อาชีพอะไรก็ตาม...นวพรรษ บุญชาญ : รายงาน

ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/1490/223427 (ขนาดไฟล์: 167)

เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 3 ส.ค.56

ที่มา: เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 3 ส.ค.56
วันที่โพสต์: 3/08/2556 เวลา 02:25:16 ดูภาพสไลด์โชว์ วัยว้าวุ่นกับยาเสพติด - คุณหมอขอบอก

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

นพ.วรตม์ โชติพิทยสุนนท์ ผอ.ศูนย์สุขภาพจิตระหว่างประเทศ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข กรณีดาราสาววัยรุ่นจากซีรีส์สุดฮิต “ฮอร์โมน วัยว้าวุ่น” มีข่าวเรื่องยาเสพติด แม้จะเป็นแค่การทดลอง ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ขาดประสบการณ์ชีวิต ตามที่คนในครอบครัวออกมาชี้แจง ซึ่งผลการตรวจปัสสาวะก็พิสูจน์แล้วว่าไม่ได้ติดยาเสพติด กรณีนี้คงเป็นอุทาหรณ์ให้กับคุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกวัยรุ่นและอาจพลาดพลั้งไปข้องแวะกับยาเสพติด มาดูกันว่ามีทางออกอย่างไร นพ.วรตม์ โชติพิทยสุนนท์ ผอ.ศูนย์สุขภาพจิตระหว่างประเทศ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข บอกว่า วัยรุ่นเป็นวัยที่ต้องการรู้จักโลกภายนอกมากขึ้น อยากรู้อยากลอง อาจมีสิ่งต่าง ๆ มากมายเข้ามากระตุ้น ทำให้ตื่นเต้นเร้าใจในการดำเนินชีวิต จึงมีแนวโน้มสัมผัสกับสิ่งแปลกใหม่มากมาย เพื่อนเป็นปัจจัยที่สำคัญมาก ในบางครอบครัวเพื่อนสำคัญกว่าพ่อแม่ด้วยซ้ำ เพื่อนจะเริ่มมีบทบาทในวัยรุ่นตั้งแต่ประถม ไปจนถึงมัธยม โดยมีบทบาทมากขึ้นเรื่อย ๆ วัยรุ่นจะติดเพื่อนค่อนข้างมาก เพื่อนพูดอะไรก็เชื่อ วัยรุ่นทุกคนต้องการการยอมรับ ทั้งจากคุณพ่อคุณแม่ สังคม ครู เพื่อน ถ้าเข้าไปอยู่ในกลุ่มเพื่อนใช้ยาเสพติด เพื่อนบอกว่าลองใช้ดูสิ ไม่เป็นไร นิดนึง เล็ก ๆ น้อย ๆ ถูกแรงกดดันจากเพื่อน ก็มีแนวโน้มที่จะทำตาม ในปัจจุบันยาเสพติดหาได้ง่ายมาก มีคนบอกว่าหาง่ายกว่าเดินไปร้านสะดวกซื้ออีก มีบริการส่งถึงที่เพราะฉะนั้นโอกาสใช้ยาเสพติดเกิดขึ้นได้ง่าย โดยเฉพาะเมื่อวัยรุ่นอยู่ด้วยกันแล้วไม่มีผู้ใหญ่ดูแล อย่างบางครอบครัว พ่อแม่ ไม่มีเวลา ขาดการเข้าใจ ขาดความเหนียวแน่นในครอบครัวก็จะพบปัญหานี้ค่อนข้างมาก หรือวัยรุ่นบางคนมีโรคทางจิตเวชอยู่แล้ว เช่น โรคซึมเศร้า อารมณ์แปรปรวน วิตกกังวล หรือโรคอื่น ๆ มีปัญหาการเรียน ไม่มั่นใจด้านการเรียน ความสามารถกีฬาก็ไม่มี หน้าตาก็ไม่ดี ถ้าอยากได้รับการยอมรับจากเพื่อนก็หันไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดมีเยอะแยะ พ่อแม่จะรู้ว่าลูกยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดเมื่อ 1. ลูกมาบอกเอง 2. จับได้ว่าใช้ยาเสพติด ครอบครัวส่วนใหญ่อยากให้เกิดเหตุการณ์แบบแรกมากกว่า คือ ลูกมาบอกเองว่าใช้ยาเสพติด หรือเพื่อนชักชวน แต่ก่อนจะเกิดเหตุการณ์แบบนั้นได้ต้องมีความไว้วางใจในครอบครัว หมายความว่า ครอบครัวต้องอบอุ่น เข้มแข็ง มีอะไรเปิดอกพูดคุยกัน กรณีเช่นนี้ต้องเริ่มจากวัยเด็กก่อน เวลามีปัญหาอะไรก็ตาม เล็ก ๆ น้อย ๆ ทะเลาะกับเพื่อน ทะเลาะกับครู อกหัก รักคุด เดินมาบอกพ่อแม่ ซึ่งพ่อแม่จะได้รับความไว้วางใจจากลูกต้องมีบุคลิกที่รับฟังเขา เชื่อเขา ฟังทุกอย่างก่อน ยังไม่สอน ยังไม่ด่า ยังไม่ว่า วัยรุ่นก็จะมาปรึกษา สรุปคือถ้าคุณจะให้ลูกรับฟังหรือเชื่อฟังคำสั่งสอน พ่อแม่ต้องรับฟังลูกก่อน เริ่มตั้งแต่เด็ก ๆ เช่น ลูกบอกว่าอันนี้หนูไม่ชอบ ไม่อยากเรียน ต้องรับฟังเขา หรือเวลาลูกมีปัญหาตี ตบกับเพื่อนที่โรงเรียน พ่อแม่ในปัจจุบันมักจะบอกว่า ไปตบเขาทำไม ไปตีเพื่อนเขาทำไม ทำไมหนูทำแบบนี้ แต่สิ่งที่ควรทำ คือ ช่วยเล่าให้พ่อแม่ฟังสิว่าเกิดอะไรขึ้น วัยรุ่นจะรู้สึกว่าพ่อแม่รับฟังเขา ไม่ใช่ว่าด่าอย่างเดียว พ่อแม่ต้องให้คำปรึกษากับเขาได้ วันหนึ่งถ้าเกิดเพื่อนชักชวนเขาไปใช้ยาเสพติดแทนที่เขาจะไม่กล้าบอก เขาอาจเดินมาบอกพ่อแม่ว่า วันนี้มีเพื่อนชวนให้ใช้ยาเสพติดนะ เขาสนิทกับหนูมากเลยหนูจะทำยังไงดีเพราะฉะนั้นต้องทำให้เกิดจากความไว้วางใจมีความรักความอบอุ่นในครอบครัวแล้วปัญหาจะหมดไป ในกรณีที่พ่อแม่จับได้ สิ่งที่ควรทำอย่างแรก คือ รับฟัง ถ้าไม่รับฟังเขาจะรู้สึกว่าเพื่อนต่างหากที่รับฟังเขา เพื่อนที่ยื่นยาเสพติดให้เขารับฟัง เข้าใจ แต่พ่อแม่ไม่เข้าใจ ดังนั้นเมื่อจับได้คุณพ่อคุณแม่ต้องทำใจว่าลูกเกิดปัญหาแบบนี้ ไม่ใช่ปัญหาของเขาคนเดียว แต่เป็นปัญหาของเราด้วย ทำไมลูกถึงไม่พูดเรื่องนี้กับเรา ดังนั้นต้องรับผิดชอบร่วมกัน พ่อแม่ก็ต้องไม่ต่อว่าลูกฝ่ายเดียว แต่ควรเปิดใจเข้าหาลูก ให้เขาได้เล่าเรื่องทั้งหมดให้ฟัง ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าลูกจะเล่าเรื่องทั้งหมดให้ฟังในวันเดียว อาจต้องใช้เวลา 2-3 วัน พ่อแม่ต้องรับฟังไม่ลงโทษลูก แล้วช่วยกันแก้ปัญหา อาจไปปรึกษาจิตแพทย์ ควรดูว่าลูกเสพเฉย ๆ หรือติดจนต้องเข้ารับการบำบัดรักษา ทำอย่างไรลูกจะปฏิเสธเพื่อนไม่ไปยุ่งเกี่ยวอีก คือต้องแก้ไขทุกมิติไปพร้อม ๆ กัน แน่นอนว่า พ่อแม่ทุกคนเมื่อรู้ว่าลูกใช้ยาเสพติด ต้องรู้สึกโกรธ เสียใจ สับสน โทษตัวเอง ลูกของฉัน ฉันเลี้ยงมาไม่ดีหรือเปล่า หรือว่าลูกไม่รักดี ทุกคนต้องเป็นแบบนี้อยู่แล้ว เป็นความรู้สึกที่เกิดได้ ดังนั้นสิ่งที่พ่อแม่ควรทำ คือ ต้องระงับอารมณ์ จัดการอารมณ์ของตัวเองและคนในครอบครัวให้ดี ปัญหายาเสพติดไม่สามารถแก้ด้วยอารมณ์ สุดท้ายอารมณ์จะทำให้ปัญหาบานปลาย ท้ายนี้อยากให้สังคมมองว่า ผู้เสพหรือติดยาเสพติด คือ ผู้ที่หลงผิดพลาดไป เป็นผู้ป่วยที่ควรได้รับโอกาส ถามว่าต้องรับผิดหรือไม่ ก็ต้องรับผิดตามวัยนั้น แต่มิใช่ว่าต้องรับผิดอย่างเดียว ต้องมีกำลังใจให้เขาด้วย ยิ่งเขาเป็นเยาวชนการรับรู้และการตัดสินใจไม่ดีเท่าผู้ใหญ่ จะทำให้เขารู้สึกว่าโลกนี้ยอมรับเขา ยอมรับที่เขาทำผิดพลาดไป สามารถกลับมาเป็นคนดี หรือในอนาคตอาจเป็นประโยชน์ต่อสังคมได้ ไปช่วยเรื่องยาเสพติด ไปดึงคนอื่นให้กลับมา ไม่เสพยา ดังนั้นทุกคนควรให้กำลังใจผู้ติดยาเสพติด ไม่ว่าเขาจะเป็นใคร อาชีพอะไรก็ตาม...นวพรรษ บุญชาญ : รายงาน ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/1490/223427 เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 3 ส.ค.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...