“ศูนย์อำนวยความเป็นธรรมหมู่บ้าน : ภารกิจเชิงรุกของฝ่ายปกครอง”
รัฐบาลภายใต้การนำของ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ตระหนักถึงการเข้าถึงโอกาสของพี่น้องประชาชนทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ตลอดจน การได้รับการอำนวยความเป็นธรรมได้ง่ายขึ้น จึงได้สั่งการให้กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย จัดตั้งศูนย์อำนวยความเป็นธรรมหมู่บ้าน เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงความเป็นธรรมได้ง่ายขึ้น รวดเร็วขึ้น ให้มากที่สุด โดยใช้กลไกโครงสร้างขององค์กรที่มีอยู่แล้วในพื้นที่ของกรมการปกครอง ได้แก่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้านและคณะกรรมการหมู่บ้าน ซึ่งปฏิบัติในระดับพื้นที่และมีความใกล้ชิดกับประชาชน
การจัดตั้งศูนย์อำนวยความเป็นธรรมหมู่บ้าน เป็นภารกิจในการอำนวยความเป็นธรรมของฝ่ายปกครองในเชิงรุกให้ประชาชนสามารถเข้ารับการช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมได้ง่ายขึ้นคุ้มครอง ป้องกัน ส่งเสริม และช่วยเหลือ ประชาชนที่ด้อยโอกาส ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ในการดำรงชีวิตอย่างพอเพียง ตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 ที่มุ่งเน้นให้องค์กรภาครัฐเกิดการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี โปร่งใส เป็นธรรม และมีความรับผิดชอบ ทั้งนี้ ได้ปรับปรุงอำนาจทางการปกครองของอำเภอเพื่อสนับสนุนให้เกิดความสงบเรียบร้อยในสังคม โดยให้ศูนย์อำนวยความเป็นธรรมอำเภอ และศูนย์อำนวยความเป็นธรรมหมู่บ้านมีหน้าที่ในการนำภารกิจของรัฐและนำนโยบายของรัฐบาลไปปฏิบัติให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในระดับพื้นที่ ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ประเทศ ให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในการสร้างโอกาส ความเสมอภาคและเท่าเทียมกันทางสังคม ภายใต้หลักนิติธรรมและความเสมอภาค
การดำเนินงานของศูนย์อำนวยความเป็นธรรมหมู่บ้าน มีภารกิจหลัก 4 ด้าน คือ ด้านอำนวยความเป็นธรรมทางอาญา ด้านอำนวยความเป็นธรรมเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งโดยการไกล่เกลี่ย และประนีประนอมข้อพิพาท (ทางแพ่งและอาญา) เพื่อให้เกิดความสมานฉันท์ ด้านอำนวยความเป็นธรรมในการแก้ไขปัญหาเดือดร้อนของประชาชน ด้านอำนวยความเป็นธรรมในการรับเรื่องราวร้องทุกข์/ร้องเรียน และการแจ้งเบาะแสการกระทำความผิดกฎหมาย การสร้างความเป็นธรรมในสังคมเพื่อเสริมสร้างสังคมที่เป็นธรรมและเป็นสังคมสันติสุข จำเป็นต้องสนับสนุนพหุภาคีทุกภาคส่วนและส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการแก้ไขความเหลื่อมล้ำและปัญหาความชัดแย้งของคนในสังคม เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อย ดังวิสัยทัศน์ของกรมการปกครองที่ว่า “องค์กรธรรมาภิบาล มุ่งบูรณาการทุกภาคส่วน เพื่อบำบัดทุกข์ บำรุงสุขให้แก่ประชาชน”
ขอบคุณ...มติชนรายวัน/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 14 ส.ค.56
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
รัฐบาลภายใต้การนำของ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ตระหนักถึงการเข้าถึงโอกาสของพี่น้องประชาชนทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ตลอดจน การได้รับการอำนวยความเป็นธรรมได้ง่ายขึ้น จึงได้สั่งการให้กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย จัดตั้งศูนย์อำนวยความเป็นธรรมหมู่บ้าน เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงความเป็นธรรมได้ง่ายขึ้น รวดเร็วขึ้น ให้มากที่สุด โดยใช้กลไกโครงสร้างขององค์กรที่มีอยู่แล้วในพื้นที่ของกรมการปกครอง ได้แก่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้านและคณะกรรมการหมู่บ้าน ซึ่งปฏิบัติในระดับพื้นที่และมีความใกล้ชิดกับประชาชน การจัดตั้งศูนย์อำนวยความเป็นธรรมหมู่บ้าน เป็นภารกิจในการอำนวยความเป็นธรรมของฝ่ายปกครองในเชิงรุกให้ประชาชนสามารถเข้ารับการช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมได้ง่ายขึ้นคุ้มครอง ป้องกัน ส่งเสริม และช่วยเหลือ ประชาชนที่ด้อยโอกาส ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ในการดำรงชีวิตอย่างพอเพียง ตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 ที่มุ่งเน้นให้องค์กรภาครัฐเกิดการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี โปร่งใส เป็นธรรม และมีความรับผิดชอบ ทั้งนี้ ได้ปรับปรุงอำนาจทางการปกครองของอำเภอเพื่อสนับสนุนให้เกิดความสงบเรียบร้อยในสังคม โดยให้ศูนย์อำนวยความเป็นธรรมอำเภอ และศูนย์อำนวยความเป็นธรรมหมู่บ้านมีหน้าที่ในการนำภารกิจของรัฐและนำนโยบายของรัฐบาลไปปฏิบัติให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในระดับพื้นที่ ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ประเทศ ให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในการสร้างโอกาส ความเสมอภาคและเท่าเทียมกันทางสังคม ภายใต้หลักนิติธรรมและความเสมอภาค การดำเนินงานของศูนย์อำนวยความเป็นธรรมหมู่บ้าน มีภารกิจหลัก 4 ด้าน คือ ด้านอำนวยความเป็นธรรมทางอาญา ด้านอำนวยความเป็นธรรมเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งโดยการไกล่เกลี่ย และประนีประนอมข้อพิพาท (ทางแพ่งและอาญา) เพื่อให้เกิดความสมานฉันท์ ด้านอำนวยความเป็นธรรมในการแก้ไขปัญหาเดือดร้อนของประชาชน ด้านอำนวยความเป็นธรรมในการรับเรื่องราวร้องทุกข์/ร้องเรียน และการแจ้งเบาะแสการกระทำความผิดกฎหมาย การสร้างความเป็นธรรมในสังคมเพื่อเสริมสร้างสังคมที่เป็นธรรมและเป็นสังคมสันติสุข จำเป็นต้องสนับสนุนพหุภาคีทุกภาคส่วนและส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการแก้ไขความเหลื่อมล้ำและปัญหาความชัดแย้งของคนในสังคม เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อย ดังวิสัยทัศน์ของกรมการปกครองที่ว่า “องค์กรธรรมาภิบาล มุ่งบูรณาการทุกภาคส่วน เพื่อบำบัดทุกข์ บำรุงสุขให้แก่ประชาชน” ขอบคุณ...มติชนรายวัน/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 14 ส.ค.56
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)