"โทนี่ แบลร์" ปาฐกถาปรองดอง - ยก 5 บทเรียนเน้นทุกฝ่ายมองอนาคตร่วมกัน

แสดงความคิดเห็น

น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี  มาร์ตี อาร์ติซารี อดีตประธานาธิบดีฟินแลนด์ และนายโทนี่ แบลร์

เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 2 ก.ย. ผู้สื่อข่าว "ข่าวสด" รายงานว่า ที่โรงแรมพลาซ่า แอทธินี รอยัล เมอริเดียน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวเปิดงาน การปาฐกถาพิเศษ “ผนึกกำลังสู่อนาคต: เรียนรู้ร่วมกันจากประสบการณ์” โดยมีนายมนัสวี ศรีโสดาพล อธิบดีกรมสารนิเทศ และนายธีรวัฒน์ ภูมิจิตร ผอ.สถาบันการต่างประเทศเทวะวงศ์วโรปการ กระทรวงการต่างประเทศ ร่วมให้ความรู้เบื้องหลัง งานดังกล่าวจัดขึ้นจากวัตถุประสงค์เพื่อต้องการเผยแพร่ความตระหนักการปกครอง ในระบอบประชาธิปไตย และเรียนรู้จากประสบการณ์ของบุคคลสำคัญเกี่ยวกับการปรองดองแห่งชาติ ที่อาจนำมาปรับใช้เพื่อเยียวยาวิกฤตการเมืองของไทย

ทั้งนี้ มีบุคคลสำคัญร่วมเป็นองค์ปาฐากถาสำคัญในช่วงเช้า ได้แก่ นายโทนี่ แบลร์ อดีตนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร นายมาร์ตี อาห์ติซารี อดีตประธานาธิบดีฟินแลนด์ และนางพริซิลลา เฮย์เนอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่านและที่ปรึกษาอาวุโสขององค์กร เซ็นเตอร์ ฟอร์ ฮิวแมนิแทเรี่ยน ไดอาล็อก หรือเอชดีซี รวมทั้งมี รศ.ดร. ฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันความมั่นคงและนานาชาติศึกษา หรือไอซิส คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิยาลัย เป็นพิธีกรดำเนินรายการ

นายโทนี่ แบลร์ องค์ปาฐกถาคนแรก กล่าวว่า ปัญหาความขัดแย้งในประเทศ ควรต้องแก้ไขด้วยมือของคนในประเทศด้วยกันเอง ตนเป็นคนต่างชาติคงไม่สามารถมาสอนได้ โดยตนไม่ได้ถูกจ้างมา แต่ถูกเชิญให้มาแบ่งปันประสบการณ์ส่วนตัว เพื่อให้ได้ทุกฝ่ายนำไปปรับใช้ได้ตามเหมาะสม โดยจากประสบการณ์การเจรจาสันติภาพไอร์แลนเหนือ และตะวันออกกลาง ตนมีบทเรียนทั้งหมด 5 ประเด็นด้วยกันได้แก่

1.กรณีความสำเร็จของไอร์แลนด์เหนือ มาจากความเห็นพ้องของทั้งสองฝ่าย ที่ตระหนักถึงประโยชน์ที่จะมีร่วมกันหากความขัดแย้งยุติลง 2.อดีตนั้นไม่สามารถย้อนกลับไปแก้ไขได้ และยากมากที่จะนำมาตัดสินให้ถูกใจทุกฝ่าย สำคัญคือ ทุกฝ่ายจะพยายามเรียนรู้จากมัน 3.การปรองดองจำเป็นต้องมีกรอบในอนาคตที่แน่ชัด และเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย 4.การเปลี่ยนมุมมอง หรือวิธีคิดต่อประชาธิปไตย ซึ่งไม่ใช่การโหวต และผู้ครองเสียงข้างมากต้องได้ทุกอย่าง แต่เป็นเรื่องของความร่วมมือและเกื้อกูลกันของทั้งสองฝ่าย นอกจากนี้จะต้องยอมรับในกระบวนการนิติรัฐและนิติธรรมด้วย และ 5.การปรองดองจะดำเนินไปได้ง่ายขึ้น หากรัฐทำไปเพื่อประโยชน์โดยรวมของประชาชนอย่างแท้จริง ผ่านการสร้างสะพานเชื่อมกับประชาชน และทำให้ผู้คนรู้สึกจริงๆ ว่าคุณภาพชีวิตดีขึ้น

“สิ่งที่สำคัญที่สุดในการปรองดองแห่งชาติ คือ การไม่ท้อถอย ไม่ว่าจะต้องเจ็บปวดแค่ไหน จะแตกแยกกันมากเพียงใด เพราะมันคุ้มค่าเสมอที่กลับมาปรองดองกัน โดยผู้นำจะต้องเป็นผู้เริ่มและมีประชาชนส่วนใหญ่คอยสนับสนุนอยู่เบื้องหลัง เพราะหากปราศจากพลังจากประชาชนแล้ว การปรองดองย่อมเป็นไปไม่ได้ และหากการปรองดองประสบผลสำเร็จผลประโยชน์ของมันก็ย่อมตกอยู่กับประชาชน”นายแบลร์ กล่าว

นายแบลร์ กล่าวด้วยว่า กรณีของการเจรจาสันติภาพไอร์แลนเหนือนั้น บางครั้งก็มีการเอาคนนอกเข้ามา แต่ในที่สุดผู้ที่ลงมือปฏิบัติคือประชาชนในไอร์แลนด์ โดยต้องหาทางให้บุคคลที่มีส่วนสำคัญในความขัดแย้งได้มีโอกาสพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน เพราะการสื่อสาร รวมทั้งคำพูดเป็นสิ่งสำคัญ อย่างไรก็ดีสุดท้ายก็อยู่ที่ความมุ่งมั่นของแต่ละฝ่ายที่จะก้าวข้ามความขัดแย้ง เพราะถ้าหากไม่มี ก็ทำอะไรไม่ได้

“ผมแก้ไขด้วยการพยายามเข้าไปนั่งในหัวใจของอีกฝ่าย และจำเป็นต้องมีการสร้างบรรยากาศของการเจรจาก่อน ทำให้คนต่อต้านน้อยลงก่อน ให้คนรู้สึกยอมรับกลไกที่จะเกิดขึ้น ผู้คนข้างนอกสามารถช่วยได้ ค่อยๆไปทีละขั้น ไม่จำเป็นต้องพุ่งเป้าฉะกันทันที” นายแบลร์ กล่าวทิ้งท้าย

ด้านนายมาร์ตี อาห์ติซารี กล่าวว่า บาดแผลในอดีตนั้นใช้เวลานานกว่าจะเยียวยาได้ แต่การปรองดองและการเคารพในกระบวนการยุติธรรม ถือเป็นปัจจัยสำคัญของการเติบโตทางเศรษฐกิจที่มั่นคง และการปรองดองบางครั้งใช้เวลานานกว่า 10 ปีก็มี สิ่งสำคัญคือ ทุกฝ่ายต้องมีความจริงใจ และต้องมีความยืดหยุ่น ยอมถอยบ้าง เพื่อหาจุดร่วมสมานฉันท์ มุ่งไปที่จุดร่วมแห่งประโยชน์ที่ยิ่งใหญ่กว่า

นายอาห์ติชารี เห็นว่า การปรองดองควรเริ่มจากระดับชุมชนก่อน และทุกฝ่ายควรมีจุดร่วมกัน คือ การสร้างจุดเริ่มต้นใหม่ ปูทางไปสู่อนาคตที่อดีตอันเจ็บปวดเหล่านั้นจะไม่มีวันเกิดขึ้นได้อีก “ต้องตระหนักว่าจะก้าวข้ามอดีตและต้องทำให้ดีกว่าในอดีต มองไปในอนาคต ความเชื่อใจซึ่งกันและกัน การเจรจาปรองดองเป็นเพียงขั้นตอน เพราะการปรองดองที่แท้จริงอยู่ที่ประชาชน การปรองดองสร้างความแตกต่างได้ และเราสามารถเริ่มต้นได้เสมอ”นายอาห์ติชารี กล่าว

ด้าน นางพริซิลลา เฮย์เนอร์ กล่าวว่า ความแตกแยกไม่ใช่สิ่งแปลกประหลาดในสังคมปัจจุบันที่มีความแตกต่าง ที่ผ่านมาไทยทำได้ดีแล้วในการตระหนักถึงปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น คนต่างชาติสามารถเสนอประสบการณ์ได้ แต่คงไม่มีวันเข้าใจคนในประเทศได้ พร้อมเตือนว่าการปรองดองมักหมายความแตกต่างกันไปกับแต่ละคน ยิ่งโดยเฉพาะการปรองดองทางการเมือง ทำให้เกิดแต่ละฝ่ายวาดภาพอนาคตไว้แตกต่างกันไป นอกจากนี้บางฝ่ายอาจนำมาใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองได้

นาง เฮย์เนอร์ กล่าวว่า หนึ่งในความหมายของการปรองดอง เช่น การลืมอดีต เช่น การนิรโทษกรรมให้ผู้กระทำผิดโดยอ้างว่าเพื่อการปรองดอง แต่ก็ถูกต่อต้านโดยเหยื่อ อีกความหมายหนึ่งคือการเปลี่ยนขั้วอำนาจ เช่น ในอียิปต์ ภายหลังการล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ทำให้กองทัพอิยิปต์พยายามควบคุมสถานการณ์ ถือว่าเป็นการใช้ที่ผิด เพราะเป็นการปฏิเสธการมีอยู่ของอีกฝ่าย

นางเฮย์เนอร์ กล่าวอีกว่า อีกตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือการมุ่งเป้าไปที่กระบวนการหรือผลลัพธ์ อย่างใดอย่างหนึ่ง หากแต่ละฝ่ายมีวัตถุประสงค์ซ่อนเร้น กระบวนการปรองดองก็เดินต่อไปไม่ได้ และการปรองดองไม่สามารถเร่งรัดได้ เพราะต้องดำเนินไปด้วยความระมัดระวัง ใช้การสื่อสาร การฟัง เพื่อหาจุดร่วมกันให้ได้ ด้วยความเคารพและให้เกียรติแต่ละฝ่ายด้วย

นางเฮย์เนอร์ ระบุถึงกฎหมายนิรโทษกรรมที่กำลังเป็นเรื่องสำคัญในไทยว่า สามารถใช้รูปแบบของสากลเป็นแม่แบบได้ และต้องไม่เอนเอียง หรือยกประโยชน์ให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง คือต้องอยู่บนพื้นฐานความยุติธรรม และสำคัญคือบนความเคารพต่อเหยื่อผู้ได้รับผลกระทบ เช่น ความจริงที่เกิดขึ้นต้องได้รับการเปิดเผย

“การหาจุดร่วม แปลว่าต้องมีความต่างระหว่างฝ่าย เป็นเรื่องธรรมดามาถกเถียงกันได้ แต่ทั้งสองฝ่ายต้องเคารพกฎหมายระเบียบที่มีอยู่ของบ้านเมือง และทั้งคู่ต้องยืนอยู่บนผลประโยชน์ของชาติเป็นหลัก ถือเป็นหัวใจของการปรองดอง” นายเฮย์เนอร์ กล่าว ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า นายโทนี่ แบลร์ มีกำหนดจะเดินทางกลับประทศอังกฤษคืนวันนี้ ขณะที่อีกสองคนที่เหลือจะเดินทางกลับในวันพรุ่งนี้ (3 ก.ย.)

วันเดียวกัน นายวีรพัฒน์ ปริยวงศ์ นักกฎหมายอิสระ สรุปใจความสำคัญของสุนทรพจน์โดย โทนี่ แบลร์ เสนอหลักการ 5 ข้อในการปรองดอง ว่ามีดังนี้ 1.ยึดโอกาสร่วมกันในอนาคตเหนือความเจ็บปวดในอดีต ต้องมองให้เห็นประโยชน์ของสันติภาพและความเจริญเป็นรางวัลชิ้นใหญ่ร่วมกันที่รออยู่ข้างหน้า 2.อดีตเป็นเรื่องที่ตรวจสอบได้ แต่คงตัดสินให้ทุกฝ่ายพอใจไม่ได้ บางครั้งต้องยอมอดทนกับความเจ็บปวด เช่น การตกลงยอมปล่อยตัวนักโทษในไอร์แลนด์เหนือ ซึ่งอาจถูกมองเป็นทั้งวีรบุรุษและผู้ก่อการร้าย 3.วางกรอบความร่วมมือในอนาคต ที่เป็นธรรม และแก้รากเหง้าปัญหา เช่น ในไอร์แลนด์เหนือ มีข้อตกลงให้คู่ขัดแย้งมีช่องทางแบ่งปันอำนาจร่วมกัน 4.ยึดประชาธิปไตยทั้งในเนื้อหา ไม่ใช่เฉพาะในรูปแบบ เสียงข้างมากต้องร่วมคิดกับเสียงข้างน้อยภายใต้หลักนิติธรรม ศาลต้องเป็นกลางและอิสระ 5.การปรองดองต้องสร้างประโยชน์ให้กับประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ใช่แค่เพียงโปร่งใส ประโยชน์เข้าถึงทุกฝ่าย นักการเมืองต้องเป็นฝ่ายนำ โดยมีประชาชนหนุน "โทนี่ แบลร์ปิดท้ายด้วยการย้ำถึงความยากของการปรองดอง ต้องอดทนเพื่ออนาคตที่คุ้มค่า และเชื่อมั่นว่าคนไทยทำได้" นายวีรพัฒน์ ระบุ

ขอบคุณ... http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNM09ERXdOVEkxT1E9PQ==&catid=01 (ขนาดไฟล์: 167)

ข่าวสดออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 2 ก.ย.56

ที่มา: ข่าวสดออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 2 ก.ย.56
วันที่โพสต์: 3/09/2556 เวลา 03:52:05 ดูภาพสไลด์โชว์ "โทนี่ แบลร์" ปาฐกถาปรองดอง - ยก 5 บทเรียนเน้นทุกฝ่ายมองอนาคตร่วมกัน

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มาร์ตี อาร์ติซารี อดีตประธานาธิบดีฟินแลนด์ และนายโทนี่ แบลร์ เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 2 ก.ย. ผู้สื่อข่าว "ข่าวสด" รายงานว่า ที่โรงแรมพลาซ่า แอทธินี รอยัล เมอริเดียน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวเปิดงาน การปาฐกถาพิเศษ “ผนึกกำลังสู่อนาคต: เรียนรู้ร่วมกันจากประสบการณ์” โดยมีนายมนัสวี ศรีโสดาพล อธิบดีกรมสารนิเทศ และนายธีรวัฒน์ ภูมิจิตร ผอ.สถาบันการต่างประเทศเทวะวงศ์วโรปการ กระทรวงการต่างประเทศ ร่วมให้ความรู้เบื้องหลัง งานดังกล่าวจัดขึ้นจากวัตถุประสงค์เพื่อต้องการเผยแพร่ความตระหนักการปกครอง ในระบอบประชาธิปไตย และเรียนรู้จากประสบการณ์ของบุคคลสำคัญเกี่ยวกับการปรองดองแห่งชาติ ที่อาจนำมาปรับใช้เพื่อเยียวยาวิกฤตการเมืองของไทย ทั้งนี้ มีบุคคลสำคัญร่วมเป็นองค์ปาฐากถาสำคัญในช่วงเช้า ได้แก่ นายโทนี่ แบลร์ อดีตนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร นายมาร์ตี อาห์ติซารี อดีตประธานาธิบดีฟินแลนด์ และนางพริซิลลา เฮย์เนอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่านและที่ปรึกษาอาวุโสขององค์กร เซ็นเตอร์ ฟอร์ ฮิวแมนิแทเรี่ยน ไดอาล็อก หรือเอชดีซี รวมทั้งมี รศ.ดร. ฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันความมั่นคงและนานาชาติศึกษา หรือไอซิส คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิยาลัย เป็นพิธีกรดำเนินรายการ นายโทนี่ แบลร์ องค์ปาฐกถาคนแรก กล่าวว่า ปัญหาความขัดแย้งในประเทศ ควรต้องแก้ไขด้วยมือของคนในประเทศด้วยกันเอง ตนเป็นคนต่างชาติคงไม่สามารถมาสอนได้ โดยตนไม่ได้ถูกจ้างมา แต่ถูกเชิญให้มาแบ่งปันประสบการณ์ส่วนตัว เพื่อให้ได้ทุกฝ่ายนำไปปรับใช้ได้ตามเหมาะสม โดยจากประสบการณ์การเจรจาสันติภาพไอร์แลนเหนือ และตะวันออกกลาง ตนมีบทเรียนทั้งหมด 5 ประเด็นด้วยกันได้แก่ 1.กรณีความสำเร็จของไอร์แลนด์เหนือ มาจากความเห็นพ้องของทั้งสองฝ่าย ที่ตระหนักถึงประโยชน์ที่จะมีร่วมกันหากความขัดแย้งยุติลง 2.อดีตนั้นไม่สามารถย้อนกลับไปแก้ไขได้ และยากมากที่จะนำมาตัดสินให้ถูกใจทุกฝ่าย สำคัญคือ ทุกฝ่ายจะพยายามเรียนรู้จากมัน 3.การปรองดองจำเป็นต้องมีกรอบในอนาคตที่แน่ชัด และเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย 4.การเปลี่ยนมุมมอง หรือวิธีคิดต่อประชาธิปไตย ซึ่งไม่ใช่การโหวต และผู้ครองเสียงข้างมากต้องได้ทุกอย่าง แต่เป็นเรื่องของความร่วมมือและเกื้อกูลกันของทั้งสองฝ่าย นอกจากนี้จะต้องยอมรับในกระบวนการนิติรัฐและนิติธรรมด้วย และ 5.การปรองดองจะดำเนินไปได้ง่ายขึ้น หากรัฐทำไปเพื่อประโยชน์โดยรวมของประชาชนอย่างแท้จริง ผ่านการสร้างสะพานเชื่อมกับประชาชน และทำให้ผู้คนรู้สึกจริงๆ ว่าคุณภาพชีวิตดีขึ้น “สิ่งที่สำคัญที่สุดในการปรองดองแห่งชาติ คือ การไม่ท้อถอย ไม่ว่าจะต้องเจ็บปวดแค่ไหน จะแตกแยกกันมากเพียงใด เพราะมันคุ้มค่าเสมอที่กลับมาปรองดองกัน โดยผู้นำจะต้องเป็นผู้เริ่มและมีประชาชนส่วนใหญ่คอยสนับสนุนอยู่เบื้องหลัง เพราะหากปราศจากพลังจากประชาชนแล้ว การปรองดองย่อมเป็นไปไม่ได้ และหากการปรองดองประสบผลสำเร็จผลประโยชน์ของมันก็ย่อมตกอยู่กับประชาชน”นายแบลร์ กล่าว นายแบลร์ กล่าวด้วยว่า กรณีของการเจรจาสันติภาพไอร์แลนเหนือนั้น บางครั้งก็มีการเอาคนนอกเข้ามา แต่ในที่สุดผู้ที่ลงมือปฏิบัติคือประชาชนในไอร์แลนด์ โดยต้องหาทางให้บุคคลที่มีส่วนสำคัญในความขัดแย้งได้มีโอกาสพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน เพราะการสื่อสาร รวมทั้งคำพูดเป็นสิ่งสำคัญ อย่างไรก็ดีสุดท้ายก็อยู่ที่ความมุ่งมั่นของแต่ละฝ่ายที่จะก้าวข้ามความขัดแย้ง เพราะถ้าหากไม่มี ก็ทำอะไรไม่ได้ “ผมแก้ไขด้วยการพยายามเข้าไปนั่งในหัวใจของอีกฝ่าย และจำเป็นต้องมีการสร้างบรรยากาศของการเจรจาก่อน ทำให้คนต่อต้านน้อยลงก่อน ให้คนรู้สึกยอมรับกลไกที่จะเกิดขึ้น ผู้คนข้างนอกสามารถช่วยได้ ค่อยๆไปทีละขั้น ไม่จำเป็นต้องพุ่งเป้าฉะกันทันที” นายแบลร์ กล่าวทิ้งท้าย ด้านนายมาร์ตี อาห์ติซารี กล่าวว่า บาดแผลในอดีตนั้นใช้เวลานานกว่าจะเยียวยาได้ แต่การปรองดองและการเคารพในกระบวนการยุติธรรม ถือเป็นปัจจัยสำคัญของการเติบโตทางเศรษฐกิจที่มั่นคง และการปรองดองบางครั้งใช้เวลานานกว่า 10 ปีก็มี สิ่งสำคัญคือ ทุกฝ่ายต้องมีความจริงใจ และต้องมีความยืดหยุ่น ยอมถอยบ้าง เพื่อหาจุดร่วมสมานฉันท์ มุ่งไปที่จุดร่วมแห่งประโยชน์ที่ยิ่งใหญ่กว่า นายอาห์ติชารี เห็นว่า การปรองดองควรเริ่มจากระดับชุมชนก่อน และทุกฝ่ายควรมีจุดร่วมกัน คือ การสร้างจุดเริ่มต้นใหม่ ปูทางไปสู่อนาคตที่อดีตอันเจ็บปวดเหล่านั้นจะไม่มีวันเกิดขึ้นได้อีก “ต้องตระหนักว่าจะก้าวข้ามอดีตและต้องทำให้ดีกว่าในอดีต มองไปในอนาคต ความเชื่อใจซึ่งกันและกัน การเจรจาปรองดองเป็นเพียงขั้นตอน เพราะการปรองดองที่แท้จริงอยู่ที่ประชาชน การปรองดองสร้างความแตกต่างได้ และเราสามารถเริ่มต้นได้เสมอ”นายอาห์ติชารี กล่าว ด้าน นางพริซิลลา เฮย์เนอร์ กล่าวว่า ความแตกแยกไม่ใช่สิ่งแปลกประหลาดในสังคมปัจจุบันที่มีความแตกต่าง ที่ผ่านมาไทยทำได้ดีแล้วในการตระหนักถึงปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น คนต่างชาติสามารถเสนอประสบการณ์ได้ แต่คงไม่มีวันเข้าใจคนในประเทศได้ พร้อมเตือนว่าการปรองดองมักหมายความแตกต่างกันไปกับแต่ละคน ยิ่งโดยเฉพาะการปรองดองทางการเมือง ทำให้เกิดแต่ละฝ่ายวาดภาพอนาคตไว้แตกต่างกันไป นอกจากนี้บางฝ่ายอาจนำมาใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองได้ นาง เฮย์เนอร์ กล่าวว่า หนึ่งในความหมายของการปรองดอง เช่น การลืมอดีต เช่น การนิรโทษกรรมให้ผู้กระทำผิดโดยอ้างว่าเพื่อการปรองดอง แต่ก็ถูกต่อต้านโดยเหยื่อ อีกความหมายหนึ่งคือการเปลี่ยนขั้วอำนาจ เช่น ในอียิปต์ ภายหลังการล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ทำให้กองทัพอิยิปต์พยายามควบคุมสถานการณ์ ถือว่าเป็นการใช้ที่ผิด เพราะเป็นการปฏิเสธการมีอยู่ของอีกฝ่าย นางเฮย์เนอร์ กล่าวอีกว่า อีกตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือการมุ่งเป้าไปที่กระบวนการหรือผลลัพธ์ อย่างใดอย่างหนึ่ง หากแต่ละฝ่ายมีวัตถุประสงค์ซ่อนเร้น กระบวนการปรองดองก็เดินต่อไปไม่ได้ และการปรองดองไม่สามารถเร่งรัดได้ เพราะต้องดำเนินไปด้วยความระมัดระวัง ใช้การสื่อสาร การฟัง เพื่อหาจุดร่วมกันให้ได้ ด้วยความเคารพและให้เกียรติแต่ละฝ่ายด้วย นางเฮย์เนอร์ ระบุถึงกฎหมายนิรโทษกรรมที่กำลังเป็นเรื่องสำคัญในไทยว่า สามารถใช้รูปแบบของสากลเป็นแม่แบบได้ และต้องไม่เอนเอียง หรือยกประโยชน์ให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง คือต้องอยู่บนพื้นฐานความยุติธรรม และสำคัญคือบนความเคารพต่อเหยื่อผู้ได้รับผลกระทบ เช่น ความจริงที่เกิดขึ้นต้องได้รับการเปิดเผย “การหาจุดร่วม แปลว่าต้องมีความต่างระหว่างฝ่าย เป็นเรื่องธรรมดามาถกเถียงกันได้ แต่ทั้งสองฝ่ายต้องเคารพกฎหมายระเบียบที่มีอยู่ของบ้านเมือง และทั้งคู่ต้องยืนอยู่บนผลประโยชน์ของชาติเป็นหลัก ถือเป็นหัวใจของการปรองดอง” นายเฮย์เนอร์ กล่าว ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า นายโทนี่ แบลร์ มีกำหนดจะเดินทางกลับประทศอังกฤษคืนวันนี้ ขณะที่อีกสองคนที่เหลือจะเดินทางกลับในวันพรุ่งนี้ (3 ก.ย.) วันเดียวกัน นายวีรพัฒน์ ปริยวงศ์ นักกฎหมายอิสระ สรุปใจความสำคัญของสุนทรพจน์โดย โทนี่ แบลร์ เสนอหลักการ 5 ข้อในการปรองดอง ว่ามีดังนี้ 1.ยึดโอกาสร่วมกันในอนาคตเหนือความเจ็บปวดในอดีต ต้องมองให้เห็นประโยชน์ของสันติภาพและความเจริญเป็นรางวัลชิ้นใหญ่ร่วมกันที่รออยู่ข้างหน้า 2.อดีตเป็นเรื่องที่ตรวจสอบได้ แต่คงตัดสินให้ทุกฝ่ายพอใจไม่ได้ บางครั้งต้องยอมอดทนกับความเจ็บปวด เช่น การตกลงยอมปล่อยตัวนักโทษในไอร์แลนด์เหนือ ซึ่งอาจถูกมองเป็นทั้งวีรบุรุษและผู้ก่อการร้าย 3.วางกรอบความร่วมมือในอนาคต ที่เป็นธรรม และแก้รากเหง้าปัญหา เช่น ในไอร์แลนด์เหนือ มีข้อตกลงให้คู่ขัดแย้งมีช่องทางแบ่งปันอำนาจร่วมกัน 4.ยึดประชาธิปไตยทั้งในเนื้อหา ไม่ใช่เฉพาะในรูปแบบ เสียงข้างมากต้องร่วมคิดกับเสียงข้างน้อยภายใต้หลักนิติธรรม ศาลต้องเป็นกลางและอิสระ 5.การปรองดองต้องสร้างประโยชน์ให้กับประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ใช่แค่เพียงโปร่งใส ประโยชน์เข้าถึงทุกฝ่าย นักการเมืองต้องเป็นฝ่ายนำ โดยมีประชาชนหนุน "โทนี่ แบลร์ปิดท้ายด้วยการย้ำถึงความยากของการปรองดอง ต้องอดทนเพื่ออนาคตที่คุ้มค่า และเชื่อมั่นว่าคนไทยทำได้" นายวีรพัฒน์ ระบุ ขอบคุณ... http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNM09ERXdOVEkxT1E9PQ==&catid=01 ข่าวสดออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 2 ก.ย.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...