สธ.จับมือ 6 หน่วยงาน เติมเต็มชีวิตคนพิการ
น.พ.ประ ดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในพิธีเปิดโครงการเข้าถึงสิทธิ์ สร้างโอกาสคนพิการสู่สังคม ว่า รัฐบาลมีนโยบายลดความเหลื่อมล้ำของคนไทยในด้านต่างๆ โดยที่เน้นพัฒนาอย่างยั่งยืน ยกระดับคุณภาพชีวิตและความเสมอภาคในทุกมิติ สนับสนุนผู้ที่มีข้อจำกัด อาทิ ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ ให้สามารถใช้ ชีวิตอยู่ในสังคมได้เหมือนคนทั่วไป รัฐบาลกำหนดแนวทางเสริมสร้างพัฒนาศักยภาพของคนพิการด้านต่างๆ ทั้งสุขภาพร่างกายตลอดจนด้านจิตใจและสังคม โดยรัฐบาลเชื่อว่า ก็ยังมีคนพิการจำนวนมากที่มีความสามารถ หากได้รับการฝึกฝนอาชีพที่เหมาะสม จะสามารถสร้างรายได้เลี้ยงตนเองและครอบครัวได้ ทั้งนี้ รัฐบาลได้มอบหมายให้ 6 หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง บูรณาการพัฒนาระบบการให้บริการแก่คนพิการ ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ส่วนด้านการขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลอย่างเป็นรูปธรรมนั้น ทางกระทรวงได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการร่วมกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความ มั่นคงของมนุษย์ และกระทรวงที่เกี่ยวข้องกำหนดยุทธศาสตร์บูรณาการทำงานร่วมกัน 2 ระยะคือ ระยะเร่งรัด ให้ผู้พิการที่ยังไม่มีขาเทียม ลงทะเบียนผ่านระบบสารสนเทศ และค้นหาผู้พิการในทุกชุมชน ส่วนระยะยาวนั้นคือ จัดทำขาเทียมครบ 100% ในปี 2559 เพิ่มศักยภาพการผลิตและเร่งรัดปรับบัญชีกายอุปกรณ์ เพื่อให้ผู้พิการทั้ง 3 กองทุน มีสิทธิเบิกจ่ายค่ากายอุปกรณ์ต่างๆ ได้เท่าเทียมกัน และจัดทำงบประมาณประจำในการจัดซื้อขาเทียม งบบำรุงซ่อมแซมหรือทดแทนใหม่ เนื่องจากขาเทียม มีอายุใช้งานเฉลี่ย 3 ปี
อย่างไรก็ตามจากผลสำรวจคนพิการของสำนักงานสถิติแห่งชาติล่าสุดปี 2550 ทั่วประเทศ มีผู้พิการขาขาดประมาณ 46,000 ราย และคาดว่ายังมีคนพิการขาขาดจำนวน 19,310 คน ที่ยังไม่สามารถเข้าถึงบริการขาเทียม ด้วยข้อจำกัดหลายปัจจัย
ขอบคุณ... http://news.sanook.com/1209083/สธ.จับมือ-6-หน่วยงาน-เติมเต็มชีวิตคนพิการ/ (ขนาดไฟล์: 0 )
ไอเอ็นเอ็นออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 16 ก.ย.56
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
นพ.ประดิษฐ์ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข น.พ.ประ ดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในพิธีเปิดโครงการเข้าถึงสิทธิ์ สร้างโอกาสคนพิการสู่สังคม ว่า รัฐบาลมีนโยบายลดความเหลื่อมล้ำของคนไทยในด้านต่างๆ โดยที่เน้นพัฒนาอย่างยั่งยืน ยกระดับคุณภาพชีวิตและความเสมอภาคในทุกมิติ สนับสนุนผู้ที่มีข้อจำกัด อาทิ ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ ให้สามารถใช้ ชีวิตอยู่ในสังคมได้เหมือนคนทั่วไป รัฐบาลกำหนดแนวทางเสริมสร้างพัฒนาศักยภาพของคนพิการด้านต่างๆ ทั้งสุขภาพร่างกายตลอดจนด้านจิตใจและสังคม โดยรัฐบาลเชื่อว่า ก็ยังมีคนพิการจำนวนมากที่มีความสามารถ หากได้รับการฝึกฝนอาชีพที่เหมาะสม จะสามารถสร้างรายได้เลี้ยงตนเองและครอบครัวได้ ทั้งนี้ รัฐบาลได้มอบหมายให้ 6 หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง บูรณาการพัฒนาระบบการให้บริการแก่คนพิการ ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ส่วนด้านการขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลอย่างเป็นรูปธรรมนั้น ทางกระทรวงได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการร่วมกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความ มั่นคงของมนุษย์ และกระทรวงที่เกี่ยวข้องกำหนดยุทธศาสตร์บูรณาการทำงานร่วมกัน 2 ระยะคือ ระยะเร่งรัด ให้ผู้พิการที่ยังไม่มีขาเทียม ลงทะเบียนผ่านระบบสารสนเทศ และค้นหาผู้พิการในทุกชุมชน ส่วนระยะยาวนั้นคือ จัดทำขาเทียมครบ 100% ในปี 2559 เพิ่มศักยภาพการผลิตและเร่งรัดปรับบัญชีกายอุปกรณ์ เพื่อให้ผู้พิการทั้ง 3 กองทุน มีสิทธิเบิกจ่ายค่ากายอุปกรณ์ต่างๆ ได้เท่าเทียมกัน และจัดทำงบประมาณประจำในการจัดซื้อขาเทียม งบบำรุงซ่อมแซมหรือทดแทนใหม่ เนื่องจากขาเทียม มีอายุใช้งานเฉลี่ย 3 ปี อย่างไรก็ตามจากผลสำรวจคนพิการของสำนักงานสถิติแห่งชาติล่าสุดปี 2550 ทั่วประเทศ มีผู้พิการขาขาดประมาณ 46,000 ราย และคาดว่ายังมีคนพิการขาขาดจำนวน 19,310 คน ที่ยังไม่สามารถเข้าถึงบริการขาเทียม ด้วยข้อจำกัดหลายปัจจัย ขอบคุณ... http://news.sanook.com/1209083/สธ.จับมือ-6-หน่วยงาน-เติมเต็มชีวิตคนพิการ/ ไอเอ็นเอ็นออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 16 ก.ย.56
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)