พบเด็กไทยปัญหารุมเร้า ท้องไม่พร้อม ติดสารเสพติด ติดเกม บกพร่องเรียนรู้

แสดงความคิดเห็น

เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม ที่โรงแรมเดอะ สุโกศล ภญ.ปฤษฐพร กิ่งแก้ว นักวิจัยโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ หรือ ไฮแทป (HITAP) แถลงข่าว "ผลการศึกษาโครงการอนาคตไทยเพื่อการสร้างเสริมสุขภาวะเด็กอายุ 6-25 ปี" ว่า จากการทบทวนปัญหาสุขภาวะของเด็กและเยาวชน โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญจาก 17 หน่วยงาน เช่น กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เป็นต้น มาร่วมจัดลำดับความสำคัญของปัญหาสุขภาวะในเด็กและเยาวชน พบว่า ปัญหาหลักๆ คือ การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นและการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ มาจากการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย การเปลี่ยนหลายคู่นอน และขาดความรู้เรื่องการคุมกำเนิดที่ถูกต้อง แม้ที่ผ่านมาทุกภาคส่วนจะให้ความสำคัญ แต่จากอัตราการคลอดบุตรของผู้หญิงไทยอายุ 15-17 ปี ยังคงมีตัวเลขสูงในอัตราเกิน 50 ต่อ 1,000 ประชากร

ภญ.ปฤษฐพรกล่าวอีกว่า ข้อเสนอเชิงนโยบาย คือ ต้องพัฒนาฐานข้อมูลการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น เพราะปัจจุบันมีเพียงฐานข้อมูลจากการคลอดบุตรเท่านั้น กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ต้องพัฒนาหลักสูตรเพศศึกษาให้ทันสมัย พร้อมพัฒนาทักษะผู้สอน ส่วน สธ.ต้องพัฒนางานด้านอนามัยเจริญพันธุ์ที่เป็นมิตรกับวัยรุ่น และร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) พัฒนาระบบการเข้าถึงถุงยางอนามัย ยาคุมกำเนิดและบริการให้คำปรึกษาที่ปกป้องตัวตนของผู้รับบริการ

นอกจากนี้ ยังพบปัญหาสุขภาพจิต ทั้งการติดสารเสพติด การติดเกม และภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้ โดยเฉพาะการติดเกมมีผลกระทบด้านเศรษฐกิจสูงถึง 30,000 ล้านบาทต่อปี โดยพบว่า เด็ก 1 คนมีค่าใช้จ่ายในการเล่นเกม 1,106 บาทต่อเดือน

ขณะที่การติดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่ หากสามารถป้องกันนักดื่มและนักสูบหน้าใหม่ได้ จะสามารถลดค่าใช้จ่ายได้ถึง 20,000-360,000 บาทต่อราย และ 80,000-160,000 บาทต่อรายตามลำดับ แนวทางการแก้ปัญหา รัฐบาลต้องกำหนดหน่วยงานรับผิดชอบปัญหาติดเกมในระดับชาติขึ้น พร้อมนิยามการติดเกมให้ชัดเจน รวมทั้งตั้งคลินิกเฉพาะผู้มีปัญหาการติดเกม

ขอบคุณ http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1380789516&grpid=03&catid=&subcatid= (ขนาดไฟล์: 167)

มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 3 ต.ค.56

ที่มา: มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 3 ต.ค.56
วันที่โพสต์: 4/10/2556 เวลา 03:43:29

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม ที่โรงแรมเดอะ สุโกศล ภญ.ปฤษฐพร กิ่งแก้ว นักวิจัยโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ หรือ ไฮแทป (HITAP) แถลงข่าว "ผลการศึกษาโครงการอนาคตไทยเพื่อการสร้างเสริมสุขภาวะเด็กอายุ 6-25 ปี" ว่า จากการทบทวนปัญหาสุขภาวะของเด็กและเยาวชน โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญจาก 17 หน่วยงาน เช่น กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เป็นต้น มาร่วมจัดลำดับความสำคัญของปัญหาสุขภาวะในเด็กและเยาวชน พบว่า ปัญหาหลักๆ คือ การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นและการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ มาจากการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย การเปลี่ยนหลายคู่นอน และขาดความรู้เรื่องการคุมกำเนิดที่ถูกต้อง แม้ที่ผ่านมาทุกภาคส่วนจะให้ความสำคัญ แต่จากอัตราการคลอดบุตรของผู้หญิงไทยอายุ 15-17 ปี ยังคงมีตัวเลขสูงในอัตราเกิน 50 ต่อ 1,000 ประชากร ภญ.ปฤษฐพรกล่าวอีกว่า ข้อเสนอเชิงนโยบาย คือ ต้องพัฒนาฐานข้อมูลการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น เพราะปัจจุบันมีเพียงฐานข้อมูลจากการคลอดบุตรเท่านั้น กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ต้องพัฒนาหลักสูตรเพศศึกษาให้ทันสมัย พร้อมพัฒนาทักษะผู้สอน ส่วน สธ.ต้องพัฒนางานด้านอนามัยเจริญพันธุ์ที่เป็นมิตรกับวัยรุ่น และร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) พัฒนาระบบการเข้าถึงถุงยางอนามัย ยาคุมกำเนิดและบริการให้คำปรึกษาที่ปกป้องตัวตนของผู้รับบริการ นอกจากนี้ ยังพบปัญหาสุขภาพจิต ทั้งการติดสารเสพติด การติดเกม และภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้ โดยเฉพาะการติดเกมมีผลกระทบด้านเศรษฐกิจสูงถึง 30,000 ล้านบาทต่อปี โดยพบว่า เด็ก 1 คนมีค่าใช้จ่ายในการเล่นเกม 1,106 บาทต่อเดือน ขณะที่การติดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่ หากสามารถป้องกันนักดื่มและนักสูบหน้าใหม่ได้ จะสามารถลดค่าใช้จ่ายได้ถึง 20,000-360,000 บาทต่อราย และ 80,000-160,000 บาทต่อรายตามลำดับ แนวทางการแก้ปัญหา รัฐบาลต้องกำหนดหน่วยงานรับผิดชอบปัญหาติดเกมในระดับชาติขึ้น พร้อมนิยามการติดเกมให้ชัดเจน รวมทั้งตั้งคลินิกเฉพาะผู้มีปัญหาการติดเกม ขอบคุณ… http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1380789516&grpid=03&catid=&subcatid= มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 3 ต.ค.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...