“ทุกคนใช้รถเมล์ได้ทุกคัน”....สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน
ทั้งๆ ที่ประเทศไทยมีพัฒนาการด้านให้บริการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการทุกประเภทที่ทันสมัย มีบริการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการที่ก้าวหน้าไม่น้อยไปกว่าประเทศอื่นๆ และมีคนพิการจำนวนมากที่ได้รับการศึกษาในระดับต่างๆ ถึงระดับปริญญาเอก ตลอดจนประสบความสำเร็จในการประกอบอาชีพ ทั้งจากการเป็นเจ้าของสถานประกอบการ ทำงานเป็นผู้บริหารระดับสูงในหน่วยงานภาครัฐและเอกชน รวมถึง จากการประกอบอาชีพอิสระ โดยหลายคนเป็นเจ้าของกิจการ และส่งผลิตภัณฑ์ที่ทำเองไปจำหน่ายต่างประเทศ ฯลฯ แต่ “คนพิการ” ก็ยังถูกคนส่วนใหญ่ในสังคมมองว่า เป็นคนมีกรรม ช่วยตัวเองไม่ได้ เรียนหนังสือไม่ได้ ทำงานไม่ได้ น่าเมตตาสงสาร เป็นภาระของครอบครัวและสังคม
มุมมองหรือเจตคติดังกล่าว ซึ่งเกิดกับคนทั่วไป ครอบครัวคนพิการ และแม้กระทั่งตัวคนพิการเอง เป็นอุปสรรคที่กีดขวางการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ และพร้อมกันนั้น ก็เป็นต้นเหตุที่ทำให้คนรอบตัวเลี้ยงดูและปฏิบัติต่อคนพิการแตกต่างจากการปฏิบัติต่อคนทั่วไป เช่น คนพิการไม่ได้รับการแจ้งเกิด ไม่ได้ทำบัตรประชาชน ไม่ได้เรียนหนังสือ เรียนไม่จบ หรือเรียนจบแค่ระดับประถมศึกษา ไม่ได้ทำงาน ไม่มีอาชีพ ไม่ได้ร่วมกิจกรรมทางสังคม และหลายคนลงเอยด้วยการถูกขังอยู่ในบ้าน ฯลฯ คนพิการจึงตกอยู่ในฐานะผู้ด้อยโอกาส ยากไร้ จน ไม่มีความสามารถ เป็นภาระของครอบครัว และสังคมตลอดชีวิตเสมอมา
เดิมที รัฐบาล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดูแลช่วยเหลือคนพิการ ต่างกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนงาน และโครงการหรือกิจกรรมเพื่อส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ โดยพุ่งเป้าไปที่ “ตัวคนพิการ” กล่าวคือ พยายามจัดให้คนพิการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากบริการฟื้นฟูสมรรถภาพ บริการจัดการศึกษา บริการฝึกอบรมอาชีพ และบริการสนับสนุนการมีส่วนร่วมกิจกรรมทางสังคม เป็นต้น
ต่อมา การเรียนรู้และประสบการณ์ เรื่อง “สิทธิของคนพิการ” จากประเทศที่พัฒนาแล้ว ได้บ่งชี้ชัดเจนว่า แม้คนพิการได้รับบริการดังกล่าวข้างต้นเป็นอย่างดี จนกระทั่ง คนพิการสามารถช่วยเหลือตนเองได้ มีการศึกษา และมีทักษะในการประกอบอาชีพ แต่คนพิการก็ยังมีความยากลำบากในการดำรงชีวิตมาก อุปสรรคสำคัญในการดำรงชีวิตของคนพิการลำดับแรก คือ เจตคติของคนในสังคมที่นอกจากไม่เชื่อว่าคนพิการจะมีศักยภาพทำงาน มีรายได้ เลี้ยงตนเอง และดำรงชีวิตอิสระได้เหมือนคนไม่พิการแล้ว ยังยึดติดกับความคิดที่ว่า การทำงานเป็นสิ่งลำบากยากเย็นสำหรับคนพิการ ฉะนั้น คนพิการจึงควรอยู่บ้านเฉยๆ ให้ครอบครัวช่วยกันเลี้ยงดู อย่างไรก็ตาม โดยที่หลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับคนพิการ ได้พยายามช่วยกันสร้างเสริมความรู้ความเข้าใจเรื่องการดำรงชีวิตชองคนพิการและสิทธิตามกฎหมายทั้งแก่ตัวคนพิการเอง ครอบครัว และผู้เกี่ยวข้อง จึงเริ่มมีการปรับเจตคติเชิงลบไปเป็นทางบวกมากขึ้น
อุปสรรคสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของคนพิการเป็นลำดับที่ ๒ คือ คนพิการไม่สามารถใช้บริการสาธารณะ โดยเฉพาะการเข้าถึง และใช้ประโยชน์จากสภาพแวดล้อม อาคาร สถานที่ ถนน ทางเดินเท้า ป้ายที่จอดรถเมล์ ท่าเรือ สถานีขนส่ง รวมถึงยานพาหนะที่ใช้ในการให้บริการขนส่งสาธารณะ เช่น รถเมล์ รถไฟ และรถไฟฟ้า เป็นต้น ตลอดจนไม่สามารถใช้บริการขนส่งสาธารณะสำหรับการเดินทางระหว่างบ้านกับโรงเรียน ที่ทำงาน สถานที่จับจ่ายซื้อของ และสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ฯลฯ เพราะหน่วยงานที่รับผิดชอบต่อการก่อสร้างและจัดบริการสาธารณะไม่ได้คำนึงถึงการให้บริการแก่คนพิการ ทั้งที่ คนพิการก็เป็นพลเมืองไทยและเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากการซื้อเครื่องอุปโภคบริโภค รวมถึงภาษีต่างๆตามกฎหมายเช่นเดียวกับคนทั่วไป
คนพิการที่ประสบความสำเร็จในการฟื้นฟูสมรรถภาพ การศึกษา การทำงาน การพึ่งพาตนเอง และการดำรงชีวิตอิสระ จึงต้องประสบความลำบากเป็นอย่างยิ่งในการทุ่มเทความพยายาม มานะ พยายาม อดทน ต่อสู้ และฟันฝ่าอุปสรรคทั้ง ๒ ประการดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ ต้องได้รับการสนับสนุนจากครอบครัวและผู้เกี่ยวข้อง ในการปรับตัวเอง จัดสิ่งอำนวยความสะดวกให้ตัวเอง และขอความช่วยเหลืออย่างสมเหตุสมผลจากคนทั่วไป ที่สำคัญ คือ ต้องมีเงินมากพอที่จะใช้จ่ายค่ารถรับจ้าง( แท็กซี่ ) ในการเดินทางไป – กลับทุกที่และทุกครั้ง เพราะรถโดยสารสาธารณะ หรือรถเมล์ไม่มีการปรับโครงสร้างของรถ และจัดเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อรองรับการเดินทางของคนพิการ
เครือข่ายคนพิการจึงได้ขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่อง และยาวนานเพื่อให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีความรู้ ความเข้าใจ และเห็นความสำคัญของความต้องการจำเป็นในการจัดบริการขนส่งสาธารณะให้คนพิการทุกประเภทใช้รถเมล์ในการดำรงชีวิตประจำวันได้อย่างเท่าเทียมกับประชาชนทั่วไป โดยตระหนักถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และสิทธิพลเมืองตามกฎหมายของคนพิการ พร้อมทั้ง กำหนดนโยบายและดำเนินการตามข้อเรียกร้องดังกล่าวอย่างเป็นรูปธรรม
เมื่อ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ กระทรวงคมนาคมได้จัดทำ โครงการจัดซื้อรถโดยสารใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ( NGV ) จำนวน ๓,๑๘๓ คัน ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เครือข่ายคนพิการ โดย“ภาคีเครือข่ายประชาชน : ทุกคนขึ้นรถเมล์ได้ทุกคัน” จึงได้ขอหารือ และให้ข้อเสนอแนะในการจัดซื้อรถเมล์ใหม่ที่ใช้การออกแบบที่เป็นธรรมให้ทุกคน รวมทั้ง ผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ เด็ก ฯลฯ และคนพิการทุกคนใช้ร่วมกันได้ อันเป็นหลักการสากลที่ใช้กันอยู่ทั่วโลก กล่าวคือ ทุกคนล้วนเป็นส่วนหนึ่งของสังคมอย่างเสมอภาคกัน และต้องดำรงชีวิตร่วมกันในสังคมมากที่สุด โดยไม่แบ่งแยกประชาชนออกจากกันเป็นกลุ่มๆ พร้อมทั้ง ลดการให้บริการสาธารณะเฉพาะคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เช่น การสร้าง”ส้วมสาธารณะ” ควรออกแบบให้ทุกคนรวมทั้งคนพิการใช้ร่วมกันได้ ไม่ใช่ออกแบบหรือจัดให้ใช้เฉพาะคนพิการ สำหรับการจัดการศึกษาก็เช่นเดียวกัน ก็ต้องบริการจัดการศึกษาให้เด็กทุกคน รวมทั้งเด็กพิการทุกประเภทเรียนรวมอยู่ในโรงเรียน (ปกติ)ด้วยกัน ทั้งนี้ อาจมีการจัดบริการให้ความช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกให้เด็กพิการแต่ละคนตามความจำเป็น ยกเว้น กรณีที่เด็กพิการบางคนซึ่งมีข้อจำกัดมากและไม่สามารถเรียนในโรงเรียนปกติ จึงต้องจัดให้เรียนในโรงเรียนเฉพาะความพิการ เช่น โรงเรียนสอนคนหูหนวก และโรงเรียนสอนคนตาบอด เป็นต้น
ดังนั้น ทั้งก่อน และระหว่างการจัดทำ ร่างขอบเขตของงาน (TOR ) รวมถึง ในการประกาศ ร่างขอบเขตของงาน (TOR ) ฉบับที่ ๑ – ๔ โดยองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ เพื่อจัดประมูลซื้อรถเมล์ใหม่ ๓,๑๘๓ คัน “ภาคีเครือข่ายประชาชน : ทุกคนขึ้นรถเมล์ได้ทุกคัน” โดยองค์กรเครือข่ายของกลุ่มคนต่างๆ และผู้สนับสนุนแนวคิด “ซื้อรถเมล์สาธารณะโดยใช้ภาษีของปนะชาชน ...ทุกคนต้องใช้ได้ทุกคัน” ได้นำส่งข้อเสนอแนะทุกครั้ง เพื่อเรียกร้องให้กำหนด TOR โดยใช้หลักการออกแบบที่เป็นธรรม ดังกล่าวแล้ว
เมื่อ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ เมินเฉยต่อข้อเรียกร้องของประชาชน ภาคีเครือข่ายฯ จึงเตรียมการฟ้องศาลปกครองเร็วๆ นี้
ผู้ใส่ใจสนับสนุน “การดำรงชีวิตในสังคมอย่างเสมอภาคกันทุกคน” โปรดแสดงตนเป็นผู้ร่วมฟ้องร้อง หรือลงชื่อสนับสนุนที่ ....สมาคมสภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย cpdtthailand@gmail.com โทร. ๐๒ ๓๕๔๔ ๒๖๐ ศูนย์การดำรงชีวิตอิสระคนพิการประเทศไทย teerayudth@hotmail.comโทร.๐๘๑-๘๖๙๙๗๑๘ มูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อการพัฒนาคนพิการ samrits9@gmail.com โทร. ๐๓๘ ๗๑๖๒๔๗ – ๙ หรือ มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย office@tddf.or.th โทร.๐๒ ๖๒๘ ๕๗๐๑
โดย พวงแก้ว กิจธรรม ผู้จัดการมูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
กลุ่มประชาชน ทั้งๆ ที่ประเทศไทยมีพัฒนาการด้านให้บริการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการทุกประเภทที่ทันสมัย มีบริการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการที่ก้าวหน้าไม่น้อยไปกว่าประเทศอื่นๆ และมีคนพิการจำนวนมากที่ได้รับการศึกษาในระดับต่างๆ ถึงระดับปริญญาเอก ตลอดจนประสบความสำเร็จในการประกอบอาชีพ ทั้งจากการเป็นเจ้าของสถานประกอบการ ทำงานเป็นผู้บริหารระดับสูงในหน่วยงานภาครัฐและเอกชน รวมถึง จากการประกอบอาชีพอิสระ โดยหลายคนเป็นเจ้าของกิจการ และส่งผลิตภัณฑ์ที่ทำเองไปจำหน่ายต่างประเทศ ฯลฯ แต่ “คนพิการ” ก็ยังถูกคนส่วนใหญ่ในสังคมมองว่า เป็นคนมีกรรม ช่วยตัวเองไม่ได้ เรียนหนังสือไม่ได้ ทำงานไม่ได้ น่าเมตตาสงสาร เป็นภาระของครอบครัวและสังคม ท่ารถ ขสมก. สาย 62 มุมมองหรือเจตคติดังกล่าว ซึ่งเกิดกับคนทั่วไป ครอบครัวคนพิการ และแม้กระทั่งตัวคนพิการเอง เป็นอุปสรรคที่กีดขวางการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ และพร้อมกันนั้น ก็เป็นต้นเหตุที่ทำให้คนรอบตัวเลี้ยงดูและปฏิบัติต่อคนพิการแตกต่างจากการปฏิบัติต่อคนทั่วไป เช่น คนพิการไม่ได้รับการแจ้งเกิด ไม่ได้ทำบัตรประชาชน ไม่ได้เรียนหนังสือ เรียนไม่จบ หรือเรียนจบแค่ระดับประถมศึกษา ไม่ได้ทำงาน ไม่มีอาชีพ ไม่ได้ร่วมกิจกรรมทางสังคม และหลายคนลงเอยด้วยการถูกขังอยู่ในบ้าน ฯลฯ คนพิการจึงตกอยู่ในฐานะผู้ด้อยโอกาส ยากไร้ จน ไม่มีความสามารถ เป็นภาระของครอบครัว และสังคมตลอดชีวิตเสมอมา เดิมที รัฐบาล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดูแลช่วยเหลือคนพิการ ต่างกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนงาน และโครงการหรือกิจกรรมเพื่อส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ โดยพุ่งเป้าไปที่ “ตัวคนพิการ” กล่าวคือ พยายามจัดให้คนพิการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากบริการฟื้นฟูสมรรถภาพ บริการจัดการศึกษา บริการฝึกอบรมอาชีพ และบริการสนับสนุนการมีส่วนร่วมกิจกรรมทางสังคม เป็นต้น รถเมล์ฟรี จากประชาชน สาย13ต่อมา การเรียนรู้และประสบการณ์ เรื่อง “สิทธิของคนพิการ” จากประเทศที่พัฒนาแล้ว ได้บ่งชี้ชัดเจนว่า แม้คนพิการได้รับบริการดังกล่าวข้างต้นเป็นอย่างดี จนกระทั่ง คนพิการสามารถช่วยเหลือตนเองได้ มีการศึกษา และมีทักษะในการประกอบอาชีพ แต่คนพิการก็ยังมีความยากลำบากในการดำรงชีวิตมาก อุปสรรคสำคัญในการดำรงชีวิตของคนพิการลำดับแรก คือ เจตคติของคนในสังคมที่นอกจากไม่เชื่อว่าคนพิการจะมีศักยภาพทำงาน มีรายได้ เลี้ยงตนเอง และดำรงชีวิตอิสระได้เหมือนคนไม่พิการแล้ว ยังยึดติดกับความคิดที่ว่า การทำงานเป็นสิ่งลำบากยากเย็นสำหรับคนพิการ ฉะนั้น คนพิการจึงควรอยู่บ้านเฉยๆ ให้ครอบครัวช่วยกันเลี้ยงดู อย่างไรก็ตาม โดยที่หลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับคนพิการ ได้พยายามช่วยกันสร้างเสริมความรู้ความเข้าใจเรื่องการดำรงชีวิตชองคนพิการและสิทธิตามกฎหมายทั้งแก่ตัวคนพิการเอง ครอบครัว และผู้เกี่ยวข้อง จึงเริ่มมีการปรับเจตคติเชิงลบไปเป็นทางบวกมากขึ้น อุปสรรคสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของคนพิการเป็นลำดับที่ ๒ คือ คนพิการไม่สามารถใช้บริการสาธารณะ โดยเฉพาะการเข้าถึง และใช้ประโยชน์จากสภาพแวดล้อม อาคาร สถานที่ ถนน ทางเดินเท้า ป้ายที่จอดรถเมล์ ท่าเรือ สถานีขนส่ง รวมถึงยานพาหนะที่ใช้ในการให้บริการขนส่งสาธารณะ เช่น รถเมล์ รถไฟ และรถไฟฟ้า เป็นต้น ตลอดจนไม่สามารถใช้บริการขนส่งสาธารณะสำหรับการเดินทางระหว่างบ้านกับโรงเรียน ที่ทำงาน สถานที่จับจ่ายซื้อของ และสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ฯลฯ เพราะหน่วยงานที่รับผิดชอบต่อการก่อสร้างและจัดบริการสาธารณะไม่ได้คำนึงถึงการให้บริการแก่คนพิการ ทั้งที่ คนพิการก็เป็นพลเมืองไทยและเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากการซื้อเครื่องอุปโภคบริโภค รวมถึงภาษีต่างๆตามกฎหมายเช่นเดียวกับคนทั่วไป คนพิการที่ประสบความสำเร็จในการฟื้นฟูสมรรถภาพ การศึกษา การทำงาน การพึ่งพาตนเอง และการดำรงชีวิตอิสระ จึงต้องประสบความลำบากเป็นอย่างยิ่งในการทุ่มเทความพยายาม มานะ พยายาม อดทน ต่อสู้ และฟันฝ่าอุปสรรคทั้ง ๒ ประการดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ ต้องได้รับการสนับสนุนจากครอบครัวและผู้เกี่ยวข้อง ในการปรับตัวเอง จัดสิ่งอำนวยความสะดวกให้ตัวเอง และขอความช่วยเหลืออย่างสมเหตุสมผลจากคนทั่วไป ที่สำคัญ คือ ต้องมีเงินมากพอที่จะใช้จ่ายค่ารถรับจ้าง( แท็กซี่ ) ในการเดินทางไป – กลับทุกที่และทุกครั้ง เพราะรถโดยสารสาธารณะ หรือรถเมล์ไม่มีการปรับโครงสร้างของรถ และจัดเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อรองรับการเดินทางของคนพิการ คนพิการนั่งรถเข็น เข็นรถขึ้นทางลาดรถเมล์ชานต่ำ เครือข่ายคนพิการจึงได้ขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่อง และยาวนานเพื่อให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีความรู้ ความเข้าใจ และเห็นความสำคัญของความต้องการจำเป็นในการจัดบริการขนส่งสาธารณะให้คนพิการทุกประเภทใช้รถเมล์ในการดำรงชีวิตประจำวันได้อย่างเท่าเทียมกับประชาชนทั่วไป โดยตระหนักถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และสิทธิพลเมืองตามกฎหมายของคนพิการ พร้อมทั้ง กำหนดนโยบายและดำเนินการตามข้อเรียกร้องดังกล่าวอย่างเป็นรูปธรรม เมื่อ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ กระทรวงคมนาคมได้จัดทำ โครงการจัดซื้อรถโดยสารใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ( NGV ) จำนวน ๓,๑๘๓ คัน ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เครือข่ายคนพิการ โดย“ภาคีเครือข่ายประชาชน : ทุกคนขึ้นรถเมล์ได้ทุกคัน” จึงได้ขอหารือ และให้ข้อเสนอแนะในการจัดซื้อรถเมล์ใหม่ที่ใช้การออกแบบที่เป็นธรรมให้ทุกคน รวมทั้ง ผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ เด็ก ฯลฯ และคนพิการทุกคนใช้ร่วมกันได้ อันเป็นหลักการสากลที่ใช้กันอยู่ทั่วโลก กล่าวคือ ทุกคนล้วนเป็นส่วนหนึ่งของสังคมอย่างเสมอภาคกัน และต้องดำรงชีวิตร่วมกันในสังคมมากที่สุด โดยไม่แบ่งแยกประชาชนออกจากกันเป็นกลุ่มๆ พร้อมทั้ง ลดการให้บริการสาธารณะเฉพาะคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เช่น การสร้าง”ส้วมสาธารณะ” ควรออกแบบให้ทุกคนรวมทั้งคนพิการใช้ร่วมกันได้ ไม่ใช่ออกแบบหรือจัดให้ใช้เฉพาะคนพิการ สำหรับการจัดการศึกษาก็เช่นเดียวกัน ก็ต้องบริการจัดการศึกษาให้เด็กทุกคน รวมทั้งเด็กพิการทุกประเภทเรียนรวมอยู่ในโรงเรียน (ปกติ)ด้วยกัน ทั้งนี้ อาจมีการจัดบริการให้ความช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกให้เด็กพิการแต่ละคนตามความจำเป็น ยกเว้น กรณีที่เด็กพิการบางคนซึ่งมีข้อจำกัดมากและไม่สามารถเรียนในโรงเรียนปกติ จึงต้องจัดให้เรียนในโรงเรียนเฉพาะความพิการ เช่น โรงเรียนสอนคนหูหนวก และโรงเรียนสอนคนตาบอด เป็นต้น ดังนั้น ทั้งก่อน และระหว่างการจัดทำ ร่างขอบเขตของงาน (TOR ) รวมถึง ในการประกาศ ร่างขอบเขตของงาน (TOR ) ฉบับที่ ๑ – ๔ โดยองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ เพื่อจัดประมูลซื้อรถเมล์ใหม่ ๓,๑๘๓ คัน “ภาคีเครือข่ายประชาชน : ทุกคนขึ้นรถเมล์ได้ทุกคัน” โดยองค์กรเครือข่ายของกลุ่มคนต่างๆ และผู้สนับสนุนแนวคิด “ซื้อรถเมล์สาธารณะโดยใช้ภาษีของปนะชาชน ...ทุกคนต้องใช้ได้ทุกคัน” ได้นำส่งข้อเสนอแนะทุกครั้ง เพื่อเรียกร้องให้กำหนด TOR โดยใช้หลักการออกแบบที่เป็นธรรม ดังกล่าวแล้ว เมื่อ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ เมินเฉยต่อข้อเรียกร้องของประชาชน ภาคีเครือข่ายฯ จึงเตรียมการฟ้องศาลปกครองเร็วๆ นี้ ผู้ใส่ใจสนับสนุน “การดำรงชีวิตในสังคมอย่างเสมอภาคกันทุกคน” โปรดแสดงตนเป็นผู้ร่วมฟ้องร้อง หรือลงชื่อสนับสนุนที่ ....สมาคมสภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย cpdtthailand@gmail.com โทร. ๐๒ ๓๕๔๔ ๒๖๐ ศูนย์การดำรงชีวิตอิสระคนพิการประเทศไทย teerayudth@hotmail.comโทร.๐๘๑-๘๖๙๙๗๑๘ มูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อการพัฒนาคนพิการ samrits9@gmail.com โทร. ๐๓๘ ๗๑๖๒๔๗ – ๙ หรือ มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย office@tddf.or.th โทร.๐๒ ๖๒๘ ๕๗๐๑ โดย พวงแก้ว กิจธรรม ผู้จัดการมูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)