การเมืองชาติระอุร้อน สุญญากาศดับไฟใต้
การเมืองระดับประเทศที่กำลังระอุร้อนได้ที่...แน่นอนว่าเลี่ยงไม่ได้ที่ จะส่งผลกระทบไปถึงดินแดนด้ามขวานจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่สถานการณ์ร้ายๆ ยังไม่เคยมอดดับ
พงษ์ศักดิ์ ยิ่งชนม์เจริญ นายกเทศมนตรีเทศบาลนครยะลาบอกว่า พุ่งเป้าไปที่เรื่องเศรษฐกิจปัญหารัฐบาลยุบสภา ประเด็นที่เป็นนโยบายโดยเฉพาะนโยบายในเรื่องส่งเสริม ให้กำลังใจคนในพื้นที่ อาทิ นโยบายซอฟต์โลน ให้ผู้ประกอบการในพื้นที่กู้ยืมในอัตราดอกเบี้ย 1.5 เปอร์เซ็นต์ต่อปี
“วันนี้... พอมีการยุบสภา มาตรการช่วยพี่น้องสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ก็จะหมดลงในวันที่ 27 ธันวาคมนี้ ประเด็นปัญหาก็คือว่า...จะต้องขออนุมัติหลังจากที่รัฐบาลยุบสภาแล้ว ก็เหมือนเป็นการต่อลมหายใจให้กับภาคธุรกิจ นับตั้งแต่มีเหตุการณ์ไม่สงบเกิดขึ้นในพื้นที่ แล้วก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้นักธุรกิจยังตรึงอยู่ในพื้นที่”
พงษ์ศักดิ์ บอกว่า ถ้านโยบายนี้รัฐบาลไม่สามารถต่อได้ด้วยสิ่งที่ กกต.คิดว่าเป็นการเอื้อในทางการเมือง หรือเอื้อในผู้ที่มีสิทธิเลือกตั้ง เชื่อว่าภาคธุรกิจในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้จะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง ดอกเบี้ย จะขึ้นจาก 1.5 เปอร์เซ็นต์ที่รัฐบาลช่วย ขึ้นมาเป็นเกือบประมาณถึง 10 เปอร์เซ็นต์...หากจะถามว่านักธุรกิจที่กล่าวถึงนี้เป็นกลุ่มธุรกิจแบบไหน ต้องบอกว่า...เกือบทั้งหมดเป็นธุรกิจเอสเอ็มอี จริงๆ แล้วนโยบายนี้รัฐบาลดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2548 การต่ออายุครั้งนี้เป็นการต่ออายุนโยบายครั้งที่ 5 ถ้ามองกันจริงๆ ก็ไม่ใช่นโยบายที่เพิ่งมาทำ หรือคิดในช่วงของการเลือกตั้ง แต่เป็นนโยบายที่ทำมาตั้งแต่ต้น
นี่คือตัวอย่างเดียวที่มีผลมาจากการเมืองระดับชาติ ที่เห็นชัดๆ ที่ทำให้มีผลในเรื่องภาวะเศรษฐกิจ การกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมถึงการแก้ปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่วนที่สอง...ที่คิดไว้ว่าวันนี้เริ่มมีปัญหาจากการเมืองระดับชาติก็คือ ความมั่นใจในเรื่องของการแก้ปัญหาในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้
“เรา ต้องยอมรับว่าในช่วงหลังเห็นได้ชัด จากที่มีการเปิดการพูดคุย ถึงแม้ว่าในเบื้องต้นจะเป็นการสืบหาข้อเท็จจริงซึ่งกันและกันอยู่ สร้างความเชื่อมั่นซึ่งกันและกันระหว่างกลุ่มขบวนการกับประเทศไทย ...รัฐบาล”
แต่...สิ่งที่เป็นแนวโน้มที่เห็นชัดก็คือว่า สถานการณ์ สถิติในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่กลุ่มขบวนการก่อเหตุโดยตรงกับกลุ่มเป้าหมายที่อ่อนแอ เช่น ประชาชน ครู สตรี เด็กหรือแม้กระทั่งในเรื่องของการลอบวางระเบิดในพื้นที่เศรษฐกิจชุมชนก็หาย ไป แต่อาจจะไปเกิดในอีกกลุ่มเป้าหมาย เจ้าหน้าที่บ้านเมือง เช่น ตำรวจ ทหาร...อย่างน้อยก็เป็นสิ่งที่ทำให้คนในพื้นที่อุ่นใจมากขึ้น
“พอมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น กลุ่มขบวนการก็คงไม่มั่นใจ... นโยบายรัฐบาลสมัยหน้าจะเป็นอย่างไร จะมีการเปิดพื้นที่พูดคุยหรือไม่ ในส่วนภาคประชาชนเองก็คิดว่า ต้องรอดูว่าผลการเลือกตั้งจะเป็นอย่างไร...จะมีการเลือกตั้งไหม?”
ปรากฏการณ์ ที่เกิดขึ้นวันนี้ “การเมืองระดับชาติ”...การเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในอีกไม่กี่วันข้างหน้า มีการพนันขันต่อกันมากว่าจะเกิดขึ้นได้หรือเปล่า...จะมีเลือกตั้งหรือไม่ มี...หรือมีแล้วจะฟอร์มรัฐบาลได้ไหม เป็นส่วนหนึ่งที่เป็นปัญหาการเมืองระดับชาติที่กระทบในพื้นที่ จนอาจจะกล่าวได้ว่าปัญหาวันนี้...เหมือนกลับเข้าสู่สุญญากาศอีกครั้ง
“ด้วยการขยับอะไรบางสิ่งบางอย่างก็เป็นประเด็น แล้วต้องยอมรับความจริงที่ว่า...พื้นที่ภาคใต้เป็นฐานเสียงของพรรคประชาธิ ปัตย์ แต่นโยบายที่ใช้เป็นนโยบายของพรรคเพื่อไทย เพราะฉะนั้นก็เหมือนจะมีความขัดแย้งกันตั้งแต่เริ่มต้นแล้ว...”
เมื่อเป็นเช่นนั้น นายกฯ พงษ์ศักดิ์ บอกว่า การที่จะขยับอะไร การที่จะเคลื่อนไหวอะไรต่างๆ โดยเฉพาะเป็นช่วงสุญญากาศทางการเมือง โดยเฉพาะอยู่ในโหมดการเลือกตั้งก็อาจจะเป็นประเด็นที่ทำให้เกิดปัญหาใน กระบวนการเลือกตั้งขึ้นมาก็ได้
“สุญญากาศทางการเมือง” ก็หมายถึง “สุญญากาศในพื้นที่”...ด้วยเช่นกัน เศรษฐกิจในพื้นที่นิ่งๆ เงียบๆ ซึ่งในวันนี้หากจะพูดถึงสภาพเศรษฐกิจทุกแห่งก็อาจคล้ายๆ กัน อยู่ในภาวะชะลอตัวกันหมด เกิดจากความไม่มั่นใจของประชาชนที่มีต่อสถานการณ์ในปัจจุบันว่าจะออกมาใน รูปอย่างไร
“...จะมีความยืดเยื้อขนาดไหน สิ่งที่สำคัญก็คือความมั่นใจของนักลงทุน ตอนนี้ตลาดการท่องเที่ยวในพื้นที่ภาคใต้ก็อยู่ในช่วงไฮซีซั่น เช่นในภูเก็ต พังงา กระบี่ หรือแม้กระทั่งสุราษฎร์ธานี ชุมพร สมุย...เมื่อเกิดเหตุการณ์ต่างๆ เวลามีประกาศในต่างประเทศเตือน...เขาไม่ได้บอกว่าห้ามไปพื้นที่ หรือไปพื้นที่ไหนได้ในประเทศไทย แต่สิ่งที่เขาประกาศก็คือให้จับตาดูสถานการณ์ของประเทศไทย นักท่องเที่ยวเวลาดูก็ดูทั้งหมดในภาพรวม ประเทศไทยทั้งประเทศไทย เขาไม่ได้ดูว่าพื้นที่ภาคใต้ปลอดภัย ภาคเหนือปลอดภัย แต่หมายรวมทั้งประเทศก็จะส่งผลกระทบโดยรวมทั้งประเทศไปด้วย...ผลกระทบในส่วน นี้ ในแง่ความรู้สึก มีผลต่อในพื้นที่มาก”
ถึงวันนี้...ปัญหาความไม่ สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ผ่านมายาวนานยืดเยื้อเหลือเกินแล้ว มีสัญญาณอะไรที่บ่งชี้ว่า “เราเดินมาถูกทาง...แก้ปัญหาได้ถูกจุด” บ้างหรือยัง?
“ในพื้นที่ภาคใต้...ถ้าไม่มีปัญหาการเมืองในกรุงเทพฯ ผมว่าทิศทางในการแก้ปัญหากำลังไปได้ดีขึ้น” พงษ์ศักดิ์ ยิ่งชนม์เจริญ นายกเทศมนตรีเทศบาลนครยะลา ยืนยันว่า แนวทางการแก้ปัญหาที่ผ่านมา คิดว่า...มีความหวังขึ้น จากภายในเราก็เริ่มเห็นเค้าลางที่ดีมากขึ้น ซึ่งจริงๆ แล้วถ้าเรายอมรับว่า “ปัญหาในเรื่องของความขัดแย้งทั้งหมด ต้องแก้ด้วยการพูดคุย...พูดคุยเพื่อสร้างความเข้าใจกัน สร้างความเชื่อมั่นซึ่งกัน และกัน” แล้วหลังจากนั้น...จึงจะเข้าสู่ กระบวนการเจรจากัน ใครได้?...ใครเสีย? กระบวนการพูดคุยในช่วงระยะเวลากว่า 1 ปีที่ผ่านมา เริ่มเปิดเวที ในการพูดคุย ทำให้เห็นอะไรซึ่งกันและกัน
“บางครั้ง กลุ่มขบวนการเอง เข้าใจว่าการที่หลายคนต้องไปอยู่ในต่างประเทศเป็นเวลานานความรู้สึกเดิมๆ ยังคงมีอยู่...พอมีการพูดคุยกันว่าวันนี้รัฐบาลได้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายไปอย่างมากโดยเฉพาะในพื้นที่ทางภาคใต้ เมื่อไปดูข้อเท็จจริง...ความรู้สึกก็ดีขึ้น นำไปสู่การเจรจาที่ดีขึ้น”
วันนี้...ถ้า ไม่มีปัญหาการเมือง ในปีหน้า 2557 อาจจะมีการคุยกันถึงขั้น “หยุดยิง” ...นั่นก็เป็นเพียงแต่หวัง เพราะปัญหาการเมืองระดับชาติปัจจุบันทำให้ทุกฝ่ายทำได้แค่ “รอ”
โจทย์ใหญ่การเมืองระดับชาติที่กรุงเทพฯ กับคำตอบในกรุงเทพฯจะออกมาเป็นอย่างไรสำคัญมาก...เพราะในพื้นที่ภาคใต้ต้องใช้คำตอบจากส่วนกลาง
“เมื่อ กรุงเทพฯ คำตอบยังไม่ชัดเจน...จะเกิดอะไรขึ้นมาบ้าง และเมื่อไหร่ก็ตามถ้าในส่วนกลางมีปัญหา ไม่ได้รับการยอมรับจากนานาชาติ จะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ภาคใต้อย่างแน่นอน” ….พงษ์ศักดิ์ นายกฯเทศบาลนครยะลา กล่าวทิ้งท้าย.
ขอบคุณ ... http://m.thairath.co.th/content/pol/390948
(ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 23 ธ.ค.56 )
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
พงษ์ศักดิ์ ยิ่งชนม์เจริญ นายกเทศมนตรีเทศบาลนครยะลา การเมืองระดับประเทศที่กำลังระอุร้อนได้ที่...แน่นอนว่าเลี่ยงไม่ได้ที่ จะส่งผลกระทบไปถึงดินแดนด้ามขวานจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่สถานการณ์ร้ายๆ ยังไม่เคยมอดดับ พงษ์ศักดิ์ ยิ่งชนม์เจริญ นายกเทศมนตรีเทศบาลนครยะลาบอกว่า พุ่งเป้าไปที่เรื่องเศรษฐกิจปัญหารัฐบาลยุบสภา ประเด็นที่เป็นนโยบายโดยเฉพาะนโยบายในเรื่องส่งเสริม ให้กำลังใจคนในพื้นที่ อาทิ นโยบายซอฟต์โลน ให้ผู้ประกอบการในพื้นที่กู้ยืมในอัตราดอกเบี้ย 1.5 เปอร์เซ็นต์ต่อปี “วันนี้... พอมีการยุบสภา มาตรการช่วยพี่น้องสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ก็จะหมดลงในวันที่ 27 ธันวาคมนี้ ประเด็นปัญหาก็คือว่า...จะต้องขออนุมัติหลังจากที่รัฐบาลยุบสภาแล้ว ก็เหมือนเป็นการต่อลมหายใจให้กับภาคธุรกิจ นับตั้งแต่มีเหตุการณ์ไม่สงบเกิดขึ้นในพื้นที่ แล้วก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้นักธุรกิจยังตรึงอยู่ในพื้นที่” พงษ์ศักดิ์ บอกว่า ถ้านโยบายนี้รัฐบาลไม่สามารถต่อได้ด้วยสิ่งที่ กกต.คิดว่าเป็นการเอื้อในทางการเมือง หรือเอื้อในผู้ที่มีสิทธิเลือกตั้ง เชื่อว่าภาคธุรกิจในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้จะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง ดอกเบี้ย จะขึ้นจาก 1.5 เปอร์เซ็นต์ที่รัฐบาลช่วย ขึ้นมาเป็นเกือบประมาณถึง 10 เปอร์เซ็นต์...หากจะถามว่านักธุรกิจที่กล่าวถึงนี้เป็นกลุ่มธุรกิจแบบไหน ต้องบอกว่า...เกือบทั้งหมดเป็นธุรกิจเอสเอ็มอี จริงๆ แล้วนโยบายนี้รัฐบาลดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2548 การต่ออายุครั้งนี้เป็นการต่ออายุนโยบายครั้งที่ 5 ถ้ามองกันจริงๆ ก็ไม่ใช่นโยบายที่เพิ่งมาทำ หรือคิดในช่วงของการเลือกตั้ง แต่เป็นนโยบายที่ทำมาตั้งแต่ต้น นี่คือตัวอย่างเดียวที่มีผลมาจากการเมืองระดับชาติ ที่เห็นชัดๆ ที่ทำให้มีผลในเรื่องภาวะเศรษฐกิจ การกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมถึงการแก้ปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่วนที่สอง...ที่คิดไว้ว่าวันนี้เริ่มมีปัญหาจากการเมืองระดับชาติก็คือ ความมั่นใจในเรื่องของการแก้ปัญหาในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ “เรา ต้องยอมรับว่าในช่วงหลังเห็นได้ชัด จากที่มีการเปิดการพูดคุย ถึงแม้ว่าในเบื้องต้นจะเป็นการสืบหาข้อเท็จจริงซึ่งกันและกันอยู่ สร้างความเชื่อมั่นซึ่งกันและกันระหว่างกลุ่มขบวนการกับประเทศไทย ...รัฐบาล” แต่...สิ่งที่เป็นแนวโน้มที่เห็นชัดก็คือว่า สถานการณ์ สถิติในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่กลุ่มขบวนการก่อเหตุโดยตรงกับกลุ่มเป้าหมายที่อ่อนแอ เช่น ประชาชน ครู สตรี เด็กหรือแม้กระทั่งในเรื่องของการลอบวางระเบิดในพื้นที่เศรษฐกิจชุมชนก็หาย ไป แต่อาจจะไปเกิดในอีกกลุ่มเป้าหมาย เจ้าหน้าที่บ้านเมือง เช่น ตำรวจ ทหาร...อย่างน้อยก็เป็นสิ่งที่ทำให้คนในพื้นที่อุ่นใจมากขึ้น “พอมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น กลุ่มขบวนการก็คงไม่มั่นใจ... นโยบายรัฐบาลสมัยหน้าจะเป็นอย่างไร จะมีการเปิดพื้นที่พูดคุยหรือไม่ ในส่วนภาคประชาชนเองก็คิดว่า ต้องรอดูว่าผลการเลือกตั้งจะเป็นอย่างไร...จะมีการเลือกตั้งไหม?” ปรากฏการณ์ ที่เกิดขึ้นวันนี้ “การเมืองระดับชาติ”...การเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในอีกไม่กี่วันข้างหน้า มีการพนันขันต่อกันมากว่าจะเกิดขึ้นได้หรือเปล่า...จะมีเลือกตั้งหรือไม่ มี...หรือมีแล้วจะฟอร์มรัฐบาลได้ไหม เป็นส่วนหนึ่งที่เป็นปัญหาการเมืองระดับชาติที่กระทบในพื้นที่ จนอาจจะกล่าวได้ว่าปัญหาวันนี้...เหมือนกลับเข้าสู่สุญญากาศอีกครั้ง “ด้วยการขยับอะไรบางสิ่งบางอย่างก็เป็นประเด็น แล้วต้องยอมรับความจริงที่ว่า...พื้นที่ภาคใต้เป็นฐานเสียงของพรรคประชาธิ ปัตย์ แต่นโยบายที่ใช้เป็นนโยบายของพรรคเพื่อไทย เพราะฉะนั้นก็เหมือนจะมีความขัดแย้งกันตั้งแต่เริ่มต้นแล้ว...” เมื่อเป็นเช่นนั้น นายกฯ พงษ์ศักดิ์ บอกว่า การที่จะขยับอะไร การที่จะเคลื่อนไหวอะไรต่างๆ โดยเฉพาะเป็นช่วงสุญญากาศทางการเมือง โดยเฉพาะอยู่ในโหมดการเลือกตั้งก็อาจจะเป็นประเด็นที่ทำให้เกิดปัญหาใน กระบวนการเลือกตั้งขึ้นมาก็ได้ “สุญญากาศทางการเมือง” ก็หมายถึง “สุญญากาศในพื้นที่”...ด้วยเช่นกัน เศรษฐกิจในพื้นที่นิ่งๆ เงียบๆ ซึ่งในวันนี้หากจะพูดถึงสภาพเศรษฐกิจทุกแห่งก็อาจคล้ายๆ กัน อยู่ในภาวะชะลอตัวกันหมด เกิดจากความไม่มั่นใจของประชาชนที่มีต่อสถานการณ์ในปัจจุบันว่าจะออกมาใน รูปอย่างไร “...จะมีความยืดเยื้อขนาดไหน สิ่งที่สำคัญก็คือความมั่นใจของนักลงทุน ตอนนี้ตลาดการท่องเที่ยวในพื้นที่ภาคใต้ก็อยู่ในช่วงไฮซีซั่น เช่นในภูเก็ต พังงา กระบี่ หรือแม้กระทั่งสุราษฎร์ธานี ชุมพร สมุย...เมื่อเกิดเหตุการณ์ต่างๆ เวลามีประกาศในต่างประเทศเตือน...เขาไม่ได้บอกว่าห้ามไปพื้นที่ หรือไปพื้นที่ไหนได้ในประเทศไทย แต่สิ่งที่เขาประกาศก็คือให้จับตาดูสถานการณ์ของประเทศไทย นักท่องเที่ยวเวลาดูก็ดูทั้งหมดในภาพรวม ประเทศไทยทั้งประเทศไทย เขาไม่ได้ดูว่าพื้นที่ภาคใต้ปลอดภัย ภาคเหนือปลอดภัย แต่หมายรวมทั้งประเทศก็จะส่งผลกระทบโดยรวมทั้งประเทศไปด้วย...ผลกระทบในส่วน นี้ ในแง่ความรู้สึก มีผลต่อในพื้นที่มาก” ถึงวันนี้...ปัญหาความไม่ สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ผ่านมายาวนานยืดเยื้อเหลือเกินแล้ว มีสัญญาณอะไรที่บ่งชี้ว่า “เราเดินมาถูกทาง...แก้ปัญหาได้ถูกจุด” บ้างหรือยัง? “ในพื้นที่ภาคใต้...ถ้าไม่มีปัญหาการเมืองในกรุงเทพฯ ผมว่าทิศทางในการแก้ปัญหากำลังไปได้ดีขึ้น” พงษ์ศักดิ์ ยิ่งชนม์เจริญ นายกเทศมนตรีเทศบาลนครยะลา ยืนยันว่า แนวทางการแก้ปัญหาที่ผ่านมา คิดว่า...มีความหวังขึ้น จากภายในเราก็เริ่มเห็นเค้าลางที่ดีมากขึ้น ซึ่งจริงๆ แล้วถ้าเรายอมรับว่า “ปัญหาในเรื่องของความขัดแย้งทั้งหมด ต้องแก้ด้วยการพูดคุย...พูดคุยเพื่อสร้างความเข้าใจกัน สร้างความเชื่อมั่นซึ่งกัน และกัน” แล้วหลังจากนั้น...จึงจะเข้าสู่ กระบวนการเจรจากัน ใครได้?...ใครเสีย? กระบวนการพูดคุยในช่วงระยะเวลากว่า 1 ปีที่ผ่านมา เริ่มเปิดเวที ในการพูดคุย ทำให้เห็นอะไรซึ่งกันและกัน “บางครั้ง กลุ่มขบวนการเอง เข้าใจว่าการที่หลายคนต้องไปอยู่ในต่างประเทศเป็นเวลานานความรู้สึกเดิมๆ ยังคงมีอยู่...พอมีการพูดคุยกันว่าวันนี้รัฐบาลได้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายไปอย่างมากโดยเฉพาะในพื้นที่ทางภาคใต้ เมื่อไปดูข้อเท็จจริง...ความรู้สึกก็ดีขึ้น นำไปสู่การเจรจาที่ดีขึ้น” วันนี้...ถ้า ไม่มีปัญหาการเมือง ในปีหน้า 2557 อาจจะมีการคุยกันถึงขั้น “หยุดยิง” ...นั่นก็เป็นเพียงแต่หวัง เพราะปัญหาการเมืองระดับชาติปัจจุบันทำให้ทุกฝ่ายทำได้แค่ “รอ” โจทย์ใหญ่การเมืองระดับชาติที่กรุงเทพฯ กับคำตอบในกรุงเทพฯจะออกมาเป็นอย่างไรสำคัญมาก...เพราะในพื้นที่ภาคใต้ต้องใช้คำตอบจากส่วนกลาง “เมื่อ กรุงเทพฯ คำตอบยังไม่ชัดเจน...จะเกิดอะไรขึ้นมาบ้าง และเมื่อไหร่ก็ตามถ้าในส่วนกลางมีปัญหา ไม่ได้รับการยอมรับจากนานาชาติ จะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ภาคใต้อย่างแน่นอน” ….พงษ์ศักดิ์ นายกฯเทศบาลนครยะลา กล่าวทิ้งท้าย. ขอบคุณ ... http://m.thairath.co.th/content/pol/390948 (ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 23 ธ.ค.56 )
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)