สธ.เผย ปชช.เครียดโดนน้ำท่วม เสี่ยงฆ่าตัวตาย 326 ราย

แสดงความคิดเห็น

สธ. เผยพบประชาชนเครียด ซึมเศร้าจากน้ำท่วมร้อยละ 2 สั่งกรมสุขภาพจิตและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขติดตามเฝ้าระวังผลกระทบด้านจิตใจ ประชาชนในพื้นที่ประสบภัยทุกแห่ง เน้นพิเศษ 8 อำเภอในจังหวัดปราจีนบุรีและฉะเชิงเทรา

เหตุการณ์น้ำท่วมสูง วันนี้ (26 ต.ค.) นายสรวงศ์ เทียนทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า จากการประเมินผลการดูแลช่วยเหลือด้านสุขภาพกายของหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ ของกระทรวงสาธารณสุขทุกพื้นที่ จัดว่าอยู่ในเกณฑ์น่าพอใจ พบ ผู้เจ็บป่วย 160,000 กว่าราย อาการไม่รุนแรง เช่น น้ำกัดเท้า ผื่นคัน ไข้หวัด และไม่พบปัญหาโรคระบาด แต่เรื่องที่เป็นห่วงคือผลกระทบต่อสุขภาพจิตของประชาชน ซึ่งจะปรากฏให้เห็นหลังจากน้ำท่วมแล้วประมาณ 2 สัปดาห์เป็นต้นไป เป็น ช่วงที่จะต้องติดตามให้การดูแลอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง พื้นที่ที่น้ำท่วมมากแต่น้ำลดลงเร็ว ประชาชนจะปรับตัวได้ดีกว่าพื้นที่ที่น้ำท่วมขังนาน เนื่องจากไม่สามารถคาดเดาเหตุการณ์ข้างหน้าได้

สำหรับมาตรการคลี่คลายความเครียดประชาชน กระทรวงสาธารณสุขได้ระดมสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาลในสังกัดทุกแห่ง จัดหน่วยแพทย์และทีมสุขภาพจิตออกให้บริการตรวจรักษาและฟื้นฟูสุขภาพจิต เฝ้า ระวังผลกระทบด้านจิตใจอย่างต่อเนื่องทุกพื้นที่หลังน้ำลด และทำต่อเนื่องเป็นเวลา 3-6 เดือน โดยเน้นเป็นพิเศษใน 8 อำเภอ 2 จังหวัดคือปราจีนบุรีและฉะเชิงเทรา เนื่องจากน้ำท่วมปีนี้รุนแรงกว่าอดีต ที่ปราจีนบุรีเน้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อ.เมือง อ.กบินทร์บุรี อ.ศรีมโหสถ อ.บ้านสร้าง และอ.ประจันตคาม ส่วนที่จ.ฉะเชิงเทราเน้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อ.ราชสาส์น อ.บางคล้า และอ.บางน้ำเปรี้ยว โดยได้ส่งทีมสุขภาพจิต 5 ทีม จากรพ.ศรีธัญญา รพ.จิตเวชสระแก้ว สถาบันจิตเวชสมเด็จเจ้าพระยา สถาบันกัลยาราชนครินทร์ รพ.ราชานุกูล มาร่วมบริการกับพื้นที่ด้วย ผลการจนถึงวันนี้รวม 39 วัน ตรวจพบผู้ที่มีปัญหาเครียดระดับสูง นอนไม่หลับ มีอาการซึมเศร้า เสี่ยงฆ่าตัวตาย รวม 326 ราย คิดเป็นร้อยละ 2 จากจำนวนผู้ที่ตรวจประเมินทั้งหมด 18,492 ราย จากพื้นที่ประสบภัยกว่า 30 จังหวัด ที่ จ.ฉะเชิงเทราพบผู้มีความเครียดสูง 7 ราย ซึมเศร้า 2 ราย ต้องติดตามดูแลเป็นพิเศษ 6 ราย

นายสรวงศ์ กล่าวอีกว่า ในการช่วยกันบรรเทาความเครียด ขอให้ประชาชนค่อยๆ ปรับจิตใจยอมรับความสูญเสียและวางแผนแก้ไขปัญหาทีละเรื่อง และปรึกษาพูดคุยปรับทุกข์และหาแนวทางแก้ไขร่วมกันระหว่างสมาชิกในครอบครัว หรือเพื่อนบ้าน ให้ช่วยกันดูแลให้กำลังใจและสังเกตอาการผิดปกติของคนใกล้ชิด หากพบว่ามีพฤติกรรมเปลี่ยนจากเดิม เช่นเคยร่าเริง หัวเราะง่าย กลับมาเป็นเก็บตัว เงียบขรึม อารมณ์ฉุนเฉียวง่าย ขอให้แจ้งอสม.หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข หรือโทรปรึกษาสายด่วนสุขภาพจิต 1323 ตลอด 24 ชั่วโมง

ขอบคุณ... http://manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9560000133888 (ขนาดไฟล์: 164)

(ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 26 ต.ค.56 )

ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 26 ต.ค.56
วันที่โพสต์: 27/10/2556 เวลา 02:00:42 ดูภาพสไลด์โชว์ สธ.เผย ปชช.เครียดโดนน้ำท่วม เสี่ยงฆ่าตัวตาย 326 ราย

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

สธ. เผยพบประชาชนเครียด ซึมเศร้าจากน้ำท่วมร้อยละ 2 สั่งกรมสุขภาพจิตและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขติดตามเฝ้าระวังผลกระทบด้านจิตใจ ประชาชนในพื้นที่ประสบภัยทุกแห่ง เน้นพิเศษ 8 อำเภอในจังหวัดปราจีนบุรีและฉะเชิงเทรา เหตุการณ์น้ำท่วมสูง วันนี้ (26 ต.ค.) นายสรวงศ์ เทียนทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า จากการประเมินผลการดูแลช่วยเหลือด้านสุขภาพกายของหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ ของกระทรวงสาธารณสุขทุกพื้นที่ จัดว่าอยู่ในเกณฑ์น่าพอใจ พบ ผู้เจ็บป่วย 160,000 กว่าราย อาการไม่รุนแรง เช่น น้ำกัดเท้า ผื่นคัน ไข้หวัด และไม่พบปัญหาโรคระบาด แต่เรื่องที่เป็นห่วงคือผลกระทบต่อสุขภาพจิตของประชาชน ซึ่งจะปรากฏให้เห็นหลังจากน้ำท่วมแล้วประมาณ 2 สัปดาห์เป็นต้นไป เป็น ช่วงที่จะต้องติดตามให้การดูแลอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง พื้นที่ที่น้ำท่วมมากแต่น้ำลดลงเร็ว ประชาชนจะปรับตัวได้ดีกว่าพื้นที่ที่น้ำท่วมขังนาน เนื่องจากไม่สามารถคาดเดาเหตุการณ์ข้างหน้าได้ สำหรับมาตรการคลี่คลายความเครียดประชาชน กระทรวงสาธารณสุขได้ระดมสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาลในสังกัดทุกแห่ง จัดหน่วยแพทย์และทีมสุขภาพจิตออกให้บริการตรวจรักษาและฟื้นฟูสุขภาพจิต เฝ้า ระวังผลกระทบด้านจิตใจอย่างต่อเนื่องทุกพื้นที่หลังน้ำลด และทำต่อเนื่องเป็นเวลา 3-6 เดือน โดยเน้นเป็นพิเศษใน 8 อำเภอ 2 จังหวัดคือปราจีนบุรีและฉะเชิงเทรา เนื่องจากน้ำท่วมปีนี้รุนแรงกว่าอดีต ที่ปราจีนบุรีเน้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อ.เมือง อ.กบินทร์บุรี อ.ศรีมโหสถ อ.บ้านสร้าง และอ.ประจันตคาม ส่วนที่จ.ฉะเชิงเทราเน้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อ.ราชสาส์น อ.บางคล้า และอ.บางน้ำเปรี้ยว โดยได้ส่งทีมสุขภาพจิต 5 ทีม จากรพ.ศรีธัญญา รพ.จิตเวชสระแก้ว สถาบันจิตเวชสมเด็จเจ้าพระยา สถาบันกัลยาราชนครินทร์ รพ.ราชานุกูล มาร่วมบริการกับพื้นที่ด้วย ผลการจนถึงวันนี้รวม 39 วัน ตรวจพบผู้ที่มีปัญหาเครียดระดับสูง นอนไม่หลับ มีอาการซึมเศร้า เสี่ยงฆ่าตัวตาย รวม 326 ราย คิดเป็นร้อยละ 2 จากจำนวนผู้ที่ตรวจประเมินทั้งหมด 18,492 ราย จากพื้นที่ประสบภัยกว่า 30 จังหวัด ที่ จ.ฉะเชิงเทราพบผู้มีความเครียดสูง 7 ราย ซึมเศร้า 2 ราย ต้องติดตามดูแลเป็นพิเศษ 6 ราย นายสรวงศ์ กล่าวอีกว่า ในการช่วยกันบรรเทาความเครียด ขอให้ประชาชนค่อยๆ ปรับจิตใจยอมรับความสูญเสียและวางแผนแก้ไขปัญหาทีละเรื่อง และปรึกษาพูดคุยปรับทุกข์และหาแนวทางแก้ไขร่วมกันระหว่างสมาชิกในครอบครัว หรือเพื่อนบ้าน ให้ช่วยกันดูแลให้กำลังใจและสังเกตอาการผิดปกติของคนใกล้ชิด หากพบว่ามีพฤติกรรมเปลี่ยนจากเดิม เช่นเคยร่าเริง หัวเราะง่าย กลับมาเป็นเก็บตัว เงียบขรึม อารมณ์ฉุนเฉียวง่าย ขอให้แจ้งอสม.หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข หรือโทรปรึกษาสายด่วนสุขภาพจิต 1323 ตลอด 24 ชั่วโมง ขอบคุณ... http://manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9560000133888 (ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 26 ต.ค.56 )

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...