เลือกฝ่ายบริหารทางตรง แก้การเมืองได้ทั้งระบบ

แสดงความคิดเห็น

ระบอบรัฐสภาไทยที่มี 2 สภา และสมาชิกของพรรคการเมืองเสียงข้างมากเป็นผู้เลือกนายกรัฐมนตรีและจัดตั้งรัฐบาลนั้นมีความล้าหลัง และพิสูจน์มาแล้วเป็น เวลา 80 ปี ว่า ล้มเหลว คือ มีรัฐบาลที่ไร้เสถียรภาพ มีการซื้อขายเสียงสูง นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ส.ส. และ ส.ว.จำนวนมากไร้คุณสมบัติ ไร้คุณภาพ และไร้คุณธรรม มีการรัฐประหาร หรือพยายามก่อการรัฐประหาร กบฏ หรือ ปฏิวัติ เฉลี่ยเกือบทุก 4 ปี (ประมาณ 20 ครั้ง) มีการเขียนรัฐธรรมนูญใหม่มาใช้ เฉลี่ยเกือบทุก 4 ปี (มีรัฐธรรมนูญ 17 ฉบับ ฉบับที่ 18 กำลังตามมา)

กมล กมลตระกูล ระบอบประชาธิปไตยกลายเป็นระบอบธุรกิจการเมือง (Private interest led politics ตรงกันข้ามกับ public interest led politics) ระบอบประชาธิปไตยกลายพันธุ์เป็นระบอบประชาธิปไตยสามานย์ ระบบการเมืองกลายเป็นระบบพวกพ้องบริวาร (Cronyism) คณะรัฐมนตรี กลายเป็นบุฟเฟ่แคบิเนทที่นักการเมืองเข้ามาตักตวงผลประโยชน์จากงบประมาณแผ่นดิน พรรคการเมืองกลายเป็นบริษัทส่วนตัวของนายทุนพรรค สมาชิกพรรคกลายเป็นลูกจ้างของบริษัท

มีข้อเสนอมากมายในการปฏิรูประบบการเมืองไทยแต่ส่วนใหญ่ก็ยังอยู่ในกรอบ คิดและทฤษฎีเดิมที่ล้าหลัง มีการเสนอแก้ไขทางเทคนิค หรือ แก้ไขกฎหมายเพิ่มโทษเป็นด้านหลักมากกว่าการแก้ไขในด้านหลักการสำคัญ จึงเปรียบเสมือนกับการพายเรือในอ่าง ถ้าแก้ตามนี้อีกสัก 80 ปี การเมืองไทยก็คงไม่สามารถก้าวพ้นไปจากวัฏจักรชั่วร้ายไปได้

ระบอบรัฐสภาไทยได้ลอกเลียนแบบมาจากระบอบของประเทศฝรั่งเศสและอังกฤษ ที่ให้อำนาจสภาแต่งตั้ง ถอดถอน รัฐบาล ซึ่งทำให้ระบบการเมืองในสภากลายเป็นสภาโจ๊ก หรือ สภาปาหี่ ที่ระบบการถ่วงดุลตามหลักการของระบอบประชาธิปไตยไม่อาจจะเกิดขึ้นได้ เพราะรัฐบาลตั้งขึ้นมาด้วยเสียงข้างมากของพรรคการเมืองที่ได้คะแนนเสียงมาก ที่สุด ดังนั้น การอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล หรือการถอดถอนรัฐบาลจึงเป็นเรื่องปาหี่ เพราะถึงอย่างไรรัฐบาลก็มีเสียงข้างมากกว่าอยู่ดี

บทเรียนและการปฏิรูปการเมืองของฝรั่งเศส ประเทศฝรั่งเศสในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ในช่วงปี ค.ศ. 1946-1958 การเมืองฝรั่งเศสมีสภาวะไร้เสถียรภาพอย่างหนัก ในช่วงเวลา 13 ปี มีรัฐบาลมากถึง 25 ชุด คือ เฉลี่ยมีการเปลี่ยนรัฐบาลทุก 6 เดือน

ประธานาธิบดีเดอโกลด์มองเห็นปัญหาของระบบการมอบอำนาจอธิปไตยให้กับรัฐสภา ซึ่งประชาชนเมื่อลงคะแนนเสียงไปแล้ว ก็หมดอำนาจที่จะควบคุมหรือใช้อำนาจอธิปไตยของตนตามหลักการของระบอบประชาธิปไตยอีก จึงเสนอรัฐธรรมนูญใหม่ในปี 1958 ปฏิรูปโครงสร้างการปกครองและแก้ไขระบบเลือกตั้งใหม่ โดยการคืนอำนาจอธิปไตยให้กับปวงชนโดยการให้ประชาชนเลือกฝ่ายบริหารโดยตรง ถ้าทำงานไม่ดี หรือ ฉ้อโกงก็ปลดได้ด้วยการไม่เลือกกลับเข้ามาอีกในสมัยหน้า

หลังจากการปฏิรูประบบการเลือกตั้งฝ่ายบริหารเป็นทางตรง การเมืองของฝรั่งเศสก็กลับเข้าสู่ยุคความมีเสถียรภาพและพัฒนาเศรษฐกิจก้าวหน้าพ้นจากความหายนะจากสงครามโลกครั้งที่สองมาจนถึงทุกวันนี้ เลือก ครม. ทางตรง ตอบโจทย์การปฏิรูปการเมืองไทย โจทย์ของระบบการเมืองสามานย์ของระบบรัฐสภาไทย คือ ระบบนี้ก่อให้เกิดการซื้อตัวส.ส. และส.ว.ให้ลงคะแนนเสียงจัดตั้งรัฐบาล โดยมีการให้ตำแหน่งรัฐมนตรีหัวหน้าพรรคเล็กพรรคน้อยเป็นการตอบแทน อันเป็นที่มาของระบบรัฐมนตรีเหมาเข่ง รัฐมนตรีพี่น้อง ลูกหลาน (ที่มีการสืบทอดกันแล้วในหลายตระกูล) และ บริวาร ที่ประชาชนไม่เคยรู้จักชื่อ หรือ ประวัติการทำงานมาก่อน หลายคนไม่เคยมีประสบการณ์ในการบริหารบ้านเมือง ไม่มีความรู้ความสามารถในกระทรวงที่รับผิดชอบ หรือ มีประวัติฉ้อโกง มีอาชีพสีเทา ติดคดี เข้ามาเป็นรัฐมนตรีฝักถั่วกันเป็นแถว ตัวนายกรัฐมนตรีก็สามารถชี้นิ้วเอาญาติโยมคนไหนมาเป็นก็ได้ โดยไม่ต้องได้รับความเห็นชอบจากประชาชน

การฉ้อโกง การรับเงินใต้โต๊ะแบบบุฟเฟ่แคบิเนท กลายเป็นเรื่องปกติ ในการกินแบ่งโครงการที่ใช้เงินภาษีอากรของประชาชนใน ครม. กันอย่างโจ๋งครึ่ม

มีการแต่งตั้งเพื่อตอบแทนอดีตข้าราชการที่เคยใช้อำนาจในตำแหน่งอย่างมิชอบ ให้ประโยชน์มากินตำแหน่งที่ปรึกษา หรือบอร์ดหน่วยงานของรัฐ บอร์ดรัฐวิสาหกิจ โดยกินเงินเดือนจากภาษีอากรของประชาชน

การปฏิรูปการเมืองไทย ด้วยการแก้ไขระบบการเลือกตั้งโดยกำหนดให้เลือกฝ่ายบริหารระดับสูงทั้งหมดทางตรง เป็นการคืนอำนาจอธิปไตยให้กับปวงชนชาวไทยอย่างแท้จริงตามหลักการของระบอบ ประชาธิปไตยสมบูรณ์

นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีรายกระทรวง และผู้ว่าราชการจังหวัดตลอดจนผู้กำกับการตำรวจผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ผู้กำกับการตำรวจท้องถิ่น อัยการสูงสุด ประธานศาล ต้องมาจากการเลือกตั้งทางตรงจากประชาชนด้วยกระบวนการเลือกตั้งที่เข้มข้นและ ตามกฎหมายที่เคร่งครัด ผู้สมัครไม่จำเป็นต้องสังกัดพรรคการเมือง หรือเป็นสมาชิกของพรรคการเมืองและมีวาระในการดำรงตำแหน่ง 4 ปี

กำหนดให้แต่ละพรรคการเมืองส่งผู้สมัครรับการเลือกตั้งเป็นรัฐมนตรีได้ไม่เกิน 3 คน เมื่อฝ่ายบริหารมาจากการเลือกตั้งทางตรง รัฐสภาก็ไม่มีความจำเป็นต้องมีสมาชิกมากมายมากินเงินเดือนภาษีอากรของ ประชาชนให้สิ้นเปลืองแบบระบบปัจจุบันอีกต่อไป

ดังนั้น การปฏิรูประบบการเลือกตั้งใหม่ต้องกำหนดให้มีสภาเดียว เลือกอย่างรวมเขต จังหวัดละ 2 คน ก็เพียงพอให้ทำหน้าที่นิติบัญญัติในการเสนอและปรับปรุงกฎหมาย ซึ่งเป็นหน้าที่หลักของสภานิติบัญญัติ ตามระบอบประชาธิปไตยระบบการเลือกตั้งใหม่นี้เป็นการลดแรงจูงใจมาเฟียและนักธุรกิจการเมือง ทั้งส่วนกลางและภูมิภาคในการเสนอตัวเข้ารับการเลือกเข้าสภา เพราะว่าเมื่อเข้ามาแล้ว ไม่มีหนทางถอนทุนเหมือนระบบเดิม การจะซื้อเสียงคนทั้งจังหวัดก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องใช้เงินมหาศาล เมื่อเปรียบเทียบกับระบบปัจจุบันที่เลือกแบบแบ่งเขต สามารถใช้เงินซื้อเสียงเพียง 3-4 หมื่น คะแนนเสียงก็ได้เป็นส.ส. หรือ ส.ว. แล้วประเทศสามารถประหยัดงบประมาณเงินเดือนและค่าใช้จ่ายของส.ส. และส.ว.ได้ปีละหลายหมื่นล้านบาท

ระบบการเลือกตั้งใหม่นี้เป็นการทำลายระบบพรรคพวกบริวาร (Cronyism) ที่ฉ้อฉลและซ่อนตัวอยู่ในร่างของพรรคการเมืองที่กัดกินบ่อนทำลายสังคมไทยมา เป็นเวลายาวนานจนเกินพอแล้ว การเมืองไทยจะได้โปร่งใส โอกาสของพรรคการเมืองใหญ่ครอบงำการเมืองไทย โอกาสของนักธุรกิจการเมือง มาเฟียการเมืองจะเข้ามากินบ้านกินเมืองแบบ ระบบรัฐมนตรีเหมาเข่ง รัฐมนตรีพี่น้อง บริวาร ที่ประชาชนไม่เคยรู้จักชื่อ หรือ ประวัติการทำงานมาก่อน หลายคนไม่เคยมีประสบการณ์ในการบริหารบ้านเมือง ไม่มีความรู้ความสามารถในกระทรวงที่รับผิดชอบ หรือ มีประวัติฉ้อโกง ติดคดี เข้ามาเป็นรัฐมนตรีฝักถั่วกันเป็นแถว ตัวนายกรัฐมนตรีก็สามารถชี้นิ้วเอาญาติโยมคนไหนมาเป็นก็ได้ โดยไม่ต้องได้รับความเห็นชอบจากประชาชน ก็จะเกิดขึ้นยาก หรือไม่มีโอกาส

เหตุผล คือ ทุกวันนี้นักธุรกิจการเมืองที่บริจาคเงินเข้าพรรคการเมืองสัก 2-500 ล้านบาท ก็สามารถต่อรองขอตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงใดกระทรวงหนึ่งแล้วแต่จำนวนเงินที่บริจาค ถ้าบริจาคมากก็ได้กระทรวงใหญ่ที่สามารถถอนทุนได้ง่าย

แต่ในระบบใหม่ หากต้องการซื้อเสียงเพื่อเข้ามาเป็นรัฐมนตรี ก็ต้องได้คะแนนเสียงจากประชาชนผู้มีสิทธิ์ลงคะแนนเสียงไม่ต่ำกว่า 20 ล้านเสียง ถ้าจ่ายหัวละ 300 บาท ก็ต้องใช้เงินซื้อมากถึง 6,000 ล้านบาท โดยไม่มีหลักประกันว่าจะได้ ซึ่งคงหานักธุรกิจการเมืองคนไหนที่ยอมเสี่ยงได้ไม่มากนัก อาจจะมีหลงเข้ามา สัก 2-3 คน แต่ไม่สามารถเข้ามาโกงกินบ้านเมืองแบบกินรวบ กินเหมาเข่งแบบเดิมได้อีก

การเมืองก็จะค่อยๆ โปร่งใส รัฐบาลก็จะมีเสถียรภาพ คนดีๆ ที่มีคุณธรรม เคยสร้างชื่อเสียงหรือมีผลงานที่สังคมยอมรับก็จะมีโอกาสสมัครและได้รับการเลือกตั้งเป็นรัฐมนตรี และร่วมสร้างชาติให้ประชาชนได้รับความเป็นธรรมและมีความผาสุกอย่างทั่วถ้วน หน้า เป็นเรื่อง “ขำกลิ้ง” ที่มีนักวิชาการที่มีชื่อเสียงจำนวนไม่น้อย ผู้นำเอ็นจีโอ และนักเคลื่อนไหวการเมืองอีกจำนวนมากที่ออกมาเรียกร้องสนับสนุนให้มีการ เลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 โดยไม่ต้องมีการปรับเปลี่ยนปฏิรูปกฎหมายเลือกตั้ง กติกาการเลือกตั้ง และกรรมการเลือกตั้งที่เป็นกลไกของรัฐ เพื่อรักษาระบอบการเมือง (ที่ล้มเหลว) ให้อยู่ในสภาพเดิม (Status quo)

อันที่จริง ถ้าหากเขาต้องการรักษาระบอบการเมือง (ที่ล้มเหลว) ให้อยู่ในสภาพเดิม (Status quo) เขาควรออกมาเรียกร้องให้ "ไม่มีการเลือกตั้ง" ในวันที่ วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 มากกว่า เพื่อประหยัดเงินภาษีอากรจำนวนไม่ต่ำกว่า 4,000 ล้านบาทที่จำเป็นต้องใช้ในการจัดการให้มีการเลือกตั้ง เพราะว่าการเลือกตั้งโดยไม่มีการเปลี่ยนกติกาให้มีความเป็นธรรม ไม่มีการสร้างระบบการป้องกันการซื้อเสียงและขายเสียงให้รัดกุม รวมทั้งการเพิ่มบทลงโทษ ไม่มีการเปลี่ยนตัวกรรมการที่เป็นคนกลางที่ไม่ใช่กลไกของรัฐ ที่รัฐบาลรักษาการควบคุมอยู่ อันได้แก่ ผู้ว่าราชการจังหวัด กำนัน ผู้ใหญ่บ้านที่เป็นหัวคะแนนให้นักการเมือง ไม่มีการปรับสนามแข่งให้เรียบเสมอกัน (Level field) ทั้งสองด้านของสนาม ผลของการเลือกตั้งก็จะออกมาโดยได้นักการเมืองหน้าเก่าที่สามานย์ ไร้คุณภาพ ขี้โกง มีประวัติส่วนตัวไม่ใสสะอาด แล้วจะมีการเลือกตั้งเพื่อผลาญเงินภาษีอากรไปเพื่ออะไร หากไม่มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญและ พ.ร.บ.การเลือกตั้งให้เป็นประชาธิปไตยทางตรงตามข้อเสนอข้างต้น.... โดย : กมล กมลตระกูล

ขอบคุณ... http://www.bangkokbiznews.com/home/details/business/ceo-blogs/kamon_k/20140116/556168/เลือกฝ่ายบริหารทางตรง-แก้การเมืองได้ทั้งระบบ.html (ขนาดไฟล์: 167)

(bangkokbiznews.comออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 15 ม.ค.57 )

ที่มา: bangkokbiznews.comออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 15 ม.ค.57
วันที่โพสต์: 16/01/2557 เวลา 03:14:35 ดูภาพสไลด์โชว์ เลือกฝ่ายบริหารทางตรง แก้การเมืองได้ทั้งระบบ

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ระบอบรัฐสภาไทยที่มี 2 สภา และสมาชิกของพรรคการเมืองเสียงข้างมากเป็นผู้เลือกนายกรัฐมนตรีและจัดตั้งรัฐบาลนั้นมีความล้าหลัง และพิสูจน์มาแล้วเป็น เวลา 80 ปี ว่า ล้มเหลว คือ มีรัฐบาลที่ไร้เสถียรภาพ มีการซื้อขายเสียงสูง นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ส.ส. และ ส.ว.จำนวนมากไร้คุณสมบัติ ไร้คุณภาพ และไร้คุณธรรม มีการรัฐประหาร หรือพยายามก่อการรัฐประหาร กบฏ หรือ ปฏิวัติ เฉลี่ยเกือบทุก 4 ปี (ประมาณ 20 ครั้ง) มีการเขียนรัฐธรรมนูญใหม่มาใช้ เฉลี่ยเกือบทุก 4 ปี (มีรัฐธรรมนูญ 17 ฉบับ ฉบับที่ 18 กำลังตามมา) กมล กมลตระกูล ระบอบประชาธิปไตยกลายเป็นระบอบธุรกิจการเมือง (Private interest led politics ตรงกันข้ามกับ public interest led politics) ระบอบประชาธิปไตยกลายพันธุ์เป็นระบอบประชาธิปไตยสามานย์ ระบบการเมืองกลายเป็นระบบพวกพ้องบริวาร (Cronyism) คณะรัฐมนตรี กลายเป็นบุฟเฟ่แคบิเนทที่นักการเมืองเข้ามาตักตวงผลประโยชน์จากงบประมาณแผ่นดิน พรรคการเมืองกลายเป็นบริษัทส่วนตัวของนายทุนพรรค สมาชิกพรรคกลายเป็นลูกจ้างของบริษัท มีข้อเสนอมากมายในการปฏิรูประบบการเมืองไทยแต่ส่วนใหญ่ก็ยังอยู่ในกรอบ คิดและทฤษฎีเดิมที่ล้าหลัง มีการเสนอแก้ไขทางเทคนิค หรือ แก้ไขกฎหมายเพิ่มโทษเป็นด้านหลักมากกว่าการแก้ไขในด้านหลักการสำคัญ จึงเปรียบเสมือนกับการพายเรือในอ่าง ถ้าแก้ตามนี้อีกสัก 80 ปี การเมืองไทยก็คงไม่สามารถก้าวพ้นไปจากวัฏจักรชั่วร้ายไปได้ ระบอบรัฐสภาไทยได้ลอกเลียนแบบมาจากระบอบของประเทศฝรั่งเศสและอังกฤษ ที่ให้อำนาจสภาแต่งตั้ง ถอดถอน รัฐบาล ซึ่งทำให้ระบบการเมืองในสภากลายเป็นสภาโจ๊ก หรือ สภาปาหี่ ที่ระบบการถ่วงดุลตามหลักการของระบอบประชาธิปไตยไม่อาจจะเกิดขึ้นได้ เพราะรัฐบาลตั้งขึ้นมาด้วยเสียงข้างมากของพรรคการเมืองที่ได้คะแนนเสียงมาก ที่สุด ดังนั้น การอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล หรือการถอดถอนรัฐบาลจึงเป็นเรื่องปาหี่ เพราะถึงอย่างไรรัฐบาลก็มีเสียงข้างมากกว่าอยู่ดี บทเรียนและการปฏิรูปการเมืองของฝรั่งเศส ประเทศฝรั่งเศสในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ในช่วงปี ค.ศ. 1946-1958 การเมืองฝรั่งเศสมีสภาวะไร้เสถียรภาพอย่างหนัก ในช่วงเวลา 13 ปี มีรัฐบาลมากถึง 25 ชุด คือ เฉลี่ยมีการเปลี่ยนรัฐบาลทุก 6 เดือน ประธานาธิบดีเดอโกลด์มองเห็นปัญหาของระบบการมอบอำนาจอธิปไตยให้กับรัฐสภา ซึ่งประชาชนเมื่อลงคะแนนเสียงไปแล้ว ก็หมดอำนาจที่จะควบคุมหรือใช้อำนาจอธิปไตยของตนตามหลักการของระบอบประชาธิปไตยอีก จึงเสนอรัฐธรรมนูญใหม่ในปี 1958 ปฏิรูปโครงสร้างการปกครองและแก้ไขระบบเลือกตั้งใหม่ โดยการคืนอำนาจอธิปไตยให้กับปวงชนโดยการให้ประชาชนเลือกฝ่ายบริหารโดยตรง ถ้าทำงานไม่ดี หรือ ฉ้อโกงก็ปลดได้ด้วยการไม่เลือกกลับเข้ามาอีกในสมัยหน้า หลังจากการปฏิรูประบบการเลือกตั้งฝ่ายบริหารเป็นทางตรง การเมืองของฝรั่งเศสก็กลับเข้าสู่ยุคความมีเสถียรภาพและพัฒนาเศรษฐกิจก้าวหน้าพ้นจากความหายนะจากสงครามโลกครั้งที่สองมาจนถึงทุกวันนี้ เลือก ครม. ทางตรง ตอบโจทย์การปฏิรูปการเมืองไทย โจทย์ของระบบการเมืองสามานย์ของระบบรัฐสภาไทย คือ ระบบนี้ก่อให้เกิดการซื้อตัวส.ส. และส.ว.ให้ลงคะแนนเสียงจัดตั้งรัฐบาล โดยมีการให้ตำแหน่งรัฐมนตรีหัวหน้าพรรคเล็กพรรคน้อยเป็นการตอบแทน อันเป็นที่มาของระบบรัฐมนตรีเหมาเข่ง รัฐมนตรีพี่น้อง ลูกหลาน (ที่มีการสืบทอดกันแล้วในหลายตระกูล) และ บริวาร ที่ประชาชนไม่เคยรู้จักชื่อ หรือ ประวัติการทำงานมาก่อน หลายคนไม่เคยมีประสบการณ์ในการบริหารบ้านเมือง ไม่มีความรู้ความสามารถในกระทรวงที่รับผิดชอบ หรือ มีประวัติฉ้อโกง มีอาชีพสีเทา ติดคดี เข้ามาเป็นรัฐมนตรีฝักถั่วกันเป็นแถว ตัวนายกรัฐมนตรีก็สามารถชี้นิ้วเอาญาติโยมคนไหนมาเป็นก็ได้ โดยไม่ต้องได้รับความเห็นชอบจากประชาชน การฉ้อโกง การรับเงินใต้โต๊ะแบบบุฟเฟ่แคบิเนท กลายเป็นเรื่องปกติ ในการกินแบ่งโครงการที่ใช้เงินภาษีอากรของประชาชนใน ครม. กันอย่างโจ๋งครึ่ม มีการแต่งตั้งเพื่อตอบแทนอดีตข้าราชการที่เคยใช้อำนาจในตำแหน่งอย่างมิชอบ ให้ประโยชน์มากินตำแหน่งที่ปรึกษา หรือบอร์ดหน่วยงานของรัฐ บอร์ดรัฐวิสาหกิจ โดยกินเงินเดือนจากภาษีอากรของประชาชน การปฏิรูปการเมืองไทย ด้วยการแก้ไขระบบการเลือกตั้งโดยกำหนดให้เลือกฝ่ายบริหารระดับสูงทั้งหมดทางตรง เป็นการคืนอำนาจอธิปไตยให้กับปวงชนชาวไทยอย่างแท้จริงตามหลักการของระบอบ ประชาธิปไตยสมบูรณ์ นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีรายกระทรวง และผู้ว่าราชการจังหวัดตลอดจนผู้กำกับการตำรวจผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ผู้กำกับการตำรวจท้องถิ่น อัยการสูงสุด ประธานศาล ต้องมาจากการเลือกตั้งทางตรงจากประชาชนด้วยกระบวนการเลือกตั้งที่เข้มข้นและ ตามกฎหมายที่เคร่งครัด ผู้สมัครไม่จำเป็นต้องสังกัดพรรคการเมือง หรือเป็นสมาชิกของพรรคการเมืองและมีวาระในการดำรงตำแหน่ง 4 ปี กำหนดให้แต่ละพรรคการเมืองส่งผู้สมัครรับการเลือกตั้งเป็นรัฐมนตรีได้ไม่เกิน 3 คน เมื่อฝ่ายบริหารมาจากการเลือกตั้งทางตรง รัฐสภาก็ไม่มีความจำเป็นต้องมีสมาชิกมากมายมากินเงินเดือนภาษีอากรของ ประชาชนให้สิ้นเปลืองแบบระบบปัจจุบันอีกต่อไป ดังนั้น การปฏิรูประบบการเลือกตั้งใหม่ต้องกำหนดให้มีสภาเดียว เลือกอย่างรวมเขต จังหวัดละ 2 คน ก็เพียงพอให้ทำหน้าที่นิติบัญญัติในการเสนอและปรับปรุงกฎหมาย ซึ่งเป็นหน้าที่หลักของสภานิติบัญญัติ ตามระบอบประชาธิปไตยระบบการเลือกตั้งใหม่นี้เป็นการลดแรงจูงใจมาเฟียและนักธุรกิจการเมือง ทั้งส่วนกลางและภูมิภาคในการเสนอตัวเข้ารับการเลือกเข้าสภา เพราะว่าเมื่อเข้ามาแล้ว ไม่มีหนทางถอนทุนเหมือนระบบเดิม การจะซื้อเสียงคนทั้งจังหวัดก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องใช้เงินมหาศาล เมื่อเปรียบเทียบกับระบบปัจจุบันที่เลือกแบบแบ่งเขต สามารถใช้เงินซื้อเสียงเพียง 3-4 หมื่น คะแนนเสียงก็ได้เป็นส.ส. หรือ ส.ว. แล้วประเทศสามารถประหยัดงบประมาณเงินเดือนและค่าใช้จ่ายของส.ส. และส.ว.ได้ปีละหลายหมื่นล้านบาท ระบบการเลือกตั้งใหม่นี้เป็นการทำลายระบบพรรคพวกบริวาร (Cronyism) ที่ฉ้อฉลและซ่อนตัวอยู่ในร่างของพรรคการเมืองที่กัดกินบ่อนทำลายสังคมไทยมา เป็นเวลายาวนานจนเกินพอแล้ว การเมืองไทยจะได้โปร่งใส โอกาสของพรรคการเมืองใหญ่ครอบงำการเมืองไทย โอกาสของนักธุรกิจการเมือง มาเฟียการเมืองจะเข้ามากินบ้านกินเมืองแบบ ระบบรัฐมนตรีเหมาเข่ง รัฐมนตรีพี่น้อง บริวาร ที่ประชาชนไม่เคยรู้จักชื่อ หรือ ประวัติการทำงานมาก่อน หลายคนไม่เคยมีประสบการณ์ในการบริหารบ้านเมือง ไม่มีความรู้ความสามารถในกระทรวงที่รับผิดชอบ หรือ มีประวัติฉ้อโกง ติดคดี เข้ามาเป็นรัฐมนตรีฝักถั่วกันเป็นแถว ตัวนายกรัฐมนตรีก็สามารถชี้นิ้วเอาญาติโยมคนไหนมาเป็นก็ได้ โดยไม่ต้องได้รับความเห็นชอบจากประชาชน ก็จะเกิดขึ้นยาก หรือไม่มีโอกาส เหตุผล คือ ทุกวันนี้นักธุรกิจการเมืองที่บริจาคเงินเข้าพรรคการเมืองสัก 2-500 ล้านบาท ก็สามารถต่อรองขอตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงใดกระทรวงหนึ่งแล้วแต่จำนวนเงินที่บริจาค ถ้าบริจาคมากก็ได้กระทรวงใหญ่ที่สามารถถอนทุนได้ง่าย แต่ในระบบใหม่ หากต้องการซื้อเสียงเพื่อเข้ามาเป็นรัฐมนตรี ก็ต้องได้คะแนนเสียงจากประชาชนผู้มีสิทธิ์ลงคะแนนเสียงไม่ต่ำกว่า 20 ล้านเสียง ถ้าจ่ายหัวละ 300 บาท ก็ต้องใช้เงินซื้อมากถึง 6,000 ล้านบาท โดยไม่มีหลักประกันว่าจะได้ ซึ่งคงหานักธุรกิจการเมืองคนไหนที่ยอมเสี่ยงได้ไม่มากนัก อาจจะมีหลงเข้ามา สัก 2-3 คน แต่ไม่สามารถเข้ามาโกงกินบ้านเมืองแบบกินรวบ กินเหมาเข่งแบบเดิมได้อีก การเมืองก็จะค่อยๆ โปร่งใส รัฐบาลก็จะมีเสถียรภาพ คนดีๆ ที่มีคุณธรรม เคยสร้างชื่อเสียงหรือมีผลงานที่สังคมยอมรับก็จะมีโอกาสสมัครและได้รับการเลือกตั้งเป็นรัฐมนตรี และร่วมสร้างชาติให้ประชาชนได้รับความเป็นธรรมและมีความผาสุกอย่างทั่วถ้วน หน้า เป็นเรื่อง “ขำกลิ้ง” ที่มีนักวิชาการที่มีชื่อเสียงจำนวนไม่น้อย ผู้นำเอ็นจีโอ และนักเคลื่อนไหวการเมืองอีกจำนวนมากที่ออกมาเรียกร้องสนับสนุนให้มีการ เลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 โดยไม่ต้องมีการปรับเปลี่ยนปฏิรูปกฎหมายเลือกตั้ง กติกาการเลือกตั้ง และกรรมการเลือกตั้งที่เป็นกลไกของรัฐ เพื่อรักษาระบอบการเมือง (ที่ล้มเหลว) ให้อยู่ในสภาพเดิม (Status quo) อันที่จริง ถ้าหากเขาต้องการรักษาระบอบการเมือง (ที่ล้มเหลว) ให้อยู่ในสภาพเดิม (Status quo) เขาควรออกมาเรียกร้องให้ "ไม่มีการเลือกตั้ง" ในวันที่ วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 มากกว่า เพื่อประหยัดเงินภาษีอากรจำนวนไม่ต่ำกว่า 4,000 ล้านบาทที่จำเป็นต้องใช้ในการจัดการให้มีการเลือกตั้ง

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...