การเมืองวันนี้...กับคำสอน "ดร.ป๋วย"
ในที่สุด วัน “ชัตดาวน์แบงค็อก” หรือ “วันปิดกรุงเทพฯ” 7 จุด ก็มาถึง และก็โกลาหลวุ่นวายกันพอสมควร อย่างที่หลายๆท่านคงจะได้ประสบด้วยตัวเอง หรือเห็นได้จากภาพข่าวทางโทรทัศน์กันไปแล้ว
สำหรับผมเองใช้เวลามากหน่อย นั่งรถอ้อมไปไกลหน่อย แต่ก็เดินทางเข้ามาทำงานในโรงพิมพ์ได้ตามปกติดี เพราะโชคดีที่มีสถานีรถไฟฟ้า “หมอชิต” อยู่ด้านหลังโรงพิมพ์ แม้จะ มีการชัตดาวน์ปิดห้าแยกลาดพร้าว ทำให้การคมนาคมที่จะมาจากด้านเหนือ หรือด้านตะวันออกผ่านลาดพร้าวต้องหยุดกึกส่งผลให้ผมที่อยู่ทางซีกตะวันออก ไม่สามารถเข้าโรงพิมพ์โดยผ่านห้าแยกลาดพร้าวได้เหมือนปกติ แต่เนื่องจากตลอดถนนรัชดามีสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินอยู่หลายแห่ง หรือเลยไปทางพระโขนง เอกมัย ก็มีสถานีบีทีเอสอีกหลายๆสถานี ผม ก็เลยใช้วิธี “อ้อมกรุงเทพฯ” ติดรถแม่บ้านผมซึ่งทำงานอยู่แถวๆพระโขนงไปขึ้นบีทีเอสที่สถานีเอกมัย นั่งรถชมวิวผ่านม็อบสำคัญๆถึง 2 ม็อบมาลงที่สถานีหมอชิตได้อย่างเรียบร้อย เข้ามานั่งเขียนหนังสือที่โต๊ะทำงานในโรงพิมพ์ได้เหมือนเดิม
เขียน เสร็จแล้วก็คงจะนั่งอ่านโน่นอ่านนี่ ดูข่าวโน่นนี่เสียอีกหน่อย แล้วค่อยเดินไปขึ้นบีทีเอสกลับไปที่สถานีเอกมัย เพื่อไปกลับบ้านทางซีกโน้นเหมือนตอนขามา อาจจะเสียเวลาพอสมควร แต่ก็ไม่ถึงกับลำบากลำบนจนเกินไปนัก และเมื่อตอนมหาอุทกภัยทะลักเข้าถนนวิภาวดีรังสิต เมื่อปลายปี 2554 ผมก็เคยใช้วิธีนี้มาทำงานแล้วหนหนึ่ง คราวนั้นยังต้องลุยน้ำเสมอเข่าด้านหลังโรงพิมพ์ด้วยซ้ำ...เทียบกันแล้วคราวนี้แค่เดินธรรมดาๆเท่านั้นถือว่าเป็นการเดินออกกำลังไปในตัว
แต่ยังไงๆก็อย่าให้ยืดเยื้อยาวนานนักนะครับท่านกำนันสุเทพ เพราะคนที่เขาเดือดร้อนจริงๆคงจะมีมากพอสมควร จะทำให้ความขัดแย้งและความเดือดร้อนแพร่กระจายออกไป กระทบผู้คนในจำนวนเพิ่มขึ้นกว่าที่เคยปักหลักอยู่แถวราชดำเนิน เกิดมีคนอารมณ์เสียหรือหงุดหงิดลุกขึ้นมาต่อต้านในเชิงรุนแรง จะทำให้สถานการณ์บานปลายออกไปเสียเปล่าๆ
ผมเองนั้นแม้จุดยืนส่วนตัวจะยังเห็นด้วยกับการให้มีเลือกตั้งควบคู่ไปกับการ ปฏิรูปและไม่อยากเห็นการรัฐประหาร หรือการใช้ความรุนแรงใดๆทั้งสิ้น (คล้ายๆกลุ่ม 2 เอากับ 2 ไม่เอานั่นแหละ) แต่ทั้ง 4 ข้อที่ว่า ผมให้น้ำหนักที่ข้อสุดท้ายคือ “ไม่เอาความรุนแรง” มากที่สุด ข้ออื่นๆช่างเถอะหากไม่เป็นไปตามที่อยากได้หรืออยากเห็น ก็ไม่ถือเป็นเรื่องใหญ่อะไรนัก แต่ข้อไม่ต้องการความรุนแรง โดยเฉพาะรุนแรงแบบเลือดตกยางออก ถึงขั้นเสียชีวิตหรือทุพพลภาพ ผมอยากให้เป็น “ศูนย์” ร้อยเปอร์เซ็นต์เลยครับ จากการที่ผมมีโอกาสมาทำงานอยู่ตรงนี้เป็นเวลากว่า 40 ปี ผ่านเหตุการณ์เผชิญหน้าระหว่างคนไทยด้วยกันมาหลายครั้ง เห็นคนบาดเจ็บล้มตายจำนวนมากทั้งเมื่อตอนเหตุการณ์ 14 ตุลาคม และ 6 ตุลาคม ยังเศร้าใจจนถึงทุกวันนี้ เห็นน้ำตาของญาติพี่น้องของผู้เสียชีวิตเมื่อครั้งกระโน้นยังจำได้ว่าเราไปทำข่าวก็ยังแทบจะกลั้นน้ำตาเอาไว้ไม่อยู่
ทำให้นึกถึงข้อเขียนของท่านอาจารย์ ป๋วย อึ๋งภากรณ์ ในชุด “จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน” อันเป็นข้อเขียนที่กล่าวกันว่าเป็นแบบแผนของการดำรงชีวิตที่ดีที่สุดของ มนุษย์เท่าที่มีการเขียนกันมา
อาจารย์ฝากความเห็นไว้ตอนหนึ่งว่า “หากจะตายก็ขออย่าให้ตายอย่างโง่ๆอย่างบ้าๆ คือตายในสงครามที่คนอื่นก่อให้เกิดขึ้น...ตายในสงครามกลางเมือง ตายเพราะอุบัติเหตุรถยนต์ ตายเพราะน้ำหรืออากาศเป็นพิษ หรือตายเพราะการเมืองเป็นพิษ”
ผมเห็นด้วยกับท่านอาจารย์ป๋วยเป็นอย่างยิ่ง ว่าการตายเพราะการเมืองเป็นพิษเป็นการตายที่น่าเสียดายที่สุด เพราะเป็นการตายที่ไม่เกิดประโยชน์อะไรเลยแม้แต่น้อย จริงๆแล้วการ ตายในลักษณะนี้จะไม่เกิดขึ้นเลยครับ หากนักการเมืองจะยอมดับพิษการเมืองด้วยการหันหน้ามาคุยกัน และใช้สติใช้ปัญญาหาทางออกร่วมกัน…โดย“ซูม”
ขอบคุณ… http://www.thairath.co.th/column/pol/hehapatee/395968 (ขนาดไฟล์: 167)
( ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 14 ม.ค.57 )
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
ในที่สุด วัน “ชัตดาวน์แบงค็อก” หรือ “วันปิดกรุงเทพฯ” 7 จุด ก็มาถึง และก็โกลาหลวุ่นวายกันพอสมควร อย่างที่หลายๆท่านคงจะได้ประสบด้วยตัวเอง หรือเห็นได้จากภาพข่าวทางโทรทัศน์กันไปแล้ว ดร.ป๋วย อึ๊งภากร ณ์ สำหรับผมเองใช้เวลามากหน่อย นั่งรถอ้อมไปไกลหน่อย แต่ก็เดินทางเข้ามาทำงานในโรงพิมพ์ได้ตามปกติดี เพราะโชคดีที่มีสถานีรถไฟฟ้า “หมอชิต” อยู่ด้านหลังโรงพิมพ์ แม้จะ มีการชัตดาวน์ปิดห้าแยกลาดพร้าว ทำให้การคมนาคมที่จะมาจากด้านเหนือ หรือด้านตะวันออกผ่านลาดพร้าวต้องหยุดกึกส่งผลให้ผมที่อยู่ทางซีกตะวันออก ไม่สามารถเข้าโรงพิมพ์โดยผ่านห้าแยกลาดพร้าวได้เหมือนปกติ แต่เนื่องจากตลอดถนนรัชดามีสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินอยู่หลายแห่ง หรือเลยไปทางพระโขนง เอกมัย ก็มีสถานีบีทีเอสอีกหลายๆสถานี ผม ก็เลยใช้วิธี “อ้อมกรุงเทพฯ” ติดรถแม่บ้านผมซึ่งทำงานอยู่แถวๆพระโขนงไปขึ้นบีทีเอสที่สถานีเอกมัย นั่งรถชมวิวผ่านม็อบสำคัญๆถึง 2 ม็อบมาลงที่สถานีหมอชิตได้อย่างเรียบร้อย เข้ามานั่งเขียนหนังสือที่โต๊ะทำงานในโรงพิมพ์ได้เหมือนเดิม เขียน เสร็จแล้วก็คงจะนั่งอ่านโน่นอ่านนี่ ดูข่าวโน่นนี่เสียอีกหน่อย แล้วค่อยเดินไปขึ้นบีทีเอสกลับไปที่สถานีเอกมัย เพื่อไปกลับบ้านทางซีกโน้นเหมือนตอนขามา อาจจะเสียเวลาพอสมควร แต่ก็ไม่ถึงกับลำบากลำบนจนเกินไปนัก และเมื่อตอนมหาอุทกภัยทะลักเข้าถนนวิภาวดีรังสิต เมื่อปลายปี 2554 ผมก็เคยใช้วิธีนี้มาทำงานแล้วหนหนึ่ง คราวนั้นยังต้องลุยน้ำเสมอเข่าด้านหลังโรงพิมพ์ด้วยซ้ำ...เทียบกันแล้วคราวนี้แค่เดินธรรมดาๆเท่านั้นถือว่าเป็นการเดินออกกำลังไปในตัว แต่ยังไงๆก็อย่าให้ยืดเยื้อยาวนานนักนะครับท่านกำนันสุเทพ เพราะคนที่เขาเดือดร้อนจริงๆคงจะมีมากพอสมควร จะทำให้ความขัดแย้งและความเดือดร้อนแพร่กระจายออกไป กระทบผู้คนในจำนวนเพิ่มขึ้นกว่าที่เคยปักหลักอยู่แถวราชดำเนิน เกิดมีคนอารมณ์เสียหรือหงุดหงิดลุกขึ้นมาต่อต้านในเชิงรุนแรง จะทำให้สถานการณ์บานปลายออกไปเสียเปล่าๆ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ แกนนำกลุ่ม กปปส ผมเองนั้นแม้จุดยืนส่วนตัวจะยังเห็นด้วยกับการให้มีเลือกตั้งควบคู่ไปกับการ ปฏิรูปและไม่อยากเห็นการรัฐประหาร หรือการใช้ความรุนแรงใดๆทั้งสิ้น (คล้ายๆกลุ่ม 2 เอากับ 2 ไม่เอานั่นแหละ) แต่ทั้ง 4 ข้อที่ว่า ผมให้น้ำหนักที่ข้อสุดท้ายคือ “ไม่เอาความรุนแรง” มากที่สุด ข้ออื่นๆช่างเถอะหากไม่เป็นไปตามที่อยากได้หรืออยากเห็น ก็ไม่ถือเป็นเรื่องใหญ่อะไรนัก แต่ข้อไม่ต้องการความรุนแรง โดยเฉพาะรุนแรงแบบเลือดตกยางออก ถึงขั้นเสียชีวิตหรือทุพพลภาพ ผมอยากให้เป็น “ศูนย์” ร้อยเปอร์เซ็นต์เลยครับ จากการที่ผมมีโอกาสมาทำงานอยู่ตรงนี้เป็นเวลากว่า 40 ปี ผ่านเหตุการณ์เผชิญหน้าระหว่างคนไทยด้วยกันมาหลายครั้ง เห็นคนบาดเจ็บล้มตายจำนวนมากทั้งเมื่อตอนเหตุการณ์ 14 ตุลาคม และ 6 ตุลาคม ยังเศร้าใจจนถึงทุกวันนี้ เห็นน้ำตาของญาติพี่น้องของผู้เสียชีวิตเมื่อครั้งกระโน้นยังจำได้ว่าเราไปทำข่าวก็ยังแทบจะกลั้นน้ำตาเอาไว้ไม่อยู่ ทำให้นึกถึงข้อเขียนของท่านอาจารย์ ป๋วย อึ๋งภากรณ์ ในชุด “จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน” อันเป็นข้อเขียนที่กล่าวกันว่าเป็นแบบแผนของการดำรงชีวิตที่ดีที่สุดของ มนุษย์เท่าที่มีการเขียนกันมา อาจารย์ฝากความเห็นไว้ตอนหนึ่งว่า “หากจะตายก็ขออย่าให้ตายอย่างโง่ๆอย่างบ้าๆ คือตายในสงครามที่คนอื่นก่อให้เกิดขึ้น...ตายในสงครามกลางเมือง ตายเพราะอุบัติเหตุรถยนต์ ตายเพราะน้ำหรืออากาศเป็นพิษ หรือตายเพราะการเมืองเป็นพิษ” ผมเห็นด้วยกับท่านอาจารย์ป๋วยเป็นอย่างยิ่ง ว่าการตายเพราะการเมืองเป็นพิษเป็นการตายที่น่าเสียดายที่สุด เพราะเป็นการตายที่ไม่เกิดประโยชน์อะไรเลยแม้แต่น้อย จริงๆแล้วการ ตายในลักษณะนี้จะไม่เกิดขึ้นเลยครับ หากนักการเมืองจะยอมดับพิษการเมืองด้วยการหันหน้ามาคุยกัน และใช้สติใช้ปัญญาหาทางออกร่วมกัน…โดย“ซูม” ขอบคุณ… http://www.thairath.co.th/column/pol/hehapatee/395968 ( ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 14 ม.ค.57 )
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)