'พลังครอบครัว-ครู-น้ำใจสังคม'

แสดงความคิดเห็น

'พลังครอบครัว-ครู-น้ำใจสังคม'

“ความพิการของลูกไม่ได้เป็นปัญหาในการยอมรับของครอบครัว แต่การที่เขาอ่อนแอต่างหากเป็นปัญหา” มณฑล กาญจนะ กล่าวอย่างเห็นใจลูกชายวัย 6 ขวบ คือ น้องอาตี้ หรือ ด.ช.ภัทรบดินทร์ กาญจนะ ที่ประสบปัญหาหัวโตและพัฒนาการทางสมองช้า และมีการรับรู้ช้า รวมทั้งควบคุมอารมณ์ของตนเองไม่ได้

อาตี้ เป็นเหมือนตัวประหลาดสำหรับแม่ จนต้องทิ้งไว้ในโรงพยาบาล แต่ด้วยหัวใจความเป็นพ่อ เขาไม่ยอมที่จะทิ้งให้ลูกชายเผชิญปัญหาลำพัง จึงได้พยายามทำงานอย่างหนักเพื่อส่งเสียเลี้ยงดูจนกระทั่งอายุ 3 ขวบ ผ่านการรักษาด้วยการเจาะน้ำในศีรษะทำให้ขนาดหัวที่เคยบวมโต ลดลง แล้วส่งเข้าเรียนที่ศูนย์การศึกษาพิเศษ จ.นครสวรรค์ เพื่อให้ลูกได้เผชิญกับโลกที่ยอมรับสภาพเขาและมีความพร้อมในการรักษา ทั้งสภาพอารมณ์และการเรียนรู้ด้านอื่นๆ พร้อมกับเด็กอีกเกือบ 200 คน โดยหวังจะให้ลูกมีพัฒนาการดีขึ้น สามารถเรียนต่อในโรงเรียนทั่วไปได้ และโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีประสิทธิภาพ พึ่งพาตนเองทั้งในการใช้ชีวิตประจำวันและการประกอบอาชีพตามความถนัดของตนเอง

“มันยากในการตัดสินใจว่า จะดูแลลูกที่เกิดมาไม่ปกติทางร่างกายและสมองอย่างไร แต่หากเรามีการเตรียมความพร้อมให้ดี ผมเชื่อว่าลูกชายผมเป็นคนที่สมบูรณ์แบบได้ เขาเข้ามาอยู่ศูนย์ได้ 2-3 ปีแล้ว ก็พบมีพัฒนาการเรียนรู้ที่ดีขึ้น กล้าเข้าสังคมและพบปะคนแปลกหน้า แต่ว่าไม่กล้าพูดสื่อสาร พูดเพียงคำว่า พ่อ พี่ และหิวข้าว เราก็รู้แล้วว่า ลูกไม่ได้ใบ้ ลูกยังพูดได้ชัดด้วย แต่เขาต้องมีการเรียนรู้มากกว่านี้ จึงคิดว่า การให้เขาเข้ามาอยู่ในศูนย์เป็นอีกทางเลือกที่เหมาะสม” มณฑล เล่า

หลายชีวิตของเด็กพิเศษในศูนย์ฯ ต้องเจอกับสถานการณ์ที่แตกต่างกันไป บางวันเรียนรู้จากเจ้าหน้าที่ จากครู บางเวลามีอาสาสมัครใจดีเข้ามาแวะทำกิจกรรมด้วย ทั้งแจกขนม ทั้งร้อง ทั้งเล่น ดนตรี ศิลปะ เป็นเหมือนเครื่องมือบำบัดชั้นเลิศ แค่มีน้ำใจจากสังคม ก็นับว่าเป็นโอกาสดีที่ทำให้น้องๆ มีรอยยิ้มอีกครั้ง อาทิ กิจกรรมส่งมอบห้องเรียนฟื้นฟูน้องผู้พิการ ตามโครงการ “20 ปี บิ๊กซีจับมือทำดีเพื่อชุมชน” รอยยิ้มของเด็กๆ ได้เกิดขึ้นอีกครั้ง อาตี้ กับพ่อ เองก็มีส่วนร่วมในกิจกรรมอย่างมาก โดยอาตี้ได้เรียนรู้การวาดภาพกับอาสาสมัคร และได้เข้าห้องเรียนใหม่เพื่อบำบัดทั้งจิตใจ ร่างกายและการเรียนรู้ด้านอื่น โดยภายในห้องเป็นไปตามมาตรฐานสากล คือ มีทั้งแสง สี กลิ่นในการส่งเสริมการเรียนรู้อย่างกว้างขวาง ทำให้เด็กได้เรียนรู้อย่างเข้าใจและมีพัฒนาการที่ดีขึ้น

สมิตา เหล่าอินทร เจ้าหน้าที่ศูนย์ หรือ ครูสมิตาของเด็กๆ เล่าถึงสถานการณ์ของเด็กพิเศษในศูนย์ว่า เด็กในศูนย์มีตั้งแต่อายุ 3-19 ปี ประกอบด้วยบุคคล ประเภทต่างๆ ทั้งบกพร่องทางการมองเห็น บกพร่องทางการได้ยิน บกพร่องทางร่างกายและการเคลื่อนไหว บกพร่องการเรียนรู้ การพูดและภาษา บกพร่องทางสติปัญญา และบกพร่องทางอารมณ์ โดยศูนย์จะเน้นวางแผนและบริการของเด็กแต่ละประเภทต่างกัน แต่ว่า ห้องเรียนรู้ที่ตั้งขึ้นมา นี้จะเป็นห้องรวม เป็นห้องมืด มีอากาศและอุณหภูมิที่เหมาะสม และสามารถเตรียมฝึกเด็กที่มีปัญหาได้ทุกรูปแบบ เพื่อให้ส่งต่อสังคมในอนาคตได้

“ในโรงเรียนทั่วไป มุ่งให้ความรู้ แต่เราคือมุ่งรักษา มุ่งปรับอารมณ์ แล้วส่งเสริมความรู้ ตามมาเป็นระยะ แต่ว่าในโรงเรียนพิเศษทั่วโลก เขาจะมีเครื่องมือและเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาก แต่ไทยยังขาด โดยห้องเรียนรู้ที่ประกอบด้วยชุดพัฒนาต่างๆ นับเป็นสิ่งจำเป็นที่ประเทศไทยต้องมี แต่ด้วยงบประมาณที่จำกัด ทำให้หลายศูนย์ไม่สามารถสร้างมาตรฐานห้องเรียนได้ จึงจำเป็นต้องอาศัยความช่วยเหลือทั้งจากภาคเอกชนและภาครัฐ” เพื่อบำบัดเด็กให้ปกติ หรือใกล้เคียงความปกติที่สุด พร้อมทั้งสอนให้เขาเข้าใจสังคมและมีใจกว้าง เข้มแข็ง พร้อมก้าวสู่โลกกว้างได้ ไม่รู้สึกโดดเดี่ยว

ด้าน วรเดช กฤตยาเกียรณ ผู้จัดการฝ่ายกิจกรรมสาธารณะ บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ กล่าวว่า กำลังใจสำคัญมากสำหรับเด็กพิเศษ แต่สิ่งที่สำคัญกว่าคือ โอกาส ทุกคนเกิดมาล้วนอยากมีชีวิต มีความภูมิใจของตนเอง สังคมไม่ได้ปลื้มกับคนร้องขอ แต่ภูมิใจกับคนที่พึ่งพาตนเองได้ เพราะอย่างนั้น หากกลุ่มคนพิการ หรือมีความบกพร่องในทุกด้าน พึ่งตนเองได้ เขาจะรู้สึกภูมิใจตัวเอง ซึ่งก่อนที่โอกาสนั้นจะมาถึง เขาต้องได้รับการดูแลที่เหมาะสม” นอกจากส่งเสริมเรื่องทุนและโอกาสการเรียนแก่ผู้พิการแล้ว บิ๊กซี ยังจ้างงานคนพิการมากถึง 325 คน และมีแนวโน้มจะจัดจ้างงานแก่ผู้พิการให้มากขึ้นในอนาคต

ขอบคุณ http://www.komchadluek.net/mobile/detail/20131116/172866.html (ขนาดไฟล์: 167)

(คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 16 พ.ย.56)

ที่มา: คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 16 พ.ย.56
วันที่โพสต์: 18/11/2556 เวลา 04:47:15 ดูภาพสไลด์โชว์ 'พลังครอบครัว-ครู-น้ำใจสังคม'

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

\'พลังครอบครัว-ครู-น้ำใจสังคม\' “ความพิการของลูกไม่ได้เป็นปัญหาในการยอมรับของครอบครัว แต่การที่เขาอ่อนแอต่างหากเป็นปัญหา” มณฑล กาญจนะ กล่าวอย่างเห็นใจลูกชายวัย 6 ขวบ คือ น้องอาตี้ หรือ ด.ช.ภัทรบดินทร์ กาญจนะ ที่ประสบปัญหาหัวโตและพัฒนาการทางสมองช้า และมีการรับรู้ช้า รวมทั้งควบคุมอารมณ์ของตนเองไม่ได้ อาตี้ เป็นเหมือนตัวประหลาดสำหรับแม่ จนต้องทิ้งไว้ในโรงพยาบาล แต่ด้วยหัวใจความเป็นพ่อ เขาไม่ยอมที่จะทิ้งให้ลูกชายเผชิญปัญหาลำพัง จึงได้พยายามทำงานอย่างหนักเพื่อส่งเสียเลี้ยงดูจนกระทั่งอายุ 3 ขวบ ผ่านการรักษาด้วยการเจาะน้ำในศีรษะทำให้ขนาดหัวที่เคยบวมโต ลดลง แล้วส่งเข้าเรียนที่ศูนย์การศึกษาพิเศษ จ.นครสวรรค์ เพื่อให้ลูกได้เผชิญกับโลกที่ยอมรับสภาพเขาและมีความพร้อมในการรักษา ทั้งสภาพอารมณ์และการเรียนรู้ด้านอื่นๆ พร้อมกับเด็กอีกเกือบ 200 คน โดยหวังจะให้ลูกมีพัฒนาการดีขึ้น สามารถเรียนต่อในโรงเรียนทั่วไปได้ และโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีประสิทธิภาพ พึ่งพาตนเองทั้งในการใช้ชีวิตประจำวันและการประกอบอาชีพตามความถนัดของตนเอง “มันยากในการตัดสินใจว่า จะดูแลลูกที่เกิดมาไม่ปกติทางร่างกายและสมองอย่างไร แต่หากเรามีการเตรียมความพร้อมให้ดี ผมเชื่อว่าลูกชายผมเป็นคนที่สมบูรณ์แบบได้ เขาเข้ามาอยู่ศูนย์ได้ 2-3 ปีแล้ว ก็พบมีพัฒนาการเรียนรู้ที่ดีขึ้น กล้าเข้าสังคมและพบปะคนแปลกหน้า แต่ว่าไม่กล้าพูดสื่อสาร พูดเพียงคำว่า พ่อ พี่ และหิวข้าว เราก็รู้แล้วว่า ลูกไม่ได้ใบ้ ลูกยังพูดได้ชัดด้วย แต่เขาต้องมีการเรียนรู้มากกว่านี้ จึงคิดว่า การให้เขาเข้ามาอยู่ในศูนย์เป็นอีกทางเลือกที่เหมาะสม” มณฑล เล่า หลายชีวิตของเด็กพิเศษในศูนย์ฯ ต้องเจอกับสถานการณ์ที่แตกต่างกันไป บางวันเรียนรู้จากเจ้าหน้าที่ จากครู บางเวลามีอาสาสมัครใจดีเข้ามาแวะทำกิจกรรมด้วย ทั้งแจกขนม ทั้งร้อง ทั้งเล่น ดนตรี ศิลปะ เป็นเหมือนเครื่องมือบำบัดชั้นเลิศ แค่มีน้ำใจจากสังคม ก็นับว่าเป็นโอกาสดีที่ทำให้น้องๆ มีรอยยิ้มอีกครั้ง อาทิ กิจกรรมส่งมอบห้องเรียนฟื้นฟูน้องผู้พิการ ตามโครงการ “20 ปี บิ๊กซีจับมือทำดีเพื่อชุมชน” รอยยิ้มของเด็กๆ ได้เกิดขึ้นอีกครั้ง อาตี้ กับพ่อ เองก็มีส่วนร่วมในกิจกรรมอย่างมาก โดยอาตี้ได้เรียนรู้การวาดภาพกับอาสาสมัคร และได้เข้าห้องเรียนใหม่เพื่อบำบัดทั้งจิตใจ ร่างกายและการเรียนรู้ด้านอื่น โดยภายในห้องเป็นไปตามมาตรฐานสากล คือ มีทั้งแสง สี กลิ่นในการส่งเสริมการเรียนรู้อย่างกว้างขวาง ทำให้เด็กได้เรียนรู้อย่างเข้าใจและมีพัฒนาการที่ดีขึ้น สมิตา เหล่าอินทร เจ้าหน้าที่ศูนย์ หรือ ครูสมิตาของเด็กๆ เล่าถึงสถานการณ์ของเด็กพิเศษในศูนย์ว่า เด็กในศูนย์มีตั้งแต่อายุ 3-19 ปี ประกอบด้วยบุคคล ประเภทต่างๆ ทั้งบกพร่องทางการมองเห็น บกพร่องทางการได้ยิน บกพร่องทางร่างกายและการเคลื่อนไหว บกพร่องการเรียนรู้ การพูดและภาษา บกพร่องทางสติปัญญา และบกพร่องทางอารมณ์ โดยศูนย์จะเน้นวางแผนและบริการของเด็กแต่ละประเภทต่างกัน แต่ว่า ห้องเรียนรู้ที่ตั้งขึ้นมา นี้จะเป็นห้องรวม เป็นห้องมืด มีอากาศและอุณหภูมิที่เหมาะสม และสามารถเตรียมฝึกเด็กที่มีปัญหาได้ทุกรูปแบบ เพื่อให้ส่งต่อสังคมในอนาคตได้ “ในโรงเรียนทั่วไป มุ่งให้ความรู้ แต่เราคือมุ่งรักษา มุ่งปรับอารมณ์ แล้วส่งเสริมความรู้ ตามมาเป็นระยะ แต่ว่าในโรงเรียนพิเศษทั่วโลก เขาจะมีเครื่องมือและเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาก แต่ไทยยังขาด โดยห้องเรียนรู้ที่ประกอบด้วยชุดพัฒนาต่างๆ นับเป็นสิ่งจำเป็นที่ประเทศไทยต้องมี แต่ด้วยงบประมาณที่จำกัด ทำให้หลายศูนย์ไม่สามารถสร้างมาตรฐานห้องเรียนได้ จึงจำเป็นต้องอาศัยความช่วยเหลือทั้งจากภาคเอกชนและภาครัฐ” เพื่อบำบัดเด็กให้ปกติ หรือใกล้เคียงความปกติที่สุด พร้อมทั้งสอนให้เขาเข้าใจสังคมและมีใจกว้าง เข้มแข็ง พร้อมก้าวสู่โลกกว้างได้ ไม่รู้สึกโดดเดี่ยว ด้าน วรเดช กฤตยาเกียรณ ผู้จัดการฝ่ายกิจกรรมสาธารณะ บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ กล่าวว่า กำลังใจสำคัญมากสำหรับเด็กพิเศษ แต่สิ่งที่สำคัญกว่าคือ โอกาส ทุกคนเกิดมาล้วนอยากมีชีวิต มีความภูมิใจของตนเอง สังคมไม่ได้ปลื้มกับคนร้องขอ แต่ภูมิใจกับคนที่พึ่งพาตนเองได้ เพราะอย่างนั้น หากกลุ่มคนพิการ หรือมีความบกพร่องในทุกด้าน พึ่งตนเองได้ เขาจะรู้สึกภูมิใจตัวเอง ซึ่งก่อนที่โอกาสนั้นจะมาถึง เขาต้องได้รับการดูแลที่เหมาะสม” นอกจากส่งเสริมเรื่องทุนและโอกาสการเรียนแก่ผู้พิการแล้ว บิ๊กซี ยังจ้างงานคนพิการมากถึง 325 คน และมีแนวโน้มจะจัดจ้างงานแก่ผู้พิการให้มากขึ้นในอนาคต ขอบคุณ… http://www.komchadluek.net/mobile/detail/20131116/172866.html (คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 16 พ.ย.56)

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...