วาดเขียนเล่นเส้น เพื่อน้องพิการสายตา

แสดงความคิดเห็น

น้องๆพิการทางสายตากำลัง ขีดเขียน สายเส้นงานศิลปะ

คอลัมน์ สดจากเยาวชน : มือเล็กๆ ของเด็กน้อย ค่อยๆ ไล่ไปตามเส้นไหมพรมบางเบาที่ปล่อยออกมาจากปลายแท่งไม้รูปทรงคล้ายดินสอ ลากโยงโค้งไปมาตามแต่ใจนึก พร้อมกับรอยยิ้มบนใบหน้า บ่งบอกถึงความตื่นเต้นระคนสุขใจจากจินตนาการในโลกมืดที่สามารถถ่ายทอดสู่รูปลักษณ์ที่สัมผัสได้

ภายในห้องเรียนขนาดใหญ่ เด็กบางคนนั่งล้อมวงรวมกลุ่มอยู่กับเพื่อนๆ บ้างจับคู่กับเพื่อน บ้างนั่งก้มหน้าก้มตาทำบางสิ่งอยู่เพียงลำพังกับสิ่งของที่วางเรียงรายอยู่ เบื้องหน้า มีทั้งแกนไม้ไหมพรม สมุด แท่งไม้รูปทรงประหลาดโฟมรูปสัตว์-ผลไม้ ขยับเข้าไปดูใกล้ๆ จึงได้เห็นสิ่งที่ทุกคนกำลังทำเหมือนกันคือการพยายามวาดภาพด้วยแท่งไม้ที่ ด้านบนเป็นรูปถ้วยลักษณะแปลกตา มีไหมพรมเส้นเล็กๆ ถูกดึงออกมาอย่างต่อเนื่องกลายเป็นเส้นสีที่สร้างภาพลายเส้นต่างๆซึ่งสัมผัสได้ นั่นคือความสำเร็จอันน่าภูมิใจจากความพยายาม นานนับปีของกลุ่ม "กล่องดินสอ" กิจกรรมเพื่อสังคมจากกลุ่มเยาวชนคนรุ่นใหม่ ที่มุ่งมั่นสร้างรอยยิ้มและมอบความสุขให้น้องๆผู้พิการทางสายตาผ่านเครื่องมือวาดภาพ "ปากกาเล่นเส้น" หนึ่งในกิจกรรมจากคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต โดยนำโครงการนี้ยื่นเสนอขอรับการสนับสนุนจากโครงการ "พลังเปลี่ยนแปลงเพื่อสังคม" หรือ BANPU Campaign for Change ดำเนินการโดยบริษัท บ้านปูจำกัด(มหาชน)

ต่อ นายฉัตรชัย อภิบาลพูนผล แกนนำ ผู้ก่อตั้งกลุ่ม "กล่องดินสอ" เจ้าของไอเดียสุดสร้างสรรค์ "ปากกาเล่นเส้น" เล่าถึงแรงบันดาลใจในการพัฒนาปากกาเล่นเส้นนี้ว่า เกิดจากช่วงที่เรียนอยู่ในมหาวิทยาลัยมีโอกาสเป็นอาสาสมัครสอนพิเศษให้น้อง ผู้พิการทางสายตาตามบ้าน รู้ถึงความยากลำบากในการบอกเล่าเรื่องราวให้น้องๆ เห็นภาพตาม เพราะไม่มีเครื่องมือที่จะสื่อความหมาย จึงไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นภาพหรือบอกให้เข้าใจได้ว่าสิ่งที่ต้องการจะสื่อมีรูปร่างลักษณะอย่างไรนอกจากจะรับรู้ด้วยเสียงและสัมผัสอักษรเบรลล์

"ความพยายามสื่อสารกับน้องๆ ทำให้ผมรู้ถึงอุปสรรคของผู้พิการทางสายตาว่าไม่ได้อยู่ที่การมองไม่เห็น แต่เป็นความเข้าใจที่ผิดพลาดและการขาดข้อมูลที่ถูกต้อง หากผู้พิการทางสายตาได้รับการศึกษา ฝึกอบรมอย่างถูกต้อง และรับโอกาสในการเรียนรู้สิ่งรอบตัวที่ทัดเทียมกับคนที่มองเห็นทั่วไปแล้ว ความพิการทางสายตาจะเป็นแค่เพียงความไม่สะดวกทางกายภาพเท่านั้น"ต่อกล่าว

ก่อน จะบอกเล่าต่อว่า ในความเป็นจริงแล้ว ผู้พิการทางสายตาจะมี 2 ลักษณะคือ 1. ตาบอดสนิท คนกลุ่มนี้จะไม่สามารถมองเห็นหรือไม่มีการใช้สายตาเอื้อต่อการดำเนินชีวิต จึงต้องใช้ประสาทสัมผัสอื่นแทนตาในการเรียนรู้ 2. ตาบอดไม่สนิทหรือบอดเพียงบางส่วน เป็นลักษณะการมองเห็นที่เลือนลาง จัดเป็นความบกพร่องทางสายตา คนกลุ่มนี้จะเรียนรู้การอ่านและเขียนอักษรเบรลล์ แต่ไม่สามารถวาดภาพหรือถ่ายทอดความรู้สึกโดยใช้จินตนาการออกมาเป็นภาพได้เพราะไม่มีเครื่องมืออำนวยความสะดวกในเรื่องนี้

ด้าน น้องออม น.ส.อรุโนชา พันธ์สดดี ดีไซเนอร์ของกลุ่ม "กล่องดินสอ" บอกเล่าถึงวิธีใช้ "ปากกาเล่นเส้น" ว่าเริ่มต้นจากการหัดให้น้องๆ สัมผัสสิ่งของหรือแบบที่ต้องการจะวาดก่อน เพื่อให้รู้รูปร่างของแบบว่ากลม รี แบน สั้นหรือยาว เมื่อเริ่มคุ้นเคยกับแบบจะใช้การ "ลอกแบบ" มาเป็นแบบฝึกหัด โดยให้น้องๆ วางแบบกระดาษที่จะวาดลงบนสมุดเวลโคร และใช้ "ปากกาเล่นเส้น" ลากไปตามขอบกระดาษเพื่อลอกแบบโครงร่าง เมื่อลอกแบบเสร็จน้องๆจะใช้มือสัมผัสกับเส้นไหมพรมที่ติดอยู่บนสมุดเวลโครเพื่อให้เกิดมโนภาพ

จากนั้นจะให้น้องๆ ฝึกวาดภาพโดยการ "เลียนแบบ" ด้วยการวางมือข้างที่ไม่ถนัดคลำแบบที่จะวาด ก่อนจะใช้มือข้างที่ถนัดค่อยๆลากเส้นตามความเคลื่อนไหวของมืออีกข้าง ขั้นสุดท้ายคือการ "จินตนาการแบบ" ให้ออกมาเป็นรูปร่างโดยค่อยๆลากเส้นไหมพรมให้เกิดภาพในระหว่างที่สัมผัสแบบไปพร้อมกัน

"หนูเพิ่งรู้จักพระอาทิตย์กับพระจันทร์เป็นครั้งแรกว่ามีรูปร่างอย่างไร" คำบอกเล่าของ น้องกอหญ้า ด.ญ.สุวิมล คำพาลี วัย 10 ขวบ นักเรียนในความดูแลของโรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพ ถึงความรู้สึกหลังทดลองใช้ปากกาเล่นเส้นครั้งแรก ก่อนกล่าวต่อว่า "หนูชอบปากกานี้มาก มันทำให้หนูวาดรูปได้ หนูไม่เคยวาดรูปที่จับดูรูปร่างแบบนี้มาก่อนเลย วาดง่ายและยังเก็บเส้นไหมพรมมาวาดซ้ำได้อีก หรือถ้าเป็นรูปที่ชอบหนูยังเก็บเอาไว้จับดูนานๆได้

ส่วน น้องดิว ด.ช.วรวุฒิ อมาตยกุล อายุ 9 ขวบ สมาชิกอีกคนหนึ่งของโรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพ เล่าว่า "ผมชอบวาดรูปมาก แต่เพราะเมื่อก่อนพอวาดแล้วจะเจ็บมือ จึงไม่ค่อยได้วาดบ่อย แต่พอได้ลองวาดรูปด้วยปากกาเล่นเส้น ทำให้ผมมีความสุขมาก เพราะผมได้วาดภูเขา วาดต้นไม้ เครื่องบิน รถ และอะไรอีกหลายอย่างที่ผมอยากวาด ปากกาเล่นเส้นไม่ทำให้ผมเจ็บมือ ผมยังได้ลูบเส้นไหมพรมเล็กๆ ที่ทำให้ผมรู้ว่ารูปที่ผมวาดสวยแค่ไหนและรูปที่วาดยังทำให้ผมนับเลขได้เก่งขึ้นด้วย"

เป้าหมายต่อไปของกลุ่ม "กล่องดินสอ" คือ การนำชุด "วาดเขียน เล่นเส้น" ออกสู่มือน้อยๆ ของน้องผู้พิการทางสายตาทั่วโลก ผ่านการนำเสนอบนโลกออนไลน์ ในฐานะเครื่องมือการสื่อสาร ซึ่งจะเอื้อประโยชน์อย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์และศิลปะเป็น อย่างดี

ขอบคุณ... http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TURONWIzVXdNVEUzTVRFMU5nPT0=&sectionid=TURNeE1RPT0=&day=TWpBeE15MHhNUzB4Tnc9PQ== (ขนาดไฟล์: 167)

ข่าวสดออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 17 พ.ย.56

ที่มา: ข่าวสดออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 17 พ.ย.56
วันที่โพสต์: 20/11/2556 เวลา 04:22:53 ดูภาพสไลด์โชว์ วาดเขียนเล่นเส้น เพื่อน้องพิการสายตา

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

น้องๆพิการทางสายตากำลัง ขีดเขียน สายเส้นงานศิลปะ คอลัมน์ สดจากเยาวชน : มือเล็กๆ ของเด็กน้อย ค่อยๆ ไล่ไปตามเส้นไหมพรมบางเบาที่ปล่อยออกมาจากปลายแท่งไม้รูปทรงคล้ายดินสอ ลากโยงโค้งไปมาตามแต่ใจนึก พร้อมกับรอยยิ้มบนใบหน้า บ่งบอกถึงความตื่นเต้นระคนสุขใจจากจินตนาการในโลกมืดที่สามารถถ่ายทอดสู่รูปลักษณ์ที่สัมผัสได้ ภายในห้องเรียนขนาดใหญ่ เด็กบางคนนั่งล้อมวงรวมกลุ่มอยู่กับเพื่อนๆ บ้างจับคู่กับเพื่อน บ้างนั่งก้มหน้าก้มตาทำบางสิ่งอยู่เพียงลำพังกับสิ่งของที่วางเรียงรายอยู่ เบื้องหน้า มีทั้งแกนไม้ไหมพรม สมุด แท่งไม้รูปทรงประหลาดโฟมรูปสัตว์-ผลไม้ ขยับเข้าไปดูใกล้ๆ จึงได้เห็นสิ่งที่ทุกคนกำลังทำเหมือนกันคือการพยายามวาดภาพด้วยแท่งไม้ที่ ด้านบนเป็นรูปถ้วยลักษณะแปลกตา มีไหมพรมเส้นเล็กๆ ถูกดึงออกมาอย่างต่อเนื่องกลายเป็นเส้นสีที่สร้างภาพลายเส้นต่างๆซึ่งสัมผัสได้ นั่นคือความสำเร็จอันน่าภูมิใจจากความพยายาม นานนับปีของกลุ่ม "กล่องดินสอ" กิจกรรมเพื่อสังคมจากกลุ่มเยาวชนคนรุ่นใหม่ ที่มุ่งมั่นสร้างรอยยิ้มและมอบความสุขให้น้องๆผู้พิการทางสายตาผ่านเครื่องมือวาดภาพ "ปากกาเล่นเส้น" หนึ่งในกิจกรรมจากคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต โดยนำโครงการนี้ยื่นเสนอขอรับการสนับสนุนจากโครงการ "พลังเปลี่ยนแปลงเพื่อสังคม" หรือ BANPU Campaign for Change ดำเนินการโดยบริษัท บ้านปูจำกัด(มหาชน) ต่อ นายฉัตรชัย อภิบาลพูนผล แกนนำ ผู้ก่อตั้งกลุ่ม "กล่องดินสอ" เจ้าของไอเดียสุดสร้างสรรค์ "ปากกาเล่นเส้น" เล่าถึงแรงบันดาลใจในการพัฒนาปากกาเล่นเส้นนี้ว่า เกิดจากช่วงที่เรียนอยู่ในมหาวิทยาลัยมีโอกาสเป็นอาสาสมัครสอนพิเศษให้น้อง ผู้พิการทางสายตาตามบ้าน รู้ถึงความยากลำบากในการบอกเล่าเรื่องราวให้น้องๆ เห็นภาพตาม เพราะไม่มีเครื่องมือที่จะสื่อความหมาย จึงไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นภาพหรือบอกให้เข้าใจได้ว่าสิ่งที่ต้องการจะสื่อมีรูปร่างลักษณะอย่างไรนอกจากจะรับรู้ด้วยเสียงและสัมผัสอักษรเบรลล์ "ความพยายามสื่อสารกับน้องๆ ทำให้ผมรู้ถึงอุปสรรคของผู้พิการทางสายตาว่าไม่ได้อยู่ที่การมองไม่เห็น แต่เป็นความเข้าใจที่ผิดพลาดและการขาดข้อมูลที่ถูกต้อง หากผู้พิการทางสายตาได้รับการศึกษา ฝึกอบรมอย่างถูกต้อง และรับโอกาสในการเรียนรู้สิ่งรอบตัวที่ทัดเทียมกับคนที่มองเห็นทั่วไปแล้ว ความพิการทางสายตาจะเป็นแค่เพียงความไม่สะดวกทางกายภาพเท่านั้น"ต่อกล่าว ก่อน จะบอกเล่าต่อว่า ในความเป็นจริงแล้ว ผู้พิการทางสายตาจะมี 2 ลักษณะคือ 1. ตาบอดสนิท คนกลุ่มนี้จะไม่สามารถมองเห็นหรือไม่มีการใช้สายตาเอื้อต่อการดำเนินชีวิต จึงต้องใช้ประสาทสัมผัสอื่นแทนตาในการเรียนรู้ 2. ตาบอดไม่สนิทหรือบอดเพียงบางส่วน เป็นลักษณะการมองเห็นที่เลือนลาง จัดเป็นความบกพร่องทางสายตา คนกลุ่มนี้จะเรียนรู้การอ่านและเขียนอักษรเบรลล์ แต่ไม่สามารถวาดภาพหรือถ่ายทอดความรู้สึกโดยใช้จินตนาการออกมาเป็นภาพได้เพราะไม่มีเครื่องมืออำนวยความสะดวกในเรื่องนี้ ด้าน น้องออม น.ส.อรุโนชา พันธ์สดดี ดีไซเนอร์ของกลุ่ม "กล่องดินสอ" บอกเล่าถึงวิธีใช้ "ปากกาเล่นเส้น" ว่าเริ่มต้นจากการหัดให้น้องๆ สัมผัสสิ่งของหรือแบบที่ต้องการจะวาดก่อน เพื่อให้รู้รูปร่างของแบบว่ากลม รี แบน สั้นหรือยาว เมื่อเริ่มคุ้นเคยกับแบบจะใช้การ "ลอกแบบ" มาเป็นแบบฝึกหัด โดยให้น้องๆ วางแบบกระดาษที่จะวาดลงบนสมุดเวลโคร และใช้ "ปากกาเล่นเส้น" ลากไปตามขอบกระดาษเพื่อลอกแบบโครงร่าง เมื่อลอกแบบเสร็จน้องๆจะใช้มือสัมผัสกับเส้นไหมพรมที่ติดอยู่บนสมุดเวลโครเพื่อให้เกิดมโนภาพ จากนั้นจะให้น้องๆ ฝึกวาดภาพโดยการ "เลียนแบบ" ด้วยการวางมือข้างที่ไม่ถนัดคลำแบบที่จะวาด ก่อนจะใช้มือข้างที่ถนัดค่อยๆลากเส้นตามความเคลื่อนไหวของมืออีกข้าง ขั้นสุดท้ายคือการ "จินตนาการแบบ" ให้ออกมาเป็นรูปร่างโดยค่อยๆลากเส้นไหมพรมให้เกิดภาพในระหว่างที่สัมผัสแบบไปพร้อมกัน "หนูเพิ่งรู้จักพระอาทิตย์กับพระจันทร์เป็นครั้งแรกว่ามีรูปร่างอย่างไร" คำบอกเล่าของ น้องกอหญ้า ด.ญ.สุวิมล คำพาลี วัย 10 ขวบ นักเรียนในความดูแลของโรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพ ถึงความรู้สึกหลังทดลองใช้ปากกาเล่นเส้นครั้งแรก ก่อนกล่าวต่อว่า "หนูชอบปากกานี้มาก มันทำให้หนูวาดรูปได้ หนูไม่เคยวาดรูปที่จับดูรูปร่างแบบนี้มาก่อนเลย วาดง่ายและยังเก็บเส้นไหมพรมมาวาดซ้ำได้อีก หรือถ้าเป็นรูปที่ชอบหนูยังเก็บเอาไว้จับดูนานๆได้ ส่วน น้องดิว ด.ช.วรวุฒิ อมาตยกุล อายุ 9 ขวบ สมาชิกอีกคนหนึ่งของโรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพ เล่าว่า "ผมชอบวาดรูปมาก แต่เพราะเมื่อก่อนพอวาดแล้วจะเจ็บมือ จึงไม่ค่อยได้วาดบ่อย แต่พอได้ลองวาดรูปด้วยปากกาเล่นเส้น ทำให้ผมมีความสุขมาก เพราะผมได้วาดภูเขา วาดต้นไม้ เครื่องบิน รถ และอะไรอีกหลายอย่างที่ผมอยากวาด ปากกาเล่นเส้นไม่ทำให้ผมเจ็บมือ ผมยังได้ลูบเส้นไหมพรมเล็กๆ ที่ทำให้ผมรู้ว่ารูปที่ผมวาดสวยแค่ไหนและรูปที่วาดยังทำให้ผมนับเลขได้เก่งขึ้นด้วย" เป้าหมายต่อไปของกลุ่ม "กล่องดินสอ" คือ การนำชุด "วาดเขียน เล่นเส้น" ออกสู่มือน้อยๆ ของน้องผู้พิการทางสายตาทั่วโลก ผ่านการนำเสนอบนโลกออนไลน์ ในฐานะเครื่องมือการสื่อสาร ซึ่งจะเอื้อประโยชน์อย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์และศิลปะเป็น อย่างดี ขอบคุณ... http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TURONWIzVXdNVEUzTVRFMU5nPT0=§ionid=TURNeE1RPT0=&day=TWpBeE15MHhNUzB4Tnc9PQ== ข่าวสดออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 17 พ.ย.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...